สภาผู้แทนราษฎร
ถนนอู่ทองใน กทม. ๑๐๓๐๐
๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
เรื่อง ขอให้สอบสวนการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542
เรียน ประธานและคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของต่างด้าว
สิ่งที่ส่งมาด้วย แผนภาพแสดงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ “ชินคอร์ป”ตามที่กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น ซึ่งประกอบด้วยนางสาวพินทองทา ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ นายพานทองแท้ ชินวัตร นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนางบุษบา ดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นสามัญในส่วนที่ถือหุ้นในบริษัททั้งหมดจำนวน 1,487,740,120 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 49.595 ของ ทุนชำระแล้วของบริษัทฯ ให้บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งมีบริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัทกุหลาบแก้ว จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และให้บริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด แล้ว รวมเป็นเงิน 73,271.95 ล้านบาท ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2549 นั้น
ในการนี้ มีข้อสังเกตว่า บริษัทที่กล่าวถึงได้มีการละเมิดบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ในหลายมาตรา ดังต่อไปนี้
1)ในกรณีของบริษัท กุหลาบแก้ว จำกัดนั้น จากเอกสารการจดทะเบียนบริษัทต่อกระทรวง พาณิชย์ ได้มีการระบุไว้ในข้อบังคับ หมวดที่ 1 ข้อ 5 ตอนหนึ่ง ว่า “ยกเว้นผู้ถือหุ้นกลุ่ม ข. (ฝ่ายต่างชาติ) ผู้ถือหุ้น (ฝ่ายไทย) ไม่อาจขาย โอนสิทธิ โอน จำนำ หรือจำหน่าย โดยวิธีการอื่น หรือก่อภาระผูกพันใด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการ...” ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ นอกจากนั้น ยังมี เงื่อนไขในเรื่องการแบ่งผลกำไรในรูปเงินปันผลในหมวดที่ 6 ข้อ 25 ที่กำหนดไว้ว่า “ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก (ฝ่ายไทย) จะได้รับเงินปันผลอันเป็นส่วนแบ่งผลกำไรของบริษัท... ในอัตราร้อยละ 3 ตามจำนวน ที่ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก ได้ลงหุ้นไว้กับบริษัท” และ “เงินปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก.ในแต่ละปีนั้น จะจ่ายในอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้นและจะไม่มีการจ่ายเงินปันผลเพิ่มเติมอีกสำหรับหุ้นกลุ่ม ก.”
จากโครงสร้างและข้อกำหนดดังกล่าว เห็นได้ชัดว่าหากผู้ถือหุ้นไทยลงทุนในบริษัทจริงถึง 51% ของทุนทั้งหมดย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะยอมรับส่วนแบ่งกำไรเพียง 3% ทั้งที่ควรมีสิทธิในเงินปันผลถึง 51% ในทำนองเดียวกัน ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ฝ่ายไทยจะให้สิทธิในการตั้งกรรมการต่างชาติถึง 2 คนในจำนวน กรรมการทั้งสิ้น 3 คน ซึ่งเท่ากับเป็นการให้สิทธิในการบริหารแก่ผู้ถือหุ้นต่างชาติทั้งหมด ดังนั้น จากเหตุผลดังกล่าวย่อมเชื่อได้ว่าคนไทยมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นแทนบุคคล หรือนิติบุคคลต่างชาติซึ่งเข้าข่าย ความผิดตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มีโทษสูงสุดถึงจำคุก 3 ปี หรือปรับถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องถือว่าผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยและต่างประเทศได้ ให้ข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงานซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งด้วย
2) ส่วนกรณี บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด นั้น ได้มี การขอจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคล ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม พ.ศ. 2548 ตามลำดับ ต่อมาในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับโครงสร้าง ผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติในสัดส่วน 99.94% เพียง 7 วันก่อนเข้าซื้อหุ้นใน บมจ. ชินคอร์ปอเรชั่น ทั้งโดยตรง และผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด
การเปลี่ยนแปลงสถานะของบริษัทจากเดิม ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยและมีวัตถุประสงค์ในการ ประกอบธุรกิจ 41 ข้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการประกอบธุรกิจในสาขาต่างๆ ที่ระบุไว้ในบัญชีแนบท้าย พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวทั้ง 3 บัญชี ให้เป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคล หรือ นิติบุคคลต่างชาติถือหุ้นในบริษัทมากกว่ากึ่งหนึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากคณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวแล้วแต่กรณีก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ รวมทั้งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กำหนดในเรื่องทุนขั้นต่ำ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่นฯ ด้วย
การเข้าซื้อกิจการที่เป็นธุรกิจในบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติก่อนได้รับใบอนุญาต เป็นการ กระทำผิดตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 กระทรวงฯ ต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อบริษัทฯ โดยทันที
3) ผลจากการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด ทำให้บริษัท ไทย แอร์เอเชีย จำกัด ซึ่งเดิมมีบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นอยู่ 50.0% มีสถานะเปลี่ยนแปลงเป็นบริษัทที่ละเมิดข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เนื่องจากมีสัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างชาติเกินเกณฑ์ที่ระบุไว้ในกฎหมาย เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความผิดดังกล่าว ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นโดยการจดทะเบียนบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 โดยมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 408/60 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไทย แอร์เอเชีย จำกัด แทน บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น
แต่จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พบว่า บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด มิได้มีพนักงานปฎิบัติหน้าที่ในที่อยู่ที่แจ้งไว้ และจากการสอบถาม ผู้จัดการอาคารก็ได้รับรายงานว่า สำนักงานเลขที่ 408/60 ยังไม่มีผู้เช่าเพื่อใช้ประกอบธุรกิจแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่าบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ได้ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน นอกจากนั้น บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด จะต้องใช้เงินจำนวนไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท ในการซื้อหุ้นในบริษัท แอร์เอเชีย จำกัด ทั้งที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 5 ล้านบาท จึงสันนิฐานได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด อาจถือหุ้นแทนหรือสนับสนุนให้มีการถือหุ้นแทนผู้ถือหุ้นต่างชาติ ซึ่งมีความผิดตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเช่นกัน
เมื่อตรวจสอบรายชื่อคณะกรรมการของบริษัท ปรากฏว่ามีนาย เอส ไอสวาราน และนส.ไช ยู จู เป็นกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทกุหลาบแก้ว และมี นายเอสไอสวาราน นส. ทาน ไอ ชิง และนส. ไช ยู จู เป็นกรรมการ ผู้มีอำนาจในบริษัท ไชเพรส แอสเพน และซีดาร์ โฮลดิ้งส์ เหมือนกันทั้ง 3 บริษัท และกรรมการที่เป็นชาวสิงคโปร์เหล่านี้ เป็นกรรมการเสียงข้างมากที่สามารถ ดำเนินการใด ๆ โดยฝ่ายไทยไม่สามารถโต้แย้งได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า โครงสร้างที่ซับซ้อนเป็นเพียงการทำให้ เห็นว่าบ. ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ที่เข้าซื้อหุ้นใน ชินคอร์ปอเรชั่นเป็นนิติบุคคลไทย เพื่อหลีกเลี่ยงพรบ.การประกอบ ธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แต่ในทางพฤตินัย ทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องอยู่ภายใต้การควบคุมเบ็ดเสร็จของ กลุ่มทุนต่างชาติ
จากข้อเท็จจริงและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น พรรคประชาธิปัตย์ขอเรียกร้องให้นำเรื่องดังกล่าวเข้า สู่วาระการพิจารณาของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในการประชุมครั้งต่อไปในวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการสอบข้อเท็จจริง และตรวจสอบหลักฐาน ธุรกรรมทางการเงินของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งในส่วนของผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยและต่างประเทศ และดำเนินการ เอาผิดตามกฎหมายต่อผู้ถือหุ้นและกรรมการที่เกี่ยวข้องในบริษัทฯ ดังกล่าวโดยทันที ตลอดจนเปิดเผย ข้อเท็จจริงทั้งหมดให้สาธารณรับทราบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการ
ขอแสดงความนับถือ
(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 ก.พ. 2549--จบ--
ถนนอู่ทองใน กทม. ๑๐๓๐๐
๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
เรื่อง ขอให้สอบสวนการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542
เรียน ประธานและคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของต่างด้าว
สิ่งที่ส่งมาด้วย แผนภาพแสดงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ “ชินคอร์ป”ตามที่กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น ซึ่งประกอบด้วยนางสาวพินทองทา ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ นายพานทองแท้ ชินวัตร นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนางบุษบา ดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นสามัญในส่วนที่ถือหุ้นในบริษัททั้งหมดจำนวน 1,487,740,120 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 49.595 ของ ทุนชำระแล้วของบริษัทฯ ให้บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งมีบริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัทกุหลาบแก้ว จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และให้บริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด แล้ว รวมเป็นเงิน 73,271.95 ล้านบาท ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2549 นั้น
ในการนี้ มีข้อสังเกตว่า บริษัทที่กล่าวถึงได้มีการละเมิดบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ในหลายมาตรา ดังต่อไปนี้
1)ในกรณีของบริษัท กุหลาบแก้ว จำกัดนั้น จากเอกสารการจดทะเบียนบริษัทต่อกระทรวง พาณิชย์ ได้มีการระบุไว้ในข้อบังคับ หมวดที่ 1 ข้อ 5 ตอนหนึ่ง ว่า “ยกเว้นผู้ถือหุ้นกลุ่ม ข. (ฝ่ายต่างชาติ) ผู้ถือหุ้น (ฝ่ายไทย) ไม่อาจขาย โอนสิทธิ โอน จำนำ หรือจำหน่าย โดยวิธีการอื่น หรือก่อภาระผูกพันใด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการ...” ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ นอกจากนั้น ยังมี เงื่อนไขในเรื่องการแบ่งผลกำไรในรูปเงินปันผลในหมวดที่ 6 ข้อ 25 ที่กำหนดไว้ว่า “ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก (ฝ่ายไทย) จะได้รับเงินปันผลอันเป็นส่วนแบ่งผลกำไรของบริษัท... ในอัตราร้อยละ 3 ตามจำนวน ที่ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก ได้ลงหุ้นไว้กับบริษัท” และ “เงินปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก.ในแต่ละปีนั้น จะจ่ายในอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้นและจะไม่มีการจ่ายเงินปันผลเพิ่มเติมอีกสำหรับหุ้นกลุ่ม ก.”
จากโครงสร้างและข้อกำหนดดังกล่าว เห็นได้ชัดว่าหากผู้ถือหุ้นไทยลงทุนในบริษัทจริงถึง 51% ของทุนทั้งหมดย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะยอมรับส่วนแบ่งกำไรเพียง 3% ทั้งที่ควรมีสิทธิในเงินปันผลถึง 51% ในทำนองเดียวกัน ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ฝ่ายไทยจะให้สิทธิในการตั้งกรรมการต่างชาติถึง 2 คนในจำนวน กรรมการทั้งสิ้น 3 คน ซึ่งเท่ากับเป็นการให้สิทธิในการบริหารแก่ผู้ถือหุ้นต่างชาติทั้งหมด ดังนั้น จากเหตุผลดังกล่าวย่อมเชื่อได้ว่าคนไทยมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นแทนบุคคล หรือนิติบุคคลต่างชาติซึ่งเข้าข่าย ความผิดตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มีโทษสูงสุดถึงจำคุก 3 ปี หรือปรับถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องถือว่าผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยและต่างประเทศได้ ให้ข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงานซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งด้วย
2) ส่วนกรณี บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด นั้น ได้มี การขอจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคล ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม พ.ศ. 2548 ตามลำดับ ต่อมาในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับโครงสร้าง ผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติในสัดส่วน 99.94% เพียง 7 วันก่อนเข้าซื้อหุ้นใน บมจ. ชินคอร์ปอเรชั่น ทั้งโดยตรง และผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด
การเปลี่ยนแปลงสถานะของบริษัทจากเดิม ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยและมีวัตถุประสงค์ในการ ประกอบธุรกิจ 41 ข้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการประกอบธุรกิจในสาขาต่างๆ ที่ระบุไว้ในบัญชีแนบท้าย พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวทั้ง 3 บัญชี ให้เป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคล หรือ นิติบุคคลต่างชาติถือหุ้นในบริษัทมากกว่ากึ่งหนึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากคณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวแล้วแต่กรณีก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ รวมทั้งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กำหนดในเรื่องทุนขั้นต่ำ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่นฯ ด้วย
การเข้าซื้อกิจการที่เป็นธุรกิจในบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติก่อนได้รับใบอนุญาต เป็นการ กระทำผิดตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 กระทรวงฯ ต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อบริษัทฯ โดยทันที
3) ผลจากการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด ทำให้บริษัท ไทย แอร์เอเชีย จำกัด ซึ่งเดิมมีบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นอยู่ 50.0% มีสถานะเปลี่ยนแปลงเป็นบริษัทที่ละเมิดข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เนื่องจากมีสัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างชาติเกินเกณฑ์ที่ระบุไว้ในกฎหมาย เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความผิดดังกล่าว ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นโดยการจดทะเบียนบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 โดยมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 408/60 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไทย แอร์เอเชีย จำกัด แทน บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น
แต่จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พบว่า บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด มิได้มีพนักงานปฎิบัติหน้าที่ในที่อยู่ที่แจ้งไว้ และจากการสอบถาม ผู้จัดการอาคารก็ได้รับรายงานว่า สำนักงานเลขที่ 408/60 ยังไม่มีผู้เช่าเพื่อใช้ประกอบธุรกิจแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่าบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ได้ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน นอกจากนั้น บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด จะต้องใช้เงินจำนวนไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท ในการซื้อหุ้นในบริษัท แอร์เอเชีย จำกัด ทั้งที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 5 ล้านบาท จึงสันนิฐานได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด อาจถือหุ้นแทนหรือสนับสนุนให้มีการถือหุ้นแทนผู้ถือหุ้นต่างชาติ ซึ่งมีความผิดตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเช่นกัน
เมื่อตรวจสอบรายชื่อคณะกรรมการของบริษัท ปรากฏว่ามีนาย เอส ไอสวาราน และนส.ไช ยู จู เป็นกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทกุหลาบแก้ว และมี นายเอสไอสวาราน นส. ทาน ไอ ชิง และนส. ไช ยู จู เป็นกรรมการ ผู้มีอำนาจในบริษัท ไชเพรส แอสเพน และซีดาร์ โฮลดิ้งส์ เหมือนกันทั้ง 3 บริษัท และกรรมการที่เป็นชาวสิงคโปร์เหล่านี้ เป็นกรรมการเสียงข้างมากที่สามารถ ดำเนินการใด ๆ โดยฝ่ายไทยไม่สามารถโต้แย้งได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า โครงสร้างที่ซับซ้อนเป็นเพียงการทำให้ เห็นว่าบ. ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ที่เข้าซื้อหุ้นใน ชินคอร์ปอเรชั่นเป็นนิติบุคคลไทย เพื่อหลีกเลี่ยงพรบ.การประกอบ ธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แต่ในทางพฤตินัย ทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องอยู่ภายใต้การควบคุมเบ็ดเสร็จของ กลุ่มทุนต่างชาติ
จากข้อเท็จจริงและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น พรรคประชาธิปัตย์ขอเรียกร้องให้นำเรื่องดังกล่าวเข้า สู่วาระการพิจารณาของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในการประชุมครั้งต่อไปในวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการสอบข้อเท็จจริง และตรวจสอบหลักฐาน ธุรกรรมทางการเงินของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งในส่วนของผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยและต่างประเทศ และดำเนินการ เอาผิดตามกฎหมายต่อผู้ถือหุ้นและกรรมการที่เกี่ยวข้องในบริษัทฯ ดังกล่าวโดยทันที ตลอดจนเปิดเผย ข้อเท็จจริงทั้งหมดให้สาธารณรับทราบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการ
ขอแสดงความนับถือ
(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 ก.พ. 2549--จบ--