ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ค่าเงินบาทยังคงแข็งแกร่งไม่มีสัญญาณของเงินทุนไหลออก รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา มีผลต่อตลาดเงินในประเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเพียง
เล็กน้อยเท่านั้น โดยตลาดการเงินทั้งตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงิน และตลาดทุนได้ปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติแล้วตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยค่าเงินบาทของไทยในวันที่ 20 ก.ย.ซึ่งตลาดไทยปิดทำการ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 37.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และหลังจากเปิดทำการ
ปกติในวันที่ 21 ก.ย.ค่าเงินบาทก็มีการซื้อขายในเกณฑ์ปกติ ไม่มีสัญญาณของเงินทุนไหลออกทำให้ค่าเงินบาทกลับมีเสถียรภาพเหมือนเดิม โดยเคลื่อน
ไหวอยู่ในระดับ 37.37-37.59 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 37.38 บาทต่อดอลลาร์ สำหรับค่าเงินบาทวานนี้
(25 ก.ย.) เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 37.30-38.38 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, มติชน,
แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ก.อุตสาหกรรมมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินความเชื่อมั่นการลงทุนในไทย ปลัด ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการประชุม
ร่วมกับหน่วยงานสังกัด ก.อุตสาหกรรมว่า ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ฯลฯ ไปประเมินความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศไทยของผู้ประกอบการทั้งขนาดใหญ่และเล็ก
และจะประสานกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ทั้งนี้ เพื่อที่จะนำมาประเมินภาวะอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจปี 50 เสนอต่อคณะ
ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ใน 2-3 สัปดาห์ (ผู้จัดการรายวัน)
3. 4 หน่วยงานภาครัฐเร่งหารือสรุปกรอบ งปม.รายจ่ายปี 50 แบบขาดดุล รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เปิดเผยว่า วันนี้ (26 ก.ย.) ผู้บริหาร ก.คลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) และสำนักงบประมาณ จะร่วมประชุมเพื่อสรุปตัวเลข งปม.รายจ่ายประจำปี 50 โดยจะมีการจัดทำ งปม.แบบขาดดุล แต่จะขาดดุล
จำนวนเท่าใดนั้นจะสามารถสรุปได้ในวันนี้ เพื่อให้นำไปใช้ทันในวันที่ 1 ต.ค.49 ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ให้นโยบายไว้ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, มติชน, แนวหน้า, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ในเดือน ก.ย.49 จะอยู่ในระดับต่ำกว่าเพดานที่ ธ.กลางยุโรป
กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 25 ก.ย.49 ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อใน Euro zone จะชะลอตัว
ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปีในเดือน ก.ย.49 จากร้อยละ 2.3 ต่อปีในเดือน ส.ค.49 ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่ำสุดนับ
ตั้งแต่เดือน ม.ค.48 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปีเช่นเดียวกัน สอดคล้องกับรายงานอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีที่ชะลอตัวลงโดยลดลงร้อยละ 0.4
ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบต่อปีในเดือน ก.ย.49 เทียบกับร้อยละ 1.5 ต่อปีในเดือน ส.ค.49 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาด
ว่าเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงร้อยละ 13 มาอยู่ที่ระดับใกล้ 60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในเดือน ก.ย.49 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ของปีก่อนที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนแคทรินาที่พัดถล่มชายฝั่ง สรอ. อย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของ
Euro zone จะเพิ่มสูงขึ้นเกินร้อยละ 2.0 ต่อปีในเดือน พ.ย. 49 นี้จนถึงปี 50 จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นและการขึ้น
อัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 ในเยอรมนีตั้งแต่ต้นปี 50 เป็นต้นไป ตลาดจึงคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในการประชุมในวันที่ 5 ต.ค.49 ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ สนง.สถิติกลางของยุโรปมีกำหนดจะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone
อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 ก.ย.49 นี้ (รอยเตอร์)
2. ยอดขายบ้านมือสองใน สรอ. เดือน ส.ค.49 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่
26 ก.ย.49 สมาคมนายหน้าซื้อขายบ้านและที่ดินแห่งชาติ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองใน สรอ. เดือน ส.ค.49 ลดลงในอัตรา
เทียบต่อปีอยู่ที่ระดับ 6.30 ล้านหน่วย จาก 6.33 ล้านหน่วย ในเดือน ก.ค. นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 แต่เป็นอัตราการลดลงต่ำ
สุดในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา และยังสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 6.18 ล้านหน่วย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าวว่าเริ่มมีสัญญาณชี้
ให้เห็นว่าตลาดซื้อขายบ้านกำลังเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าการลดลงครั้งนี้เป็นจุดต่ำสุดแล้ว ในขณะที่ราคาขายเฉลี่ย
ของบ้านมือสองลดลงร้อยละ 1.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในอัตราเทียบต่อปีของตลาดบ้านมือสอง สรอ. ในรอบ
11 ปี นับตั้งแต่มีการลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย.2538 (รอยเตอร์)
3. ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของจีนในเดือน ส.ค. ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.2 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 49 ใน
เดือน ส.ค. ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ชะลอลงตัวจาก 4 เดือนที่ผ่านมาที่ปริมาณการใช้น้ำมันขยายตัวเป็นตัวเลข
2 หลัก ทำให้ความวิตกในเรื่องปริมาณการใช้น้ำมันของจีนซึ่งขยายตัวอย่างมากในรอบ 4 ปีเริ่มผ่อนคลายลง ทั้งนี้การขยายตัวของผลผลิตน้ำมันใน
ประเทศ และการที่ทางการจีนรักษาระดับราคาน้ำมันไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่งผลให้ปริมาณความต้องการน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง คาดว่าปริมาณความต้องการน้ำมันของจีนซึ่งเป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกจะขยายตัวถึงร้อยละ 6.0 เนื่อง
จากภาวะอากาศในฤดูร้อน และการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีน ซึ่ง Reutersคาดการณ์ว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของจีนที่ไม่นับ
รวมปริมาณน้ำมันในสต็อกในเดือน ส.ค. จะสูงถึงวันละ 6.55 ล้านบาร์เรล (ตัวเลขที่ทางการจีนไม่ได้รายงาน) (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 25 ก.ย.49
The Department of Statistics เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน
สาเหตุจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยดัชนีที่เป็นส่วนประกอบหลัก ได้แก่
ราคาบ้านและราคาอาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และ 1.7 เทียบต่อปี ตามลำดับ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
ต่ำสุดในรอบเกือบ 1 ปี และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เทียบต่อปี ทั้งนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างแสดงความเห็นว่า
อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวลเนื่องจากยังคงเป็นไปตามการคาดการณ์ของ ธ.กลางสิงคโปร์ซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย
ของสิงคโปร์จะอยู่ที่ร้อยละ 1-2 ในปี 49 อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค.ดังกล่าว ได้สร้างความสับสนและก่อให้
เกิดการคาดหมายว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.ย. 49 25 ก.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.399 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.2131/37.4986 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13188 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 686.74/13.71 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,450/10,550 10,350/10,450 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.6 55.22 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 23 ก.ย. 49 25.99*/25.19* 25.99*/25.19* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ค่าเงินบาทยังคงแข็งแกร่งไม่มีสัญญาณของเงินทุนไหลออก รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา มีผลต่อตลาดเงินในประเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเพียง
เล็กน้อยเท่านั้น โดยตลาดการเงินทั้งตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงิน และตลาดทุนได้ปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติแล้วตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยค่าเงินบาทของไทยในวันที่ 20 ก.ย.ซึ่งตลาดไทยปิดทำการ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 37.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และหลังจากเปิดทำการ
ปกติในวันที่ 21 ก.ย.ค่าเงินบาทก็มีการซื้อขายในเกณฑ์ปกติ ไม่มีสัญญาณของเงินทุนไหลออกทำให้ค่าเงินบาทกลับมีเสถียรภาพเหมือนเดิม โดยเคลื่อน
ไหวอยู่ในระดับ 37.37-37.59 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 37.38 บาทต่อดอลลาร์ สำหรับค่าเงินบาทวานนี้
(25 ก.ย.) เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 37.30-38.38 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, มติชน,
แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ก.อุตสาหกรรมมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินความเชื่อมั่นการลงทุนในไทย ปลัด ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการประชุม
ร่วมกับหน่วยงานสังกัด ก.อุตสาหกรรมว่า ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ฯลฯ ไปประเมินความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศไทยของผู้ประกอบการทั้งขนาดใหญ่และเล็ก
และจะประสานกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ทั้งนี้ เพื่อที่จะนำมาประเมินภาวะอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจปี 50 เสนอต่อคณะ
ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ใน 2-3 สัปดาห์ (ผู้จัดการรายวัน)
3. 4 หน่วยงานภาครัฐเร่งหารือสรุปกรอบ งปม.รายจ่ายปี 50 แบบขาดดุล รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เปิดเผยว่า วันนี้ (26 ก.ย.) ผู้บริหาร ก.คลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) และสำนักงบประมาณ จะร่วมประชุมเพื่อสรุปตัวเลข งปม.รายจ่ายประจำปี 50 โดยจะมีการจัดทำ งปม.แบบขาดดุล แต่จะขาดดุล
จำนวนเท่าใดนั้นจะสามารถสรุปได้ในวันนี้ เพื่อให้นำไปใช้ทันในวันที่ 1 ต.ค.49 ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ให้นโยบายไว้ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, มติชน, แนวหน้า, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ในเดือน ก.ย.49 จะอยู่ในระดับต่ำกว่าเพดานที่ ธ.กลางยุโรป
กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 25 ก.ย.49 ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อใน Euro zone จะชะลอตัว
ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปีในเดือน ก.ย.49 จากร้อยละ 2.3 ต่อปีในเดือน ส.ค.49 ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่ำสุดนับ
ตั้งแต่เดือน ม.ค.48 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปีเช่นเดียวกัน สอดคล้องกับรายงานอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีที่ชะลอตัวลงโดยลดลงร้อยละ 0.4
ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบต่อปีในเดือน ก.ย.49 เทียบกับร้อยละ 1.5 ต่อปีในเดือน ส.ค.49 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาด
ว่าเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงร้อยละ 13 มาอยู่ที่ระดับใกล้ 60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในเดือน ก.ย.49 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ของปีก่อนที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนแคทรินาที่พัดถล่มชายฝั่ง สรอ. อย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของ
Euro zone จะเพิ่มสูงขึ้นเกินร้อยละ 2.0 ต่อปีในเดือน พ.ย. 49 นี้จนถึงปี 50 จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นและการขึ้น
อัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 ในเยอรมนีตั้งแต่ต้นปี 50 เป็นต้นไป ตลาดจึงคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในการประชุมในวันที่ 5 ต.ค.49 ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ สนง.สถิติกลางของยุโรปมีกำหนดจะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone
อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 ก.ย.49 นี้ (รอยเตอร์)
2. ยอดขายบ้านมือสองใน สรอ. เดือน ส.ค.49 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่
26 ก.ย.49 สมาคมนายหน้าซื้อขายบ้านและที่ดินแห่งชาติ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองใน สรอ. เดือน ส.ค.49 ลดลงในอัตรา
เทียบต่อปีอยู่ที่ระดับ 6.30 ล้านหน่วย จาก 6.33 ล้านหน่วย ในเดือน ก.ค. นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 แต่เป็นอัตราการลดลงต่ำ
สุดในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา และยังสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 6.18 ล้านหน่วย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าวว่าเริ่มมีสัญญาณชี้
ให้เห็นว่าตลาดซื้อขายบ้านกำลังเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าการลดลงครั้งนี้เป็นจุดต่ำสุดแล้ว ในขณะที่ราคาขายเฉลี่ย
ของบ้านมือสองลดลงร้อยละ 1.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในอัตราเทียบต่อปีของตลาดบ้านมือสอง สรอ. ในรอบ
11 ปี นับตั้งแต่มีการลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย.2538 (รอยเตอร์)
3. ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของจีนในเดือน ส.ค. ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.2 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 49 ใน
เดือน ส.ค. ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ชะลอลงตัวจาก 4 เดือนที่ผ่านมาที่ปริมาณการใช้น้ำมันขยายตัวเป็นตัวเลข
2 หลัก ทำให้ความวิตกในเรื่องปริมาณการใช้น้ำมันของจีนซึ่งขยายตัวอย่างมากในรอบ 4 ปีเริ่มผ่อนคลายลง ทั้งนี้การขยายตัวของผลผลิตน้ำมันใน
ประเทศ และการที่ทางการจีนรักษาระดับราคาน้ำมันไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่งผลให้ปริมาณความต้องการน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง คาดว่าปริมาณความต้องการน้ำมันของจีนซึ่งเป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกจะขยายตัวถึงร้อยละ 6.0 เนื่อง
จากภาวะอากาศในฤดูร้อน และการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีน ซึ่ง Reutersคาดการณ์ว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของจีนที่ไม่นับ
รวมปริมาณน้ำมันในสต็อกในเดือน ส.ค. จะสูงถึงวันละ 6.55 ล้านบาร์เรล (ตัวเลขที่ทางการจีนไม่ได้รายงาน) (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 25 ก.ย.49
The Department of Statistics เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสิงคโปร์ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน
สาเหตุจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยดัชนีที่เป็นส่วนประกอบหลัก ได้แก่
ราคาบ้านและราคาอาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และ 1.7 เทียบต่อปี ตามลำดับ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
ต่ำสุดในรอบเกือบ 1 ปี และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เทียบต่อปี ทั้งนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างแสดงความเห็นว่า
อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวลเนื่องจากยังคงเป็นไปตามการคาดการณ์ของ ธ.กลางสิงคโปร์ซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย
ของสิงคโปร์จะอยู่ที่ร้อยละ 1-2 ในปี 49 อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค.ดังกล่าว ได้สร้างความสับสนและก่อให้
เกิดการคาดหมายว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.ย. 49 25 ก.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.399 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.2131/37.4986 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13188 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 686.74/13.71 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,450/10,550 10,350/10,450 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.6 55.22 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 23 ก.ย. 49 25.99*/25.19* 25.99*/25.19* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--