สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดยังมีไม่มากนัก กำลังซื้ออ่อนตัวลงเนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของสถานศึกษาต่าง ๆ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง ส่วนราคาลูกสุกรยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงแสดงว่าความต้องการเลี้ยงยังมีอยู่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.80 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.86 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.00 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 54.55 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 48 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงในบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงใหญ่ราคาได้ปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากผู้บริโภคหันไปบริโภคสัตว์น้ำตามธรรมชาติ แนวโน้มคาดว่าราคายังจะทรงตัว
การระบาดของโรคไข้หวัดนก ชนิด H5N1 ในอินโดนีเชีย ขณะนี้มียอดผู้เสียชีวิตรวม 32 คน ซึ่งทาง WHO กำลังดำเนินการตรวจสอบว่าการระบาดของโรดเกิดจากคนสู่คนหรือไม่ เนื่องจากนักวิทยาศาตร์วิตกว่าไวรัสชนิดนี้อาจกลายพันธุ์และเกิดการระบาดครั้งใหญ่ไปทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชิวิตจากโรคนี้แล้วทั้งสิ้น 103 คน ได้รับเชื้อ 184 ราย ซึ่งไวรัสดังกล่าวได้แพร่กระจายจากภูมิภาคเอเซียไปยัง ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา โดยมีนกอพยพเป็นตัวแพร่เชื้อ ล่าสุดจากการตรวจยืนยันของ WHO ว่ายังไม่มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น ความรุนแรงของการแพร่ระบาดของโรคขึ้นอยู่กับสภาวะท้องถิ่น ซึ่งครอบครัวผู้ป่วยในอินโดนีเซียยังตระหนักต่อโรคนี้น้อย จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตมากในเวลาอันรวดเร็ว ในขณะที่ไทยเองเคยมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคนี้ โดยการรับเชื้อจากคนใกล้ชิต 3 ราย เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งต่างจากอินโดนีเซีย เนื่องจากการเตรียมความพร้อมโดยมีมาตรการรับมือต่อการระบาดของโรคฯ ทั้งการคัดกรองผู้ป่วย การรักษา ตลอดจนมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ
โรมาเนียประกาศเขตเฝ้าระวังพื้นที่ 1 ใน 4 ของกรุงบูคาเรสต์ เมืองหลวงของโรมาเนีย เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 หลังจากตรวจพบการระบาดของไข้หวัดนกกระทรวงเกษตรโรมาเนียรายงานว่า ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา เกิดการระบาดของไข้หวัดนก 10 จุด แต่ยังไม่ยืนยัน 26 จุด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 36.50 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.39 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.33 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 9.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 38.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าสถานศึกษาต่างๆ ที่เป็นตลาดใหญ่ของไข่ไก่เปิดภาคเรียนแล้ว แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาผลผลิตมีปริมาณมากซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล เพื่อแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำภาครัฐได้อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 70 ล้านบาท เก็บรวบรวมไข่ไก่ส่วนเกินเข้าห้องเย็นเพื่อรอจำหน่ายในช่วงที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 212 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 197 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 213 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 212 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 217 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 180 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 244 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 245 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 214 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 261 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 255 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 302 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.87 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.79 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.58 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.12 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.81 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.01 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.20 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.48 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 22-28 พ.ค. 2549--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดยังมีไม่มากนัก กำลังซื้ออ่อนตัวลงเนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของสถานศึกษาต่าง ๆ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง ส่วนราคาลูกสุกรยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงแสดงว่าความต้องการเลี้ยงยังมีอยู่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.80 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.86 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.00 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 54.55 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 48 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงในบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงใหญ่ราคาได้ปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากผู้บริโภคหันไปบริโภคสัตว์น้ำตามธรรมชาติ แนวโน้มคาดว่าราคายังจะทรงตัว
การระบาดของโรคไข้หวัดนก ชนิด H5N1 ในอินโดนีเชีย ขณะนี้มียอดผู้เสียชีวิตรวม 32 คน ซึ่งทาง WHO กำลังดำเนินการตรวจสอบว่าการระบาดของโรดเกิดจากคนสู่คนหรือไม่ เนื่องจากนักวิทยาศาตร์วิตกว่าไวรัสชนิดนี้อาจกลายพันธุ์และเกิดการระบาดครั้งใหญ่ไปทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชิวิตจากโรคนี้แล้วทั้งสิ้น 103 คน ได้รับเชื้อ 184 ราย ซึ่งไวรัสดังกล่าวได้แพร่กระจายจากภูมิภาคเอเซียไปยัง ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา โดยมีนกอพยพเป็นตัวแพร่เชื้อ ล่าสุดจากการตรวจยืนยันของ WHO ว่ายังไม่มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น ความรุนแรงของการแพร่ระบาดของโรคขึ้นอยู่กับสภาวะท้องถิ่น ซึ่งครอบครัวผู้ป่วยในอินโดนีเซียยังตระหนักต่อโรคนี้น้อย จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตมากในเวลาอันรวดเร็ว ในขณะที่ไทยเองเคยมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคนี้ โดยการรับเชื้อจากคนใกล้ชิต 3 ราย เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งต่างจากอินโดนีเซีย เนื่องจากการเตรียมความพร้อมโดยมีมาตรการรับมือต่อการระบาดของโรคฯ ทั้งการคัดกรองผู้ป่วย การรักษา ตลอดจนมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ
โรมาเนียประกาศเขตเฝ้าระวังพื้นที่ 1 ใน 4 ของกรุงบูคาเรสต์ เมืองหลวงของโรมาเนีย เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 หลังจากตรวจพบการระบาดของไข้หวัดนกกระทรวงเกษตรโรมาเนียรายงานว่า ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา เกิดการระบาดของไข้หวัดนก 10 จุด แต่ยังไม่ยืนยัน 26 จุด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 36.50 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.39 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.33 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 9.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 38.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าสถานศึกษาต่างๆ ที่เป็นตลาดใหญ่ของไข่ไก่เปิดภาคเรียนแล้ว แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาผลผลิตมีปริมาณมากซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล เพื่อแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำภาครัฐได้อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 70 ล้านบาท เก็บรวบรวมไข่ไก่ส่วนเกินเข้าห้องเย็นเพื่อรอจำหน่ายในช่วงที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 212 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 197 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 213 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 212 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 217 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 180 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 244 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 245 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 214 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 261 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 255 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 302 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.87 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.79 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.58 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.12 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.81 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.01 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.20 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.48 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 22-28 พ.ค. 2549--
-พห-