กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2549 โดยสรุปจากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2549
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2549 เท่ากับ 114.3 สำหรับเดือนมีนาคม 2549 เท่ากับ 113.0
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.2
2.2 เดือนเมษายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 6.0
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2549 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.2 (มีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.0) ปัจจัยหลักสำคัญที่ทำให้ดัชนีในเดือนนี้สูงขึ้น มาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งสูงขึ้น ทำให้ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.0 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7
" ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.0 สาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาผักสดซึ่งดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 19.0 สาเหตุจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด
ประกอบกับต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น รวมถึงราคา ไก่สด ไข่ไก่ เริ่มขยับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ น้ำตาลทราย
น้ำตาลมะพร้าว อาหารเช้า (โจ๊ก) มีราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากการดูแลราคาอย่างใกล้ชิดของกระทรวงพาณิชย์ ทำให้ราคาสินค้า เช่น น้ำมันพืช อาหารธัญพืช ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ น้ำส้มสายชู และผงชูรส เป็นต้น มีราคาลดลง
" ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7 สาเหตุหลักมาจากการขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 3.9 ส่งผลให้อัตราค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 1.4 จากการอนุมัติให้รถ ขสมก. ปรับราคา (รถครีมแดงและครีมน้ำเงิน) ขึ้นอัตราค่าโดยสาร 1 บาท รวมถึงรถเมล์เล็ก และรถสามล้อเครื่องในต่างจังหวัดสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ค่าอุปกรณ์การบันเทิง เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ราคาลดลง
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนเมษายน 2548 ดัชนีราคาสูงขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นร้อยละ 6.0 (มีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 5.7) จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5.6 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ ผักสด ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 37.5 ผลไม้สดราคาสูงขึ้นร้อยละ 12.7 นอกจากนี้ น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว น้ำดื่มบริสุทธิ์ และอาหารสำเร็จรูป มีราคาสูงขึ้น ขณะที่อาหารที่ได้รับการดูแลและติดตามราคาอย่างใกล้ชิดมีราคาลดลง ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด และไข่ไก่
สินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 6.4 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 27.3 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 28.2 ค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นร้อยละ 10.1 ขณะที่ราคาเครื่องใช้ไฟฟ้า และบริการสื่อสารต่าง ๆ ยังคงมีราคาลดลง
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2549 เท่ากับ 104.1 เมื่อเทียบกับ
5.1 เดือนมีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.3
5.2 เดือนเมษายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 2.9
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2549
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2549 เท่ากับ 114.3 สำหรับเดือนมีนาคม 2549 เท่ากับ 113.0
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.2
2.2 เดือนเมษายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 6.0
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2549 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.2 (มีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 1.0) ปัจจัยหลักสำคัญที่ทำให้ดัชนีในเดือนนี้สูงขึ้น มาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งสูงขึ้น ทำให้ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.0 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7
" ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.0 สาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาผักสดซึ่งดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 19.0 สาเหตุจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด
ประกอบกับต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น รวมถึงราคา ไก่สด ไข่ไก่ เริ่มขยับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ น้ำตาลทราย
น้ำตาลมะพร้าว อาหารเช้า (โจ๊ก) มีราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากการดูแลราคาอย่างใกล้ชิดของกระทรวงพาณิชย์ ทำให้ราคาสินค้า เช่น น้ำมันพืช อาหารธัญพืช ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ น้ำส้มสายชู และผงชูรส เป็นต้น มีราคาลดลง
" ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7 สาเหตุหลักมาจากการขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 3.9 ส่งผลให้อัตราค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 1.4 จากการอนุมัติให้รถ ขสมก. ปรับราคา (รถครีมแดงและครีมน้ำเงิน) ขึ้นอัตราค่าโดยสาร 1 บาท รวมถึงรถเมล์เล็ก และรถสามล้อเครื่องในต่างจังหวัดสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ค่าอุปกรณ์การบันเทิง เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ราคาลดลง
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนเมษายน 2548 ดัชนีราคาสูงขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นร้อยละ 6.0 (มีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 5.7) จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5.6 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ ผักสด ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 37.5 ผลไม้สดราคาสูงขึ้นร้อยละ 12.7 นอกจากนี้ น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว น้ำดื่มบริสุทธิ์ และอาหารสำเร็จรูป มีราคาสูงขึ้น ขณะที่อาหารที่ได้รับการดูแลและติดตามราคาอย่างใกล้ชิดมีราคาลดลง ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด และไข่ไก่
สินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 6.4 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 27.3 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้นร้อยละ 28.2 ค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นร้อยละ 10.1 ขณะที่ราคาเครื่องใช้ไฟฟ้า และบริการสื่อสารต่าง ๆ ยังคงมีราคาลดลง
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2549 เท่ากับ 104.1 เมื่อเทียบกับ
5.1 เดือนมีนาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.3
5.2 เดือนเมษายน 2548 สูงขึ้นร้อยละ 2.9
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--