แท็ก
การส่งออก
คำถาม : กฎระเบียบทางการค้าที่สำคัญของบังกลาเทศมีอะไรบ้าง
คำตอบ : ไทยและบังกลาเทศได้จัดทำความตกลงทางการค้าร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2520 แต่จนถึงปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของไทยไปบังกลาเทศยังมีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย การทราบถึงกฎระเบียบทางการค้าของบังกลาเทศ อาจช่วยให้ผู้ส่งออกไทยมีโอกาสขยายตลาดการค้าในบังกลาเทศได้เพิ่มขึ้นโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สินค้าที่ห้ามนำเข้า (Banned Items) ตาม Import Policy Order 2546-2549 ของบังกลาเทศได้กำหนดรายการสินค้าที่ห้ามนำเข้าไว้หลายรายการ อาทิ
- อุปกรณ์สำนักงานที่ใช้แล้ว อาทิ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องโทรสาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- รถยนต์ที่มีการใช้งานเกินกว่า 5 ปี และรถมอเตอร์ไซต์ที่มีการใช้งานเกินกว่า 3 ปี
- สุกรมีชีวิต เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์
2. สินค้าควบคุม (Restricted/Conditional List) เป็นสินค้าที่ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการนำเข้าที่กำหนดโดยหน่วยงานของบังกลาเทศซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสินค้านั้น ๆ โดยตรง อาทิ ลูกไก่ที่มีอายุ 1 วันกล่องกระดาษที่ใช้บรรจุสินค้าแช่แข็งเพื่อส่งออก ปิโตรเลียมประเภทโพรพิลีนและบิวเทนในรูปของเหลว และถ่านโค้ก เป็นต้น
3. อัตราภาษีนำเข้า (Import Tariff) บังกลาเทศมีการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าในอัตราที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ ประกอบกับรัฐบาลต้องการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศที่รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนในประเทศเป็นผู้ลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าที่บังกลาเทศยังขาดแคลน อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค และเครื่องจักรต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศลง
ทั้งนี้ ภาษีนำเข้าที่บังกลาเทศเรียกเก็บมีหลายอัตรา อาทิ
- เครื่องจักรและวัตถุดิบพื้นฐานที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก อุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องจักรกลการเกษตร โดยจัดเก็บใน 2 อัตรา คือ 0% และ 6%
- สินค้าขั้นกลางและกึ่งวัตถุดิบ จัดเก็บใน 2 อัตรา คือ 6% และ 13%
- สินค้าสำเร็จรูป จัดเก็บใน 3 อัตรา คือ 25% 35% และ 65%
- สินค้าฟุ่มเฟือย จัดเก็บในอัตราที่สูงมาก อาทิ เบียร์ จัดเก็บในอัตรา 250% ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่จัดเก็บในอัตรา 350% ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลบังกลาเทศ ยกเว้น การเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการ อาทิ ฝ้ายดิบอาหารสัตว์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ปีกและโคนม เมล็ดพันธุ์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น
4. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added Tax : VAT) บังกลาเทศเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราคงที่ คือที่ระดับ 15% จากการขายสินค้าทั้งที่ผลิตได้เองในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศนั้น จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้นำเข้า
5. ค่าธรรมเนียมนำเข้า (Surchage) อาทิ Infrastructure Development Surcharge ซึ่งบังกลาเทศเรียกเก็บในอัตรา 4% จากราคาสินค้านำเข้าเกือบทุกประเภท ยกเว้น วัตถุดิบบางชนิด อาทิ ข้าว ฝ้ายดิบ ฯลฯ
6. ฉลากสินค้า บังกลาเทศไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องการปิดฉลากสินค้าโดยตรง ดังนั้น สินค้าแต่ละชนิดจะมีการปิดฉลากที่แตกต่างกันไป อาทิ นมและผลิตภัณฑ์ต้องติดฉลากระบุส่วนประกอบ วันผลิต/วันหมดอายุสถานที่ผลิตทั้งภาษาอังกฤษและภาษา Bangla (ภาษาราชการของบังกลาเทศ) สำหรับยาปราบศัตรูพืชและเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ต้องระบุข้อบ่งใช้และข้อควรระวังที่ชัดเจนทั้งภาษาอังกฤษและภาษา Bangla เป็นต้น นอกจากนี้ฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ต้องไม่มีคำบรรยายที่เกี่ยวข้องกับศาสนา รวมถึงรูปทรงของบรรจุภัณฑ์และการใช้งานต้องไม่ขัดกับหลักศาสนา หรือส่งผลกระทบทางลบต่อความรู้สึกหรือความเชื่อทางศาสนาของประชาชนทุกระดับชั้นในบังกลาเทศ
ทั้งนี้ The Bangladesh Standards and Testing Institution (BSTI) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดควบคุม ตลอดจนตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้าทั่วไป ยกเว้น สินค้าเวชภัณฑ์จะตรวจสอบโดย Department of Drugs Administration สังกัด Ministry of Health and Family Welfare ของบังกลาเทศ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : ไทยและบังกลาเทศได้จัดทำความตกลงทางการค้าร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2520 แต่จนถึงปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของไทยไปบังกลาเทศยังมีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย การทราบถึงกฎระเบียบทางการค้าของบังกลาเทศ อาจช่วยให้ผู้ส่งออกไทยมีโอกาสขยายตลาดการค้าในบังกลาเทศได้เพิ่มขึ้นโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สินค้าที่ห้ามนำเข้า (Banned Items) ตาม Import Policy Order 2546-2549 ของบังกลาเทศได้กำหนดรายการสินค้าที่ห้ามนำเข้าไว้หลายรายการ อาทิ
- อุปกรณ์สำนักงานที่ใช้แล้ว อาทิ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องโทรสาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- รถยนต์ที่มีการใช้งานเกินกว่า 5 ปี และรถมอเตอร์ไซต์ที่มีการใช้งานเกินกว่า 3 ปี
- สุกรมีชีวิต เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์
2. สินค้าควบคุม (Restricted/Conditional List) เป็นสินค้าที่ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการนำเข้าที่กำหนดโดยหน่วยงานของบังกลาเทศซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสินค้านั้น ๆ โดยตรง อาทิ ลูกไก่ที่มีอายุ 1 วันกล่องกระดาษที่ใช้บรรจุสินค้าแช่แข็งเพื่อส่งออก ปิโตรเลียมประเภทโพรพิลีนและบิวเทนในรูปของเหลว และถ่านโค้ก เป็นต้น
3. อัตราภาษีนำเข้า (Import Tariff) บังกลาเทศมีการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าในอัตราที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ ประกอบกับรัฐบาลต้องการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศที่รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนในประเทศเป็นผู้ลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าที่บังกลาเทศยังขาดแคลน อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค และเครื่องจักรต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศลง
ทั้งนี้ ภาษีนำเข้าที่บังกลาเทศเรียกเก็บมีหลายอัตรา อาทิ
- เครื่องจักรและวัตถุดิบพื้นฐานที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออก อุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องจักรกลการเกษตร โดยจัดเก็บใน 2 อัตรา คือ 0% และ 6%
- สินค้าขั้นกลางและกึ่งวัตถุดิบ จัดเก็บใน 2 อัตรา คือ 6% และ 13%
- สินค้าสำเร็จรูป จัดเก็บใน 3 อัตรา คือ 25% 35% และ 65%
- สินค้าฟุ่มเฟือย จัดเก็บในอัตราที่สูงมาก อาทิ เบียร์ จัดเก็บในอัตรา 250% ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่จัดเก็บในอัตรา 350% ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลบังกลาเทศ ยกเว้น การเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการ อาทิ ฝ้ายดิบอาหารสัตว์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ปีกและโคนม เมล็ดพันธุ์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น
4. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added Tax : VAT) บังกลาเทศเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราคงที่ คือที่ระดับ 15% จากการขายสินค้าทั้งที่ผลิตได้เองในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศนั้น จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้นำเข้า
5. ค่าธรรมเนียมนำเข้า (Surchage) อาทิ Infrastructure Development Surcharge ซึ่งบังกลาเทศเรียกเก็บในอัตรา 4% จากราคาสินค้านำเข้าเกือบทุกประเภท ยกเว้น วัตถุดิบบางชนิด อาทิ ข้าว ฝ้ายดิบ ฯลฯ
6. ฉลากสินค้า บังกลาเทศไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องการปิดฉลากสินค้าโดยตรง ดังนั้น สินค้าแต่ละชนิดจะมีการปิดฉลากที่แตกต่างกันไป อาทิ นมและผลิตภัณฑ์ต้องติดฉลากระบุส่วนประกอบ วันผลิต/วันหมดอายุสถานที่ผลิตทั้งภาษาอังกฤษและภาษา Bangla (ภาษาราชการของบังกลาเทศ) สำหรับยาปราบศัตรูพืชและเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ต้องระบุข้อบ่งใช้และข้อควรระวังที่ชัดเจนทั้งภาษาอังกฤษและภาษา Bangla เป็นต้น นอกจากนี้ฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ต้องไม่มีคำบรรยายที่เกี่ยวข้องกับศาสนา รวมถึงรูปทรงของบรรจุภัณฑ์และการใช้งานต้องไม่ขัดกับหลักศาสนา หรือส่งผลกระทบทางลบต่อความรู้สึกหรือความเชื่อทางศาสนาของประชาชนทุกระดับชั้นในบังกลาเทศ
ทั้งนี้ The Bangladesh Standards and Testing Institution (BSTI) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดควบคุม ตลอดจนตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้าทั่วไป ยกเว้น สินค้าเวชภัณฑ์จะตรวจสอบโดย Department of Drugs Administration สังกัด Ministry of Health and Family Welfare ของบังกลาเทศ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2549--
-พห-