แท็ก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กระทรวงการต่างประเทศ
สาธารณรัฐประชาชนจีน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กระทรวงมหาดไทย
เอกอัครราชทูต
กรุงเทพ--28 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2549 กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน กพร. และมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระหว่างเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยระบบบูรณาการ (ระบบ CEO) ประจำประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และราชอาณาจักรกัมพูชา) กับผู้ว่าราชการจังหวัดระบบบูรณาการ (CEO) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (19 จังหวัด คือ หนองคาย หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี) และภาคเหนือตอนล่าง (5 จังหวัด คือ พิษณุโลก ตาก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และสุโขทัย) ขึ้น ที่โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น โดยจะมีการหารือระดมสมองกันในหัวข้อเรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยใช้เส้นทางเศรษฐกิจตามแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor - EWEC)” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่รัฐบาลกำลังผลักดัน
ในโอกาสนี้ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีข้าราชการระดับสูงของกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทย นักวิชาการ และภาคเอกชนเข้าร่วม และในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ดร. กันตธีร์ฯ จะเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการร่วม (Regional Operation Center - ROC) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นที่สถาบันยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วย
เส้นทางเศรษฐกิจตามแนวตะวันออก-ตะวันตก (EWEC)เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Great Mekong Basin Sub-region (GMS) และมีวัตถุประสงค์หลักที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านทะเลอันดามัน เข้ากับพื้นที่ฝั่งตะวันออกด้านทะเลจีนใต้ มีจุดเริ่มต้นจากชายฝั่งพม่า เข้าสู่ประเทศไทยผ่านจังหวัดตาก สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร เข้าสู่ลาว และสิ้นสุดที่ชายฝั่งเมืองดานังในเวียดนาม เส้นทาง EWEC มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 กิโลเมตร และเป็นเส้นทางถนนเพียงสายเดียวที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลอันดามันกับทะเลจีนใต้โดยตรง และยังสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางหมายเลข 13 ในลาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเส้นทางเศรษฐกิจตามแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor - NSEC) ขึ้นไปสู่จีนได้ นอกจากนั้น การใช้ประโยชน์ตามแนวเส้นทางทั้งสองนี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับความร่วมมือภายใต้กรอบบยุทธศาสตร์อีกยุทธศาสตร์หนึ่งของรัฐบาล คือ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม (ACMECS: Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) อีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2549 กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน กพร. และมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระหว่างเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยระบบบูรณาการ (ระบบ CEO) ประจำประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และราชอาณาจักรกัมพูชา) กับผู้ว่าราชการจังหวัดระบบบูรณาการ (CEO) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (19 จังหวัด คือ หนองคาย หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี) และภาคเหนือตอนล่าง (5 จังหวัด คือ พิษณุโลก ตาก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และสุโขทัย) ขึ้น ที่โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น โดยจะมีการหารือระดมสมองกันในหัวข้อเรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยใช้เส้นทางเศรษฐกิจตามแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor - EWEC)” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่รัฐบาลกำลังผลักดัน
ในโอกาสนี้ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีข้าราชการระดับสูงของกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทย นักวิชาการ และภาคเอกชนเข้าร่วม และในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ดร. กันตธีร์ฯ จะเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการร่วม (Regional Operation Center - ROC) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นที่สถาบันยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วย
เส้นทางเศรษฐกิจตามแนวตะวันออก-ตะวันตก (EWEC)เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Great Mekong Basin Sub-region (GMS) และมีวัตถุประสงค์หลักที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านทะเลอันดามัน เข้ากับพื้นที่ฝั่งตะวันออกด้านทะเลจีนใต้ มีจุดเริ่มต้นจากชายฝั่งพม่า เข้าสู่ประเทศไทยผ่านจังหวัดตาก สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร เข้าสู่ลาว และสิ้นสุดที่ชายฝั่งเมืองดานังในเวียดนาม เส้นทาง EWEC มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 กิโลเมตร และเป็นเส้นทางถนนเพียงสายเดียวที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลอันดามันกับทะเลจีนใต้โดยตรง และยังสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางหมายเลข 13 ในลาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเส้นทางเศรษฐกิจตามแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor - NSEC) ขึ้นไปสู่จีนได้ นอกจากนั้น การใช้ประโยชน์ตามแนวเส้นทางทั้งสองนี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับความร่วมมือภายใต้กรอบบยุทธศาสตร์อีกยุทธศาสตร์หนึ่งของรัฐบาล คือ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม (ACMECS: Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) อีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-