รายงานพิเศษ/โอท๊อปไทยหลากหลาย มีพัฒนาการ
"สินค้าของผมไม่ได้จดสิทธิบัตร เพราะไม่อยากไปจำกัดสิทธิ์เรื่องของศิลปะ ถ้าเกิดผู้สนใจต้องการผลิต เขาคงคิดพัฒนารูปแบบใหม่ๆ สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเอง"
ตัวอย่างผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปไอเดียอีกรายหนึ่ง ดังจะนำเสนอในคอลัมน์ "รายงานพิเศษ" ต้องบอกว่าสินค้าของเขาโดดเด่นทางด้านไอเดียจริงๆ สิ่งสำคัญน่ายกย่องคือ ผู้ผลิตรู้จักหยิบจับวัตถุดิบเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่า กลายเป็นผลิตภัณฑ์ของแต่งบ้าน อันมีประโยชน์ใช้สอย
ก่อนอื่นขอแนะนำให้คุณผู้อ่าน รู้จักเจ้าของไอเดีย กับผลิตภัณฑ์หลากหลาย อันปรากฏเด่นเป็นรูปภาพประกอบเรื่อง คุณธานินทร์ วิโนทพรรษ์ อายุ 47 ปี ศึกษาจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เจ้าของร้าน "รอยทราย"
เพิ่มมูลค่า สร้างสินค้า
นำเศษกระจกมาประดิษฐ์
หลังจบปริญญาตรี คุณธานินทร์เล่าให้ฟังว่า เข้าทำงานเกี่ยวกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว (ท้องสนามหลวง) เป็นระยะเวลา 3 ปี จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย โรงงานกระจกแห่งหนึ่ง ผ่านพ้นได้ 3 ปี โรงงานปิดตัวลง จึงหันมารับงานแกะสลักกระจก ติดตั้งกระจกตามอาคาร สถานที่ต่างๆ ทำบานประตู ฉากกั้นห้องด้วยตนเอง
"เริ่มรับงานเมื่อปี 2531 ช่วงนั้นผู้สนใจเข้ามาติดต่อใช้บริการจำนวนมาก และได้งานใหญ่ๆ อย่างในโรงแรมเป็นต้น กระทั่งเมื่อปี 2540 เศรษฐกิจไทยประสบปัญหา การว่าจ้างซบเซา จึงเดินทางกลับบ้านเกิดที่อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี กลับไปดูแลพ่อด้วยเพราะท่านไม่ค่อยสบาย แต่ยังคงรับงานเรื่อยๆ เพียงแต่น้อยลง"
กระทั่งวันหนึ่ง คุณธานินทร์ นำเศษกระจกซึ่งเหลือใช้จำนวนมากขึ้นมาพิจารณา ไอเดียการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นในหัวสมอง "ผมรับงานติดตั้งกระจก ดังนั้น กระจกแต่ละแผ่นจะผ่านการตัด จึงมีชิ้นเล็กชิ้นน้อยจำนวนมาก ผมไม่อยากทิ้งให้กลายเป็นขยะ จึงคิดนำมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยเริ่มแรกนำเศษกระจกมาประติดประต่อ ผลิตเป็นที่ครอบเชิงเทียน"
คุณธานินทร์ขยายความถึงเหตุผลกับการผลิต ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า ประชาชนในประเทศไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ละบ้านมีพระพุทธรูปไว้บูชา และเมื่อต้องการกราบไหว้ จำต้องจุดเทียน ซึ่งตั้งอยู่บนเชิงเทียน ถ้าเกิดผู้สักการะลืมดับไฟ จะก่อให้เกิดอันตราย ตัวอย่างเช่น ผ้าม่านปลิวถูกเปลวไฟ ปัญหาเพลิงไหม้ อันนำมาสู่ความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ย่อมเกิดขึ้น แต่ถ้าเชิงเทียนมีตัวหุ้มเสมือนเกราะกำบัง จะช่วยขจัดปัญหาร้ายแรงลงได้
จากนั้นเป็นต้นมา จึงนำเศษกระจกสีสันต่างๆ มาประดิษฐ์ตามรูปแบบที่ร่างไว้ กระทั่งสำเร็จออกมาเป็นโคมเทียนกระจกสี ทรงสวย แต่ด้วยจุดมุ่งหมายต้องการทำขึ้นเพื่อใช้งาน จึงไม่ได้คิดถึงช่องทางจัดจำหน่าย กระทั่งทราบข่าวสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เมื่อประมาณปี 2546 จึงคิดประดิษฐ์สินค้าชิ้นใหม่ขึ้นมา เพื่อช่องทางจัดจำหน่าย ไม่นานนัก ศาลา 8 เหลี่ยม ผลิตภัณฑ์ของแต่งบ้านอีกชิ้นหนึ่งก็แล้วเสร็จ พร้อมส่งเข้าคัดสรรควบคู่กับโคมเทียนกระจกสี เมื่อปี 2547 ผลปรากฎ ได้รับ 4 ดาวทั้งสองผลิตภัณฑ์ สร้างความยินดีแก่เจ้าของความคิด
วัตถุดิบทุกชิ้นมีค่า
นำมาใส่ประโยชน์ใช้สอย
จากนั้นเป็นต้นมา คุณธานินทร์มุ่งมั่นพัฒนาสินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการจัดจำหน่าย "สิ่งสำคัญคือผู้ทำต้องค้นหาจุดลงตัวให้ได้เสียก่อน ทั้งเรื่องรูปแบบ ขนาด เพราะเป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย ไม่ใช่เพื่อใช้เองอย่างแต่ก่อน ซึ่งสินค้าของร้านรอยทราย ค่อนข้างใส่ใจความละเอียด พิถีพิถัน ผลิตแบบชิ้นต่อชิ้น และเป็นงานฝีมือจริงๆ ดังนั้น โอกาสเหลื่อมล้ำย่อมเกิดขึ้นบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าสินค้ามีตำหนิ หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานดังตั้งไว้"
สำหรับวัตถุดิบนำมาใช้หลักๆ คือกระจกสี และกระจกเจียระไนมุม 45 องศา อันมีคุณสมบัติก่อให้เกิดแสงสะท้อนแวววาวเมื่อต้องแสงไฟ สำหรับแหล่งที่มา นอกจากเก็บของเหลือใช้จากงานผลิตหลักของตนเองแล้ว ยังรับซื้อเพิ่มจากผู้จำหน่ายในจังหวัดชลบุรี ด้วยสนนราคากิโลกรัมละ 3 บาท ส่วนวัตถุดิบเหลือใช้อีกตัวสำคัญคือ เศษทองเหลือง
คุณธานินทร์ ว่าหลักการผลิตผลงานแต่ละชิ้น เน้นประโยชน์ใช้สอย ซึ่งวัตถุดิบทุกชิ้นต้องไม่สูญเปล่า ถึงวันนี้ผลิตภัณฑ์หลากหลายรายการ อาทิ โคมไฟ โคมเทียนกระจกสี ศาลา 8 เหลี่ยม แจกัน ล่าสุดคือบ้านปลา สินค้าโดดเด่นประจำร้าน นั่นเพราะลูกค้าให้ความนิยม ชื่นชมและสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้ประกอบการมากไอเดีย ยังกล่าวถึงความโดดเด่นของบ้านปลา แต่ละหลังออกแบบให้เกิดความแตกต่างไม่ซ้ำกัน ทั้งสีสัน และรูปทรง
สนนราคาจำหน่ายสินค้า เริ่มต้นตั้งแต่ 200 บาท กระทั่งสูงสุดคือบ้านปลา ราคา 7,500 บาท สำหรับผู้ต้องการจับจองเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ แต่สินค้าดังมีอยู่ไม่ถูกอกถูกใจ สามารถสั่งผลิตได้ ซึ่งคุณธานินทร์ว่า ยินดีบริการ
ถามถึงกระบวนการทำโคมเทียนกระจกสี สินค้าขายดีเป็นอันดับหนึ่ง เพราะไม่เพียงผู้ซื้อนำไปใช้ แต่ยังมอบเป็นของขวัญของฝาก ซึ่ง ร้านรอยทราย บริการจารึกชื่อบนโคมเทียนฟรี ว่ารายละเอียดกรรมวิธีขั้นตอนแรก เมื่อได้เศษกระจกนำมาล้างทำความสะอาด เรียงใส่ภาชนะแยกสีแยกลายเข้ากลุ่มไว้ด้วยกัน เพื่อรอการผลิต
เตรียมเศษทองเหลืองใช้แล้วมาตัดตามขนาดต้องการ จากนั้นตั้งเรียงเป็นแนวตรง นำกระจกติดประดับระหว่างช่องทองเหลืองกระทั่งรอบตามเหลี่ยม เชื่อมปิดบริเวณส่วนหัวของทองเหลืองด้วยตะกั่ว จากนั้นทำฐาน และขาตั้งจากเศษทองเหลืองให้พอดีกับตัวรูปทรง ติดกระจกสีประดับสวยงาม แล้วจึงส่งต่อโรงงานรับชุบโครเมียม เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าเป็นสนิม เพิ่มอายุการใช้งาน
สนนราคาชุบโครเมียมชุดละประมาณ 300 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนอื่น เช่น แรงงานผลิต วัตถุดิบ รวม 570 บาท ทั้งนี้ คุณธานินทร์ยังเตรียมเทียนไว้พร้อมบริการลูกค้า โดยขอบวกเพิ่ม 50 บาท สรุปผลงานดังกล่าวมา ราคาขายตั้งไว้ 950 บาท
ไม่จำกัดสิทธิ์งานศิลป์
ยินดี ถ่ายทอดความรู้
ถามถึงจุดประกายไอเดีย ทำให้เกิดสินค้าใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง คุณธานินทร์ว่าสิ่งสำคัญคือผู้ผลิตต้องหูตากว้างไกล ศึกษาหนังสือเกี่ยวกับสี และผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ ซึ่งหาซื้อจากร้านจำหน่ายหนังสือเก่า นำมาประกอบความคิด ดัดแปลงพัฒนาตามจินตนาการและไอเดียของตนเป็นหลักยึด
"เวลาดู ต้องดูเพื่อให้เกิดไอเดีย แต่ไม่ใช่เลียนแบบ หรือลอกเขามา ไม่อย่างนั้นสินค้าจะไม่เกิดความแปลกใหม่ เท่าที่ผมมอง กับตลาดเมืองไทย ยังไม่มีสินค้าเช่นนี้ แต่ถ้าถามว่า เกิดวันหนึ่งคู่แข่งตามมาจะรู้สึกอย่างไร คิดว่าถ้าเขาจะทำตาม ก็คงตามไม่ทัน เพราะหัวสมองต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ และสินค้าของผมไม่ได้จดสิทธิบัตร เพราะไม่อยากไปจำกัดสิทธิ์เรื่องของศิลปะ ถ้าเกิดผู้สนใจต้องการผลิต เขาคงคิดพัฒนารูปแบบใหม่ๆ สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเอง"
เพื่อยืนยันเจตนา และให้อาชีพเกิดขึ้นกับผู้มีใจรัก คุณธานินทร์พร้อมมอบความรู้ ถ่ายทอดวิธีทำต่อผู้สนใจ "ดังผ่านมา มีนักเรียนและผู้มุ่งหวังประกอบอาชีพเข้ามาเยี่ยมชมกิจการ และขอเรียนรู้จำนวนมาก หลายรายมอบความรู้ให้โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งผมขอดูเจตนา ดูความมุ่งมั่น และสภาพชีวิตเขาด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายผมไม่ได้กำหนดไว้ ถ้าสนใจขอให้โทรศัพท์มาสอบถาม หรือเดินทางมาพูดคุยก่อน"
สำหรับช่องทางจัดจำหน่าย คุณธานินทร์เลือกออกงานแสดงสินค้าโอท็อปเป็นหลัก และงานกาชาดในจังหวัดชลบุรี กับระยะเวลาหนึ่งปีออกงานแสดงสินค้า รวมทั้งหมดประมาณ 3 ครั้ง ซึ่งผลตอบรับเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น ลูกค้าหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ยังคงคนไทยระดับกลาง ถึงบน
"ตอนนี้เน้นผลิตตามจำนวนสั่งมากกว่า เพราะยังไม่มีหน้าร้าน และก็ผลิตเพื่อสต๊อคไว้ พยายามหางานป้อนให้ลูกน้องทั้ง12 คน ซึ่งเขาทำสองส่วนคืองานหลัก และงานเสริมตรงนี้ ผมอยากให้เขาทำทุกวัน เพราะนั่นหมายถึง ผลตอบแทนซึ่งจะได้รับวันละ 180-250 บาท ต่อคน แต่ถ้ายอดสั่งซื้อเข้ามามาก จะจ้างเหมา โดยค่าแรงขยับสูงขึ้นกว่ารายวันแน่นอน" เจ้าของกิจการ ร้านรอยทราย กล่าวเสริมว่า ระยะเวลาผลิต ยกตัวอย่าง ที่ครอบโคมเทียนจำนวน 20 ชิ้น จะใช้เวลา 5 วัน ส่วนบ้านปลา 1 สัปดาห์ ต่อหลัง
"เมื่อปี 2548 ได้รับรางวัลงานออกแบบเกี่ยวกับกระจก มี 3 ดาวการันตี ผมภูมิใจมาก เพราะแม้ผลกำไรกับอาชีพเสริมตรงนี้ไม่มากนัก เนื่องจากยังไม่คล่องเรื่องตลาด แต่เต็มใจทำเพราะรัก และอยากให้ผู้ซึ่งรักชิ้นงานเหล่านี้ได้นำไปใช้ประโยชน์ เหมือนเป็นการแบ่งปันความสวยงาม"
คุณธานินทร์ ชี้แนะสำหรับผู้สนใจเรียนรู้วิธีทำนำไปประกอบอาชีพ สามารถเดินทางมาได้ โดยคำนวณเงินลงทุนคร่าวๆ กับค่าอุปกรณ์ วัตถุดิบ ประมาณ 2 หมื่นบาท ทั้งนี้ เน้นย้ำสำหรับวัตถุดิบสำคัญอย่างกระจกสี ควรเลือกใช้เศษกระจกเท่านั้น รวมไปถึง เส้นทองเหลือง เพราะถ้าซื้อหาชิ้นใหญ่ ความยาว 1.80 เมตร สนนราคาต่อกล่องประมาณ 18,000 บาท (กล่องละ 89 เส้น)
ส่วนผู้อ่านท่านใดต้องการชมสินค้า หรือสั่งจองเป็นเจ้าของ ติดต่อ คุณธานินทร์ บ้านเลขที่ 16 ถนนจันทร์อำนวย ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี หรือโทรศัพท์สอบถาม หมายเลข (01) 762-2546, (038) 462-345
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
"สินค้าของผมไม่ได้จดสิทธิบัตร เพราะไม่อยากไปจำกัดสิทธิ์เรื่องของศิลปะ ถ้าเกิดผู้สนใจต้องการผลิต เขาคงคิดพัฒนารูปแบบใหม่ๆ สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเอง"
ตัวอย่างผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปไอเดียอีกรายหนึ่ง ดังจะนำเสนอในคอลัมน์ "รายงานพิเศษ" ต้องบอกว่าสินค้าของเขาโดดเด่นทางด้านไอเดียจริงๆ สิ่งสำคัญน่ายกย่องคือ ผู้ผลิตรู้จักหยิบจับวัตถุดิบเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่า กลายเป็นผลิตภัณฑ์ของแต่งบ้าน อันมีประโยชน์ใช้สอย
ก่อนอื่นขอแนะนำให้คุณผู้อ่าน รู้จักเจ้าของไอเดีย กับผลิตภัณฑ์หลากหลาย อันปรากฏเด่นเป็นรูปภาพประกอบเรื่อง คุณธานินทร์ วิโนทพรรษ์ อายุ 47 ปี ศึกษาจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เจ้าของร้าน "รอยทราย"
เพิ่มมูลค่า สร้างสินค้า
นำเศษกระจกมาประดิษฐ์
หลังจบปริญญาตรี คุณธานินทร์เล่าให้ฟังว่า เข้าทำงานเกี่ยวกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว (ท้องสนามหลวง) เป็นระยะเวลา 3 ปี จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย โรงงานกระจกแห่งหนึ่ง ผ่านพ้นได้ 3 ปี โรงงานปิดตัวลง จึงหันมารับงานแกะสลักกระจก ติดตั้งกระจกตามอาคาร สถานที่ต่างๆ ทำบานประตู ฉากกั้นห้องด้วยตนเอง
"เริ่มรับงานเมื่อปี 2531 ช่วงนั้นผู้สนใจเข้ามาติดต่อใช้บริการจำนวนมาก และได้งานใหญ่ๆ อย่างในโรงแรมเป็นต้น กระทั่งเมื่อปี 2540 เศรษฐกิจไทยประสบปัญหา การว่าจ้างซบเซา จึงเดินทางกลับบ้านเกิดที่อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี กลับไปดูแลพ่อด้วยเพราะท่านไม่ค่อยสบาย แต่ยังคงรับงานเรื่อยๆ เพียงแต่น้อยลง"
กระทั่งวันหนึ่ง คุณธานินทร์ นำเศษกระจกซึ่งเหลือใช้จำนวนมากขึ้นมาพิจารณา ไอเดียการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นในหัวสมอง "ผมรับงานติดตั้งกระจก ดังนั้น กระจกแต่ละแผ่นจะผ่านการตัด จึงมีชิ้นเล็กชิ้นน้อยจำนวนมาก ผมไม่อยากทิ้งให้กลายเป็นขยะ จึงคิดนำมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยเริ่มแรกนำเศษกระจกมาประติดประต่อ ผลิตเป็นที่ครอบเชิงเทียน"
คุณธานินทร์ขยายความถึงเหตุผลกับการผลิต ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า ประชาชนในประเทศไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ละบ้านมีพระพุทธรูปไว้บูชา และเมื่อต้องการกราบไหว้ จำต้องจุดเทียน ซึ่งตั้งอยู่บนเชิงเทียน ถ้าเกิดผู้สักการะลืมดับไฟ จะก่อให้เกิดอันตราย ตัวอย่างเช่น ผ้าม่านปลิวถูกเปลวไฟ ปัญหาเพลิงไหม้ อันนำมาสู่ความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ย่อมเกิดขึ้น แต่ถ้าเชิงเทียนมีตัวหุ้มเสมือนเกราะกำบัง จะช่วยขจัดปัญหาร้ายแรงลงได้
จากนั้นเป็นต้นมา จึงนำเศษกระจกสีสันต่างๆ มาประดิษฐ์ตามรูปแบบที่ร่างไว้ กระทั่งสำเร็จออกมาเป็นโคมเทียนกระจกสี ทรงสวย แต่ด้วยจุดมุ่งหมายต้องการทำขึ้นเพื่อใช้งาน จึงไม่ได้คิดถึงช่องทางจัดจำหน่าย กระทั่งทราบข่าวสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เมื่อประมาณปี 2546 จึงคิดประดิษฐ์สินค้าชิ้นใหม่ขึ้นมา เพื่อช่องทางจัดจำหน่าย ไม่นานนัก ศาลา 8 เหลี่ยม ผลิตภัณฑ์ของแต่งบ้านอีกชิ้นหนึ่งก็แล้วเสร็จ พร้อมส่งเข้าคัดสรรควบคู่กับโคมเทียนกระจกสี เมื่อปี 2547 ผลปรากฎ ได้รับ 4 ดาวทั้งสองผลิตภัณฑ์ สร้างความยินดีแก่เจ้าของความคิด
วัตถุดิบทุกชิ้นมีค่า
นำมาใส่ประโยชน์ใช้สอย
จากนั้นเป็นต้นมา คุณธานินทร์มุ่งมั่นพัฒนาสินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการจัดจำหน่าย "สิ่งสำคัญคือผู้ทำต้องค้นหาจุดลงตัวให้ได้เสียก่อน ทั้งเรื่องรูปแบบ ขนาด เพราะเป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย ไม่ใช่เพื่อใช้เองอย่างแต่ก่อน ซึ่งสินค้าของร้านรอยทราย ค่อนข้างใส่ใจความละเอียด พิถีพิถัน ผลิตแบบชิ้นต่อชิ้น และเป็นงานฝีมือจริงๆ ดังนั้น โอกาสเหลื่อมล้ำย่อมเกิดขึ้นบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าสินค้ามีตำหนิ หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานดังตั้งไว้"
สำหรับวัตถุดิบนำมาใช้หลักๆ คือกระจกสี และกระจกเจียระไนมุม 45 องศา อันมีคุณสมบัติก่อให้เกิดแสงสะท้อนแวววาวเมื่อต้องแสงไฟ สำหรับแหล่งที่มา นอกจากเก็บของเหลือใช้จากงานผลิตหลักของตนเองแล้ว ยังรับซื้อเพิ่มจากผู้จำหน่ายในจังหวัดชลบุรี ด้วยสนนราคากิโลกรัมละ 3 บาท ส่วนวัตถุดิบเหลือใช้อีกตัวสำคัญคือ เศษทองเหลือง
คุณธานินทร์ ว่าหลักการผลิตผลงานแต่ละชิ้น เน้นประโยชน์ใช้สอย ซึ่งวัตถุดิบทุกชิ้นต้องไม่สูญเปล่า ถึงวันนี้ผลิตภัณฑ์หลากหลายรายการ อาทิ โคมไฟ โคมเทียนกระจกสี ศาลา 8 เหลี่ยม แจกัน ล่าสุดคือบ้านปลา สินค้าโดดเด่นประจำร้าน นั่นเพราะลูกค้าให้ความนิยม ชื่นชมและสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้ประกอบการมากไอเดีย ยังกล่าวถึงความโดดเด่นของบ้านปลา แต่ละหลังออกแบบให้เกิดความแตกต่างไม่ซ้ำกัน ทั้งสีสัน และรูปทรง
สนนราคาจำหน่ายสินค้า เริ่มต้นตั้งแต่ 200 บาท กระทั่งสูงสุดคือบ้านปลา ราคา 7,500 บาท สำหรับผู้ต้องการจับจองเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ แต่สินค้าดังมีอยู่ไม่ถูกอกถูกใจ สามารถสั่งผลิตได้ ซึ่งคุณธานินทร์ว่า ยินดีบริการ
ถามถึงกระบวนการทำโคมเทียนกระจกสี สินค้าขายดีเป็นอันดับหนึ่ง เพราะไม่เพียงผู้ซื้อนำไปใช้ แต่ยังมอบเป็นของขวัญของฝาก ซึ่ง ร้านรอยทราย บริการจารึกชื่อบนโคมเทียนฟรี ว่ารายละเอียดกรรมวิธีขั้นตอนแรก เมื่อได้เศษกระจกนำมาล้างทำความสะอาด เรียงใส่ภาชนะแยกสีแยกลายเข้ากลุ่มไว้ด้วยกัน เพื่อรอการผลิต
เตรียมเศษทองเหลืองใช้แล้วมาตัดตามขนาดต้องการ จากนั้นตั้งเรียงเป็นแนวตรง นำกระจกติดประดับระหว่างช่องทองเหลืองกระทั่งรอบตามเหลี่ยม เชื่อมปิดบริเวณส่วนหัวของทองเหลืองด้วยตะกั่ว จากนั้นทำฐาน และขาตั้งจากเศษทองเหลืองให้พอดีกับตัวรูปทรง ติดกระจกสีประดับสวยงาม แล้วจึงส่งต่อโรงงานรับชุบโครเมียม เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าเป็นสนิม เพิ่มอายุการใช้งาน
สนนราคาชุบโครเมียมชุดละประมาณ 300 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนอื่น เช่น แรงงานผลิต วัตถุดิบ รวม 570 บาท ทั้งนี้ คุณธานินทร์ยังเตรียมเทียนไว้พร้อมบริการลูกค้า โดยขอบวกเพิ่ม 50 บาท สรุปผลงานดังกล่าวมา ราคาขายตั้งไว้ 950 บาท
ไม่จำกัดสิทธิ์งานศิลป์
ยินดี ถ่ายทอดความรู้
ถามถึงจุดประกายไอเดีย ทำให้เกิดสินค้าใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง คุณธานินทร์ว่าสิ่งสำคัญคือผู้ผลิตต้องหูตากว้างไกล ศึกษาหนังสือเกี่ยวกับสี และผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ ซึ่งหาซื้อจากร้านจำหน่ายหนังสือเก่า นำมาประกอบความคิด ดัดแปลงพัฒนาตามจินตนาการและไอเดียของตนเป็นหลักยึด
"เวลาดู ต้องดูเพื่อให้เกิดไอเดีย แต่ไม่ใช่เลียนแบบ หรือลอกเขามา ไม่อย่างนั้นสินค้าจะไม่เกิดความแปลกใหม่ เท่าที่ผมมอง กับตลาดเมืองไทย ยังไม่มีสินค้าเช่นนี้ แต่ถ้าถามว่า เกิดวันหนึ่งคู่แข่งตามมาจะรู้สึกอย่างไร คิดว่าถ้าเขาจะทำตาม ก็คงตามไม่ทัน เพราะหัวสมองต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ และสินค้าของผมไม่ได้จดสิทธิบัตร เพราะไม่อยากไปจำกัดสิทธิ์เรื่องของศิลปะ ถ้าเกิดผู้สนใจต้องการผลิต เขาคงคิดพัฒนารูปแบบใหม่ๆ สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเอง"
เพื่อยืนยันเจตนา และให้อาชีพเกิดขึ้นกับผู้มีใจรัก คุณธานินทร์พร้อมมอบความรู้ ถ่ายทอดวิธีทำต่อผู้สนใจ "ดังผ่านมา มีนักเรียนและผู้มุ่งหวังประกอบอาชีพเข้ามาเยี่ยมชมกิจการ และขอเรียนรู้จำนวนมาก หลายรายมอบความรู้ให้โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งผมขอดูเจตนา ดูความมุ่งมั่น และสภาพชีวิตเขาด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายผมไม่ได้กำหนดไว้ ถ้าสนใจขอให้โทรศัพท์มาสอบถาม หรือเดินทางมาพูดคุยก่อน"
สำหรับช่องทางจัดจำหน่าย คุณธานินทร์เลือกออกงานแสดงสินค้าโอท็อปเป็นหลัก และงานกาชาดในจังหวัดชลบุรี กับระยะเวลาหนึ่งปีออกงานแสดงสินค้า รวมทั้งหมดประมาณ 3 ครั้ง ซึ่งผลตอบรับเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น ลูกค้าหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ยังคงคนไทยระดับกลาง ถึงบน
"ตอนนี้เน้นผลิตตามจำนวนสั่งมากกว่า เพราะยังไม่มีหน้าร้าน และก็ผลิตเพื่อสต๊อคไว้ พยายามหางานป้อนให้ลูกน้องทั้ง12 คน ซึ่งเขาทำสองส่วนคืองานหลัก และงานเสริมตรงนี้ ผมอยากให้เขาทำทุกวัน เพราะนั่นหมายถึง ผลตอบแทนซึ่งจะได้รับวันละ 180-250 บาท ต่อคน แต่ถ้ายอดสั่งซื้อเข้ามามาก จะจ้างเหมา โดยค่าแรงขยับสูงขึ้นกว่ารายวันแน่นอน" เจ้าของกิจการ ร้านรอยทราย กล่าวเสริมว่า ระยะเวลาผลิต ยกตัวอย่าง ที่ครอบโคมเทียนจำนวน 20 ชิ้น จะใช้เวลา 5 วัน ส่วนบ้านปลา 1 สัปดาห์ ต่อหลัง
"เมื่อปี 2548 ได้รับรางวัลงานออกแบบเกี่ยวกับกระจก มี 3 ดาวการันตี ผมภูมิใจมาก เพราะแม้ผลกำไรกับอาชีพเสริมตรงนี้ไม่มากนัก เนื่องจากยังไม่คล่องเรื่องตลาด แต่เต็มใจทำเพราะรัก และอยากให้ผู้ซึ่งรักชิ้นงานเหล่านี้ได้นำไปใช้ประโยชน์ เหมือนเป็นการแบ่งปันความสวยงาม"
คุณธานินทร์ ชี้แนะสำหรับผู้สนใจเรียนรู้วิธีทำนำไปประกอบอาชีพ สามารถเดินทางมาได้ โดยคำนวณเงินลงทุนคร่าวๆ กับค่าอุปกรณ์ วัตถุดิบ ประมาณ 2 หมื่นบาท ทั้งนี้ เน้นย้ำสำหรับวัตถุดิบสำคัญอย่างกระจกสี ควรเลือกใช้เศษกระจกเท่านั้น รวมไปถึง เส้นทองเหลือง เพราะถ้าซื้อหาชิ้นใหญ่ ความยาว 1.80 เมตร สนนราคาต่อกล่องประมาณ 18,000 บาท (กล่องละ 89 เส้น)
ส่วนผู้อ่านท่านใดต้องการชมสินค้า หรือสั่งจองเป็นเจ้าของ ติดต่อ คุณธานินทร์ บ้านเลขที่ 16 ถนนจันทร์อำนวย ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี หรือโทรศัพท์สอบถาม หมายเลข (01) 762-2546, (038) 462-345
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-