ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.แจงสาเหตุการปรับขึ้นดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วันที่ร้อยละ 5.0 ผอส.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร อายุ 14 วัน มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 นั้น ถือเป็นความจำเป็นในการสกัดผล
กระทบอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นกว่าการประมาณการของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่วิเคราะห์ไว้ในการประชุมครั้งก่อน
รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบราคาน้ำมันรอบ 2 ต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยหากน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ลดลงร้อยละ 0.03 และกระทบต้นทุนให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 และเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 ซึ่ง
ขณะนี้ ธปท.เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับดังกล่าวถือว่าเหมาะสมกับกรดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจในขณะนี้แล้ว แม้ว่าใน 8 ไตรมาสข้างหน้า
ยังมีบางไตรมาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะสูงกว่าร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ ธปท.กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม หากอัตราเงินเฟ้อในอนาคตปรับตัว
ลดลง ธปท.ก็จะทรงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เพื่อรอดูการปรับตัวของเศรษฐกิจ หลังจากนั้น หากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวดีขึ้น ธปท.อาจมีการปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยต่อไปได้ (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.เผยยอดจำหน่ายสินค้าภาคอุตสาหกรรม ณ สิ้นเดือน เม.ย.49 ส่วนใหญ่ลดลง รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ระบุว่า จากการสำรวจปริมาณการจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศของ ธปท. สิ้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาพบว่า ยอดจำหน่ายสินค้าภาค
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มียอดจำหน่ายลดลง เทียบกับสิ้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา และส่วนใหญ่เป็นการชะลอของยอดจำหน่ายต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 49 โดย
เฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงให้เห็นการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคประชาชน นอกจากนั้น ยอดจำหน่ายที่
ลดลงนี้ยังสร้างความกังวลต่อแนวโน้มการผลิตและการลงทุนใหม่ในอนาคต (ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังเตรียมปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ หลังมาเลเซียชิงลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 5.0 ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เปิดเผยว่า สศค.จะเสนอรายงานผลการศึกษาโครงสร้างการปรับลดภาษีอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์จำนวน
1,000 รายการ ให้ปลัด ก.คลังพิจารณาภายในสัปดาห์นี้ หลังหารือกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ สาเหตุที่ไทยต้องเร่ง
ปรับลดภาษีอุตสาหกรรมรถยนต์โดยด่วน เนื่องจากประเทศมาเลเซียที่เป็นคู่แข่งสำคัญได้ลดภาษีรถยนต์ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 แล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้มา
เลเซียชิงส่วนแบ่งการตลาดการเป็นการศูนย์กลางผลิตรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียในอนาคตได้ แม้ว่าขณะนี้ไทยจะยังมีสัดส่วนมากกว่า แต่รถยนต์ของมา
เลเซียที่จะเข้ามามีทั้งคุณภาพดี ราคาแพง และคุณภาพพอใช้ ราคาถูก ดังนั้น ก.คลังและผู้ประกอบการต้องศึกษาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อเป็น
แนวทางการปรับโครงสร้างภาษีอีกทาง (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นทางสังคมในเดือน พ.ค.49 และแนวโน้มในอีก 3 เดือนข้างหน้าต่ำกว่าระดับ 100 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและ
ธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางสังคมหรือดัชนีความสุขของคนไทยในช่วงเดือน พ.ค.และแนวโน้มในอีก 3
เดือนข้างหน้าพบว่า ดัชนีความสุขของคนไทยอยู่ที่ระดับ 88.2 และใน 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 88 ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 48.3 ส่วน 3 เดือนข้างหน้า
อยู่ที่ 48.4 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 100 มาก ผลสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คนไทยยังรู้สึกว่าความสุขในปัจจุบันอยู่ในระดับแย่ โดยปัจจัยสำคัญมาจาก
ความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น และเหตุการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ได้รับการ
คลี่คลาย จากภาวะดังกล่าวทำให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ จะมีการปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่ โดยจะลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะ
เติบโตร้อยละ 4-4.5 เพราะต้องประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก การส่งออก และการขยายตัวด้าน
การลงทุนที่คาดว่าจะหดตัวลง (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เดือน พ.ค.49 ยอดขายปลีกของจีนขยายตัวร้อยละ 14.2 สูงสุดในรอบ 17 เดือน รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 13 มิ.ย.49
The National Bureau of Statistics เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของจีนในเดือน พ.ค.49 ขยายตัวร้อยละ 14.2 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบ
1 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.5 และเป็นการขยายตัวเหนือระดับร้อยละ 13 ต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน มี.ค. และ เม.ย.
ซึ่งขยายตัวร้อยละ 13.5 และ 13.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ การขยายตัวของยอดขายปลีกดังกล่าวสะท้อนความแข็งแกร่งของการใช้จ่ายภายในประเทศ
ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างแสดงความเห็นว่าอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ ธ.กลางจีนดำเนินนโยบายทางการเงินบางอย่างเพื่อชะลอความร้อนแรง
ของเศรษฐกิจ อาทิเช่น การเพิ่มอัตราส่วนทุนสำรองทางการระหว่างประเทศ หรือการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลา 9 เดือน
ข้างหน้า (รอยเตอร์)
2. ความคาดหวังของนักลงทุนในเยอรมนีเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้าลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน
รายงานจากเมนน์เฮม์ เยอรมนี เมื่อ 13 มิ.ย.49 ผลสำรวจความคาดหวังของนักลงทุนในเยอรมนีเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้าจาก
ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันจำนวน 303 คนในระหว่างวันที่ 29 พ.ค.ถึง 12 มิ.ย.49 ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันมา
อยู่ที่ระดับ 37.8 จากระดับ 50.0 ในเดือน พ.ค.49 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.48 และต่ำกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ที่ 45.0 ทั้งนี้คาดว่า
เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเกือบ 70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลนับตั้งแต่กลางเดือน เม.ย.49 เป็นต้นมาและยังเป็นผลมาจากการคาดว่า
ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อปีเป็นร้อยละ 2.75 ต่อปีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้
ยังเป็นผลมาจากค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลกำไรของธุรกิจและทำให้สินค้าส่งออกของเยอรมนีมีราคาสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนเกี่ยวกับเศรษฐกิจในปัจจุบันกลับสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 11.9 สูงสุดในรอบกว่า 5 ปีนับตั้งแต่เดือน
มี.ค.44 จากระดับ 8.7 ในเดือน พ.ค.49 และสูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ที่ 9.3 นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าผลสำรวจที่แตกต่างกันระหว่าง
เศรษฐกิจในปัจจุบันและในอนาคตดังกล่าวข้างต้นชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงสุดแล้วและมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงในอนาคต
อันใกล้นี้ ทั้งนี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 2.0 ในปี 49 หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.0 ในปี
48 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.49 สนง.สถิติกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อ
เดือน และร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี ลดลงจากเดือน เม.ย.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 2.0 เทียบต่อปี โดยราคาน้ำมันยัง
เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อสำหรับเดือนนี้เหมือนเช่นที่เป็นมาในรอบกว่า 2 ปี ซึ่งถ้าไม่รวมปัจจัยด้านพลังงานอัตราเงินเฟ้อรายปีจะ
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 โดยราคาพลังงานในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.7 และคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า
ครึ่งหนึ่งของดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดจากเดือน พ.ค.48 ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับของสหภาพยุโรป
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 2.1 เทียบต่อปี ในขณะที่เมื่อสัปดาห์ก่อน ธ.กลางของสหภาพยุโรปได้ส่งสัญญาณว่าอาจจะต้องมี
การปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอนาคตเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโร โดยได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.75 ซึ่งเป็น
ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค. สูงกว่าเป้าหมาย รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 49 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ของอังกฤษเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ
2.0 และอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน ต.ค. ขณะที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ ผว.ธ.กลาง
อังกฤษเตือนว่าสัญญานเงินเฟ้อดังกล่าวส่วนใหญ่มีสาเหตุจากต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคทำให้ภาคครัวเรือนมีค่าใช้จ่าย
เพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งผลกระทบต่อราคาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า โดยราคาแก๊สเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.09 ขณะที่ราคาไฟฟ้า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 มิ.ย. 49 9 มิ.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.414 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2202/38.5230 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.01516 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 670.41/ 12.16 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,250/10,350 11,300/11,400 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.83 64.55 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 มิ.ย. 49 29.79*/27.14* 29.79*/27.14* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.แจงสาเหตุการปรับขึ้นดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วันที่ร้อยละ 5.0 ผอส.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร อายุ 14 วัน มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 นั้น ถือเป็นความจำเป็นในการสกัดผล
กระทบอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นกว่าการประมาณการของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่วิเคราะห์ไว้ในการประชุมครั้งก่อน
รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบราคาน้ำมันรอบ 2 ต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยหากน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ลดลงร้อยละ 0.03 และกระทบต้นทุนให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 และเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 ซึ่ง
ขณะนี้ ธปท.เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับดังกล่าวถือว่าเหมาะสมกับกรดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจในขณะนี้แล้ว แม้ว่าใน 8 ไตรมาสข้างหน้า
ยังมีบางไตรมาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะสูงกว่าร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ ธปท.กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม หากอัตราเงินเฟ้อในอนาคตปรับตัว
ลดลง ธปท.ก็จะทรงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เพื่อรอดูการปรับตัวของเศรษฐกิจ หลังจากนั้น หากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวดีขึ้น ธปท.อาจมีการปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยต่อไปได้ (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.เผยยอดจำหน่ายสินค้าภาคอุตสาหกรรม ณ สิ้นเดือน เม.ย.49 ส่วนใหญ่ลดลง รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ระบุว่า จากการสำรวจปริมาณการจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศของ ธปท. สิ้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาพบว่า ยอดจำหน่ายสินค้าภาค
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มียอดจำหน่ายลดลง เทียบกับสิ้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา และส่วนใหญ่เป็นการชะลอของยอดจำหน่ายต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 49 โดย
เฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงให้เห็นการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคประชาชน นอกจากนั้น ยอดจำหน่ายที่
ลดลงนี้ยังสร้างความกังวลต่อแนวโน้มการผลิตและการลงทุนใหม่ในอนาคต (ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังเตรียมปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ หลังมาเลเซียชิงลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 5.0 ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เปิดเผยว่า สศค.จะเสนอรายงานผลการศึกษาโครงสร้างการปรับลดภาษีอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์จำนวน
1,000 รายการ ให้ปลัด ก.คลังพิจารณาภายในสัปดาห์นี้ หลังหารือกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ สาเหตุที่ไทยต้องเร่ง
ปรับลดภาษีอุตสาหกรรมรถยนต์โดยด่วน เนื่องจากประเทศมาเลเซียที่เป็นคู่แข่งสำคัญได้ลดภาษีรถยนต์ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 แล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้มา
เลเซียชิงส่วนแบ่งการตลาดการเป็นการศูนย์กลางผลิตรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียในอนาคตได้ แม้ว่าขณะนี้ไทยจะยังมีสัดส่วนมากกว่า แต่รถยนต์ของมา
เลเซียที่จะเข้ามามีทั้งคุณภาพดี ราคาแพง และคุณภาพพอใช้ ราคาถูก ดังนั้น ก.คลังและผู้ประกอบการต้องศึกษาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อเป็น
แนวทางการปรับโครงสร้างภาษีอีกทาง (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นทางสังคมในเดือน พ.ค.49 และแนวโน้มในอีก 3 เดือนข้างหน้าต่ำกว่าระดับ 100 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและ
ธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางสังคมหรือดัชนีความสุขของคนไทยในช่วงเดือน พ.ค.และแนวโน้มในอีก 3
เดือนข้างหน้าพบว่า ดัชนีความสุขของคนไทยอยู่ที่ระดับ 88.2 และใน 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 88 ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 48.3 ส่วน 3 เดือนข้างหน้า
อยู่ที่ 48.4 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 100 มาก ผลสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คนไทยยังรู้สึกว่าความสุขในปัจจุบันอยู่ในระดับแย่ โดยปัจจัยสำคัญมาจาก
ความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น และเหตุการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ได้รับการ
คลี่คลาย จากภาวะดังกล่าวทำให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ จะมีการปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่ โดยจะลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะ
เติบโตร้อยละ 4-4.5 เพราะต้องประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก การส่งออก และการขยายตัวด้าน
การลงทุนที่คาดว่าจะหดตัวลง (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เดือน พ.ค.49 ยอดขายปลีกของจีนขยายตัวร้อยละ 14.2 สูงสุดในรอบ 17 เดือน รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 13 มิ.ย.49
The National Bureau of Statistics เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของจีนในเดือน พ.ค.49 ขยายตัวร้อยละ 14.2 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบ
1 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.5 และเป็นการขยายตัวเหนือระดับร้อยละ 13 ต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน มี.ค. และ เม.ย.
ซึ่งขยายตัวร้อยละ 13.5 และ 13.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ การขยายตัวของยอดขายปลีกดังกล่าวสะท้อนความแข็งแกร่งของการใช้จ่ายภายในประเทศ
ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างแสดงความเห็นว่าอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ ธ.กลางจีนดำเนินนโยบายทางการเงินบางอย่างเพื่อชะลอความร้อนแรง
ของเศรษฐกิจ อาทิเช่น การเพิ่มอัตราส่วนทุนสำรองทางการระหว่างประเทศ หรือการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลา 9 เดือน
ข้างหน้า (รอยเตอร์)
2. ความคาดหวังของนักลงทุนในเยอรมนีเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้าลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน
รายงานจากเมนน์เฮม์ เยอรมนี เมื่อ 13 มิ.ย.49 ผลสำรวจความคาดหวังของนักลงทุนในเยอรมนีเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้าจาก
ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันจำนวน 303 คนในระหว่างวันที่ 29 พ.ค.ถึง 12 มิ.ย.49 ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันมา
อยู่ที่ระดับ 37.8 จากระดับ 50.0 ในเดือน พ.ค.49 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.48 และต่ำกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ที่ 45.0 ทั้งนี้คาดว่า
เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเกือบ 70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลนับตั้งแต่กลางเดือน เม.ย.49 เป็นต้นมาและยังเป็นผลมาจากการคาดว่า
ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อปีเป็นร้อยละ 2.75 ต่อปีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้
ยังเป็นผลมาจากค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลกำไรของธุรกิจและทำให้สินค้าส่งออกของเยอรมนีมีราคาสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนเกี่ยวกับเศรษฐกิจในปัจจุบันกลับสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 11.9 สูงสุดในรอบกว่า 5 ปีนับตั้งแต่เดือน
มี.ค.44 จากระดับ 8.7 ในเดือน พ.ค.49 และสูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ที่ 9.3 นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าผลสำรวจที่แตกต่างกันระหว่าง
เศรษฐกิจในปัจจุบันและในอนาคตดังกล่าวข้างต้นชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงสุดแล้วและมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงในอนาคต
อันใกล้นี้ ทั้งนี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 2.0 ในปี 49 หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.0 ในปี
48 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.49 สนง.สถิติกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อ
เดือน และร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี ลดลงจากเดือน เม.ย.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 2.0 เทียบต่อปี โดยราคาน้ำมันยัง
เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อสำหรับเดือนนี้เหมือนเช่นที่เป็นมาในรอบกว่า 2 ปี ซึ่งถ้าไม่รวมปัจจัยด้านพลังงานอัตราเงินเฟ้อรายปีจะ
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7 โดยราคาพลังงานในเดือน พ.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.7 และคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า
ครึ่งหนึ่งของดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดจากเดือน พ.ค.48 ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับของสหภาพยุโรป
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน และร้อยละ 2.1 เทียบต่อปี ในขณะที่เมื่อสัปดาห์ก่อน ธ.กลางของสหภาพยุโรปได้ส่งสัญญาณว่าอาจจะต้องมี
การปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอนาคตเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโร โดยได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.75 ซึ่งเป็น
ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค. สูงกว่าเป้าหมาย รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 49 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ของอังกฤษเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ
2.0 และอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน ต.ค. ขณะที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ ผว.ธ.กลาง
อังกฤษเตือนว่าสัญญานเงินเฟ้อดังกล่าวส่วนใหญ่มีสาเหตุจากต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคทำให้ภาคครัวเรือนมีค่าใช้จ่าย
เพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งผลกระทบต่อราคาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า โดยราคาแก๊สเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.09 ขณะที่ราคาไฟฟ้า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 มิ.ย. 49 9 มิ.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.414 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2202/38.5230 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.01516 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 670.41/ 12.16 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,250/10,350 11,300/11,400 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.83 64.55 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 มิ.ย. 49 29.79*/27.14* 29.79*/27.14* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--