นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามมติคณะกรรมการนโยบายข้าวได้กำหนดกรอบแนวทางการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ในปีการผลิต 2549/2550 ว่า มีเป้าหมายรับจำนำรวม 9 ล้านตันข้าวเปลือก โดยระยะเวลารับจำนำเริ่ม 1 พ.ย. 2549 - 28 ก.พ. 2550 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำ 1 ก.พ. - 31 พ.ค. 2550 ซึ่งเงื่อนไขและขั้นตอนการรับจำนำเหมือนเดิมตามปกติเช่นปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 10 ซึ่งเป็นระดับราคาที่ใกล้เคียงกับราคาตามกลไกตลาดที่แท้จริง
จากการเปลี่ยนแปลงราคารับจำนำข้าวดังกล่าว ผลกระทบจะตกอยูที่เกษตรกรซึ่งเป็นลูกค้าคนสำคัญ ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตระหนักถึงปัญหาที่ตามมา จึงต้องการทราบทัศนคติและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเพื่อช่วยหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมอบหมายให้ สศก. เป็นหน่วยงานหลักในการติดตามและประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2549/50 และเพื่อรับทราบทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการฯ
ทั้งนี้ สศข.6 เป็นหนึ่งในหน่วยงานส่วนภูมิภาค มีพื้นที่รับผิดชอบ 9 จังหวัดเป้าหมาย ที่เป็นแหล่งผลิตข้าว จะเริ่มดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล 3 ครั้ง ครั้งละ 3 จังหวัด จังหวัดละ 1 อำเภอ ที่เป็นแหล่งสำคัญ โดยครั้งที่ 1 วันที่ 6 -11 ธ.ค. 2549 ครั้งที่ 2 วันที่ 20 -25 ธ.ค. 2549 และครั้งที่ 3 วันที่ 3 -8 ม.ค. 2550 ซึ่งตัวอย่างเป้าหมายจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้จำนำ อำเภอละไม่น้อยกว่า 10 ราย ทั้งที่จำนำแบบยุ้งฉาง และแบบใบประทวน อีกกลุ่มคือ ผู้ไม่จำนำ อำเภอละไม่น้อยกว่า 8 ราย
สำหรับประเด็นในการสอบถาม จะเกี่ยวกับความต้องการจำนำข้าวแบบยุ้งฉางหรือแบบใบประทวน, ชนิดข้าวที่จำนำและราคาจำนำที่ได้รับ, ปริมาณข้าวที่จำนำปีนี้เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา, ค่าใช้จ่ายในการนำข้าวเปลือกไปจำนำ, การรับรู้หลักเกณฑ์การให้ราคาจำนำต้องขึ้นอยู่กับความชื้นและปริมาณข้าว, ความพึงพอใจต่อราคาจำนำที่เกษตรกรได้รับ, ความคิดเห็นต่อขั้นตอนการรับจำนำ, เกษตรกรจะไถ่ถอนข้าวที่จำนำหรือไม่ และสุดท้ายคือ ข้อเสนอแนะที่เห็นว่าโครงการรับจำนำมีปัญหา ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ซึ่งคาดว่า เมื่อสิ้นสุดการติดตามประเมินผลในแต่ละครั้ง ผลสรุปจะช่วยสะท้อนความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีทัศนคติต่อนโยบายของภาครัฐได้เป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
จากการเปลี่ยนแปลงราคารับจำนำข้าวดังกล่าว ผลกระทบจะตกอยูที่เกษตรกรซึ่งเป็นลูกค้าคนสำคัญ ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตระหนักถึงปัญหาที่ตามมา จึงต้องการทราบทัศนคติและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเพื่อช่วยหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมอบหมายให้ สศก. เป็นหน่วยงานหลักในการติดตามและประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2549/50 และเพื่อรับทราบทัศนคติของเกษตรกรต่อโครงการฯ
ทั้งนี้ สศข.6 เป็นหนึ่งในหน่วยงานส่วนภูมิภาค มีพื้นที่รับผิดชอบ 9 จังหวัดเป้าหมาย ที่เป็นแหล่งผลิตข้าว จะเริ่มดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล 3 ครั้ง ครั้งละ 3 จังหวัด จังหวัดละ 1 อำเภอ ที่เป็นแหล่งสำคัญ โดยครั้งที่ 1 วันที่ 6 -11 ธ.ค. 2549 ครั้งที่ 2 วันที่ 20 -25 ธ.ค. 2549 และครั้งที่ 3 วันที่ 3 -8 ม.ค. 2550 ซึ่งตัวอย่างเป้าหมายจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้จำนำ อำเภอละไม่น้อยกว่า 10 ราย ทั้งที่จำนำแบบยุ้งฉาง และแบบใบประทวน อีกกลุ่มคือ ผู้ไม่จำนำ อำเภอละไม่น้อยกว่า 8 ราย
สำหรับประเด็นในการสอบถาม จะเกี่ยวกับความต้องการจำนำข้าวแบบยุ้งฉางหรือแบบใบประทวน, ชนิดข้าวที่จำนำและราคาจำนำที่ได้รับ, ปริมาณข้าวที่จำนำปีนี้เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา, ค่าใช้จ่ายในการนำข้าวเปลือกไปจำนำ, การรับรู้หลักเกณฑ์การให้ราคาจำนำต้องขึ้นอยู่กับความชื้นและปริมาณข้าว, ความพึงพอใจต่อราคาจำนำที่เกษตรกรได้รับ, ความคิดเห็นต่อขั้นตอนการรับจำนำ, เกษตรกรจะไถ่ถอนข้าวที่จำนำหรือไม่ และสุดท้ายคือ ข้อเสนอแนะที่เห็นว่าโครงการรับจำนำมีปัญหา ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ซึ่งคาดว่า เมื่อสิ้นสุดการติดตามประเมินผลในแต่ละครั้ง ผลสรุปจะช่วยสะท้อนความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีทัศนคติต่อนโยบายของภาครัฐได้เป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-