พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร
วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 1/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 2- 5 ม.ค.49
ในระยะนี้ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่ยังคงทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็น และมีหมอกในหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้และอ่าวไทยมีมรสุมตะวันออกเฉียง เหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนกระจาย ในช่วงวันที่ 6-8 ม.ค. 49 จะมีความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอุณหภูมิลดลง ลมแรง และคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น
ข้อควรระวัง
ในระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีหมอกในหลายพื้นที่ ขอให้ระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก และในช่วงวันที่ 6-8 ม.ค. 49 ขอให้ชาวเรือในอ่าวไทยระวังคลื่นลมแรง
เหนือ
มีหมอกหลายพื้นที่ในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-14๐ซ. ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18๐ซ. สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-8๐ซ. ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 49 อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา ลมอ่อน ความเร็ว 6-12 กม./ชม.
มีหมอกหลายพื้นที่ในตอนเช้า ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-14๐ซ. ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18๐ซ. สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-8๐ซ. ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 49 อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา ลมอ่อน ความเร็ว 6-12 กม./ชม. เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และเพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 49 อุณหภูมิจะลดลงและอาจทำให้เกิดมีน้ำค้างแข็งได้บางพื้นที่ในบริเวณยอดดอย เกษตรกรควรระวังความเสียหายของพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชผักและไม้ดอก
ตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-20๐ซ. สำหรับบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-13๐ซ. ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. 49 อุณหภูมิลดลง 3-5 องศา และมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-20๐ซ. สำหรับบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-13๐ซ. ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. 49 อุณหภูมิลดลง 3-5 องศา และมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. เกษตรกรควรลดปริมาณอาหารของสัตว์น้ำ เนื่องจากอุณหภูมิต่ำสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่และพืชผัก
กลาง
อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23๐ซ. ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 49 อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา และมี ลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. # อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23๐ซ. ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 49 อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา และมี ลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชไร่และไม้ผลโดยเฉพาะที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต ส่วนเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยแทนการปลูก ข้าวนาปรัง
ตะวันออก
อากาศเย็น และมีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง 10%ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 2-3 ม.ค.49 อุณหภูมิต่ำสุด 21-23๐ซ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 49 อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา และมี ลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
อากาศเย็น และมีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง 10%ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 2-3 ม.ค.49 อุณหภูมิต่ำสุด 21-23๐ซ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 49 อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา และมี ลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะมีน้อยเกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดฤดูแล้ง สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดหากพบการระบาดควรฉีดพ่นด้วยน้ำและควรงดฉีดพ่นยาฆ่าแมลงเนื่องจากจะทำลายแมลงที่ช่วยในการผสมเกสร
ใต้
เหนือจังหวัดชุมพรขึ้นมามีอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 ๐ซ และตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 30-40%ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. และในช่วงวันที่ 6-8 ม.ค.49ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม/ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30% ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม.
เหนือจังหวัดชุมพรขึ้นมามีอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 ๐ซ และตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 30-40%ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. และในช่วงวันที่ 6-8 ม.ค.49ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม/ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30% ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูก และหากพบต้นไม้ที่ล้มเอนควรค้ำยันและผูกโยงให้ลำต้นตั้งตรง ถ้ามีบาดแผลควรตัดแต่ง ทำความสะอาดแล้วทาด้วยปูนแดง นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6-8 ม.ค.49 คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-