กรุงเทพ--23 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทยร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงรับรองฉลองครบรอบ 75 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 24 พ.ค. 2549 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช-กุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาร่วมงานฯ ซึ่งแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานประกอบด้วยรัฐมนตรี องคมนตรี คณะทูตานุทูต ข้าราชการ นักวิชาการ และนักธุรกิจไทยและสวิส ประมาณ 200 คน
ไทยและสวิตเซอร์แลนด์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2474 อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศมีมายาวนานก่อนหน้านี้ แต่เริ่มพัฒนาขึ้นอย่างเด่นชัดนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือน พ.ค. 2440 ในการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 1 นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ไทยและสวิตเซอร์แลนด์มีความใกล้ชิดเป็นพิเศษ สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงศึกษาและเจริญพระชนม์ที่สวิตเซอร์แลนด์ อีกทั้งพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ ได้เคยประทับและเสด็จฯ เยือนสวิตเซอร์แลนด์ในหลายโอกาสอย่างสม่ำเสมอ
ในส่วนของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สวิตเซอร์แลนด์เป็นคู่ค้าอันดับที่ 21 ของไทยและเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของไทยในกลุ่มประเทศ European Free Trade Association (EFTA) ส่วนไทยเป็น คู่ค้าอันดับที่ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ในกลุ่มอาเซียน (รองจากสิงคโปร์) โดยสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่ไทยตั้งแต่ปี 2525 ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกรายการที่ไทยส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมบางประเภท (เช่น รองเท้า และสิ่งทอ) ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว และยังได้มีการจัดตั้ง Swiss-Thai Chamber of Commerce ในปี 2534 นอกจากนี้ ไทยกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาทำความตกลงการค้าเสรีกับกลุ่ม EFTA ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์เป็นสมาชิกด้วย
ในด้านการลงทุน ชาวสวิสเริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2409 ปัจจุบันมีบริษัทสวิสกว่า 150 บริษัทเข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ Nestle, Hocim, ABB, Diethelm Yeller, ETA (Swatch Group), Roche และ Novartis เป็นต้น ปัจจุบันมูลค่าการลงทุนของสวิตเซอร์แลนด์ในไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 3 ของการลงทุนจากกลุ่มประเทศยุโรป มีโครงการลงทุนจากสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI จำนวน 131 โครงการ มูลค่ากว่า 27,000 ล้านบาท โดยหนึ่งในสี่ของโครงการที่สวิตเซอร์แลนด์มาลงทุนเป็นสาขาอุตสาหกรรมเบาและสิ่งทอ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเกษตรกลับเป็นสาขาที่ได้รับเงินลงทุนมากที่สุด
ในด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสวิสเดินทางมาไทยเฉลี่ยปีละ 120,000 คน ทำรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้แก่ไทยประมาณปีละ 5,000 ล้านบาท
ปัจจุบัน มีชาวไทยในสวิตเซอร์แลนด์ประมาณ 12,000 คน ส่วนใหญ่สมรสกับชาวสวิส และเป็นแม่บ้าน หรือเปิดร้านอาหารไทย และมีชาวสวิสในไทยประมาณ 4,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้เกษียณอายุ และนักธุรกิจ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทยร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงรับรองฉลองครบรอบ 75 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 24 พ.ค. 2549 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช-กุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาร่วมงานฯ ซึ่งแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานประกอบด้วยรัฐมนตรี องคมนตรี คณะทูตานุทูต ข้าราชการ นักวิชาการ และนักธุรกิจไทยและสวิส ประมาณ 200 คน
ไทยและสวิตเซอร์แลนด์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2474 อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศมีมายาวนานก่อนหน้านี้ แต่เริ่มพัฒนาขึ้นอย่างเด่นชัดนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือน พ.ค. 2440 ในการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 1 นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ไทยและสวิตเซอร์แลนด์มีความใกล้ชิดเป็นพิเศษ สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงศึกษาและเจริญพระชนม์ที่สวิตเซอร์แลนด์ อีกทั้งพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ ได้เคยประทับและเสด็จฯ เยือนสวิตเซอร์แลนด์ในหลายโอกาสอย่างสม่ำเสมอ
ในส่วนของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สวิตเซอร์แลนด์เป็นคู่ค้าอันดับที่ 21 ของไทยและเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของไทยในกลุ่มประเทศ European Free Trade Association (EFTA) ส่วนไทยเป็น คู่ค้าอันดับที่ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ในกลุ่มอาเซียน (รองจากสิงคโปร์) โดยสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่ไทยตั้งแต่ปี 2525 ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกรายการที่ไทยส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมบางประเภท (เช่น รองเท้า และสิ่งทอ) ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว และยังได้มีการจัดตั้ง Swiss-Thai Chamber of Commerce ในปี 2534 นอกจากนี้ ไทยกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาทำความตกลงการค้าเสรีกับกลุ่ม EFTA ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์เป็นสมาชิกด้วย
ในด้านการลงทุน ชาวสวิสเริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2409 ปัจจุบันมีบริษัทสวิสกว่า 150 บริษัทเข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ Nestle, Hocim, ABB, Diethelm Yeller, ETA (Swatch Group), Roche และ Novartis เป็นต้น ปัจจุบันมูลค่าการลงทุนของสวิตเซอร์แลนด์ในไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 3 ของการลงทุนจากกลุ่มประเทศยุโรป มีโครงการลงทุนจากสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI จำนวน 131 โครงการ มูลค่ากว่า 27,000 ล้านบาท โดยหนึ่งในสี่ของโครงการที่สวิตเซอร์แลนด์มาลงทุนเป็นสาขาอุตสาหกรรมเบาและสิ่งทอ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเกษตรกลับเป็นสาขาที่ได้รับเงินลงทุนมากที่สุด
ในด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสวิสเดินทางมาไทยเฉลี่ยปีละ 120,000 คน ทำรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้แก่ไทยประมาณปีละ 5,000 ล้านบาท
ปัจจุบัน มีชาวไทยในสวิตเซอร์แลนด์ประมาณ 12,000 คน ส่วนใหญ่สมรสกับชาวสวิส และเป็นแม่บ้าน หรือเปิดร้านอาหารไทย และมีชาวสวิสในไทยประมาณ 4,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้เกษียณอายุ และนักธุรกิจ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-