สศอ.เผยอิเล็กฯไตรมาส 1 โต ไอซี-คอมพ์ฯ แรงหนุนหลัก
สศอ.เผยอุตฯอิเล็กฯไตรมาสแรกฝ่ามรสุมน้ำมันแพงฉลุย ฐานการผลิตแกร่ง ตลาดนอก อ้าแขนรับสินค้าไทย ส่งดัชนีการผลิตพุ่งกว่าร้อยละ 25 คาดขยายตัวได้ต่อเนื่องตลอดปี ชี้ปัจจัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความต้องการในตลาดโลกมีสูง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปรายงานภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 พบว่าภาพรวมของภาวะการผลิตและจำหน่ายอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 มีการขยายตัวได้ดี ถึงแม้จะมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านเข้ามากระทบ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.24 ซึ่งสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ Other IC , Monolithic IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.64 , 22.92 และ 30.47 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกขยายตัว สินค้าหลักที่ดึงให้ความต้องการอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และคอมพิวเตอร์ขยายตัวถึงร้อยละ 31 และ 13 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ยังคงทรงตัวโดยดัชนีการผลิตลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.85 ซึ่งเป็นการลดลงตามฤดูกาล เนื่องจากผู้ประกอบการได้เร่งผลิตสินค้าในช่วงปลายปี เพื่อทำยอดก่อนปิดบัญชี จึงทำให้ไตรมาสที่ 1 มีการชะลอการผลิตลงจากเดิมเล็กน้อย
ส่วนภาวะการตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 พบว่าดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.44 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของ Other IC , Monolithic IC และ HDD ร้อยละ 48.35 , 21.97 และ 31.22 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 2.86 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะลดลงในช่วงต้นปี เนื่องจากไตรมาสก่อนได้ส่งสินค้าเพื่อป้อนตลาดไปแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับภาวะของตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกด้วยเช่นกัน
ดร.อรรชกา กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวได้ดี โดยไตรมาสที่ 1 ปี 2549 นี้มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 2.37 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 ซึ่งสินค้าสำคัญที่ผลักดันให้มีการขยายตัว คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และวงจรรวม ไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.59 และ 43.48 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา หลังจากที่มีการชะลอในช่วงไตรมาสที่ 1 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 จะมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างมากตามความต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีการออกผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นแรงกระตุ้นตลาดให้มีเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ใหม่เร็วขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามปัจจัยที่อาจส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลง คือ ปริมาณสินค้าคงคลังที่เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าการขยายตัวของการบริโภคในตลาด รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงควรติดตามภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการแข่งขันต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สศอ.เผยอุตฯอิเล็กฯไตรมาสแรกฝ่ามรสุมน้ำมันแพงฉลุย ฐานการผลิตแกร่ง ตลาดนอก อ้าแขนรับสินค้าไทย ส่งดัชนีการผลิตพุ่งกว่าร้อยละ 25 คาดขยายตัวได้ต่อเนื่องตลอดปี ชี้ปัจจัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความต้องการในตลาดโลกมีสูง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปรายงานภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 พบว่าภาพรวมของภาวะการผลิตและจำหน่ายอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 มีการขยายตัวได้ดี ถึงแม้จะมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านเข้ามากระทบ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.24 ซึ่งสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ Other IC , Monolithic IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.64 , 22.92 และ 30.47 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกขยายตัว สินค้าหลักที่ดึงให้ความต้องการอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และคอมพิวเตอร์ขยายตัวถึงร้อยละ 31 และ 13 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ยังคงทรงตัวโดยดัชนีการผลิตลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.85 ซึ่งเป็นการลดลงตามฤดูกาล เนื่องจากผู้ประกอบการได้เร่งผลิตสินค้าในช่วงปลายปี เพื่อทำยอดก่อนปิดบัญชี จึงทำให้ไตรมาสที่ 1 มีการชะลอการผลิตลงจากเดิมเล็กน้อย
ส่วนภาวะการตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 พบว่าดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.44 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของ Other IC , Monolithic IC และ HDD ร้อยละ 48.35 , 21.97 และ 31.22 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 2.86 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จะลดลงในช่วงต้นปี เนื่องจากไตรมาสก่อนได้ส่งสินค้าเพื่อป้อนตลาดไปแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับภาวะของตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกด้วยเช่นกัน
ดร.อรรชกา กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวได้ดี โดยไตรมาสที่ 1 ปี 2549 นี้มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 2.37 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 ซึ่งสินค้าสำคัญที่ผลักดันให้มีการขยายตัว คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และวงจรรวม ไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.59 และ 43.48 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา หลังจากที่มีการชะลอในช่วงไตรมาสที่ 1 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 จะมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างมากตามความต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีการออกผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นแรงกระตุ้นตลาดให้มีเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ใหม่เร็วขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามปัจจัยที่อาจส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลง คือ ปริมาณสินค้าคงคลังที่เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าการขยายตัวของการบริโภคในตลาด รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงควรติดตามภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการแข่งขันต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-