นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) จะจัดสัมมนา เรื่อง “เพิ่มโอกาสการส่งออกภายใต้เขตการค้าเสรี — FTA อาเซียน — จีน” ในวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2549 ณ ห้องประชุม 4/2 (30404) อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ นนทบุรี ผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาได้ ฟรี
จีนนับเป็นประเทศที่มีการส่งออกและนำเข้ารายใหญ่ของโลก และมีนักลงทุนต่างชาติ ย้ายฐานการผลิตเข้าไปในจีนเพิ่มมากขึ้น ไทยจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้จีนเป็นตลาดหลักในการส่งเสริมการส่งออก และการลงทุน โดยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ไทยและจีนได้ลงนามในข้อตกลงเร่งลดภาษีศุลกากร FTA ไทย — จีน สำหรับสินค้าผักและผลไม้ พิกัดอัตราศุลกากร HS 07-08 ให้เหลือร้อยละ 0 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 และได้เปิดเสรีสินค้าในกลุ่มพิกัด HS 01 — 08 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ปัจจุบันการเจรจาเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน — จีน มีความคืบหน้าไปมาก โดยล่าสุดได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าภายใต้กรอบความตกลงฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ที่กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งความตกลงดังกล่าว จะครอบคลุมการเปิดเสรีสินค้าทั้งหมด โดยเริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 จึงเป็นเรื่องที่น่าจะศึกษาและพิจารณาว่า FTA อาเซียน — จีน จะเพิ่มโอกาสในการส่งออกของไทยได้มากน้อยเพียงใด ในการนี้กรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้เขตการค้าเสรี (FTA) และสิทธิพิเศษฯ อื่น ๆ โดยเฉพาะ FTA อาเซียน — จีน จึงได้กำหนดจัดสัมมนา เรื่องดังกล่าว ในวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2549 เวลา 08.30 — 16.45 น. ณ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ นนทบุรี ผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา(รับจำนวนจำกัด) โปรดแจ้งสำรองที่นั่งได้ที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทร. 0-2547-4817 , 0-2547-5097 หรือสายด่วน 1385 ภายในวันที่ 24 พฤษภาคม ศกนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
สำหรับสถิติการส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างไทย — จีน ดังนี้ ปี 2548 ไทยส่งออกไปจีน มูลค่า 368,044.7 ล้านบาท และนำเข้า 448,991.2 ล้านบาท ในปี 2549 (ม.ค. — มี.ค.) ไทยส่งออก 101,750 ล้านบาท และนำเข้า 115,442 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 37 และ 17 ตามลำดับ
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
จีนนับเป็นประเทศที่มีการส่งออกและนำเข้ารายใหญ่ของโลก และมีนักลงทุนต่างชาติ ย้ายฐานการผลิตเข้าไปในจีนเพิ่มมากขึ้น ไทยจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้จีนเป็นตลาดหลักในการส่งเสริมการส่งออก และการลงทุน โดยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ไทยและจีนได้ลงนามในข้อตกลงเร่งลดภาษีศุลกากร FTA ไทย — จีน สำหรับสินค้าผักและผลไม้ พิกัดอัตราศุลกากร HS 07-08 ให้เหลือร้อยละ 0 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 และได้เปิดเสรีสินค้าในกลุ่มพิกัด HS 01 — 08 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ปัจจุบันการเจรจาเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน — จีน มีความคืบหน้าไปมาก โดยล่าสุดได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าภายใต้กรอบความตกลงฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ที่กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งความตกลงดังกล่าว จะครอบคลุมการเปิดเสรีสินค้าทั้งหมด โดยเริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 จึงเป็นเรื่องที่น่าจะศึกษาและพิจารณาว่า FTA อาเซียน — จีน จะเพิ่มโอกาสในการส่งออกของไทยได้มากน้อยเพียงใด ในการนี้กรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้เขตการค้าเสรี (FTA) และสิทธิพิเศษฯ อื่น ๆ โดยเฉพาะ FTA อาเซียน — จีน จึงได้กำหนดจัดสัมมนา เรื่องดังกล่าว ในวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2549 เวลา 08.30 — 16.45 น. ณ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ นนทบุรี ผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา(รับจำนวนจำกัด) โปรดแจ้งสำรองที่นั่งได้ที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทร. 0-2547-4817 , 0-2547-5097 หรือสายด่วน 1385 ภายในวันที่ 24 พฤษภาคม ศกนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
สำหรับสถิติการส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างไทย — จีน ดังนี้ ปี 2548 ไทยส่งออกไปจีน มูลค่า 368,044.7 ล้านบาท และนำเข้า 448,991.2 ล้านบาท ในปี 2549 (ม.ค. — มี.ค.) ไทยส่งออก 101,750 ล้านบาท และนำเข้า 115,442 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 37 และ 17 ตามลำดับ
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-