1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2548 มีปริมาณการผลิตรวม 80.85 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.90 โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด
40.01 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 40.84 ล้านตัน การผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เนื่องจากการลงทุนด้านการก่อสร้างของภาครัฐใน
ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน สะพาน เขื่อน สำหรับการลงทุนในภาคเอกชนมีการเติบโตในทิศทางที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในโครงการบ้านที่อยู่
อาศัยขนาดใหญ่ซบเซาลง
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิต หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548
ปูนเม็ด 38.03 33.5 35.88 40.01
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -11.91 7.1 11.51
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 33.5 34.77 38.36 40.84
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 3.79 10.32 6.47
รวม 71.53 68.27 74.24 80.85
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -4.56 8.74 8.9
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด ปี 2548 คิดเป็นร้อยละ 67.49 เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.47 สำหรับอัตราการใช้กำลังการ
ผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 78.58
เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.15 ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตยังเพียงพอที่จะรองรับความต้องการของตลาดจึงไม่มีบริษัทผู้ผลิตลง
ทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่ม
ตารางที่ 2 : อัตราการใช้กำลังการผลิต หน่วย : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548
ปูนเม็ด 56.8 57.6 62.8 67.49
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 1.41 9.03 7.47
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 80.1 70.9 70.7 78.58
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -11.49 -0.28 11.15
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ปี 2548 มีปริมาณ 31.78 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.95 โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.14
ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 31.64 ล้านตัน
การจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการก่อสร้าง
สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ สำหรับการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม
อุตสาหกรรม มีการเติบโตในทิศทางที่ชะลอตัวลง
ตารางที่ 3 : ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548
ปูนเม็ด 0.36 0.2 0.1 0.14
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -44.44 -50 40
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 24.83 26.39 30.18 31.64
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 6.28 14.36 4.84
รวม 25.19 26.59 30.28 31.78
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 5.56 13.88 4.95
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 5.56 13.88 4.95
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ปี 2548 มีปริมาณการส่งออก 15.88 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 18,769.83 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณการ
ส่งออกและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.90 และ 49.80 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 9.64 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า
9,690.84 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 6.24 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,078.99 ล้านบาท การส่งออกที่ขยายตัวเนื่องจาก
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญกระเตื้องขึ้น สำหรับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิ
เรตส์
ตารางที่ 4 : ปริมาณและมูลค่าการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
(ล้านตัน) (ล้านบาท) (ล้านตัน) (ล้านบาท) (ล้านตัน) (ล้านบาท) (ล้านตัน) (ล้านบาท)
ปูนเม็ด 9.27 7,005.21 7.22 6,127.24 7.12 6,099.28 9.64 9,690.84
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -22.11 -12.53 -1.39 -0.46 35.39 58.88
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 6.97 7,736.93 4.99 6,459.44 4.74 6,430.52 6.24 9,078.99
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -28.41 -16.51 -5.01 -0.45 31.65 41.19
รวม 16.24 14,742.14 12.21 12,586.68 11.86 12,529.80 15.88 18,769.83
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -24.82 -14.62 -2.87 -0.45 33.9 49.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ ปี 2548 มีจำนวน 8,200.32 ตัน คิดเป็นมูลค่า 79.38 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้า
ลดลงร้อยละ 40.16 และ 35.86 โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 8.44 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.21 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน
8,191.88 ตัน คิดเป็นมูลค่า 79.17 ล้านบาท ทั้งนี้การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วน
เป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ เกาหลีใต้ มาเลเซีย โครเอเชีย จีน และญี่ปุ่น
ตารางที่ 5 : ปริมาณและมูลค่าการนำเข้า
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
(ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท)
ปูนเม็ด 3,029.35 9.26 29.66 0.39 74.17 1.47 8.44 0.21
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -99.02 -95.79 150.07 276.92 -88.62 -85.71
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 3,456.86 67.97 4,028.79 75.16 13,630.46 122.3 8,191.88 79.17
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 16.54 10.58 238.33 62.72 -39.9 -35.27
รวม 6,486.21 77.23 4,058.45 75.55 13,704.63 123.77 8,200.32 79.38
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -37.43 -2.18 237.68 63.83 -40.16 -35.86
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ใน ปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการลงทุนในโครงการก่อสร้างภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ
ขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการก่อสร้างภาคเอกชนมีอัตราการเติบโตในทิศทางที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในโครงการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารที่ใช้
ประโยชน์เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของความต้องการที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากรายจ่ายครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นตามค่าครองชีพ
และราคาน้ำมัน รวมทั้งการลงทุนในธุรกิจ เช่น โรงแรม รีสอร์ท ห้างร้านค้าปลีกก็ชะลอตัวลงจากที่เติบโตสูงมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำหรับตลาด
ต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญกระเตื้องขึ้น สำหรับประเทศคู่ค้าที่
สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สำหรับในปี 2549 คาดว่าการเติบโตของธุรกิจการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยยังชะลอตัวลง เนื่องจากภาวะกำลังซื้อและแนวโน้มอัตรา
ดอกเบี้ยที่เอื้ออำนวยต่อการซื้อที่อยู่อาศัยน้อยลงกว่าในระยะปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนานขึ้น แต่ปัจจัยบวกอาจจะ
มาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่น่าจะเติบโตขึ้นซึ่งอาจส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจต่อการลงทุนปรับตัวดีขึ้น สำหรับการลงทุนของรัฐบาลมีแผนที่จะ
ลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่นระบบคมนาคมขนส่ง พลังงาน และโครงการลงทุนเพื่อสังคม เช่นที่อยู่อาศัย จากแผนการลงทุน
ของภาครัฐนี้คาดว่าการลงทุนโครงการก่อสร้างภาครัฐอาจจะมีโอกาสขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการเติบโตในธุรกิจก่อสร้างนี้จะทำให้ความต้องการ
ใช้ปูนซีเมนต์มีการเติบโตในทิศทางเดียวกัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2548 มีปริมาณการผลิตรวม 80.85 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.90 โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด
40.01 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 40.84 ล้านตัน การผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เนื่องจากการลงทุนด้านการก่อสร้างของภาครัฐใน
ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน สะพาน เขื่อน สำหรับการลงทุนในภาคเอกชนมีการเติบโตในทิศทางที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในโครงการบ้านที่อยู่
อาศัยขนาดใหญ่ซบเซาลง
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิต หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548
ปูนเม็ด 38.03 33.5 35.88 40.01
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -11.91 7.1 11.51
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 33.5 34.77 38.36 40.84
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 3.79 10.32 6.47
รวม 71.53 68.27 74.24 80.85
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -4.56 8.74 8.9
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด ปี 2548 คิดเป็นร้อยละ 67.49 เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.47 สำหรับอัตราการใช้กำลังการ
ผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 78.58
เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.15 ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตยังเพียงพอที่จะรองรับความต้องการของตลาดจึงไม่มีบริษัทผู้ผลิตลง
ทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่ม
ตารางที่ 2 : อัตราการใช้กำลังการผลิต หน่วย : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548
ปูนเม็ด 56.8 57.6 62.8 67.49
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 1.41 9.03 7.47
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 80.1 70.9 70.7 78.58
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -11.49 -0.28 11.15
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ปี 2548 มีปริมาณ 31.78 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.95 โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.14
ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 31.64 ล้านตัน
การจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการก่อสร้าง
สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ สำหรับการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม
อุตสาหกรรม มีการเติบโตในทิศทางที่ชะลอตัวลง
ตารางที่ 3 : ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548
ปูนเม็ด 0.36 0.2 0.1 0.14
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -44.44 -50 40
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 24.83 26.39 30.18 31.64
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 6.28 14.36 4.84
รวม 25.19 26.59 30.28 31.78
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 5.56 13.88 4.95
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 5.56 13.88 4.95
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ปี 2548 มีปริมาณการส่งออก 15.88 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 18,769.83 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณการ
ส่งออกและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.90 และ 49.80 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 9.64 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า
9,690.84 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 6.24 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,078.99 ล้านบาท การส่งออกที่ขยายตัวเนื่องจาก
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญกระเตื้องขึ้น สำหรับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิ
เรตส์
ตารางที่ 4 : ปริมาณและมูลค่าการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
(ล้านตัน) (ล้านบาท) (ล้านตัน) (ล้านบาท) (ล้านตัน) (ล้านบาท) (ล้านตัน) (ล้านบาท)
ปูนเม็ด 9.27 7,005.21 7.22 6,127.24 7.12 6,099.28 9.64 9,690.84
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -22.11 -12.53 -1.39 -0.46 35.39 58.88
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 6.97 7,736.93 4.99 6,459.44 4.74 6,430.52 6.24 9,078.99
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -28.41 -16.51 -5.01 -0.45 31.65 41.19
รวม 16.24 14,742.14 12.21 12,586.68 11.86 12,529.80 15.88 18,769.83
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -24.82 -14.62 -2.87 -0.45 33.9 49.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ ปี 2548 มีจำนวน 8,200.32 ตัน คิดเป็นมูลค่า 79.38 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้า
ลดลงร้อยละ 40.16 และ 35.86 โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 8.44 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.21 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน
8,191.88 ตัน คิดเป็นมูลค่า 79.17 ล้านบาท ทั้งนี้การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วน
เป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ เกาหลีใต้ มาเลเซีย โครเอเชีย จีน และญี่ปุ่น
ตารางที่ 5 : ปริมาณและมูลค่าการนำเข้า
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
(ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท)
ปูนเม็ด 3,029.35 9.26 29.66 0.39 74.17 1.47 8.44 0.21
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -99.02 -95.79 150.07 276.92 -88.62 -85.71
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 3,456.86 67.97 4,028.79 75.16 13,630.46 122.3 8,191.88 79.17
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 16.54 10.58 238.33 62.72 -39.9 -35.27
รวม 6,486.21 77.23 4,058.45 75.55 13,704.63 123.77 8,200.32 79.38
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -37.43 -2.18 237.68 63.83 -40.16 -35.86
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ใน ปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการลงทุนในโครงการก่อสร้างภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ
ขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการก่อสร้างภาคเอกชนมีอัตราการเติบโตในทิศทางที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในโครงการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารที่ใช้
ประโยชน์เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของความต้องการที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากรายจ่ายครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นตามค่าครองชีพ
และราคาน้ำมัน รวมทั้งการลงทุนในธุรกิจ เช่น โรงแรม รีสอร์ท ห้างร้านค้าปลีกก็ชะลอตัวลงจากที่เติบโตสูงมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำหรับตลาด
ต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญกระเตื้องขึ้น สำหรับประเทศคู่ค้าที่
สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สำหรับในปี 2549 คาดว่าการเติบโตของธุรกิจการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยยังชะลอตัวลง เนื่องจากภาวะกำลังซื้อและแนวโน้มอัตรา
ดอกเบี้ยที่เอื้ออำนวยต่อการซื้อที่อยู่อาศัยน้อยลงกว่าในระยะปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนานขึ้น แต่ปัจจัยบวกอาจจะ
มาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่น่าจะเติบโตขึ้นซึ่งอาจส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจต่อการลงทุนปรับตัวดีขึ้น สำหรับการลงทุนของรัฐบาลมีแผนที่จะ
ลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่นระบบคมนาคมขนส่ง พลังงาน และโครงการลงทุนเพื่อสังคม เช่นที่อยู่อาศัย จากแผนการลงทุน
ของภาครัฐนี้คาดว่าการลงทุนโครงการก่อสร้างภาครัฐอาจจะมีโอกาสขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการเติบโตในธุรกิจก่อสร้างนี้จะทำให้ความต้องการ
ใช้ปูนซีเมนต์มีการเติบโตในทิศทางเดียวกัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-