ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนที่แท้จริงกลับเป็นบวกเดือนแรกที่ร้อยละ 0.12 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนที่แท้จริงในเดือน ส.ค.ว่า อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.12 ซึ่งกลับมาเป็นบวกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่
ปี 47 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) เดือน ส.ค.อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.89 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเดือน ก.ค.
ซึ่งประกาศเมื่อเดือน ส.ค.อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนติดลบที่ร้อยละ 0.08 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์อยู่ที่ร้อยละ 3.10 ทั้งนี้
การที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากกลับมาเป็นบวกได้ในเดือน ส.ค.เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ใน 12 เดือนข้างหน้าชะลอตัวลง ประกอบกับการ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธพ.มาตั้งแต่ต้นปี (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, มติชน)
2. ธปท.เผยยังไม่ได้รับคำร้องขอขยายวงเงินกู้ซอฟต์โลนให้กับผู้ประกอบการ 3 จังหวัดภาคใต้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่สมาคมธนาคารไทยขอความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ โดยให้ ธปท.ขยายเวลาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน)
เพิ่มเป็น 3 ปี จากเดิมที่จะหมดระยะเวลาในช่วงเดือน ก.พ.ปี50 ว่า ขณะนี้ทางสมาคมธนาคารไทยยังไม่ได้ติดต่อเข้ามา อย่างไรก็ตาม ธปท.
ยังไม่ได้มีมาตรการช่วยเหลืออะไรเป็นพิเศษในขณะนี้ ต้องรอหนังสือแจ้งจากสมาคมธนาคารไทยก่อน (ผู้จัดการรายวัน, สยามรัฐ)
3. ฟิทช์ เรทติ้ง ชี้สถานการณ์การเมืองยังไม่กระทบต่อการจัดเรทติ้งไทย หัวหน้าฝ่ายจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเทศในเอเชีย ฟิทช์
เรทติ้งส์ กล่าวถึงแนวโน้มการเมืองกับเศรษฐกิจไทยและเอเชียในงานสัมมนาประจำปี จัดโดย ฟิทช์ เรทติ้งส์ ในไทย ในหัวข้อเรื่อง “ความเสี่ยง
ภาคธนาคารกับเศรษฐกิจไทยและเอเชีย” ที่โรงแรมคอนราด วานนี้ (5 ก.ย.) ว่า ภายใต้สมมติฐานการเมืองไทยสามารถคลี่คลายไปในทางที่ดี
ได้ในปีนี้ ฟิทช์มีความเห็นในเชิงบวก เนื่องจากปัจจัยภายนอกประเทศสำหรับไทยยังแข็งแกร่งได้ช่วยผ่อนคลายผลกระทบไม่ดี อันเกิดจากภาวการณ์
เมืองไม่แน่นอนของไทย ทั้งนี้ ผลกระทบจากความวุ่นวายทางการเมืองยังไม่กระทบต่อการจัดเรทติ้งประเทศของไทย เพราะหนี้ภาครัฐในช่วงที่
เมกะโปรเจ็คล่าช้าและเลื่อนออกไปนั้น ยังปรับลดลงอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งสภาพคล่องในต่างประเทศยังแข็งแกร่งทั้งดุลการค้ากับดุลบัญชีเดินสะพัดดี
อยู่ ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ได้ตั้งสมมติฐานเชิงลบไว้ด้วยว่า หาก
สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่นอนของไทยเวลานี้ยังยืดเยื้อต่อไปอีก ทางฟิทช์ เรทติ้ง ก็อาจดำเนินการทบทวนภาพรวมของประเทศ และอัตราการ
เติบโตของไทยใหม่ โดยเตือนว่าสภาพการเมืองที่ยืดเยื้อ อาจจะส่งผลกระทบร้ายแรงให้กับตลาดและภาคการเงินในประเทศด้วย (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, บ้านเมือง, สยามรัฐ)
4. ไทยนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วง 9 เดือนแรกปี งปม.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.28 รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เปิดเผยว่า ครม.รับทราบรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาส 2 และ 3 ปี งปม.49 จาก ก.คลัง โดยไตรมาส 2 (ม.ค.-มี.ค.49) สินค้า
ฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้ามีมูลค่านำเข้ารวม 253,540 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี งปม.48 จำนวน 22,089 ล้านดอลลาร์
สรอ. หรือร้อยละ 9.54 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำหอมและเครื่องสำอาง สุราต่างประเทศ และนาฬิกาและ
อุปกรณ์ ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 3 ของปี งปม. 49 (เมย.-มิ.ย.49) มีมูลค่านำเข้ารวม 253,258 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันของปี งปม.48 จำนวน 30.71 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 13.80 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ยังเป็น
น้ำหอมและเครื่องสำอาง สุราต่างประเทศ และ นาฬิกาและอุปกรณ์ รวมสินค้าฟุ่มเฟือยที่นำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกปี งปม. 49 มีมูลค่านำเข้า
รวม 772,308 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับช่วงเดียวกับของปี งปม.48 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 59,071 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 8.25
(กรุงเทพธุรกิจ)
5. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 49 ลดลงร้อยละ 2.4 ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า
จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 49 ครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม 215 ผลิตภัณฑ์ พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
อยู่ที่ระดับ 161.64 ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 48 โดย
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 48 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตอิเล็กทรอนิกส์
และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการส่งออกในไตรมาส ปี 49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ
19.83 (สยามรัฐ, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วโลกในปีนี้จะสูงถึง 1 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่
5 ก.ย. 49 จากรายงานใน World Investment Prospects to 2010 ที่ตีพิมพ์ร่วมกันโดย The Economist Intelligence Unit and
The Columbia Program on International Investment คาดว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment
— FDI) รวมทั้งการลงทุนในภูมิภาคครอบคลุม 82 ประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยคาดว่าในปี 53 จะมีจำนวนประมาณ
1.4 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงจากการขยายตัวของเงินลงทุนดังกล่าว สำหรับในปีนี้คาดว่า FDI จะสูงถึง
1.2 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 955 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เมื่อปีที่แล้วหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 อยู่ในระดับสูงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับ
ตั้งแต่ปี 43 อย่างไรก็ตามการเติบโตของ FDI อยู่ในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ผู้วิจัยรวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า รูปแบบการลงทุนนับตั้งแต่
49 เป็นต้นไปจะเป็นการลงทุนในรูปแบบการควบและรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions -M&A) ของธุรกิจในตลาดที่พัฒนาแล้วด้วยกัน
ผิดกับในช่วงปี 47 — 48 ที่เป็นการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ตามอัตราการขยายตัวของ FDI ของจีนเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดเกินกว่า
80 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.ในปี 49 ส่วน สรอ. ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกคาดว่ายังคงดึงดูด FDI อย่างต่อเนื่องสูงเกือบ
ร้อยละ 25 ของ FDI ทั่วโลกในช่วงปี 49 — ปี 53 สำหรับประเทศที่มี FDI สูงสุด 10 อันดับแรกคาดว่าจะมีสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของ FDI
ทั่วโลก ในปี 48 ส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้วได้แก่ อังกฤษ สรอ. จีน ฝรั่งเศส ลักแซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง แคนาดา สิงคโปร์
และเยอรมนี (รอยเตอร์)
2. จีนเป็นประเทศที่มี FDI ปี 48 สูงสุดในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ รายงานจากฮ่องกง เมื่อวันที่ 6 ก.ย.49
Economist Intelligence Unit และ Columbia Program on International Investment เปิดเผยว่า ในปี 48 จีนเป็นประเทศ
ที่มีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment — FDI) สูงสุดในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ด้วยมูลค่าสูงถึง
79.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงระดับ 86.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 49 แต่จะปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 80 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ในปี 53 ทั้งนี้ ในปี 48 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาของเอเชียโดยรวมสามารถดึงดูด FDI สูงเป็นสถิติถึง 177 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โดยการลงทุนในภาคการเงินช่วยดึงดูด FDI ให้ไหลเข้าไปสู่จีน รวมถึงข้อตกลงผูกพันที่จะทำให้ FDI ในปี 49 เพิ่มขึ้นด้วย ในขณะที่ฮ่องกงมี
FDI ปี 48 จำนวน 35.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 37.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 49 แต่จะลดลงเหลือ
31.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 53 ส่วนสิงคโปร์มี FDI ปี 48 จำนวน 33.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่คาดว่าจะลดลงเหลือ
21 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 49 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 22 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 53 ด้านอินเดียมี FDI ปี 48 เพียง
6.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 9.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 49 และ 14.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 53 ขณะที่คาดว่า
ญี่ปุ่นจะพลาดเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการเพิ่ม FDI เป็นร้อยละ 5 ของจีดีพีในปี 53 ซึ่งเป็นผลมาจากความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และ
ทัศนคติในทางลบของบริษัทชาวญี่ปุ่นที่มีต่อการเข้าครอบครองกิจการของชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังมีการพยากรณ์ว่าช่องว่างในการไหลเข้าของ
FDI เข้าไปในจีนและ 10 ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน จะแคบลงในช่วงเวลาที่เหลือของทศวรรษนี้ จากการที่หลายประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความ
น่าสนใจในการลงทุนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับจีนที่ค่าจ้างแรงงานปรับตัวสูงขึ้น และจะมีการแข่งขันกันมากขึ้นในการผลิตต้นทุนต่ำในตลาดอาเซียนบาง
ประเทศ (รอยเตอร์)
3. การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบ 16 เดือน รายงานจากกัวลาลัมเปอร์
เมื่อ 5 ก.ย.49 The Ministry of International Trade and Industry เปิดเผยว่า การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ก.ค.49
เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบ 16 เดือน โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการส่งออกน้ำมันดิบ ก๊าซ น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันปาล์ม
ส่วนการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.2 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเป็นจำนวน 9.09 พัน ล.ริงกิต (2.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นจากจำนวน
5.96 พัน ล.ริงกิตในเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกในเดือน ก.ค.สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 13.8 เทียบต่อปี ขณะที่การนำเข้าต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.9 เทียบต่อปี ทำให้ยอดเกิน
ดุลการค้าสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวน 8.1 พัน ล.ริงกิต อย่างไรก็ตาม บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดหมาย
ว่า การส่งออกของมาเลเซียอาจจะชะลอตัวในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ โดยมีสาเหตุจากการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก รวมถึงการ
ชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ต่อปีสูงสุดในรอบ 19 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ
5 ก.ย.49 ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 19 เดือน นับตั้งแต่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.1 ต่อปีในเดือน ม.ค.48 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปีในเดือน ก.ค.49 โดยดัชนีในส่วนของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารลดลงร้อยละ
3.5 ต่อปี ชดเชยกับดัชนีในส่วนที่เกี่ยวกับพลังงานซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้ผลิตเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการชี้แนวโน้มดัชนีราคา
ผู้บริโภค โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 10 ส.ค.49 ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไม่คาดหมายมาก่อนร้อยละ
0.25 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นไปอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี ตัวเลขทางเศรษฐกิจ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังชะลอตัวลง ซึ่งสร้างแรงกดดันให้ ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยในระดับเดิมต่อไป อนึ่ง ในการ
คำนวณดัชนีราคาผู้ผลิต สินค้าอุตสาหกรรม เช่น ปิโตรเคมี สิ่งทอและอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนถึงร้อยละ 61 เทียบกับสินค้าเกษตรและประมงที่มี
สัดส่วนเพียงร้อยละ 5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ก.ย. 49 5 ก.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.35 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.1531/37.4455 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.11438 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 701.10/9.45 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,200/11,300 11,050/11,150 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.96 62.71 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 5 ก.ย. 49 28.09*/27.29* 28.09*/27.29* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนที่แท้จริงกลับเป็นบวกเดือนแรกที่ร้อยละ 0.12 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนที่แท้จริงในเดือน ส.ค.ว่า อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.12 ซึ่งกลับมาเป็นบวกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่
ปี 47 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) เดือน ส.ค.อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.89 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเดือน ก.ค.
ซึ่งประกาศเมื่อเดือน ส.ค.อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนติดลบที่ร้อยละ 0.08 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์อยู่ที่ร้อยละ 3.10 ทั้งนี้
การที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากกลับมาเป็นบวกได้ในเดือน ส.ค.เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ใน 12 เดือนข้างหน้าชะลอตัวลง ประกอบกับการ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธพ.มาตั้งแต่ต้นปี (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, มติชน)
2. ธปท.เผยยังไม่ได้รับคำร้องขอขยายวงเงินกู้ซอฟต์โลนให้กับผู้ประกอบการ 3 จังหวัดภาคใต้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่สมาคมธนาคารไทยขอความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ โดยให้ ธปท.ขยายเวลาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน)
เพิ่มเป็น 3 ปี จากเดิมที่จะหมดระยะเวลาในช่วงเดือน ก.พ.ปี50 ว่า ขณะนี้ทางสมาคมธนาคารไทยยังไม่ได้ติดต่อเข้ามา อย่างไรก็ตาม ธปท.
ยังไม่ได้มีมาตรการช่วยเหลืออะไรเป็นพิเศษในขณะนี้ ต้องรอหนังสือแจ้งจากสมาคมธนาคารไทยก่อน (ผู้จัดการรายวัน, สยามรัฐ)
3. ฟิทช์ เรทติ้ง ชี้สถานการณ์การเมืองยังไม่กระทบต่อการจัดเรทติ้งไทย หัวหน้าฝ่ายจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเทศในเอเชีย ฟิทช์
เรทติ้งส์ กล่าวถึงแนวโน้มการเมืองกับเศรษฐกิจไทยและเอเชียในงานสัมมนาประจำปี จัดโดย ฟิทช์ เรทติ้งส์ ในไทย ในหัวข้อเรื่อง “ความเสี่ยง
ภาคธนาคารกับเศรษฐกิจไทยและเอเชีย” ที่โรงแรมคอนราด วานนี้ (5 ก.ย.) ว่า ภายใต้สมมติฐานการเมืองไทยสามารถคลี่คลายไปในทางที่ดี
ได้ในปีนี้ ฟิทช์มีความเห็นในเชิงบวก เนื่องจากปัจจัยภายนอกประเทศสำหรับไทยยังแข็งแกร่งได้ช่วยผ่อนคลายผลกระทบไม่ดี อันเกิดจากภาวการณ์
เมืองไม่แน่นอนของไทย ทั้งนี้ ผลกระทบจากความวุ่นวายทางการเมืองยังไม่กระทบต่อการจัดเรทติ้งประเทศของไทย เพราะหนี้ภาครัฐในช่วงที่
เมกะโปรเจ็คล่าช้าและเลื่อนออกไปนั้น ยังปรับลดลงอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งสภาพคล่องในต่างประเทศยังแข็งแกร่งทั้งดุลการค้ากับดุลบัญชีเดินสะพัดดี
อยู่ ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ได้ตั้งสมมติฐานเชิงลบไว้ด้วยว่า หาก
สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่นอนของไทยเวลานี้ยังยืดเยื้อต่อไปอีก ทางฟิทช์ เรทติ้ง ก็อาจดำเนินการทบทวนภาพรวมของประเทศ และอัตราการ
เติบโตของไทยใหม่ โดยเตือนว่าสภาพการเมืองที่ยืดเยื้อ อาจจะส่งผลกระทบร้ายแรงให้กับตลาดและภาคการเงินในประเทศด้วย (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, บ้านเมือง, สยามรัฐ)
4. ไทยนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วง 9 เดือนแรกปี งปม.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.28 รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เปิดเผยว่า ครม.รับทราบรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาส 2 และ 3 ปี งปม.49 จาก ก.คลัง โดยไตรมาส 2 (ม.ค.-มี.ค.49) สินค้า
ฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้ามีมูลค่านำเข้ารวม 253,540 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี งปม.48 จำนวน 22,089 ล้านดอลลาร์
สรอ. หรือร้อยละ 9.54 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำหอมและเครื่องสำอาง สุราต่างประเทศ และนาฬิกาและ
อุปกรณ์ ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 3 ของปี งปม. 49 (เมย.-มิ.ย.49) มีมูลค่านำเข้ารวม 253,258 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันของปี งปม.48 จำนวน 30.71 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 13.80 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ยังเป็น
น้ำหอมและเครื่องสำอาง สุราต่างประเทศ และ นาฬิกาและอุปกรณ์ รวมสินค้าฟุ่มเฟือยที่นำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกปี งปม. 49 มีมูลค่านำเข้า
รวม 772,308 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับช่วงเดียวกับของปี งปม.48 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 59,071 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 8.25
(กรุงเทพธุรกิจ)
5. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 49 ลดลงร้อยละ 2.4 ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า
จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 49 ครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม 215 ผลิตภัณฑ์ พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
อยู่ที่ระดับ 161.64 ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 48 โดย
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 48 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตอิเล็กทรอนิกส์
และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการส่งออกในไตรมาส ปี 49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ
19.83 (สยามรัฐ, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วโลกในปีนี้จะสูงถึง 1 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่
5 ก.ย. 49 จากรายงานใน World Investment Prospects to 2010 ที่ตีพิมพ์ร่วมกันโดย The Economist Intelligence Unit and
The Columbia Program on International Investment คาดว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment
— FDI) รวมทั้งการลงทุนในภูมิภาคครอบคลุม 82 ประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยคาดว่าในปี 53 จะมีจำนวนประมาณ
1.4 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงจากการขยายตัวของเงินลงทุนดังกล่าว สำหรับในปีนี้คาดว่า FDI จะสูงถึง
1.2 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 955 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เมื่อปีที่แล้วหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 อยู่ในระดับสูงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับ
ตั้งแต่ปี 43 อย่างไรก็ตามการเติบโตของ FDI อยู่ในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ผู้วิจัยรวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า รูปแบบการลงทุนนับตั้งแต่
49 เป็นต้นไปจะเป็นการลงทุนในรูปแบบการควบและรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions -M&A) ของธุรกิจในตลาดที่พัฒนาแล้วด้วยกัน
ผิดกับในช่วงปี 47 — 48 ที่เป็นการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ตามอัตราการขยายตัวของ FDI ของจีนเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดเกินกว่า
80 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.ในปี 49 ส่วน สรอ. ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกคาดว่ายังคงดึงดูด FDI อย่างต่อเนื่องสูงเกือบ
ร้อยละ 25 ของ FDI ทั่วโลกในช่วงปี 49 — ปี 53 สำหรับประเทศที่มี FDI สูงสุด 10 อันดับแรกคาดว่าจะมีสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของ FDI
ทั่วโลก ในปี 48 ส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้วได้แก่ อังกฤษ สรอ. จีน ฝรั่งเศส ลักแซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง แคนาดา สิงคโปร์
และเยอรมนี (รอยเตอร์)
2. จีนเป็นประเทศที่มี FDI ปี 48 สูงสุดในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ รายงานจากฮ่องกง เมื่อวันที่ 6 ก.ย.49
Economist Intelligence Unit และ Columbia Program on International Investment เปิดเผยว่า ในปี 48 จีนเป็นประเทศ
ที่มีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment — FDI) สูงสุดในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ด้วยมูลค่าสูงถึง
79.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงระดับ 86.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 49 แต่จะปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 80 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ในปี 53 ทั้งนี้ ในปี 48 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาของเอเชียโดยรวมสามารถดึงดูด FDI สูงเป็นสถิติถึง 177 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โดยการลงทุนในภาคการเงินช่วยดึงดูด FDI ให้ไหลเข้าไปสู่จีน รวมถึงข้อตกลงผูกพันที่จะทำให้ FDI ในปี 49 เพิ่มขึ้นด้วย ในขณะที่ฮ่องกงมี
FDI ปี 48 จำนวน 35.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 37.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 49 แต่จะลดลงเหลือ
31.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 53 ส่วนสิงคโปร์มี FDI ปี 48 จำนวน 33.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่คาดว่าจะลดลงเหลือ
21 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 49 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 22 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 53 ด้านอินเดียมี FDI ปี 48 เพียง
6.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 9.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 49 และ 14.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 53 ขณะที่คาดว่า
ญี่ปุ่นจะพลาดเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการเพิ่ม FDI เป็นร้อยละ 5 ของจีดีพีในปี 53 ซึ่งเป็นผลมาจากความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และ
ทัศนคติในทางลบของบริษัทชาวญี่ปุ่นที่มีต่อการเข้าครอบครองกิจการของชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังมีการพยากรณ์ว่าช่องว่างในการไหลเข้าของ
FDI เข้าไปในจีนและ 10 ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน จะแคบลงในช่วงเวลาที่เหลือของทศวรรษนี้ จากการที่หลายประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความ
น่าสนใจในการลงทุนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับจีนที่ค่าจ้างแรงงานปรับตัวสูงขึ้น และจะมีการแข่งขันกันมากขึ้นในการผลิตต้นทุนต่ำในตลาดอาเซียนบาง
ประเทศ (รอยเตอร์)
3. การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบ 16 เดือน รายงานจากกัวลาลัมเปอร์
เมื่อ 5 ก.ย.49 The Ministry of International Trade and Industry เปิดเผยว่า การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ก.ค.49
เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบ 16 เดือน โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการส่งออกน้ำมันดิบ ก๊าซ น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันปาล์ม
ส่วนการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.2 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเป็นจำนวน 9.09 พัน ล.ริงกิต (2.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นจากจำนวน
5.96 พัน ล.ริงกิตในเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกในเดือน ก.ค.สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 13.8 เทียบต่อปี ขณะที่การนำเข้าต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.9 เทียบต่อปี ทำให้ยอดเกิน
ดุลการค้าสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวน 8.1 พัน ล.ริงกิต อย่างไรก็ตาม บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดหมาย
ว่า การส่งออกของมาเลเซียอาจจะชะลอตัวในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ โดยมีสาเหตุจากการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก รวมถึงการ
ชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ต่อปีสูงสุดในรอบ 19 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ
5 ก.ย.49 ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 19 เดือน นับตั้งแต่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.1 ต่อปีในเดือน ม.ค.48 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปีในเดือน ก.ค.49 โดยดัชนีในส่วนของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารลดลงร้อยละ
3.5 ต่อปี ชดเชยกับดัชนีในส่วนที่เกี่ยวกับพลังงานซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้ผลิตเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการชี้แนวโน้มดัชนีราคา
ผู้บริโภค โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 10 ส.ค.49 ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไม่คาดหมายมาก่อนร้อยละ
0.25 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นไปอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี ตัวเลขทางเศรษฐกิจ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังชะลอตัวลง ซึ่งสร้างแรงกดดันให้ ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยในระดับเดิมต่อไป อนึ่ง ในการ
คำนวณดัชนีราคาผู้ผลิต สินค้าอุตสาหกรรม เช่น ปิโตรเคมี สิ่งทอและอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนถึงร้อยละ 61 เทียบกับสินค้าเกษตรและประมงที่มี
สัดส่วนเพียงร้อยละ 5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ก.ย. 49 5 ก.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.35 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.1531/37.4455 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.11438 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 701.10/9.45 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,200/11,300 11,050/11,150 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.96 62.71 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 5 ก.ย. 49 28.09*/27.29* 28.09*/27.29* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--