ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยอมรับเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าลง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้เกิดจากนักลงทุนต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นของไทยเป็นหลัก เนื่องจากนักลงทุนมองว่าปัจจัยพื้นฐานของ
ตลาดหุ้นยังคงมีความน่าสนใจ ประกอบกับมีค่าอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (พีอี เรโช) ที่ต่ำ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน
เช่นเดียวกับที่ รมว.คลังได้ออกมาระบุก่อนหน้านี้ และยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท เพื่อให้ทิศทางค่าเงินบาทมี
ความชัดเจนมากขึ้น แต่การที่เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทดังกล่าวจะไม่เป็นการฝืนกลไกของตลาดแต่อย่างใด โดย ธปท.จะยังคงติดตามดูแลอย่าง
ใกล้ชิด เพื่อให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน,
สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ก.ล.ต.พอใจผลประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า โครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญ (AGM) ถือเป็นการดำเนินการเป็นครั้งแรก โดยได้ร่วมกับสมาคม
ส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ผลการประเมินที่ออกมาถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ตลท.) และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ซึ่งมีจำนวนกว่า 500 บริษัท พบว่ามีบริษัทที่ปิดทะเบียนผู้ถือหุ้นและจัดประชุมผู้ถือหุ้นภายในเดือน
มี.ค. — เม.ย.49 จำนวน 433 บริษัท ที่สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยได้ส่งตัวแทนเข้าไปประเมินผล พบว่า จำนวน 225 บริษัทหรือมากกว่าครึ่ง
ได้ผลอยู่ในระดับที่ดี คือมีคะแนนมากกว่า 70 คะแนน และมี บจ.3 รายที่ได้รับคะแนนเกินกว่า 100 คะแนน ประกอบด้วย ธ.กสิกรไทย (KBANK)
บ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) และ บ.เอสซี แอสเสทคอร์ปอเรชั่น (SC) (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ครม.อนุมัติลดวงเงินแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี งปม.49 ลง 5.92 หมื่นล้านบาท นพ.สรุพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 15 ส.ค. อนุมัติปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี งปม.49 ครั้งที่ 4 ตามที่
ก.คลัง เสนอ โดยลดวงเงินก่อหนี้รวมจากเดิม 1.01 ล้านล้านบาท เหลือ 9.53 แสนล้านบาท หรือลดลง 5.92 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ เป็นการ
ปรับลดวงเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่งด้วยกัน คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปรับลดวงเงินกู้โครงการทางด่วนรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก 1 พันล้านบาท และชะลอโครงการบ้านเอื้ออาทรระยะ 4
และ 5 จาก 3.6 หมื่นล้านบาท เหลือ 2.6 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังปรับลดวงเงินกู้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
2 โครงการรวม 4.39 พันล้านบาท ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับลดวงเงินกู้ 3 โครงการ วงเงินรวม 5,837.06 ล้านบาท
(โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานของ สรอ.ในเดือน ก.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 ส.ค. 49 ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานของ สรอ.ในเดือน ก.ค.49 ลดลงอย่างไม่
คาดหมายมาก่อนร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน นับเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน มิ.ย.49
เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้ผลิตโดยรวมซึ่งรวมราคาอาหารและพลังงานก็เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน มิ.ย.49
เป็นสัญญาณว่าภาวะเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวลง สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดธุรกรรมด้านการผลิตของรัฐนิวยอร์คที่ลดลง
มาอยู่ที่ระดับ 10.34 ในเดือน ส.ค.49 จากระดับ 16.58 ในเดือนก่อน ต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี นอกจากนี้ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้รับเหมา
ก่อสร้างก็ลดลง 7 จุดมาอยู่ที่ระดับ 32 จุด ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.34 เมื่อจำนวนบ้านที่ยังขายไม่ออกมีมากขึ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่าดัชนีราคา
ผู้ผลิตที่ชะลอตัวลงจะช่วยให้ ธ.กลาง สรอ.รู้สึกว่าสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้แล้วและตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีกระยะหนึ่ง
โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธ.กลาง สรอ.ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกหลังการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 17 ครั้งในรอบกว่า 2 ปีนับตั้งแต่เดือน
มิ.ย.47 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 เดือน ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ส.ค.49 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
15 ส.ค.49 The ABC News/Washington Post เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Comfort Index)
ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ส.ค.49 ว่าลดลง 3 จุดที่ระดับ -15 ต่ำสุดในรอบ 2 เดือน สาเหตุจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมถึงการที่
ภาวะเศรษฐกิจแสดงสัญญาณการชะลอตัว โดยร้อยละ 54 ของผู้ถูกสำรวจมองว่าภาวะเศรษฐกิจ สรอ.กำลังประสบภาวะชะลอตัว ขณะที่เพียง
ร้อยละ 15 ที่เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจกำลังดีขึ้น สำหรับส่วนประกอบ 3 ตัวของดัชนีฯ ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยสัดส่วนของผู้ถูกสำรวจที่มีความคาด
หวังในแง่ดีต่อภาวะการเงินส่วนตัวลดลงร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 59 สัดส่วนของผู้ถูกสำรวจที่มีความคาดหวังในแง่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมลดลง
ร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 36 ขณะที่สัดส่วนของผู้ถูกสำรวจที่มีความคาดหวังในแง่ดีต่อภาวะการจับจ่ายใช้สอยคงที่ที่ร้อยละ 34 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
ตามลำดับ อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นเครื่องมือในการประเมินการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ
ของ สรอ. (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีของอังกฤษในเดือน ก.ค. ลดลงเล็กน้อย รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่
15 ก.ค.49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีของอังกฤษในเดือน ก.ค.49 ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับร้อยละ
2.4 จากร้อยละ 2.5 ในเดือน มิ.ย.49 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2540 โดยเป็นผลจากราคาเฟอร์นิเจอร์ลดลง ทั้งนี้ การลดลงของ
อัตราเงินเฟ้ออาจจะเป็นการลดลงเพียงชั่วคราว เนื่องจากค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนและค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า
อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของเดือนนี้ยังอยู่ในระดับสูงกว่าที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 2.0 ซึ่ง
ดูเหมือนว่าผู้กำหนดนโยบายของรัฐจะกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ดูแลได้
โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่าการขาดปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะพุ่งสูงถึงร้อยละ 3 ภายในสิ้นปีนี้ อาจทำให้ ธ.กลางอังกฤษ
ไม่มีทางเลือกที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 ประมาณเดือน พ.ย.นี้ หลังจากที่ ธ.กลางอังกฤษ
คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อปีนี้อาจพุ่งขึ้นถึงระดับร้อยละ 2.7 แม้กระทั่งผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ ยังกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ครึ่งต่อครึ่งที่อัตรา
เงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นถึงระดับร้อยละ 3.0 ภายใน 6 เดือน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.7 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 49
สำนักงานสถิติแห่งชาติของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย. ดัชนีค้าปลีกของสิงคโปร์ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 3.7 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล)
ลดลงมากกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ไว้ว่าดัชนีค้าปลีกในเดือน มิ.ย. จะลดลงเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.1 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.0 ในเดือน พ.ค. และหากไม่นับรวมยอดขายยานพาหนะ ดัชนีค้าปลีกลดลงร้อยละ 1.2 จากเดือน พ.ค. แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วดัชนี
ค้าปลีกกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เนื่องจากในเดือน มิ.ย. ปีนี้ยอดขายของห้างสรรพสินค้ารวมทั้งยอดการขายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วถึงร้อยละ
8.1 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามดัชนีค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบต่อปียังน้อยกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่ายอดค้าปลีกของ
สิงคโปร์ในเดือน มิ.ย. จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.5 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 ส.ค. 49 15 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.405 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.2037/37.4941 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.1225 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 707.68/ 11.62 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,100/11,200 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.7 69.14 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 16 ส.ค. 49 29.79*/27.54 30.19*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยอมรับเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าลง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้เกิดจากนักลงทุนต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นของไทยเป็นหลัก เนื่องจากนักลงทุนมองว่าปัจจัยพื้นฐานของ
ตลาดหุ้นยังคงมีความน่าสนใจ ประกอบกับมีค่าอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (พีอี เรโช) ที่ต่ำ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน
เช่นเดียวกับที่ รมว.คลังได้ออกมาระบุก่อนหน้านี้ และยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท เพื่อให้ทิศทางค่าเงินบาทมี
ความชัดเจนมากขึ้น แต่การที่เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทดังกล่าวจะไม่เป็นการฝืนกลไกของตลาดแต่อย่างใด โดย ธปท.จะยังคงติดตามดูแลอย่าง
ใกล้ชิด เพื่อให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน,
สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ก.ล.ต.พอใจผลประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า โครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญ (AGM) ถือเป็นการดำเนินการเป็นครั้งแรก โดยได้ร่วมกับสมาคม
ส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ผลการประเมินที่ออกมาถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ตลท.) และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ซึ่งมีจำนวนกว่า 500 บริษัท พบว่ามีบริษัทที่ปิดทะเบียนผู้ถือหุ้นและจัดประชุมผู้ถือหุ้นภายในเดือน
มี.ค. — เม.ย.49 จำนวน 433 บริษัท ที่สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยได้ส่งตัวแทนเข้าไปประเมินผล พบว่า จำนวน 225 บริษัทหรือมากกว่าครึ่ง
ได้ผลอยู่ในระดับที่ดี คือมีคะแนนมากกว่า 70 คะแนน และมี บจ.3 รายที่ได้รับคะแนนเกินกว่า 100 คะแนน ประกอบด้วย ธ.กสิกรไทย (KBANK)
บ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) และ บ.เอสซี แอสเสทคอร์ปอเรชั่น (SC) (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ครม.อนุมัติลดวงเงินแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี งปม.49 ลง 5.92 หมื่นล้านบาท นพ.สรุพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 15 ส.ค. อนุมัติปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี งปม.49 ครั้งที่ 4 ตามที่
ก.คลัง เสนอ โดยลดวงเงินก่อหนี้รวมจากเดิม 1.01 ล้านล้านบาท เหลือ 9.53 แสนล้านบาท หรือลดลง 5.92 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ เป็นการ
ปรับลดวงเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่งด้วยกัน คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปรับลดวงเงินกู้โครงการทางด่วนรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก 1 พันล้านบาท และชะลอโครงการบ้านเอื้ออาทรระยะ 4
และ 5 จาก 3.6 หมื่นล้านบาท เหลือ 2.6 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังปรับลดวงเงินกู้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
2 โครงการรวม 4.39 พันล้านบาท ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับลดวงเงินกู้ 3 โครงการ วงเงินรวม 5,837.06 ล้านบาท
(โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานของ สรอ.ในเดือน ก.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 ส.ค. 49 ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานของ สรอ.ในเดือน ก.ค.49 ลดลงอย่างไม่
คาดหมายมาก่อนร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน นับเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน มิ.ย.49
เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้ผลิตโดยรวมซึ่งรวมราคาอาหารและพลังงานก็เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน มิ.ย.49
เป็นสัญญาณว่าภาวะเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวลง สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดธุรกรรมด้านการผลิตของรัฐนิวยอร์คที่ลดลง
มาอยู่ที่ระดับ 10.34 ในเดือน ส.ค.49 จากระดับ 16.58 ในเดือนก่อน ต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี นอกจากนี้ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้รับเหมา
ก่อสร้างก็ลดลง 7 จุดมาอยู่ที่ระดับ 32 จุด ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.34 เมื่อจำนวนบ้านที่ยังขายไม่ออกมีมากขึ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่าดัชนีราคา
ผู้ผลิตที่ชะลอตัวลงจะช่วยให้ ธ.กลาง สรอ.รู้สึกว่าสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้แล้วและตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีกระยะหนึ่ง
โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธ.กลาง สรอ.ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกหลังการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 17 ครั้งในรอบกว่า 2 ปีนับตั้งแต่เดือน
มิ.ย.47 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 เดือน ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ส.ค.49 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
15 ส.ค.49 The ABC News/Washington Post เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Comfort Index)
ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ส.ค.49 ว่าลดลง 3 จุดที่ระดับ -15 ต่ำสุดในรอบ 2 เดือน สาเหตุจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมถึงการที่
ภาวะเศรษฐกิจแสดงสัญญาณการชะลอตัว โดยร้อยละ 54 ของผู้ถูกสำรวจมองว่าภาวะเศรษฐกิจ สรอ.กำลังประสบภาวะชะลอตัว ขณะที่เพียง
ร้อยละ 15 ที่เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจกำลังดีขึ้น สำหรับส่วนประกอบ 3 ตัวของดัชนีฯ ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยสัดส่วนของผู้ถูกสำรวจที่มีความคาด
หวังในแง่ดีต่อภาวะการเงินส่วนตัวลดลงร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 59 สัดส่วนของผู้ถูกสำรวจที่มีความคาดหวังในแง่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมลดลง
ร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 36 ขณะที่สัดส่วนของผู้ถูกสำรวจที่มีความคาดหวังในแง่ดีต่อภาวะการจับจ่ายใช้สอยคงที่ที่ร้อยละ 34 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
ตามลำดับ อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นเครื่องมือในการประเมินการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ
ของ สรอ. (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีของอังกฤษในเดือน ก.ค. ลดลงเล็กน้อย รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่
15 ก.ค.49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีของอังกฤษในเดือน ก.ค.49 ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับร้อยละ
2.4 จากร้อยละ 2.5 ในเดือน มิ.ย.49 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2540 โดยเป็นผลจากราคาเฟอร์นิเจอร์ลดลง ทั้งนี้ การลดลงของ
อัตราเงินเฟ้ออาจจะเป็นการลดลงเพียงชั่วคราว เนื่องจากค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนและค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า
อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของเดือนนี้ยังอยู่ในระดับสูงกว่าที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 2.0 ซึ่ง
ดูเหมือนว่าผู้กำหนดนโยบายของรัฐจะกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ดูแลได้
โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่าการขาดปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะพุ่งสูงถึงร้อยละ 3 ภายในสิ้นปีนี้ อาจทำให้ ธ.กลางอังกฤษ
ไม่มีทางเลือกที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 ประมาณเดือน พ.ย.นี้ หลังจากที่ ธ.กลางอังกฤษ
คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อปีนี้อาจพุ่งขึ้นถึงระดับร้อยละ 2.7 แม้กระทั่งผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ ยังกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ครึ่งต่อครึ่งที่อัตรา
เงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นถึงระดับร้อยละ 3.0 ภายใน 6 เดือน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.7 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 49
สำนักงานสถิติแห่งชาติของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย. ดัชนีค้าปลีกของสิงคโปร์ลดลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 3.7 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล)
ลดลงมากกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ไว้ว่าดัชนีค้าปลีกในเดือน มิ.ย. จะลดลงเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.1 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.0 ในเดือน พ.ค. และหากไม่นับรวมยอดขายยานพาหนะ ดัชนีค้าปลีกลดลงร้อยละ 1.2 จากเดือน พ.ค. แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วดัชนี
ค้าปลีกกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เนื่องจากในเดือน มิ.ย. ปีนี้ยอดขายของห้างสรรพสินค้ารวมทั้งยอดการขายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วถึงร้อยละ
8.1 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามดัชนีค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบต่อปียังน้อยกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่ายอดค้าปลีกของ
สิงคโปร์ในเดือน มิ.ย. จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.5 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 ส.ค. 49 15 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.405 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.2037/37.4941 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.1225 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 707.68/ 11.62 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,100/11,200 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.7 69.14 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 16 ส.ค. 49 29.79*/27.54 30.19*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--