เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายศิริโชค โสภา กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในคณะทำงานติดตามการซื้อขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)ของตระกูลชินวัตร กล่าวว่าจากกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เคยปฏิเสธว่าไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัท วินมาร์คจำกัด นั้น คณะทำงานฯตรวจสอบพบว่าบริษัท วินมาร์ค ใช้ที่อยู่จดทะเบียนที่ตั้งบริษัท เป็นที่เดียวกันกับ บริษัท แอมเพิล ริช คือ ตู้ ป.ณ.3151 โรดทาวน์ ทอร์โตลา เกาะบริติช เวอร์จิ้นซึ่งทำให้สงสัยได้ว่าเจ้าของบริษัททั้ง 2 แห่งนี้ มีเจ้าของเป็นคนๆเดียวกัน ดังนั้น ขอเรียกร้องให้พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาชี้แจงเรื่องนี้
ทั้งนี้ หากในที่สุดพบว่า ทั้งวินมาร์ค และแอมเพิล ริช เป็นของนายกฯจริง ก็ถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าข่ายปกปิดทรัพย์สิน และขาดคุณสมบัติตามมาตรา 209 ของรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการห้ามรัฐมนตรีถือครองหุ้นเกิน 5% และเข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ
กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คณะทำงานฯยังได้สรุปการซื้อขายหุ้นในส่วนของบริษัท แอมเพิล ริช อินเวสเมนท์ และบริษัท วินมาร์ค จำกัด พบว่าทั้ง 2 บริษัทมีหลักฐานที่แสดงเชื่อมโยงกัน โดย พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ได้โอนหุ้นใน 5 บริษัทเป็นมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท ให้กับบริษัท วินมาร์ค ที่จดทะเบียนตั้งบริษัท ที่เกาะบริติชเวอร์จิ้น เมื่อปี 2543
และต่อมาในเดือนตุลาคม 2547 บริษัทดังกล่าวได้โอนหุ้นใน 4 บริษัท คืนให้ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรสาวของนายกฯ ส่วนอีกหนึ่งบริษัทนั้น โอนให้กับกองทุน แวลู แอสเสท ฟันด์ จำกัด ที่อีก 2 เดือนต่อมา ได้โอนหุ้นให้กับอีก 2 กองทุน คือ กองทุนโอเวอร์ซี โกรว์ธ ฟันด์ และกองทุน ออฟชอร์ ไดนามิค ฟันด์
"เมื่อพรรคได้ไปตรวจสอบหลักฐานที่อยู่ของทั้ง 3 บริษัทดังกล่าว พบว่าทั้งหมดใช้ที่อยู่เดียวกัน (ในตารางผู้ถือหุ้น 61,165,144 หุ้น) คือ อาคารซากูคิง คอมเมอร์เชียล ลาลิน ปาตู ปาตู87000 เกาะลาบวน ประเทศมาเลเซีย จากเหตุนี้ทำให้เข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงใช้ประเทศสิงค์โปร์เป็นที่ตั้งแรกของบริษัทเพื่อกันไม่ให้ตามได้บริษัททั้งหมดมีที่อยู่เดียวกันที่ประเทศมาเลเซีย
นายศิริโชค กล่าวว่า น่าสังเกตว่าจากการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากบริษัท วินมาร์ค มาเป็น 2กองทุนดังกล่าว คาดว่าเพื่อป้องกันปัญหาภาพลักษณ์ถูกสงสัยว่าเป็นของครอบครัวนายกฯ ทั้งนี้ การที่ทั้ง 2 กองทุนมีที่อยู่เดียวกันกับกองทุน แวลู แอสเสท นั้น มองว่าเป็นเจตนาต้องการอำพรางการโอนหุ้นของแวลู แอสเสท ฟันด์ ไปให้อีก 2 กองทุน เพราะทำการโอนเพียง 1 วัน ก่อนจะประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์เปอเรชั่น ที่มีมติเข้าตลาดหลักทรัพย์เพียง 1 วันเท่านั้น
นายศิริโชค กล่าวว่า จากการตรวจสอบรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท เอสซีแอสเสท จำกัด เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม.2546 ที่มีนางบุษบา ดามาพงศ์ เป็นประธานการประชุมระบุว่าในการเพิ่มทุน โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่ม 71 ล้านหุ้น เป็นเงิน 710 ล้านหุ้น นั้น ประธานได้แถลงว่าผู้ถือหุ้นทุกรายแสดงเจตนาขอสละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนที่ตนเองมีอยู่ และประสงค์ให้ น.ส.พิณทองทา และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นผู้รับซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลก เพราะบริษัท เอสซี แอสเสท กำลังเตรียมตัวจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว และหากตีค่าหุ้นในราคาเสนอขายให้ประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ) 15 บาท เหตุใดผู้ถือหุ้นทุกคนจึงสละสิทธิ์ของตัวเองซึ่งมีมูลค่ารวมถึง 355 ล้านบาท
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ก.พ. 2549--จบ--
ทั้งนี้ หากในที่สุดพบว่า ทั้งวินมาร์ค และแอมเพิล ริช เป็นของนายกฯจริง ก็ถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าข่ายปกปิดทรัพย์สิน และขาดคุณสมบัติตามมาตรา 209 ของรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการห้ามรัฐมนตรีถือครองหุ้นเกิน 5% และเข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ
กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คณะทำงานฯยังได้สรุปการซื้อขายหุ้นในส่วนของบริษัท แอมเพิล ริช อินเวสเมนท์ และบริษัท วินมาร์ค จำกัด พบว่าทั้ง 2 บริษัทมีหลักฐานที่แสดงเชื่อมโยงกัน โดย พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ได้โอนหุ้นใน 5 บริษัทเป็นมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท ให้กับบริษัท วินมาร์ค ที่จดทะเบียนตั้งบริษัท ที่เกาะบริติชเวอร์จิ้น เมื่อปี 2543
และต่อมาในเดือนตุลาคม 2547 บริษัทดังกล่าวได้โอนหุ้นใน 4 บริษัท คืนให้ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรสาวของนายกฯ ส่วนอีกหนึ่งบริษัทนั้น โอนให้กับกองทุน แวลู แอสเสท ฟันด์ จำกัด ที่อีก 2 เดือนต่อมา ได้โอนหุ้นให้กับอีก 2 กองทุน คือ กองทุนโอเวอร์ซี โกรว์ธ ฟันด์ และกองทุน ออฟชอร์ ไดนามิค ฟันด์
"เมื่อพรรคได้ไปตรวจสอบหลักฐานที่อยู่ของทั้ง 3 บริษัทดังกล่าว พบว่าทั้งหมดใช้ที่อยู่เดียวกัน (ในตารางผู้ถือหุ้น 61,165,144 หุ้น) คือ อาคารซากูคิง คอมเมอร์เชียล ลาลิน ปาตู ปาตู87000 เกาะลาบวน ประเทศมาเลเซีย จากเหตุนี้ทำให้เข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงใช้ประเทศสิงค์โปร์เป็นที่ตั้งแรกของบริษัทเพื่อกันไม่ให้ตามได้บริษัททั้งหมดมีที่อยู่เดียวกันที่ประเทศมาเลเซีย
นายศิริโชค กล่าวว่า น่าสังเกตว่าจากการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากบริษัท วินมาร์ค มาเป็น 2กองทุนดังกล่าว คาดว่าเพื่อป้องกันปัญหาภาพลักษณ์ถูกสงสัยว่าเป็นของครอบครัวนายกฯ ทั้งนี้ การที่ทั้ง 2 กองทุนมีที่อยู่เดียวกันกับกองทุน แวลู แอสเสท นั้น มองว่าเป็นเจตนาต้องการอำพรางการโอนหุ้นของแวลู แอสเสท ฟันด์ ไปให้อีก 2 กองทุน เพราะทำการโอนเพียง 1 วัน ก่อนจะประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์เปอเรชั่น ที่มีมติเข้าตลาดหลักทรัพย์เพียง 1 วันเท่านั้น
นายศิริโชค กล่าวว่า จากการตรวจสอบรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท เอสซีแอสเสท จำกัด เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม.2546 ที่มีนางบุษบา ดามาพงศ์ เป็นประธานการประชุมระบุว่าในการเพิ่มทุน โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่ม 71 ล้านหุ้น เป็นเงิน 710 ล้านหุ้น นั้น ประธานได้แถลงว่าผู้ถือหุ้นทุกรายแสดงเจตนาขอสละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนที่ตนเองมีอยู่ และประสงค์ให้ น.ส.พิณทองทา และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นผู้รับซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลก เพราะบริษัท เอสซี แอสเสท กำลังเตรียมตัวจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว และหากตีค่าหุ้นในราคาเสนอขายให้ประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ) 15 บาท เหตุใดผู้ถือหุ้นทุกคนจึงสละสิทธิ์ของตัวเองซึ่งมีมูลค่ารวมถึง 355 ล้านบาท
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ก.พ. 2549--จบ--