“อภิสิทธิ์” ชี้สังคมต้องการความชัดเจนจากรัฐบาล-คมช. ถึงแนวทางคืนอำนาจให้ประชาชน แนะแถลงนโยบายรัฐบาล 3 พ.ย.นี้ ควรระบุให้ชัดเรื่องใดบ้างที่จะทำเสร็จใน 1 ปี เผย “วาระประชาชน” ที่ปชป.เคยนำเสนอสามารถนำไปใช้ได้ทันที เรียกร้องเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นทางการเมืองอย่างบริสุทธิ์ได้ ห่วงกฎอัยการศึกถ้าใช้ทั่วไปไม่เป็นผลดีกับคมช.เอง เพราะคนจะอึดอัดขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2549 ที่พรรคประชาธิปัตย์ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ว่า สิ่งที่เป็นเหตุผลที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ใช้อ้างในการยึดอำนาจ ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร ดังนั้น รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)ควรนำเหตุผลเหล่านั้นมาพิจารณาให้ชัดเจนว่ามีความคืบหน้าหรือไม่ แล้วแสดงออกมาว่าจะเดินต่อไปอย่างไร เพราะสิ่งที่สังคมต้องการและเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศ คือ ความชัดเจนของแนวทางในการคืนอำนาจและสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชน เพื่อให้ทุกคนมีความมั่นใจว่าจะไม่มีการสืบทอดอำนาจ หรือจะมีการประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้อง แต่ถ้าไม่มีความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้ ตนคิดว่าคนจำนวนมากก็จะเกิดความไม่สบายใจ ซึ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นจากหลายเหตุการณ์ อาทิ กรณีของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ความเคลื่อนไหวของคนในรัฐบาลชุดที่แล้ว เพราะฉะนั้น ทั้งหมดจึงอยู่ที่รัฐบาล และ คมช.จะมีความชัดเจนว่าในระยะเวลาสั้นที่สุด จะเดินหน้าคืนอำนาจและสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน และแก้ไขสิ่งที่เป็นความผิดหรือความเลวร้ายในช่วงที่ผ่านมาให้ชัดเจนได้อย่างไร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับการแถลงนโยบายของรัฐบาลที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายนนี้ นั้น นอกเหนือจากพูดถึงทิศทางและภาพรวมแล้ว ด้วยความที่รัฐบาลชุดนี้มีระยะเวลาที่จำกัด ควรจะมีการเขียนลงไปให้ชัดว่านโยบายที่จะทำให้สำเร็จได้ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีมีเรื่องใดบ้าง และตนคิดว่าบางเรื่อง เมื่อมีการพูดถึงการเปลี่ยนทิศทาง เช่น การเน้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ก็จำเป็นต้องแสดงเจตนารมณ์ แต่คงจะหยุดอยู่เท่านั้นไม่ได้ ควรมีความชัดเจนด้วยว่าใน 1 ปีทำได้มากน้อยแค่ไหน และสิ่งที่เป็นผลงานที่เราจะคาดหวังได้ในระยะเวลา 1 ปีคืออะไร
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่ายังไม่เห็นเอกสารนโยบายรัฐบาลอย่างเป็นทางการ แต่เท่าที่ติดตามจากสื่อ ก็เห็นว่านโยบายถูกเขียนไว้กว้างๆ ซึ่งภายใน 1 ปี ตนอยากให้เน้นย้ำในเรื่องของประเด็นเฉพาะหน้าที่สังคมต้องการการแก้ไข แม้จะเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ต้องมีคำตอบ อาทิ เรื่องของเศรษฐกิจที่ต้องมีคำตอบให้ชัด ทั้งในเรื่องการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ) การค้าปลีกขนาดใหญ่ การแปรรูปรัฐวิสาหากิจ ก็ควรมีคำตอบว่าจะทำอะไร มากน้อยแค่ไหน แต่เรื่องของการเมืองนั้น อยากให้รัฐบาลพิจารณาว่าปัญหาหลายอย่างที่เกี่ยวกับการเมือง ไม่ใช่บอกว่าเป็นเรื่องของสภาร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เคยเสนอวาระประชาชนที่ระบุไว้ว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ควรจะทำทันที ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคุ้มครองสื่อมวลชน การแทรกแซงทางการเมือง การขจัดผลประโยชน์ทับซ้อน การเข้มงวดกวดขันในมาตรการที่จะมาป้องกันและปราบปรามการทุจริต เรื่องเหล่านี้จะสอดคล้องกับเหตุผลที่ใช้ในการยึดอำนาจด้วย สำหรับในส่วนของการร่างรัฐธรรมนูญนั้น เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม พรรคจะจัดทำเป็นเอกสารเสนอเรื่องเหล่านี้ต่อรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ ยังได้กล่าวถึงการที่ได้เข้าพบพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ที่ผ่านมาว่า ได้เรียนกับนายกฯไปว่าเป็นเรื่องแปลก เพราะพรรคการเมืองถูกกันออกมาจากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญโดยสิ้นเชิง แม้แต่การบอกว่าให้พรรคการเมืองส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ก็เป็นได้แค่สมาชิกสมัชชาฯ แต่เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ว่าห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมืองย้อนหลัง 2 ปี ฉะนั้น ที่จริงแล้ว การมีส่วนร่วมของพรรคการเมืองก็ต้องทำอยู่ข้างนอกอยู่แล้ว ซึ่งจะกลับไปเรื่องเดิมที่ว่าพรรคการเมืองยังเคลื่อนไหวไม่ได้ และยังมีกฎอัยการศึกอยู่
“ผมย้ำมาตลอดว่าขอให้แยกแยะว่าการแสดงออกทางการเมืองเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งต้องเปิดโอกาสให้ทำได้ ทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ แต่การเคลื่อนไหวใดๆที่มุ่งสร้างความวุ่นวายโดยการใช้ความรุนแรงที่ผิดกฎหมาย ก็ต้องจัดการไป และผมเชื่อว่าไม่ต้องมีกฎอัยการศึกก็จัดการได้ ถ้ากลไกของรัฐ โดยเฉพาะตำรวจมีความเข้มแข็ง ก็ต้องไปสะสางตรงนี้ให้เสร็จโดยเร็ว การที่พูดรวมๆว่าจำเป็นต้องมีกฎอัยการศึกอยู่ เพราะอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ไม่การดำเนินการ หรือเอาหลักฐานอะไรออกมา ก็จะยิ่งทำให้หลายคนไม่เชื่อ หรือมีความไม่พอใจ หรือตั้งข้อสังเกต หรือตกเป็นเหยื่อของฝ่ายอื่นๆด้วยซ้ำไป”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรณีกฎอัยการศึกนั้น การใช้วิธีการห้ามเป็นการทั่วไป ไม่เป็นผลดีต่อ คมช.และรัฐบาล เพราะจะมีคนที่อึดอัดมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งหลายคนที่ต้องการแสดความเห็นโดยสุจริตใจ ไม่ได้มีเรื่องไปเกี่ยวข้องกับอำนาจเก่าหรืออำนาจใหม่ แต่เขามีความรู้สึกว่าถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ ถ้าไม่รีบเร่งแก้ไขปัญหาพื้นฐานตรงนี้ให้ชัดเจน ก็จะมีแต่คนที่มีความไม่พอใจและอึดอัดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การเมืองไม่นิ่ง และคมช.ก็จะตกอยู่ฐานะลำบาก เพราะโดยการยึดอำนาจ ก็จะมีคนที่มีความลังเลอยู่แล้วที่จะไปร่วมมือ ซึ่งไม่นับคนไม่เห็นด้วยโดยหลักการ แต่ยิ่งปล่อยเวลานานไป และมีความอึดอัดมากขึ้น ก็มีความไม่พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวตอบคำถาม ผู้สื่อข่าวถามที่ว่าสาเหตุดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากความไม่เป็นเอกภาพของ คมช.หรือไม่ว่า ไม่ว่าจะเป็นตรงไหนก็ตาม เมื่อ คมช.ได้อำนาจไปแล้ว รัฐบาลมีอำนาจอยู่ในมือแล้ว ก็ต้องจัดการและสะสาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภายในหรือเรื่องใดก็ตาม จะปล่อยสภาพทิ้งไว้อย่างนี้ ไม่ได้เป็นผลดีต่อประเทศและประชาชน
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)ประเมินว่าถ้าปล่อยไว้อย่างนี้อีก ไม่เกิน 3 เดือนก็จะบริหารประเทศไม่ได้นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะทำให้การทำงานของ คมช. สภาร่างรัฐธรรมนูญ สนช. และรัฐบาล ทำงานยากขึ้น ซึ่งมองข้ามไม่ได้เลย เวลานี้รัฐมนตรีแต่ละคนอาจคิดว่าอยากจะทำงานนั้น งานนี้ แต่ถ้าสภาพการณ์ทางการเมืองไม่เอื้ออำนวย ก็จะทำอะไรไม่ได้เลย ฉะนั้น จริงๆแล้ว เป็นภารกิจของทุกฝ่ายที่ต้องเร่งสะสางตรงนี้ออกไปให้ได้
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตจย์กล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่ามีผู้ใหญ่ใน คมช.เกี่ยวข้องกับการตั้งพรรคการเมืองใหม่ว่า หลายคนพยายามย้ำตั้งแต่ต้นว่าสิ่งที่เราต้องการเห็นคือมีความชัดเจนว่าไม่มีต้องการสืบทอดอำนาจ ทางตัวประธาน คมช.และนายกฯได้ประกาศชัดเจนว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ แต่คนอื่นๆยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งควรจะออกมาประกาศด้วย เพื่อให้เกิดความสบายใจว่าไม่มีวาระซ่อนเร้น เพราะเมื่อระดับผู้นำออกมายืนยันมาโดยตลอด ก็ควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งต้องพิสูจน์จากการกระทำ แต่คำพูดในที่สุด จะเป็นตัวผูกมัดระดับหนึ่ง เพราะนั่นถือว่าเป็นสัญญากับประชาชน และจะเห็นว่าในที่สุด คนที่สืบทอดอำนาจก็ไปไม่ได้ และยิ่งใครที่พูดว่าจะไม่ทำแล้วไปทำ ยิ่งมีโอกาสยากที่จะไปสืบทอดอำนาจหรือไปยึดครองอำนาจในวันข้างหน้า
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาอดีตนายกรัฐมนตรี ว่า การเคลื่อนไหวแต่ละครั้งมีเป้าหมาย แต่กลับเป็นฝ่ายอื่นที่ต้องระมัดระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อหรือเครื่องมือของฝ่ายที่มีวัตถุประสงค์แอบแฝงในการเคลื่อนไหว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าการเคลื่อนไหวตรงนี้แสดงให้เห็นว่าระบอบทักษิณยังมีความเข้มแข็งอยู่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ความไม่คืบหน้าในหลายเรื่องๆ ก็สะท้อนให้เห็นว่าตัวระบอบเก่ายังฝังอยู่ในหลายกลไก”
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 ต.ค. 2549--จบ--
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2549 ที่พรรคประชาธิปัตย์ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ว่า สิ่งที่เป็นเหตุผลที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ใช้อ้างในการยึดอำนาจ ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร ดังนั้น รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)ควรนำเหตุผลเหล่านั้นมาพิจารณาให้ชัดเจนว่ามีความคืบหน้าหรือไม่ แล้วแสดงออกมาว่าจะเดินต่อไปอย่างไร เพราะสิ่งที่สังคมต้องการและเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศ คือ ความชัดเจนของแนวทางในการคืนอำนาจและสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชน เพื่อให้ทุกคนมีความมั่นใจว่าจะไม่มีการสืบทอดอำนาจ หรือจะมีการประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้อง แต่ถ้าไม่มีความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้ ตนคิดว่าคนจำนวนมากก็จะเกิดความไม่สบายใจ ซึ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นจากหลายเหตุการณ์ อาทิ กรณีของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ความเคลื่อนไหวของคนในรัฐบาลชุดที่แล้ว เพราะฉะนั้น ทั้งหมดจึงอยู่ที่รัฐบาล และ คมช.จะมีความชัดเจนว่าในระยะเวลาสั้นที่สุด จะเดินหน้าคืนอำนาจและสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน และแก้ไขสิ่งที่เป็นความผิดหรือความเลวร้ายในช่วงที่ผ่านมาให้ชัดเจนได้อย่างไร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับการแถลงนโยบายของรัฐบาลที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายนนี้ นั้น นอกเหนือจากพูดถึงทิศทางและภาพรวมแล้ว ด้วยความที่รัฐบาลชุดนี้มีระยะเวลาที่จำกัด ควรจะมีการเขียนลงไปให้ชัดว่านโยบายที่จะทำให้สำเร็จได้ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีมีเรื่องใดบ้าง และตนคิดว่าบางเรื่อง เมื่อมีการพูดถึงการเปลี่ยนทิศทาง เช่น การเน้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ก็จำเป็นต้องแสดงเจตนารมณ์ แต่คงจะหยุดอยู่เท่านั้นไม่ได้ ควรมีความชัดเจนด้วยว่าใน 1 ปีทำได้มากน้อยแค่ไหน และสิ่งที่เป็นผลงานที่เราจะคาดหวังได้ในระยะเวลา 1 ปีคืออะไร
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่ายังไม่เห็นเอกสารนโยบายรัฐบาลอย่างเป็นทางการ แต่เท่าที่ติดตามจากสื่อ ก็เห็นว่านโยบายถูกเขียนไว้กว้างๆ ซึ่งภายใน 1 ปี ตนอยากให้เน้นย้ำในเรื่องของประเด็นเฉพาะหน้าที่สังคมต้องการการแก้ไข แม้จะเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ต้องมีคำตอบ อาทิ เรื่องของเศรษฐกิจที่ต้องมีคำตอบให้ชัด ทั้งในเรื่องการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ) การค้าปลีกขนาดใหญ่ การแปรรูปรัฐวิสาหากิจ ก็ควรมีคำตอบว่าจะทำอะไร มากน้อยแค่ไหน แต่เรื่องของการเมืองนั้น อยากให้รัฐบาลพิจารณาว่าปัญหาหลายอย่างที่เกี่ยวกับการเมือง ไม่ใช่บอกว่าเป็นเรื่องของสภาร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เคยเสนอวาระประชาชนที่ระบุไว้ว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ควรจะทำทันที ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคุ้มครองสื่อมวลชน การแทรกแซงทางการเมือง การขจัดผลประโยชน์ทับซ้อน การเข้มงวดกวดขันในมาตรการที่จะมาป้องกันและปราบปรามการทุจริต เรื่องเหล่านี้จะสอดคล้องกับเหตุผลที่ใช้ในการยึดอำนาจด้วย สำหรับในส่วนของการร่างรัฐธรรมนูญนั้น เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม พรรคจะจัดทำเป็นเอกสารเสนอเรื่องเหล่านี้ต่อรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ ยังได้กล่าวถึงการที่ได้เข้าพบพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ที่ผ่านมาว่า ได้เรียนกับนายกฯไปว่าเป็นเรื่องแปลก เพราะพรรคการเมืองถูกกันออกมาจากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญโดยสิ้นเชิง แม้แต่การบอกว่าให้พรรคการเมืองส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ก็เป็นได้แค่สมาชิกสมัชชาฯ แต่เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ว่าห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมืองย้อนหลัง 2 ปี ฉะนั้น ที่จริงแล้ว การมีส่วนร่วมของพรรคการเมืองก็ต้องทำอยู่ข้างนอกอยู่แล้ว ซึ่งจะกลับไปเรื่องเดิมที่ว่าพรรคการเมืองยังเคลื่อนไหวไม่ได้ และยังมีกฎอัยการศึกอยู่
“ผมย้ำมาตลอดว่าขอให้แยกแยะว่าการแสดงออกทางการเมืองเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งต้องเปิดโอกาสให้ทำได้ ทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ แต่การเคลื่อนไหวใดๆที่มุ่งสร้างความวุ่นวายโดยการใช้ความรุนแรงที่ผิดกฎหมาย ก็ต้องจัดการไป และผมเชื่อว่าไม่ต้องมีกฎอัยการศึกก็จัดการได้ ถ้ากลไกของรัฐ โดยเฉพาะตำรวจมีความเข้มแข็ง ก็ต้องไปสะสางตรงนี้ให้เสร็จโดยเร็ว การที่พูดรวมๆว่าจำเป็นต้องมีกฎอัยการศึกอยู่ เพราะอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ไม่การดำเนินการ หรือเอาหลักฐานอะไรออกมา ก็จะยิ่งทำให้หลายคนไม่เชื่อ หรือมีความไม่พอใจ หรือตั้งข้อสังเกต หรือตกเป็นเหยื่อของฝ่ายอื่นๆด้วยซ้ำไป”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรณีกฎอัยการศึกนั้น การใช้วิธีการห้ามเป็นการทั่วไป ไม่เป็นผลดีต่อ คมช.และรัฐบาล เพราะจะมีคนที่อึดอัดมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งหลายคนที่ต้องการแสดความเห็นโดยสุจริตใจ ไม่ได้มีเรื่องไปเกี่ยวข้องกับอำนาจเก่าหรืออำนาจใหม่ แต่เขามีความรู้สึกว่าถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ ถ้าไม่รีบเร่งแก้ไขปัญหาพื้นฐานตรงนี้ให้ชัดเจน ก็จะมีแต่คนที่มีความไม่พอใจและอึดอัดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การเมืองไม่นิ่ง และคมช.ก็จะตกอยู่ฐานะลำบาก เพราะโดยการยึดอำนาจ ก็จะมีคนที่มีความลังเลอยู่แล้วที่จะไปร่วมมือ ซึ่งไม่นับคนไม่เห็นด้วยโดยหลักการ แต่ยิ่งปล่อยเวลานานไป และมีความอึดอัดมากขึ้น ก็มีความไม่พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวตอบคำถาม ผู้สื่อข่าวถามที่ว่าสาเหตุดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากความไม่เป็นเอกภาพของ คมช.หรือไม่ว่า ไม่ว่าจะเป็นตรงไหนก็ตาม เมื่อ คมช.ได้อำนาจไปแล้ว รัฐบาลมีอำนาจอยู่ในมือแล้ว ก็ต้องจัดการและสะสาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภายในหรือเรื่องใดก็ตาม จะปล่อยสภาพทิ้งไว้อย่างนี้ ไม่ได้เป็นผลดีต่อประเทศและประชาชน
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)ประเมินว่าถ้าปล่อยไว้อย่างนี้อีก ไม่เกิน 3 เดือนก็จะบริหารประเทศไม่ได้นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะทำให้การทำงานของ คมช. สภาร่างรัฐธรรมนูญ สนช. และรัฐบาล ทำงานยากขึ้น ซึ่งมองข้ามไม่ได้เลย เวลานี้รัฐมนตรีแต่ละคนอาจคิดว่าอยากจะทำงานนั้น งานนี้ แต่ถ้าสภาพการณ์ทางการเมืองไม่เอื้ออำนวย ก็จะทำอะไรไม่ได้เลย ฉะนั้น จริงๆแล้ว เป็นภารกิจของทุกฝ่ายที่ต้องเร่งสะสางตรงนี้ออกไปให้ได้
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตจย์กล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่ามีผู้ใหญ่ใน คมช.เกี่ยวข้องกับการตั้งพรรคการเมืองใหม่ว่า หลายคนพยายามย้ำตั้งแต่ต้นว่าสิ่งที่เราต้องการเห็นคือมีความชัดเจนว่าไม่มีต้องการสืบทอดอำนาจ ทางตัวประธาน คมช.และนายกฯได้ประกาศชัดเจนว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ แต่คนอื่นๆยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งควรจะออกมาประกาศด้วย เพื่อให้เกิดความสบายใจว่าไม่มีวาระซ่อนเร้น เพราะเมื่อระดับผู้นำออกมายืนยันมาโดยตลอด ก็ควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งต้องพิสูจน์จากการกระทำ แต่คำพูดในที่สุด จะเป็นตัวผูกมัดระดับหนึ่ง เพราะนั่นถือว่าเป็นสัญญากับประชาชน และจะเห็นว่าในที่สุด คนที่สืบทอดอำนาจก็ไปไม่ได้ และยิ่งใครที่พูดว่าจะไม่ทำแล้วไปทำ ยิ่งมีโอกาสยากที่จะไปสืบทอดอำนาจหรือไปยึดครองอำนาจในวันข้างหน้า
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาอดีตนายกรัฐมนตรี ว่า การเคลื่อนไหวแต่ละครั้งมีเป้าหมาย แต่กลับเป็นฝ่ายอื่นที่ต้องระมัดระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อหรือเครื่องมือของฝ่ายที่มีวัตถุประสงค์แอบแฝงในการเคลื่อนไหว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าการเคลื่อนไหวตรงนี้แสดงให้เห็นว่าระบอบทักษิณยังมีความเข้มแข็งอยู่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ความไม่คืบหน้าในหลายเรื่องๆ ก็สะท้อนให้เห็นว่าตัวระบอบเก่ายังฝังอยู่ในหลายกลไก”
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 ต.ค. 2549--จบ--