ประมาณ 720-725 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3-3.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งการประมาณการขยายตัวของปริมาณการบริโภคเหล็กของโลกจะเป็นไป
ในทิศทางเดียวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและเศรษฐกิจประเทศที่มีการขยายตัวของ GDP สูง เช่น ประเทศจีนและอินเดีย ทั้งนี้ต้นทุนของวัตถุดิบ
และพลังงานยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเหล็กโลก
ประเทศอินเดียได้ประกาศนโยบายเหล็กใหม่ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มการผลิตเหล็กถึง 3 เท่า ไปอยู่ที่ 100 ล้านตัน ภายในปี 2563 สูง
ขึ้นจาก 38 ล้านตันในปี 2547-2548 โดยนโยบายนี้กำหนดขึ้นเพื่อปรับปรุงอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศให้สามารถแข่งขันกับทั่วโลกได้ ลดช่องว่าง
การบริโภคเหล็กต่อหัวระหว่างอินเดียและประเทศอื่นในโลก และปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของชาวอินเดียที่ยากจน นอกจากนี้ รัฐบาลจะกระตุ้นความ
ต้องการเหล็กในประเทศ และการเพิ่มการลงทุนในการผลิตแร่เหล็กและถ่านหินในประเทศ ขณะเดียวกันได้วางแผนที่จะส่งออกเหล็กเพิ่มขึ้นมากกว่า
6 เท่าจาก 4 ล้านตัน ในปี 2547-2548 ไปเป็น 26 ล้านตัน ในปี 2562-2563 หรือคิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 13 ต่อปี จาก ร้อยละ 10 ต่อปีที่
เป็นอยู่ในอดีต ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมการส่งออก เช่น การเตรียมข้อมูลการซื้อขาย สร้างความน่าเชื่อถือในการส่งออก
และลดราคาขายลงโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาหลักที่อุตสาหกรรมเหล็กอินเดียอาจต้องเผชิญคือปริมาณถ่านโค้กและก๊าซธรรมชาติที่มีจำกัด ซึ่ง
รัฐบาลและอุตสาหกรรมจะต้องหาแหล่งพลังงานใหม่ทั้งในอินเดียและต่างประเทศ
3. แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้นในส่วนของเหล็กทรง
ยาวเนื่องจากโครงการเมกะโปรเจ็คส์ของทางภาครัฐที่จะกระตุ้นให้ธุรกิจก่อสร้างขยายตัวมากขึ้น สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยที่พึงระวังเกี่ยวกับสถานการณ์เหล็กของประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหากำลังการผลิตส่วนเกิน ซึ่ง
รัฐบาลจีนได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ โดยการกำหนดนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศ เช่นนโยบายในการส่งเสริมให้เกิดการ
ควบรวมกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก ทั้งนี้ จะต้องใช้ระยะเวลาที่จะสัมฤทธิ์ผล ซึ่งอาจมีผลทำให้ประเทศจีนส่งออกเหล็กด้อยคุณภาพเข้ามาทุ่ม
ตลาดในประเทศไทยได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในทิศทางเดียวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและเศรษฐกิจประเทศที่มีการขยายตัวของ GDP สูง เช่น ประเทศจีนและอินเดีย ทั้งนี้ต้นทุนของวัตถุดิบ
และพลังงานยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเหล็กโลก
ประเทศอินเดียได้ประกาศนโยบายเหล็กใหม่ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มการผลิตเหล็กถึง 3 เท่า ไปอยู่ที่ 100 ล้านตัน ภายในปี 2563 สูง
ขึ้นจาก 38 ล้านตันในปี 2547-2548 โดยนโยบายนี้กำหนดขึ้นเพื่อปรับปรุงอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศให้สามารถแข่งขันกับทั่วโลกได้ ลดช่องว่าง
การบริโภคเหล็กต่อหัวระหว่างอินเดียและประเทศอื่นในโลก และปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของชาวอินเดียที่ยากจน นอกจากนี้ รัฐบาลจะกระตุ้นความ
ต้องการเหล็กในประเทศ และการเพิ่มการลงทุนในการผลิตแร่เหล็กและถ่านหินในประเทศ ขณะเดียวกันได้วางแผนที่จะส่งออกเหล็กเพิ่มขึ้นมากกว่า
6 เท่าจาก 4 ล้านตัน ในปี 2547-2548 ไปเป็น 26 ล้านตัน ในปี 2562-2563 หรือคิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 13 ต่อปี จาก ร้อยละ 10 ต่อปีที่
เป็นอยู่ในอดีต ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมการส่งออก เช่น การเตรียมข้อมูลการซื้อขาย สร้างความน่าเชื่อถือในการส่งออก
และลดราคาขายลงโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาหลักที่อุตสาหกรรมเหล็กอินเดียอาจต้องเผชิญคือปริมาณถ่านโค้กและก๊าซธรรมชาติที่มีจำกัด ซึ่ง
รัฐบาลและอุตสาหกรรมจะต้องหาแหล่งพลังงานใหม่ทั้งในอินเดียและต่างประเทศ
3. แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้นในส่วนของเหล็กทรง
ยาวเนื่องจากโครงการเมกะโปรเจ็คส์ของทางภาครัฐที่จะกระตุ้นให้ธุรกิจก่อสร้างขยายตัวมากขึ้น สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยที่พึงระวังเกี่ยวกับสถานการณ์เหล็กของประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหากำลังการผลิตส่วนเกิน ซึ่ง
รัฐบาลจีนได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ โดยการกำหนดนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศ เช่นนโยบายในการส่งเสริมให้เกิดการ
ควบรวมกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก ทั้งนี้ จะต้องใช้ระยะเวลาที่จะสัมฤทธิ์ผล ซึ่งอาจมีผลทำให้ประเทศจีนส่งออกเหล็กด้อยคุณภาพเข้ามาทุ่ม
ตลาดในประเทศไทยได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-