พาณิชย์จับมือเกษตรยืนยันข้าวไทยปลอดจีเอ็มโอ นายวิจักร วิเศษน้อย รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศญี่ปุ่นและ สหภาพยุโรปตรวจพบการปนเปื้อนข้าวจีเอ็มโอกับข้าวทั่วไปที่ส่งออกจากสหรัฐอเมริกา โดยล่าสุดทางการประเทศฝรั่งเศสได้ตรวจพบข้าวจีเอ็มโอ LL62 ซึ่งส่งมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้ซื้อในต่างประเทศไม่มั่นใจกับข้าวจากสหรัฐอเมริกาว่าจะปนเปื้อนข้าวจีเอ็มโอหรือไม่ ในช่วงที่ผ่านมาผู้ซื้อจึงหันมาซื้อข้าวจากประเทศไทยไปทดแทน และได้ร้องขอให้ผู้ส่งออกข้าวไทยแสดงใบรับรองข้าวที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปว่าเป็นข้าวปลอดจีเอ็มโอ
นายสุรพงษ์ ปรานศิลป์ อธิบดีกรมการข้าว และนางสุปราณี อิ่มพิทักษ์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขอยืนยันว่าข้าวที่ผลิตและส่งออกโดยประเทศไทยปลอดจีเอ็มโอ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับเพื่อให้รู้ที่มาที่ไปหรือสืบสายพันธุ์โดยรัฐบาลได้ทุกสายพันธุ์ ทั้งนี้ทุกเชื้อพันธุ์ได้มีการเก็บรักษาไว้ที่ธนาคารเชื้อพันธุ์ Gene Bank ทั้งในประเทศไทยและที่สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice Research Institute — IRRI) ดังนั้นจึงสามารถพิสูจน์ว่าเป็นจีเอ็มโอหรือไม่ อย่างไร ได้ทุกโอกาส
เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเกิดความมั่นใจว่าข้าวไทยปลอดจีเอ็มโอในตลาดเป้าหมาย กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมกันจัดทำคู่มือการผลิตและส่งออกข้าวไทย เพื่อประชาสัมพันธ์และเร่งรัดให้สำนักงานพาณิชย์ และหรือสำนักงานเกษตรในต่างประเทศทำความเข้าใจกับองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลตรวจสอบหรืออนุญาตการนำเข้าข้าว รวมถึงองค์กรเอกชนที่ค้าข้าว อาทิเช่น สมาคมผู้นำเข้า/ผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น
ในแต่ละปีไทยส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรปประมาณปีละ 232,000 ตัน มูลค่า 3,647 ล้านบาท โดยข้าวที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิไทยประมาณร้อยละ 80 หรือคิดเป็นปริมาณ 186,779 ตัน มูลค่า 3,200 ล้านบาท โดยข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรปจะเป็นข้าวหอมคุณภาพดีระดับ พรีเมี่ยม และแนวโน้มความต้องการนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยในสหภาพยุโรปยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการบริโภคข้าวต่อหัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคมีความมั่นใจในคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย ประกอบกับนักท่องเที่ยวที่เดินเข้าสู่สหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฝรั่งเศส อิตาลี สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิต ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุด เฉลี่ยปีละ 7.5 — 8 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยทั้งหมด และได้ชื่อว่าเป็นแหล่งส่งออกข้าวคุณภาพดีที่สุดของโลก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทย นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายในชนิดข้าวส่งออกที่สามารถสนองความต้องการของตลาดโลกได้เป็นอย่างดี ประเทศไทยจะยังคงยึดมั่นในการยกระดับและรักษาความน่าเชื่อถือที่ประเทศผู้ซื้อผู้บริโภคให้ความไว้วางใจในคุณภาพมาตรฐานข้าวไทยให้คงอยู่ตลอดไปโดยไม่จำเป็นต้องผลิตข้าวจีเอ็มโอ
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
นายสุรพงษ์ ปรานศิลป์ อธิบดีกรมการข้าว และนางสุปราณี อิ่มพิทักษ์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขอยืนยันว่าข้าวที่ผลิตและส่งออกโดยประเทศไทยปลอดจีเอ็มโอ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับเพื่อให้รู้ที่มาที่ไปหรือสืบสายพันธุ์โดยรัฐบาลได้ทุกสายพันธุ์ ทั้งนี้ทุกเชื้อพันธุ์ได้มีการเก็บรักษาไว้ที่ธนาคารเชื้อพันธุ์ Gene Bank ทั้งในประเทศไทยและที่สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice Research Institute — IRRI) ดังนั้นจึงสามารถพิสูจน์ว่าเป็นจีเอ็มโอหรือไม่ อย่างไร ได้ทุกโอกาส
เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเกิดความมั่นใจว่าข้าวไทยปลอดจีเอ็มโอในตลาดเป้าหมาย กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมกันจัดทำคู่มือการผลิตและส่งออกข้าวไทย เพื่อประชาสัมพันธ์และเร่งรัดให้สำนักงานพาณิชย์ และหรือสำนักงานเกษตรในต่างประเทศทำความเข้าใจกับองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลตรวจสอบหรืออนุญาตการนำเข้าข้าว รวมถึงองค์กรเอกชนที่ค้าข้าว อาทิเช่น สมาคมผู้นำเข้า/ผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น
ในแต่ละปีไทยส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรปประมาณปีละ 232,000 ตัน มูลค่า 3,647 ล้านบาท โดยข้าวที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิไทยประมาณร้อยละ 80 หรือคิดเป็นปริมาณ 186,779 ตัน มูลค่า 3,200 ล้านบาท โดยข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรปจะเป็นข้าวหอมคุณภาพดีระดับ พรีเมี่ยม และแนวโน้มความต้องการนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยในสหภาพยุโรปยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการบริโภคข้าวต่อหัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคมีความมั่นใจในคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทย ประกอบกับนักท่องเที่ยวที่เดินเข้าสู่สหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฝรั่งเศส อิตาลี สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิต ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุด เฉลี่ยปีละ 7.5 — 8 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยทั้งหมด และได้ชื่อว่าเป็นแหล่งส่งออกข้าวคุณภาพดีที่สุดของโลก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทย นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายในชนิดข้าวส่งออกที่สามารถสนองความต้องการของตลาดโลกได้เป็นอย่างดี ประเทศไทยจะยังคงยึดมั่นในการยกระดับและรักษาความน่าเชื่อถือที่ประเทศผู้ซื้อผู้บริโภคให้ความไว้วางใจในคุณภาพมาตรฐานข้าวไทยให้คงอยู่ตลอดไปโดยไม่จำเป็นต้องผลิตข้าวจีเอ็มโอ
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-