..สุกร..
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นแต่ยังคงใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค ทำให้ราคายังอยู่ในระดับสูง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 50.02 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 46.26 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.28 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.86 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 50 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
..ไก่เนื้อ..
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา การผลิตไก่เนื้อยังคงทรงตัวที่สัปดาห์ละ 12-13 ล้านตัว ในขณะที่ความต้องการบริโภคไก่เนื้อ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะอ่อนตัว
อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า การเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในประเทศไทยครบกำหนด 90 วัน ตามเงื่อนไขของประเทศผู้นำเข้าแล้ว เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งทางกรมปศุสัตว์ได้แจ้งให้สำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE)และประเทศคู่ค้าทราบแล้ว แต่ยังไม่ได้ประกาศว่าไทยเป็นเขตปลอดเชื้อไข้หวัดนก
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำเข้าไก่แช่แข็งรายใหญ่ ยังคงมีความต้องการไก่สดของไทยอยู่ แม้ปัจจุบันบราซิลจะขยายกำลังการผลิตและส่งออกไก่ได้มากขึ้น แต่ผู้บริโภคของญี่ปุ่นต้องการไก่ที่มีคุณภาพดีของไทย แม้ราคาจะสูงกว่า โดยคาดว่าหากประเทศผู้นำเข้ายอมรับระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกภายใต้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพหรือ Compartment จะทำให้ไทยสามารถส่งออกไก่แช่แข็งได้ตามปกติอีกครั้ง และปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ หน่วยงานด้านการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของญี่ปุ่นจะเข้ามาตรวจสอบโรงงานแปรรูปไก่ของไทยอีก 11 แห่ง ซึ่งเป็นโรงงานที่มีการปรับปรุงและขยายกำลังการผลิต
ประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรปและแอฟริกา มียอดขายสัตว์ปีกตกต่ำลงอย่างมาก เนื่องจากมีการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเพิ่มขึ้น โดยได้แพร่ระบาดอีก 3 ประเทศ คือ เยอรมนี ออสเตรีย และอิหร่าน ทำให้ความวิตกยิ่งแพร่ขยายออกไป ออสเตรียกับเยอรมนีเป็นชาติสมาชิกของสหภาพยุโรป รายที่ 3 และ 4 ที่พบเชื้อ H5N1 หลังอิตาลีและกรีซ ซึ่งเป็น 2 รายแรกที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.85 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 39.65 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 12.50 บาท ลดลงจากตัวละ 13.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 7.41
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 12.31 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 39.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 7.06
..ไข่ไก่..
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้ลดลงในทุกพื้นที่ เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดวันละประมาณ 27-28 ล้านฟอง ขณะที่ความต้องการบริโภคอยู่ที่ประมาณวันละ 23-24 ล้านฟอง ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินในตลาดมากขึ้น ภาครัฐ-ภาคเอกชนมีมาตรการที่จะเก็บ ผลผลิตส่วนเกินในตลาดเพื่อรักษาระดับราคาไว้ไม่ให้ตกต่ำมากกว่านี้ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 198 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 202 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 192บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 218 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 185 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 225 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 13 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 172 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
..ไข่เป็ด..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 252 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 262 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 228 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 269 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 263 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 326 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
..โค..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.39 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.59 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.01 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
..กระบือ..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.43 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.50 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 13-19 กุมภาพันธุ์ 2549--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นแต่ยังคงใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค ทำให้ราคายังอยู่ในระดับสูง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 50.02 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 46.26 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.28 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.86 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 50 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
..ไก่เนื้อ..
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา การผลิตไก่เนื้อยังคงทรงตัวที่สัปดาห์ละ 12-13 ล้านตัว ในขณะที่ความต้องการบริโภคไก่เนื้อ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะอ่อนตัว
อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า การเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในประเทศไทยครบกำหนด 90 วัน ตามเงื่อนไขของประเทศผู้นำเข้าแล้ว เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งทางกรมปศุสัตว์ได้แจ้งให้สำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE)และประเทศคู่ค้าทราบแล้ว แต่ยังไม่ได้ประกาศว่าไทยเป็นเขตปลอดเชื้อไข้หวัดนก
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำเข้าไก่แช่แข็งรายใหญ่ ยังคงมีความต้องการไก่สดของไทยอยู่ แม้ปัจจุบันบราซิลจะขยายกำลังการผลิตและส่งออกไก่ได้มากขึ้น แต่ผู้บริโภคของญี่ปุ่นต้องการไก่ที่มีคุณภาพดีของไทย แม้ราคาจะสูงกว่า โดยคาดว่าหากประเทศผู้นำเข้ายอมรับระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกภายใต้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพหรือ Compartment จะทำให้ไทยสามารถส่งออกไก่แช่แข็งได้ตามปกติอีกครั้ง และปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ หน่วยงานด้านการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของญี่ปุ่นจะเข้ามาตรวจสอบโรงงานแปรรูปไก่ของไทยอีก 11 แห่ง ซึ่งเป็นโรงงานที่มีการปรับปรุงและขยายกำลังการผลิต
ประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรปและแอฟริกา มียอดขายสัตว์ปีกตกต่ำลงอย่างมาก เนื่องจากมีการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกเพิ่มขึ้น โดยได้แพร่ระบาดอีก 3 ประเทศ คือ เยอรมนี ออสเตรีย และอิหร่าน ทำให้ความวิตกยิ่งแพร่ขยายออกไป ออสเตรียกับเยอรมนีเป็นชาติสมาชิกของสหภาพยุโรป รายที่ 3 และ 4 ที่พบเชื้อ H5N1 หลังอิตาลีและกรีซ ซึ่งเป็น 2 รายแรกที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.85 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 39.65 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 12.50 บาท ลดลงจากตัวละ 13.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 7.41
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 12.31 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 39.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 7.06
..ไข่ไก่..
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้ลดลงในทุกพื้นที่ เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดวันละประมาณ 27-28 ล้านฟอง ขณะที่ความต้องการบริโภคอยู่ที่ประมาณวันละ 23-24 ล้านฟอง ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินในตลาดมากขึ้น ภาครัฐ-ภาคเอกชนมีมาตรการที่จะเก็บ ผลผลิตส่วนเกินในตลาดเพื่อรักษาระดับราคาไว้ไม่ให้ตกต่ำมากกว่านี้ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 198 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 202 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 192บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 218 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 185 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 225 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 13 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 172 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
..ไข่เป็ด..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 252 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 262 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 228 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 269 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 263 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 326 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
..โค..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.39 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.59 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.01 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
..กระบือ..
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.43 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.50 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 13-19 กุมภาพันธุ์ 2549--
-พห-