แท็ก
ธรรมชาติ
ครั่ง (LAC)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ครั่งนิยมนำมาใช้ในงานย้อมสีเส้นไหมมานานแล้ว สีเส้นไหมที่ย้อมจะขึ้นอยู่กับอายุของครั่ง อายุของการเก็บรักษาครั่ง และชนิดของพืชอาศัย สีที่ได้จะมีความแตกต่างกันไปตั้งแต่สีแดงอมม่วง จนถึงสีแดงสด การเก็บครั่งนานกว่า 2 ปี อาจทำให้สีและความคงทนของสีไม่ดีนัก ซึ่งควรใช้ครั่งที่แก่เต็มที่ ที่ยังใหม่อยู่ในการสกัดสีครั่ง ใช้ครั้งละจำนวน 3 กิโลกรัม เมื่อสกัดน้ำสีอัตราส่วน 1 : 10 สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม วิธีการสกัดสี นำครั่งมาล้างในน้ำสะอาด เพื่อกำจัดฝุ่นละอองและเศษผงที่ติดมากับครั่ง แล้วนำไปแช่ในแอลกอฮอล์นาน 5-10 นาที เพื่อละลายสารที่เป็นสีเหลืองออก จากนั้นล่างด้วยน้ำสะอาด ก่อนนำไปต้มสกัดสี นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ การย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน โดยใส่สารส้มและน้ำมะขามเปียกเป็นสารช่วยติดสีขณะย้อม ในบางแห่ง ใช้กรดทาร์ทาริค (Tartaric acid) แทนน้ำมะขามเปียก เส้นไหมที่ผ่านการย้อมจะมีสีแดง
คำแสด (Anatto tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ในประเทศอินเดียใช้ส่วนของผงที่หุ้มผลสุก เรียกว่า กมลา (Kamala) ย้อมผ้าไหมและผ้าขนสัตว์เป็นสีส้มจัด และมีรายงานการใช้เมล็ดคำแสดในการย้อมฝ้าย ซึ่งคุณสมบัติของสีอยู่ในระดับปานกลาง การใช้เมล็ดคำแสดในการย้อมสีเส้นไหม ใช้เมล็ดคำแสด 3 กิโลกรัม ต้มกับน้ำเพื่อสกัดน้ำสี โดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำ 1: 10 สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ในขณะต้มสกัดสีใช้โซเดียมคาร์บอเนตเป็นตัวช่วยสกัดสี ต้มนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้มนาน 15 นาที ได้เส้นไหมสีส้มสด
โพธิ์ (Pipal tree , Sacred fig tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : การสกัดน้ำสีจากเปลือกต้นโพธิ์ ใช้เฉพาะเปลือกต้นด้านในนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้วิธีการต้มกับน้ำ อัตราส่วน 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง เปลือกต้นโพธิ์สด 15 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง เมื่อครบนำเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำสะอาด และแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม ได้เส้นไหมสีส้ม
คราม (Indigo)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ครามเป็นพืชที่นำมาใช้ย้อมสีมากที่สุด เนื่องจากเป็นพืชให้สีน้ำเงิน ใช้ในการย้อมฝ้ายได้ผลดี ทั้งนี้การย้อมครามส่วนใหญ่อยู่ในสภาพน้ำย้อมเป็นด่าง การย้อมเส้นไหมจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมและติดสีไม่ดี การย้อมเส้นไหมพบมากในจังหวัดสุรินทร์ มีการย้อมครามอย่างแพร่หลาย สีน้ำเงินที่ได้จากครามจัดเป็นแม่สีที่สามารถใช้ร่วมกับสีหลักอื่นๆได้หลากหลายสี วิธีการย้อมเส้นไหมด้วยคราม เตรียมน้ำครามเหมือนกับการเตรียมน้ำครามเพื่อย้อมฝ้าย โดยนำต้นครามสดทั้งใบและกิ่งมาแช่ในโอ่ง เติมน้ำปูนขาว (ปูนจากเปลือกหอย) แล้วกดทับให้ครามจมน้ำ ไม่ให้ทำปฏิกิริยากับอากาศและพลิกกลับครามทุกวัน นาน 4 วัน หรือจนสังเกตเห็นน้ำที่หมักครามสีเหลืองแล้วกรองเอาแต่น้ำคราม ในการนำน้ำครามมาย้อมเส้นไหม ควรปรับค่าความเป็นกรดด่างให้เหมาะสมประมาณ 9.7 โดยใช้น้ำด่างธรรมชาติและน้ำมดแดง จากนั้นนำเส้นไหมมาย้อมแบบย้อมเย็นในการย้อมครามอีกวิธีหนึ่ง เป็นวิธีย้อมที่รวดเร็วได้แก่การนำเอาครามเปียก ก้อนคราม หรือผงคราม มาย้อมเส้นไหมโดยใช้สารละลายด่างโซดาไฟ ละลายเนื้อครามแล้วเติมสารพวก Reducing agent เช่น กากน้ำตาลร่วมกับผงเหม็น (Sodium hydrosulfite) จนน้ำครามเป็นสีเขียวเหลือง และมีฟองสีน้ำเงิน ปรับความเป็นกรดด่าง โดยการเติมกรดน้ำส้มให้ ph น้ำย้อมอยู่ในระดับ 6.1-6.5 แล้วนำเส้นไหมมาย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมเย็น นานประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อครบนำเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นนำเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นนำเส้นไหมมาย้อมทับอีกครั้งจะได้เส้นไหมสีน้ำเงิน หรือสีฟ้าเข้ม
ดาวเรือง (African marigold)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : การใช้ดอกดาวเรืองนึ่งและอบให้แห้งจะให้น้ำสีเข้มข้นกว่าการสกัดจากดอกดาวเรืองสด 1 เท่า และมากกว่าดอกดาวเรืองตากแห้ง 5 เท่า เมื่อใช้อัตราส่วนที่เท่ากัน การย้อมเส้นไหมด้วยน้ำสีที่สกัดจากดอกดาวเรือง ดอกดาวเรืองแห้ง 1.2 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ใช้วิธีการต้มเพื่อสกัดสีนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ย้อมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน หลังจากนั้นนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลาย 1 % สารส้ม จะได้เส้นไหมสีเหลืองทอง
ขนุน (Jack Fruit tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ส่วนของต้นขนุนที่สามารถนำมาใช้ในงานย้อมสี คือ แก่นต้น โดยนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ และตากให้แห้ง เมื่อต้องการสกัดน้ำสีให้นำมาต้มกับน้ำโดยใช้อัตราส่วน 1 : 10 เส้นไหม 1 กิโลกรัม กรองใช้เฉพาะน้ำ นำเส้นไหมมาย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง หลังย้อมนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายช่วยติดสีสารส้มและจุนสี เส้นไหมที่ผ่านการแช่สารส้ม มีสีเหลือง
มะม่วงป่า (Mamgo tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : มะม่วงป่า ส่วนที่ใช้ในการย้อมสีเส้นไหมคือ เปลือกต้นด้านใน ลอกเอาเฉพาะเปลือกต้น นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อสกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ ในอัตราส่วนต่อน้ำ 1: 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองเอาน้ำสีที่ได้ย้อมเส้นไหมที่ผ่านการย้อมแช่ในสารละลายช่วยติดสี สารส้ม ได้สีเหลืองอ่อน
มะพูด (Ma phut)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : มะพูดหรือปะโหด เป็นพรรณไม้ที่นำเปลือกต้นมาใช้ย้อมสีเส้นไหมมานานแล้วในจังหวัดสุรินทร์และกัมพูชา เนื่องจากมะพูดให้สีเหลืองคล้ายสีเหลืองดอกบวบ หรือสีเหลืองดอกคูณ จึงมีการใช้ในการทำเป็นแม่สี เช่น เมื่อต้องการเส้นไหมสีเขียว นำเส้นไหมมาย้อมด้วยเปลือกมะพูดก่อนจึงย้อมทับด้วยคราม
ในการเตรียมน้ำสีสำหรับการย้อมเส้นไหม 1 กิโลกรัม ใช้เปลือกมะพูดแห้ง 3 กิโลกรัม ต้มกับน้ำในอัตราส่วน 1: 10 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำแล้วนำมาย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำมาแช่ในสารละลายสารส้ม นาน 10-15 นาที ได้เส้นไหมสีเหลืองสด
ในส่วนของใบที่นำมาใช้ย้อมสีเส้นไหมโดยใช้อัตราส่วน ใบสด 15 กิโลกรัมต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม สกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ อัตราส่วน 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำโดยกรรมวิธีการย้อมร้อนและแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม หลังย้อมเช่นเดียวกับเปลือก พบว่าให้เส้นไหมสีเหลือง แต่สีที่ได้จะอ่อนกว่าสีที่ผ่านการย้อมด้วยเปลือก แต่ถ้าแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีน้ำตาล
มะกอกโอลีฟ (Oleave)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : จากการที่มีการนำต้นมะกอกโอลีฟมาปลูกในประเทศไทย ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มะกอกโอลีฟ เมื่อเจริญเติบโตจะมีการตัดแต่งทรงพุ่มอบยู่เสมอ จึงนำเอาใบของมะกอกโอลีฟ มาทดลองย้อมสีเส้นไหม พบว่าสามารถย้อมสีเส้นไหมได้ผลดี โดยใช้ใบมะกอกโอลีฟสดจำนวน 15 กิโลกรัม นำมาต้มเพื่อสกัดน้ำสีโดยใช้อัตราส่วนใบสดต่อน้ำ 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ น้ำสีที่ได้สามารถนำมาย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสี นาน 10 - 15 นาที สีเส้นไหมที่แช่สารละลายจุนสีได้สีน้ำตาลเขียว
เพกา (Pheka)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ลอกเอาเฉพาะเปลือกต้นด้านใน นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ การสกัดสีจากเปลือกต้นเพกา สามารถใช้ได้ทั้งที่เป็นเปลือกสด โดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำ 1: 2 และเปลือกแห้งอัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 10 สามารถใช้ย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ในการสกัดสีจากเปลือกต้นเพกา สามารถทำได้หลายวิธีและการใช้สารช่วยติดสีต่างกัน ที่จะได้เส้นไหมที่มีเฉดสีแตกต่างกัน ได้แก่การสกัดสีโดยใช้เปลือกสดต้มกับน้ำ และใช้สารส้มในขณะย้อม ย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน ได้เส้นไหมสีเหลืองสดใส ถ้าต้องการสีของเส้นไหมออกไปทางโทนสีเขียว ควรใส่สารช่วยติดสีจำพวกโซเดียมคาร์บอเนต น้ำสนิมเหล็กและจุนสีลงไปขณะย้อม หรือแช่สารช่วยติดหลังการย้อมนาน 15 นาที เส้นไหมที่แช่จุนสี ได้สีน้ำตาลเขียว เส้นไหมที่แช่สารส้มได้สีเหลือง
ยอบ้าน (Indian Mulberry)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : รากและแก่นยอ มีการนำมาย้อมเส้นไหม ได้สีเส้นไหมสีแดงอมส้ม หรือเหลืองอมส้ม ขึ้นอยู่กับส่วนที่ใช้ ถ้าใช้ส่วนรากจะให้สีแดงมากกว่าส่วนของแก่น ซึ่งจะออกไปทางเหลืองอมส้ม ในการย้อมสีเส้นไหมจากส่วนต่างๆ ของยอบ้านในส่วนของรากยอต้มกับน้ำ ตามอัตราส่วน 1: 3 ย้อมแบบกรรมวิธีย้อมร้อนและเติม 1 % ของจุนสี จะได้สีที่ความคงทนต่อแสงและการซักได้ดี ส่วนวิธีการย้อมโดยใช้แก่นต้น สกัดน้ำสีโดยใช้อัตราส่วน 1 : 10 ต้มนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม ได้เส้นไหมมสีเหลืองอมส้ม
สำหรับการย้อมเส้นไหมอีกวิธีหนึ่ง คือ การย้อมโดยใช้ใบสดต้มกับน้ำ อัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 2 เส้นไหม 1 กิโลกรัม ใช้ใบยอบ้านสด 15 กิโลกรัม ต้มสกัดน้ำสีนาน 1 ชั่วโมง ย้อมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน หลังย้อมแช่เส้นไหมในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน
ยอป่า (YO pa)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ในอดีตมีการใช้รากและเปลือกต้นของยอป่า มาใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีแดงซึ่งต้องมีการตัดต้นและค่อนข้างหายาก จึงได้มีการทดลองนำใบของยอป่ามาใช้ย้อมเส้นไหม โดยใช้ใบสดต้มกับน้ำในอัตราส่วน 1: 2 ใบยอป่า 15 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ใช้กรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง หลังย้อม นำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม ได้เส้นไหมสีเหลืองอ่อน แต่ถ้าแช่ในจุนสี จะได้เส้นไหมสีเหลืองเขียว
สำหรับการไม่ใช้สารช่วยติดสีใดๆ ได้เส้นไหมสีเหลืองนวลส่วนการใช้สารละลายสารช่วยติดสีสารส้มขณะย้อม พบว่า ได้เส้นไหมสีเหลืองอ่อนเช่นเดียวกัน
แก้ว (Orange jasmine)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ในการย้อมสีจากเส้นไหมจากใบแก้วใช้ใบที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ใบแก้ว 15 กิโลกรัม เมื่อนำไปสกัดสี โดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 2 สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม สีของเส้นไหมที่ได้จากการย้อมขึ้นอยู่กับวิธีการสกัดสีและสารช่วยติดสี การสกัดสีโดยการใช้ใบแก้วสดต้มกับน้ำนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อนได้เส้นไหมสีเหลืองอ่อน แต่สีจะตกและไม่ทนต่อแสงเมื่อนำไปแช่จุนสี ได้เส้นไหมสีเขียวเหลืองมีความคงทนต่อการซักและแสง หรือนำไปแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต จะได้เส้นไหมสีเหลือง ถ้าต้องการเส้นไหมสีเหลืองอ่อน ควรย้อมเส้นไหมพร้อมกับน้ำที่สกัดจากใบส้มป่อย จะได้สีที่มีคุณภาพดีเช่นเดียวกัน
ในการเก็บรักษาใบแก้วเพื่อใช้ในฤดูที่ขาดแคลน นำใบแก้วไปนึ่งแล้วตากให้แห้ง เมื่อนำมาต้มกับน้ำแล้วย้อมเส้นไหมร่วมกับน้ำสนิมเหล็กจะได้เส้นไหมสีเหลือง คุณภาพของเส้นไหมที่ย้อมจากใบแก้วในกรรมวิธีการต่างๆ ข้างต้นจะได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดี
หูกวาง (Indian almond)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : หูกวางเป็นพืชหนึ่งที่มีการนำมาย้อมสีฝ้ายและไหม ในอดีตมีการนำเอาเปลือกของผลซึ่งมีแทนนิน มาใช้ในการย้อมหวาย แต่ในไหมและฝ้ายยังไม่พบรายงานในการใช้เปลือกของผล ทดลองใช้ใบหูกวางย้อมเส้นไหม โดยใช้ใบหูกวางที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปในอัตรา 15 กิโลกรัมต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม สกัดน้ำสีโดยใช้อัตราส่วนใบสดต่อน้ำ 1 : 2 ต้มนาน 1 ชั่วโมง นำน้ำสีไปย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เมื่อย้อมเสร็จแล้วนำมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม ได้เส้นไหมสีเหลือง ถ้าแช่ในจุนสีจะได้เส้นไหมสีเขียวขี้ม้า มีความคงทนต่อการซักและมีความคงทนต่อแสงในระดับปานกลาง
การใช้น้ำสีที่สกัดจากใบหูกวางและใบสมอผสมกันในอัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาตร ย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง เมื่อครบนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสีหลังย้อม ได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว
ขี้เหล็กบ้าน (Cassod tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ใบขี้เหล็กถูกนำมาย้อมสีเส้นไหมและฝ้ายแต่โบราณโดยจะได้เส้นไหมสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว การย้อมเส้นไหมด้วยใบขี้เหล็กให้สีเส้นไหมคุณภาพดีนั้น ใช้การสกัดสีโดยใช้ใบขี้เหล็กสดต้มกับน้ำ หรือต้มกับน้ำผสม 1 % กรดน้ำส้มโดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 การย้อมเส้นไหมควรนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีก่อนย้อม ได้แก่ สารละลายสารส้ม น้ำต้มใบยูคาลิปตัส และน้ำมะขามเปียก แล้วนำเส้นไหมไปย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง จะได้เส้นไหมสีเหลือง ถ้าแช่เส้นไหมในสารละลายจุนสีก้อนย้อม จะได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว
หูปลาช่อน (Copperleaf)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : หูปลาช่อนเป็นพืชใหม่ที่ได้นำมาทดลองย้อมสีเส้นไหม ใบหูปลาช่อนที่ใช้จะใช้ใบที่มีสีน้ำตาลแดง นำมาต้มกับน้ำนาน 1 ชั่งโมง โดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 ใบหูปลาช่อน 15 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เมื่อครบล้างเส้นไหมด้วยน้ำสะอาดและไปแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี หลังย้อม ได้เส้นไหมสีเขียวขี้ม้า
ฝิ่นต้น (Fin ton)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ฝิ่นต้นเป็นพืชใหม่ที่ใช้ใบในการย้อมสีเส้นไหม ใบสด 15 กิโลกรัม สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม นำใบสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อนำมาสกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ โดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 ใช้เวลาในการต้มนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ นำน้ำสีที่ได้มาย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว
โกสน (Garden Croton)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : อาจเป็นพืชใหม่ที่นำใบมาใช้ในการย้อมสีเส้นไหม โกสนมีศักยภาพในการใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมสีเส้นไหมในปริมาณมาก เนื่องจากลักษณะขยายพันธุ์ได้ง่าย และมีการปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ในการย้อมสีเส้นไหมด้วยใบโกสน เส้นไหม 1 กิโลกรัม ต้องใช้ใบโกสนสด 15 กิโลกรัม นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ สกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำอัตราส่วน 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง หลังย้อมนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน ถ้าแช่ในสารละลายเกลือแกงน้ำสนิมเหล็ก น้ำมะขามเปียก กรดฟอร์มิค หรือใช้โซเดียมคาร์บอเนตได้เส้นไหมสีน้ำตาลอ่อน สำหรับวิธีการนำใบโกสนมานึ่งแล้วตากให้แห้งซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน เมื่อต้องการนำมาย้อมสีเส้นไหม นำใบแห้งมาต้มกับน้ำเพื่อสกัดน้ำสี นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ก่อนย้อมนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี เส้นไหมที่ผ่านการย้อมจะมีสีเขียวเหลืองน้ำมะขามเปียก ได้เส้นไหมสีน้ำตาลอ่อน น้ำสนิมเหล็กได้สีเหลืองอ่อน คุณภาพสีที่มีความคงทนต่อการซักและแสงในระดับดีปานกลาง
เลี่ยน (Bead tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ในการย้อมเส้นไหมจะใช้ส่วนของใบเลี่ยนที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป สีเส้นไหมและคุณภาพของสีขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการสกัดสี และการใช้สารช่วยติดสีชนิดต่างๆ การย้อมสีเส้นไหมให้มีความคงทนต่อการซักและแสงมีวิธีการดังนี้ วิธีที่ 1 ใช้ใบสดต้มกับน้ำอัตรา 1 : 2 โดยน้ำหนัก ต้มนาน 1 ชั่วโมง ใบเลี่ยนสด 15 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม แล้วนำมาย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อนและใส่เกลือแกงในขณะย้อม จำพวกโซเดียมคาร์บอเนต มะขามเปียก น้ำสนิมเหล็ก จะได้เส้นไหมสีครีม ส่วนการแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีเขียว วิธีการที่ 2 สกัดสีโดยใช้ใบสดต้มกับน้ำผสม 3 % กรดน้ำส้ม นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ นำเส้นไหมแช่ในน้ำมะขามเปียกก่อนย้อมจะได้เส้นไหมสีเหลืองอ่อน วิธีการที่ 3 ใช้ใบสดคั้นกับน้ำแล้วหมัก 3 คืน กรองใช้เฉพาะน้ำ นำน้ำสีไปย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี จะได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน
โมกมัน (Ivory)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : การย้อมสีเส้นไหมด้วยเปลือกต้นโมกมัน ลอกเอาเฉพาะเปลือกต้นด้านใน นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ โดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 เส้นไหม 1 กิโลกรัม ใช้เปลือกต้นโมกมันสด 15 กิโลกรัม นำมาสกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำนำน้ำสีที่ได้มาย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน แล้วนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี หลังย้อมได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน
หม่อน (Mulberry tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : สำหรับการย้อมเส้นไหมด้วยสีจากผลหม่อน ใช้ผลสุกสีดำม่วง 30 กิโลกรัมสด ในอัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 1 ย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยนำผลหม่อนมาคั้นกับน้ำแล้วต้มสกัดสี นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน ใส่สารละลายสารช่วยติดสีจุนสี 10 % ของน้ำหนักไหม และกรดน้ำส้มลงไปในขณะย้อม ได้เส้นไหมสีเขียวขี้ม้า
นอกจากใช้ผลหม่อนย้อมเส้นไหมแล้วใบหม่อนก็สามารถนำมาสกัดเป็นสีย้อมได้เช่นเดียวกัน โดยใช้ใบหม่อนสด 15 กิโลกรัม ในอัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 2 ต้มสกัดน้ำสีนาน 1 ชั่วโมง กรงใช้เฉพาะน้ำ สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน หลังย้อมนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม ได้สีเหลือง คุณภาพของสีมีความคงทนต่อการซักและแสงในระดับต่ำ แต่แช่ในสารละลายจุนสีให้สารสีเหลืองเขียว
พุดซ้อน (Cape jasmine)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : การย้อมสีเส้นไหมด้วยใบพุดซ้อน ใช้ใบที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ใบพุดซ้อน 15 กิโลกรัม เมื่อนำมาสกัดสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ โดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ใช้กรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เมื่อครบนำเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำสะอาดและแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน
สบู่แดง (Bellyache bush)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : สบู่แดงเป็นพืชชนิดใหม่ ที่นำมาทดลองใช้ย้อมสีเส้นไหม จากข้อสังเกตเดิมที่ใบอ่อนมีสีแดง ถ้านำใบส่วนนี้มาย้อมเส้นไหมน่าจะออกเป็นโทนสีชมพูหรือแดง จากการทดลองย้อมพบว่าเส้นไหมที่ได้เป็นสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อน แต่เมื่อนำมาแช่ในสารละลายจุนสี กลับได้เส้นไหมสีเขียวที่มีความคงทนต่อการซักและแสง เส้นไหมสีเขียวที่ได้จากการย้อมในสีธรรมชาตินั้น เป็นสีที่พบได้น้อย ส่วนใหญ่ผู้ย้อมสีธรรมชาติจะใช้สีครามร่วมกับพืชที่ให้สีเหลือง
การย้อมเส้นไหมด้วยใบสบู่แดง ใช้ใบอ่อนส่วนยอดที่มีสีแดง นำมาสกัดสีโดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 2 ต้มนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ นำน้ำสีที่ได้ไปย้อมเส้นไหมโดยใช้กรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสี เช่น จุนสี เกลือแกง น้ำสนิมเหล็ก กรดฟอร์มิค และน้ำด่างปูนขาว ให้สีเส้นไหมในโทนสีเขียว ถ้าต้องการเส้นไหมโทนสีน้ำตาล ให้นำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในน้ำมะขามเปียกหรือโซเดียมคาร์บอเนต
ส้มป่อย (Som poi)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : น้ำที่สกัดจากใบส้มป่อยจะมีคุณสมบัติเป็นกรด เหมาะสมกับการย้อมเส้นไหม จากการทดลองย้อมเส้นไหมด้วยใบส้มป่อยให้สีที่มีคุณภาพดีนั้นขึ้นอยู่กับสารช่วยติดสี ส่วนวิธีการย้อมจะเหมือนกับพืชชนิดอื่น การย้อมสีเส้นไหมด้วยใบส้มป่อย ใช้ใบส้มป่อยสด 15 กิโลกรัม ย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม สกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำอัตราส่วน 1 : 2 นานประมาณ 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ นำไปย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีต่างๆ ได้แก่แช่ในสารละลายจุนสี ได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน แช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ได้สีน้ำตาลอ่อนแช่ในน้ำมะขามเปียก น้ำสนิมเหล็ก เกลือแกง และกรดฟอร์มิค จะได้สีครีม ถ้าแช่ในน้ำด่างปูนขาวจะได้สีเหลืองอ่อน มีคุณสมบัติของสีเช่นเดียวกัน อีกวิธีการหนึ่ง เพื่อเก็บรักษาวัตถุดิบให้สามารถใช้งานได้นานๆ โดยการนำเอาใบส้มป่อยมานึ่งแล้วตากให้แห้งสามารถนำมาย้อมในภายหลังโดยใช้สารช่วยติดสีเหมือนเช่นเดิม ยกเว้นจุนสี ก็จะได้สีที่ใกล้เคียงกัน ทุกวิธีให้คุณภาพของสีด้านความคงทนต่อการซักและแสงได้ดี
สนแผง (Oriental Arbor-Vitae)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : การย้อมสีเส้นไหมด้วยใบสนแผง นำใบสดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ สกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำโดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง ใบสนแผงสด 15 กิโลกรัม วิธีการย้อมใช้กรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง ส่วนการใช้สารช่วยติดสี
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ครั่งนิยมนำมาใช้ในงานย้อมสีเส้นไหมมานานแล้ว สีเส้นไหมที่ย้อมจะขึ้นอยู่กับอายุของครั่ง อายุของการเก็บรักษาครั่ง และชนิดของพืชอาศัย สีที่ได้จะมีความแตกต่างกันไปตั้งแต่สีแดงอมม่วง จนถึงสีแดงสด การเก็บครั่งนานกว่า 2 ปี อาจทำให้สีและความคงทนของสีไม่ดีนัก ซึ่งควรใช้ครั่งที่แก่เต็มที่ ที่ยังใหม่อยู่ในการสกัดสีครั่ง ใช้ครั้งละจำนวน 3 กิโลกรัม เมื่อสกัดน้ำสีอัตราส่วน 1 : 10 สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม วิธีการสกัดสี นำครั่งมาล้างในน้ำสะอาด เพื่อกำจัดฝุ่นละอองและเศษผงที่ติดมากับครั่ง แล้วนำไปแช่ในแอลกอฮอล์นาน 5-10 นาที เพื่อละลายสารที่เป็นสีเหลืองออก จากนั้นล่างด้วยน้ำสะอาด ก่อนนำไปต้มสกัดสี นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ การย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน โดยใส่สารส้มและน้ำมะขามเปียกเป็นสารช่วยติดสีขณะย้อม ในบางแห่ง ใช้กรดทาร์ทาริค (Tartaric acid) แทนน้ำมะขามเปียก เส้นไหมที่ผ่านการย้อมจะมีสีแดง
คำแสด (Anatto tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ในประเทศอินเดียใช้ส่วนของผงที่หุ้มผลสุก เรียกว่า กมลา (Kamala) ย้อมผ้าไหมและผ้าขนสัตว์เป็นสีส้มจัด และมีรายงานการใช้เมล็ดคำแสดในการย้อมฝ้าย ซึ่งคุณสมบัติของสีอยู่ในระดับปานกลาง การใช้เมล็ดคำแสดในการย้อมสีเส้นไหม ใช้เมล็ดคำแสด 3 กิโลกรัม ต้มกับน้ำเพื่อสกัดน้ำสี โดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำ 1: 10 สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ในขณะต้มสกัดสีใช้โซเดียมคาร์บอเนตเป็นตัวช่วยสกัดสี ต้มนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้มนาน 15 นาที ได้เส้นไหมสีส้มสด
โพธิ์ (Pipal tree , Sacred fig tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : การสกัดน้ำสีจากเปลือกต้นโพธิ์ ใช้เฉพาะเปลือกต้นด้านในนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้วิธีการต้มกับน้ำ อัตราส่วน 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง เปลือกต้นโพธิ์สด 15 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง เมื่อครบนำเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำสะอาด และแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม ได้เส้นไหมสีส้ม
คราม (Indigo)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ครามเป็นพืชที่นำมาใช้ย้อมสีมากที่สุด เนื่องจากเป็นพืชให้สีน้ำเงิน ใช้ในการย้อมฝ้ายได้ผลดี ทั้งนี้การย้อมครามส่วนใหญ่อยู่ในสภาพน้ำย้อมเป็นด่าง การย้อมเส้นไหมจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมและติดสีไม่ดี การย้อมเส้นไหมพบมากในจังหวัดสุรินทร์ มีการย้อมครามอย่างแพร่หลาย สีน้ำเงินที่ได้จากครามจัดเป็นแม่สีที่สามารถใช้ร่วมกับสีหลักอื่นๆได้หลากหลายสี วิธีการย้อมเส้นไหมด้วยคราม เตรียมน้ำครามเหมือนกับการเตรียมน้ำครามเพื่อย้อมฝ้าย โดยนำต้นครามสดทั้งใบและกิ่งมาแช่ในโอ่ง เติมน้ำปูนขาว (ปูนจากเปลือกหอย) แล้วกดทับให้ครามจมน้ำ ไม่ให้ทำปฏิกิริยากับอากาศและพลิกกลับครามทุกวัน นาน 4 วัน หรือจนสังเกตเห็นน้ำที่หมักครามสีเหลืองแล้วกรองเอาแต่น้ำคราม ในการนำน้ำครามมาย้อมเส้นไหม ควรปรับค่าความเป็นกรดด่างให้เหมาะสมประมาณ 9.7 โดยใช้น้ำด่างธรรมชาติและน้ำมดแดง จากนั้นนำเส้นไหมมาย้อมแบบย้อมเย็นในการย้อมครามอีกวิธีหนึ่ง เป็นวิธีย้อมที่รวดเร็วได้แก่การนำเอาครามเปียก ก้อนคราม หรือผงคราม มาย้อมเส้นไหมโดยใช้สารละลายด่างโซดาไฟ ละลายเนื้อครามแล้วเติมสารพวก Reducing agent เช่น กากน้ำตาลร่วมกับผงเหม็น (Sodium hydrosulfite) จนน้ำครามเป็นสีเขียวเหลือง และมีฟองสีน้ำเงิน ปรับความเป็นกรดด่าง โดยการเติมกรดน้ำส้มให้ ph น้ำย้อมอยู่ในระดับ 6.1-6.5 แล้วนำเส้นไหมมาย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมเย็น นานประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อครบนำเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นนำเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นนำเส้นไหมมาย้อมทับอีกครั้งจะได้เส้นไหมสีน้ำเงิน หรือสีฟ้าเข้ม
ดาวเรือง (African marigold)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : การใช้ดอกดาวเรืองนึ่งและอบให้แห้งจะให้น้ำสีเข้มข้นกว่าการสกัดจากดอกดาวเรืองสด 1 เท่า และมากกว่าดอกดาวเรืองตากแห้ง 5 เท่า เมื่อใช้อัตราส่วนที่เท่ากัน การย้อมเส้นไหมด้วยน้ำสีที่สกัดจากดอกดาวเรือง ดอกดาวเรืองแห้ง 1.2 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ใช้วิธีการต้มเพื่อสกัดสีนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ย้อมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน หลังจากนั้นนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลาย 1 % สารส้ม จะได้เส้นไหมสีเหลืองทอง
ขนุน (Jack Fruit tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ส่วนของต้นขนุนที่สามารถนำมาใช้ในงานย้อมสี คือ แก่นต้น โดยนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ และตากให้แห้ง เมื่อต้องการสกัดน้ำสีให้นำมาต้มกับน้ำโดยใช้อัตราส่วน 1 : 10 เส้นไหม 1 กิโลกรัม กรองใช้เฉพาะน้ำ นำเส้นไหมมาย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง หลังย้อมนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายช่วยติดสีสารส้มและจุนสี เส้นไหมที่ผ่านการแช่สารส้ม มีสีเหลือง
มะม่วงป่า (Mamgo tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : มะม่วงป่า ส่วนที่ใช้ในการย้อมสีเส้นไหมคือ เปลือกต้นด้านใน ลอกเอาเฉพาะเปลือกต้น นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อสกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ ในอัตราส่วนต่อน้ำ 1: 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองเอาน้ำสีที่ได้ย้อมเส้นไหมที่ผ่านการย้อมแช่ในสารละลายช่วยติดสี สารส้ม ได้สีเหลืองอ่อน
มะพูด (Ma phut)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : มะพูดหรือปะโหด เป็นพรรณไม้ที่นำเปลือกต้นมาใช้ย้อมสีเส้นไหมมานานแล้วในจังหวัดสุรินทร์และกัมพูชา เนื่องจากมะพูดให้สีเหลืองคล้ายสีเหลืองดอกบวบ หรือสีเหลืองดอกคูณ จึงมีการใช้ในการทำเป็นแม่สี เช่น เมื่อต้องการเส้นไหมสีเขียว นำเส้นไหมมาย้อมด้วยเปลือกมะพูดก่อนจึงย้อมทับด้วยคราม
ในการเตรียมน้ำสีสำหรับการย้อมเส้นไหม 1 กิโลกรัม ใช้เปลือกมะพูดแห้ง 3 กิโลกรัม ต้มกับน้ำในอัตราส่วน 1: 10 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำแล้วนำมาย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำมาแช่ในสารละลายสารส้ม นาน 10-15 นาที ได้เส้นไหมสีเหลืองสด
ในส่วนของใบที่นำมาใช้ย้อมสีเส้นไหมโดยใช้อัตราส่วน ใบสด 15 กิโลกรัมต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม สกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ อัตราส่วน 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำโดยกรรมวิธีการย้อมร้อนและแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม หลังย้อมเช่นเดียวกับเปลือก พบว่าให้เส้นไหมสีเหลือง แต่สีที่ได้จะอ่อนกว่าสีที่ผ่านการย้อมด้วยเปลือก แต่ถ้าแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีน้ำตาล
มะกอกโอลีฟ (Oleave)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : จากการที่มีการนำต้นมะกอกโอลีฟมาปลูกในประเทศไทย ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มะกอกโอลีฟ เมื่อเจริญเติบโตจะมีการตัดแต่งทรงพุ่มอบยู่เสมอ จึงนำเอาใบของมะกอกโอลีฟ มาทดลองย้อมสีเส้นไหม พบว่าสามารถย้อมสีเส้นไหมได้ผลดี โดยใช้ใบมะกอกโอลีฟสดจำนวน 15 กิโลกรัม นำมาต้มเพื่อสกัดน้ำสีโดยใช้อัตราส่วนใบสดต่อน้ำ 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ น้ำสีที่ได้สามารถนำมาย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสี นาน 10 - 15 นาที สีเส้นไหมที่แช่สารละลายจุนสีได้สีน้ำตาลเขียว
เพกา (Pheka)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ลอกเอาเฉพาะเปลือกต้นด้านใน นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ การสกัดสีจากเปลือกต้นเพกา สามารถใช้ได้ทั้งที่เป็นเปลือกสด โดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำ 1: 2 และเปลือกแห้งอัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 10 สามารถใช้ย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ในการสกัดสีจากเปลือกต้นเพกา สามารถทำได้หลายวิธีและการใช้สารช่วยติดสีต่างกัน ที่จะได้เส้นไหมที่มีเฉดสีแตกต่างกัน ได้แก่การสกัดสีโดยใช้เปลือกสดต้มกับน้ำ และใช้สารส้มในขณะย้อม ย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน ได้เส้นไหมสีเหลืองสดใส ถ้าต้องการสีของเส้นไหมออกไปทางโทนสีเขียว ควรใส่สารช่วยติดสีจำพวกโซเดียมคาร์บอเนต น้ำสนิมเหล็กและจุนสีลงไปขณะย้อม หรือแช่สารช่วยติดหลังการย้อมนาน 15 นาที เส้นไหมที่แช่จุนสี ได้สีน้ำตาลเขียว เส้นไหมที่แช่สารส้มได้สีเหลือง
ยอบ้าน (Indian Mulberry)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : รากและแก่นยอ มีการนำมาย้อมเส้นไหม ได้สีเส้นไหมสีแดงอมส้ม หรือเหลืองอมส้ม ขึ้นอยู่กับส่วนที่ใช้ ถ้าใช้ส่วนรากจะให้สีแดงมากกว่าส่วนของแก่น ซึ่งจะออกไปทางเหลืองอมส้ม ในการย้อมสีเส้นไหมจากส่วนต่างๆ ของยอบ้านในส่วนของรากยอต้มกับน้ำ ตามอัตราส่วน 1: 3 ย้อมแบบกรรมวิธีย้อมร้อนและเติม 1 % ของจุนสี จะได้สีที่ความคงทนต่อแสงและการซักได้ดี ส่วนวิธีการย้อมโดยใช้แก่นต้น สกัดน้ำสีโดยใช้อัตราส่วน 1 : 10 ต้มนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม ได้เส้นไหมมสีเหลืองอมส้ม
สำหรับการย้อมเส้นไหมอีกวิธีหนึ่ง คือ การย้อมโดยใช้ใบสดต้มกับน้ำ อัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 2 เส้นไหม 1 กิโลกรัม ใช้ใบยอบ้านสด 15 กิโลกรัม ต้มสกัดน้ำสีนาน 1 ชั่วโมง ย้อมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน หลังย้อมแช่เส้นไหมในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน
ยอป่า (YO pa)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ในอดีตมีการใช้รากและเปลือกต้นของยอป่า มาใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีแดงซึ่งต้องมีการตัดต้นและค่อนข้างหายาก จึงได้มีการทดลองนำใบของยอป่ามาใช้ย้อมเส้นไหม โดยใช้ใบสดต้มกับน้ำในอัตราส่วน 1: 2 ใบยอป่า 15 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ใช้กรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง หลังย้อม นำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม ได้เส้นไหมสีเหลืองอ่อน แต่ถ้าแช่ในจุนสี จะได้เส้นไหมสีเหลืองเขียว
สำหรับการไม่ใช้สารช่วยติดสีใดๆ ได้เส้นไหมสีเหลืองนวลส่วนการใช้สารละลายสารช่วยติดสีสารส้มขณะย้อม พบว่า ได้เส้นไหมสีเหลืองอ่อนเช่นเดียวกัน
แก้ว (Orange jasmine)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ในการย้อมสีจากเส้นไหมจากใบแก้วใช้ใบที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ใบแก้ว 15 กิโลกรัม เมื่อนำไปสกัดสี โดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 2 สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม สีของเส้นไหมที่ได้จากการย้อมขึ้นอยู่กับวิธีการสกัดสีและสารช่วยติดสี การสกัดสีโดยการใช้ใบแก้วสดต้มกับน้ำนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อนได้เส้นไหมสีเหลืองอ่อน แต่สีจะตกและไม่ทนต่อแสงเมื่อนำไปแช่จุนสี ได้เส้นไหมสีเขียวเหลืองมีความคงทนต่อการซักและแสง หรือนำไปแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต จะได้เส้นไหมสีเหลือง ถ้าต้องการเส้นไหมสีเหลืองอ่อน ควรย้อมเส้นไหมพร้อมกับน้ำที่สกัดจากใบส้มป่อย จะได้สีที่มีคุณภาพดีเช่นเดียวกัน
ในการเก็บรักษาใบแก้วเพื่อใช้ในฤดูที่ขาดแคลน นำใบแก้วไปนึ่งแล้วตากให้แห้ง เมื่อนำมาต้มกับน้ำแล้วย้อมเส้นไหมร่วมกับน้ำสนิมเหล็กจะได้เส้นไหมสีเหลือง คุณภาพของเส้นไหมที่ย้อมจากใบแก้วในกรรมวิธีการต่างๆ ข้างต้นจะได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดี
หูกวาง (Indian almond)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : หูกวางเป็นพืชหนึ่งที่มีการนำมาย้อมสีฝ้ายและไหม ในอดีตมีการนำเอาเปลือกของผลซึ่งมีแทนนิน มาใช้ในการย้อมหวาย แต่ในไหมและฝ้ายยังไม่พบรายงานในการใช้เปลือกของผล ทดลองใช้ใบหูกวางย้อมเส้นไหม โดยใช้ใบหูกวางที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปในอัตรา 15 กิโลกรัมต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม สกัดน้ำสีโดยใช้อัตราส่วนใบสดต่อน้ำ 1 : 2 ต้มนาน 1 ชั่วโมง นำน้ำสีไปย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เมื่อย้อมเสร็จแล้วนำมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม ได้เส้นไหมสีเหลือง ถ้าแช่ในจุนสีจะได้เส้นไหมสีเขียวขี้ม้า มีความคงทนต่อการซักและมีความคงทนต่อแสงในระดับปานกลาง
การใช้น้ำสีที่สกัดจากใบหูกวางและใบสมอผสมกันในอัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาตร ย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง เมื่อครบนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสีหลังย้อม ได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว
ขี้เหล็กบ้าน (Cassod tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ใบขี้เหล็กถูกนำมาย้อมสีเส้นไหมและฝ้ายแต่โบราณโดยจะได้เส้นไหมสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว การย้อมเส้นไหมด้วยใบขี้เหล็กให้สีเส้นไหมคุณภาพดีนั้น ใช้การสกัดสีโดยใช้ใบขี้เหล็กสดต้มกับน้ำ หรือต้มกับน้ำผสม 1 % กรดน้ำส้มโดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 การย้อมเส้นไหมควรนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีก่อนย้อม ได้แก่ สารละลายสารส้ม น้ำต้มใบยูคาลิปตัส และน้ำมะขามเปียก แล้วนำเส้นไหมไปย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง จะได้เส้นไหมสีเหลือง ถ้าแช่เส้นไหมในสารละลายจุนสีก้อนย้อม จะได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว
หูปลาช่อน (Copperleaf)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : หูปลาช่อนเป็นพืชใหม่ที่ได้นำมาทดลองย้อมสีเส้นไหม ใบหูปลาช่อนที่ใช้จะใช้ใบที่มีสีน้ำตาลแดง นำมาต้มกับน้ำนาน 1 ชั่งโมง โดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 ใบหูปลาช่อน 15 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เมื่อครบล้างเส้นไหมด้วยน้ำสะอาดและไปแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี หลังย้อม ได้เส้นไหมสีเขียวขี้ม้า
ฝิ่นต้น (Fin ton)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ฝิ่นต้นเป็นพืชใหม่ที่ใช้ใบในการย้อมสีเส้นไหม ใบสด 15 กิโลกรัม สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม นำใบสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อนำมาสกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ โดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 ใช้เวลาในการต้มนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ นำน้ำสีที่ได้มาย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีน้ำตาลเขียว
โกสน (Garden Croton)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : อาจเป็นพืชใหม่ที่นำใบมาใช้ในการย้อมสีเส้นไหม โกสนมีศักยภาพในการใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมสีเส้นไหมในปริมาณมาก เนื่องจากลักษณะขยายพันธุ์ได้ง่าย และมีการปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ในการย้อมสีเส้นไหมด้วยใบโกสน เส้นไหม 1 กิโลกรัม ต้องใช้ใบโกสนสด 15 กิโลกรัม นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ สกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำอัตราส่วน 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อนนาน 1 ชั่วโมง หลังย้อมนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน ถ้าแช่ในสารละลายเกลือแกงน้ำสนิมเหล็ก น้ำมะขามเปียก กรดฟอร์มิค หรือใช้โซเดียมคาร์บอเนตได้เส้นไหมสีน้ำตาลอ่อน สำหรับวิธีการนำใบโกสนมานึ่งแล้วตากให้แห้งซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน เมื่อต้องการนำมาย้อมสีเส้นไหม นำใบแห้งมาต้มกับน้ำเพื่อสกัดน้ำสี นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ก่อนย้อมนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี เส้นไหมที่ผ่านการย้อมจะมีสีเขียวเหลืองน้ำมะขามเปียก ได้เส้นไหมสีน้ำตาลอ่อน น้ำสนิมเหล็กได้สีเหลืองอ่อน คุณภาพสีที่มีความคงทนต่อการซักและแสงในระดับดีปานกลาง
เลี่ยน (Bead tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : ในการย้อมเส้นไหมจะใช้ส่วนของใบเลี่ยนที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป สีเส้นไหมและคุณภาพของสีขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการสกัดสี และการใช้สารช่วยติดสีชนิดต่างๆ การย้อมสีเส้นไหมให้มีความคงทนต่อการซักและแสงมีวิธีการดังนี้ วิธีที่ 1 ใช้ใบสดต้มกับน้ำอัตรา 1 : 2 โดยน้ำหนัก ต้มนาน 1 ชั่วโมง ใบเลี่ยนสด 15 กิโลกรัม สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม แล้วนำมาย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อนและใส่เกลือแกงในขณะย้อม จำพวกโซเดียมคาร์บอเนต มะขามเปียก น้ำสนิมเหล็ก จะได้เส้นไหมสีครีม ส่วนการแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีเขียว วิธีการที่ 2 สกัดสีโดยใช้ใบสดต้มกับน้ำผสม 3 % กรดน้ำส้ม นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ นำเส้นไหมแช่ในน้ำมะขามเปียกก่อนย้อมจะได้เส้นไหมสีเหลืองอ่อน วิธีการที่ 3 ใช้ใบสดคั้นกับน้ำแล้วหมัก 3 คืน กรองใช้เฉพาะน้ำ นำน้ำสีไปย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี จะได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน
โมกมัน (Ivory)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : การย้อมสีเส้นไหมด้วยเปลือกต้นโมกมัน ลอกเอาเฉพาะเปลือกต้นด้านใน นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ โดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 เส้นไหม 1 กิโลกรัม ใช้เปลือกต้นโมกมันสด 15 กิโลกรัม นำมาสกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำนำน้ำสีที่ได้มาย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน แล้วนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี หลังย้อมได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน
หม่อน (Mulberry tree)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : สำหรับการย้อมเส้นไหมด้วยสีจากผลหม่อน ใช้ผลสุกสีดำม่วง 30 กิโลกรัมสด ในอัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 1 ย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยนำผลหม่อนมาคั้นกับน้ำแล้วต้มสกัดสี นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ ย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีการย้อมร้อน ใส่สารละลายสารช่วยติดสีจุนสี 10 % ของน้ำหนักไหม และกรดน้ำส้มลงไปในขณะย้อม ได้เส้นไหมสีเขียวขี้ม้า
นอกจากใช้ผลหม่อนย้อมเส้นไหมแล้วใบหม่อนก็สามารถนำมาสกัดเป็นสีย้อมได้เช่นเดียวกัน โดยใช้ใบหม่อนสด 15 กิโลกรัม ในอัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 2 ต้มสกัดน้ำสีนาน 1 ชั่วโมง กรงใช้เฉพาะน้ำ สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน หลังย้อมนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีสารส้ม ได้สีเหลือง คุณภาพของสีมีความคงทนต่อการซักและแสงในระดับต่ำ แต่แช่ในสารละลายจุนสีให้สารสีเหลืองเขียว
พุดซ้อน (Cape jasmine)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : การย้อมสีเส้นไหมด้วยใบพุดซ้อน ใช้ใบที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ใบพุดซ้อน 15 กิโลกรัม เมื่อนำมาสกัดสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำ นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ โดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 สามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ใช้กรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เมื่อครบนำเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำสะอาดและแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีจุนสี ได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน
สบู่แดง (Bellyache bush)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : สบู่แดงเป็นพืชชนิดใหม่ ที่นำมาทดลองใช้ย้อมสีเส้นไหม จากข้อสังเกตเดิมที่ใบอ่อนมีสีแดง ถ้านำใบส่วนนี้มาย้อมเส้นไหมน่าจะออกเป็นโทนสีชมพูหรือแดง จากการทดลองย้อมพบว่าเส้นไหมที่ได้เป็นสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อน แต่เมื่อนำมาแช่ในสารละลายจุนสี กลับได้เส้นไหมสีเขียวที่มีความคงทนต่อการซักและแสง เส้นไหมสีเขียวที่ได้จากการย้อมในสีธรรมชาตินั้น เป็นสีที่พบได้น้อย ส่วนใหญ่ผู้ย้อมสีธรรมชาติจะใช้สีครามร่วมกับพืชที่ให้สีเหลือง
การย้อมเส้นไหมด้วยใบสบู่แดง ใช้ใบอ่อนส่วนยอดที่มีสีแดง นำมาสกัดสีโดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 2 ต้มนาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ นำน้ำสีที่ได้ไปย้อมเส้นไหมโดยใช้กรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในสารละลายสารช่วยติดสี เช่น จุนสี เกลือแกง น้ำสนิมเหล็ก กรดฟอร์มิค และน้ำด่างปูนขาว ให้สีเส้นไหมในโทนสีเขียว ถ้าต้องการเส้นไหมโทนสีน้ำตาล ให้นำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาแช่ในน้ำมะขามเปียกหรือโซเดียมคาร์บอเนต
ส้มป่อย (Som poi)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : น้ำที่สกัดจากใบส้มป่อยจะมีคุณสมบัติเป็นกรด เหมาะสมกับการย้อมเส้นไหม จากการทดลองย้อมเส้นไหมด้วยใบส้มป่อยให้สีที่มีคุณภาพดีนั้นขึ้นอยู่กับสารช่วยติดสี ส่วนวิธีการย้อมจะเหมือนกับพืชชนิดอื่น การย้อมสีเส้นไหมด้วยใบส้มป่อย ใช้ใบส้มป่อยสด 15 กิโลกรัม ย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม สกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำอัตราส่วน 1 : 2 นานประมาณ 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำ นำไปย้อมเส้นไหมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วแช่ในสารละลายสารช่วยติดสีต่างๆ ได้แก่แช่ในสารละลายจุนสี ได้เส้นไหมสีเขียวอ่อน แช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ได้สีน้ำตาลอ่อนแช่ในน้ำมะขามเปียก น้ำสนิมเหล็ก เกลือแกง และกรดฟอร์มิค จะได้สีครีม ถ้าแช่ในน้ำด่างปูนขาวจะได้สีเหลืองอ่อน มีคุณสมบัติของสีเช่นเดียวกัน อีกวิธีการหนึ่ง เพื่อเก็บรักษาวัตถุดิบให้สามารถใช้งานได้นานๆ โดยการนำเอาใบส้มป่อยมานึ่งแล้วตากให้แห้งสามารถนำมาย้อมในภายหลังโดยใช้สารช่วยติดสีเหมือนเช่นเดิม ยกเว้นจุนสี ก็จะได้สีที่ใกล้เคียงกัน ทุกวิธีให้คุณภาพของสีด้านความคงทนต่อการซักและแสงได้ดี
สนแผง (Oriental Arbor-Vitae)
การใช้ประโยชน์ในงานย้อมสี : การย้อมสีเส้นไหมด้วยใบสนแผง นำใบสดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ สกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำโดยใช้อัตราส่วน 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง ใบสนแผงสด 15 กิโลกรัม วิธีการย้อมใช้กรรมวิธีการย้อมร้อน นาน 1 ชั่วโมง ส่วนการใช้สารช่วยติดสี
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-