สศอ.เผยดัชนีอุตฯ ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชี้คอมพ์ฯ-ยานยนต์ ยังเป็นแรงหนุนหลัก ส่งดัชนีอุตฯ เดือนสุดท้ายเพิ่ม
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือนธันวาคม 2548 เพื่อให้เป็นดัชนีหลักสำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ โดยเก็บข้อมูลจากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,121 โรงงานครอบคลุม 53 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2548 อยู่ที่ระดับ 142.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.81 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2547 จากระดับ 139.86 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 67.51 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 68.83
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2548 ที่มีการปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 149.92 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.05 จากระดับ 148.36 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 156.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.40 จากระดับ 140.32 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 165.09 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.55 จากระดับ 154.95
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับลดจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประกอบด้วย ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 136.02 ลดลงร้อยละ 3.04 จากระดับ 140.29 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 124.55 ลดลงร้อยละ 8.74 จากระดับ 136.48 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 106.38 ลดลงร้อยละ 2.80 จากระดับ 109.44
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2548 ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญประกอบด้วย การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และการผลิตยานยนต์
โดย การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ซึ่งสินค้าสำคัญในกลุ่มนี้คือ Hard Disk Drive มีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดส่งออกและยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี 2549
นอกจากนี้ การผลิตยานยนต์ มีภาวะการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการผลิตรถปิกอัพขนาด 1 ตันที่ความต้องการในตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออกยังขยายตัวได้ดี รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากการที่ประเทศไทยสามารถทำการผลิตรถยนต์ได้เกิน 1 ล้านคันได้เป็นปีแรกทำให้อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์คึกคักอย่างต่อเนื่อง
ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคมปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ การผลิตน้ำตาล และการผลิตน้ำมัน
โดย การผลิตน้ำตาล ฤดูกาลผลิตปีนี้โรงงานน้ำตาลหลายแห่งต่างเริ่มทยอยเปิดหีบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งล่าช้าจากปีก่อนกว่า 1 เดือน จึงมีการผลิตน้ำตาลลดลง ร้อยละ 69.6 สาเหตุหลักมาจากเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้ง โดยมีปริมาณอ้อยที่ส่งเข้าโรงงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 รวมทั้งสิ้น 5,633,900.67 ตัน ซึ่งได้ผลผลิตน้ำตาลรวม 471,115.41 ตัน เป็นน้ำตาลทรายดิบ 342,819.70 ตัน น้ำตาลทรายขาว 98,792.70 ตัน น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 28,393.45 ตัน และน้ำตาลทรายชนิดอื่นๆ 1,109.56 ตัน ส่วนการจำหน่ายน้ำตาลโดยรวมก็ลดลงเช่นกัน
ส่วน การผลิตน้ำมัน มีภาวะการผลิตลดลงและจำหน่ายลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันทรงตัวในระดับที่สูงเช่นกัน อีกทั้งการรณรงค์ประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่องทำให้ประชาชนมีความตระหนักถึงความสำคัญจึงร่วมใจกันประหยัด ซึ่งส่งผลต่อการบริโภคน้ำมันที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือนธันวาคม 2548 เพื่อให้เป็นดัชนีหลักสำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ โดยเก็บข้อมูลจากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,121 โรงงานครอบคลุม 53 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2548 อยู่ที่ระดับ 142.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.81 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2547 จากระดับ 139.86 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 67.51 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 68.83
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2548 ที่มีการปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 149.92 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.05 จากระดับ 148.36 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 156.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.40 จากระดับ 140.32 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 165.09 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.55 จากระดับ 154.95
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับลดจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประกอบด้วย ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 136.02 ลดลงร้อยละ 3.04 จากระดับ 140.29 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 124.55 ลดลงร้อยละ 8.74 จากระดับ 136.48 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 106.38 ลดลงร้อยละ 2.80 จากระดับ 109.44
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2548 ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญประกอบด้วย การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และการผลิตยานยนต์
โดย การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ซึ่งสินค้าสำคัญในกลุ่มนี้คือ Hard Disk Drive มีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดส่งออกและยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี 2549
นอกจากนี้ การผลิตยานยนต์ มีภาวะการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการผลิตรถปิกอัพขนาด 1 ตันที่ความต้องการในตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออกยังขยายตัวได้ดี รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากการที่ประเทศไทยสามารถทำการผลิตรถยนต์ได้เกิน 1 ล้านคันได้เป็นปีแรกทำให้อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์คึกคักอย่างต่อเนื่อง
ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคมปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ การผลิตน้ำตาล และการผลิตน้ำมัน
โดย การผลิตน้ำตาล ฤดูกาลผลิตปีนี้โรงงานน้ำตาลหลายแห่งต่างเริ่มทยอยเปิดหีบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งล่าช้าจากปีก่อนกว่า 1 เดือน จึงมีการผลิตน้ำตาลลดลง ร้อยละ 69.6 สาเหตุหลักมาจากเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้ง โดยมีปริมาณอ้อยที่ส่งเข้าโรงงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 รวมทั้งสิ้น 5,633,900.67 ตัน ซึ่งได้ผลผลิตน้ำตาลรวม 471,115.41 ตัน เป็นน้ำตาลทรายดิบ 342,819.70 ตัน น้ำตาลทรายขาว 98,792.70 ตัน น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 28,393.45 ตัน และน้ำตาลทรายชนิดอื่นๆ 1,109.56 ตัน ส่วนการจำหน่ายน้ำตาลโดยรวมก็ลดลงเช่นกัน
ส่วน การผลิตน้ำมัน มีภาวะการผลิตลดลงและจำหน่ายลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันทรงตัวในระดับที่สูงเช่นกัน อีกทั้งการรณรงค์ประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่องทำให้ประชาชนมีความตระหนักถึงความสำคัญจึงร่วมใจกันประหยัด ซึ่งส่งผลต่อการบริโภคน้ำมันที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-