เรื่องแต่งตั้ง สสร. คือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในขั้นตอนของการให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จำนวน 1,982 คน เลือกกันเองให้เหลือ 200 คน เป็นว่าที่ สสร. ได้ผ่านไปแล้วซึ่งมีอาการของความทุลักทุเลไม่น้อย แต่บังเอิญมีเรื่องที่น่าสนใจและน่าตกใจกว่าเข้ามาขัดตาทัพให้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันคือ มาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ก่อให้เกิดความแตกตื่นในหมู่คนเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จนมีผลให้หุ้นตกถึงกว่า 100 จุดในวันเดียว การแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ผ่านสื่อ จึงเน้นหนักไปในเรื่องของธนาคารแห่งประเทศไทยมากกว่า เรื่องคัดเลือกกันเองของสมัชชาแห่งชาติจึงเป็นเพียงประเด็นรอง
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะยังมีกระบวนการ ที่จะต้องดำเนินการต่อไปอีก 2 กระบวนการคือ กระบวนการที่ คมช. จะต้องคัดเลือก สสร. 100 คนจากจำนวน 200 คนที่สมัชชาคัดเลือกกันมาแล้ว กับอีกกระบวนการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน โดย 25 คน แต่งตั้งตามมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และ 10 คน แต่งตั้งตามคำแนะนำของประธาน คมช.
ทั้ง 2 กระบวนการถือว่าสำคัญมาก ซึ่งผมก็ได้เคยวิเคราะห์วิจารณ์เอาไว้แล้วว่า หากภาพของ สสร. และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ออกมาในลักษณะของความเป็นพวกพ้องมากกว่าความเหมาะสมแล้วละก็ นอกเหนือจากจะไม่ได้รัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมอย่างแท้จริงแล้ว จะส่งผลกระทบไปถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อ คมช. อย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อไม่กี่วันมานี้ทางคมช.เองโดยประธานคมช.ก็ได้จัดให้มีการแถลงผลงานในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาในทำนองว่าทำได้ครบถ้วนตามเป้าหมายและคิดว่าสอบผ่าน ผมจึงไม่อยากเห็น คมช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือประธานคมช. ต้องมาสอบตกเพราะเรื่องนี้
สำหรับกระบวนการแรกคือกระบวนการที่คมช. จะต้องคัดเลือกให้ได้ สสร. 100 คน จากจำนวน 200 คน ที่ผ่านการคัดเลือกจากสมัชชามาแล้วนั้น ผมคิดว่าวิธีการที่คมช. จะทำให้สังคมรู้สึกปลอดโปร่งไม่รู้สึกว่ามีการหมกเม็ด เล่นพวกพ้อง ก็คือการกำหนดกรอบเป็นหลักเกณฑ์ขึ้นมาก่อนและถ้าจะถามว่ากรอบหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก สสร. 100 คน จาก 200 คน ควรมีองค์ประกอบอย่างไร ผมคิดว่าอย่างน้อยในเบื้องต้นก็ต้องเดินตามแนวทางที่ได้มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวคือให้คำนึงถึงบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ จากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
ถ้าคมช. จะได้นำเอาเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวดังกล่าวนี้มาจัดทำเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือก สสร. เป็นข้อ ๆ และประกาศให้ทราบโดยทั่วกันเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจแล้วดำเนินการคัดเลือกให้ได้บุคคลที่มีความเหมาะสมจากทุกกลุ่มทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการจากที่มีอยู่แล้วใน 200 คน ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันและทั้งให้มีการกระจายตัวบุคคลที่มาจากแต่ละภูมิภาคอย่างเหมาะสมอีกด้วย อย่างนี้ก็จะเป้นคำตอบที่สังคมรับได้อย่างแน่นอนที่สำคัญก็คือว่าไม่ควรจะให้มีภาพของสีของรุ่นที่ไม่น่าจะมีความเหมาะสมพอเหมือนเมื่อครั้งเลือกกันเองจาก 1,982 คนให้เป็นที่คลางแคลงใจของสังคมต่อไปอีก
ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 25 คน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อมีกรอบอันเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดเอาไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกาแม้จะมีที่มาไม่ถูกใจกันอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญคือ สสร. จะต้องปฏิบัติภารกิจที่สำคัญนี้โดยเคร่งครัดและด้วยความบริสุทธิ์ใจเช่นเดียวกัน และผมมีความเห็นว่าแม้โดยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และโดยพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องจะเปิดโอกาสให้คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจากบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ด้วยก็ตาม แต่สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะได้คัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมจากสภาร่างรัฐธรรมนูญเองเป็นหลักหรือเป็นเสียงข้างมากเอาไว้ก่อน ตามหลักตัวแทนโดยแท้ของฝ่ายสภา ฯ ที่จะทำหน้าที่สะท้อนความคิดเห็นของสภา ฯ ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วก็แต่งตั้งบุคคลภายนอกที่มีความเหมาะสมมาประกอบกัน
ที่น่าเป็นห่วงก็คือการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 10 คน ที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องแต่งตั้งโดยคำแนะนำของประธานคมช. ซึ่งโดยร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญก็ปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของประธานคมช.อย่างเต็มที่โดยกำหนดไว้แต่เพียงว่าให้ประธานคมช.เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญเท่านี้เองซึ่งเรื่องนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และผมอยากเห็นท่านประธานคมช.ได้ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการนำเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คนนี้เพราะอาจก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่าบุคคลเหล่านี้คือผู้แทนทางความคิดของท่านประธานคมช. ถ้าดีก็ดีไปถ้าเกิดไม่ดีไม่เข้าท่าขึ้นมามีความเสียหายเกิดขึ้นได้แน่นอน อย่างน้อยที่สุดก็อย่างที่เคยวิเคราะห์ไว้แล้วว่าความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของสังคมที่มีต่อประธานคมช. ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่ดีจะมีอันต้องลดลงไป จะก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสมานฉันท์และที่สำคัญทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่มีปัญหายุ่งยากถึงขั้นเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญได้
ผมเห็นว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในคราวนี้ไม่ง่ายและอาจถึงขั้นเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญได้จริงๆ เพราะมีแรงกดดันหลายด้านด้วยกัน กล่าวคือ
1. เมื่อมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวว่า คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องมีคำชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่แตกต่างไปจากฉบับปี 2540 ในเรื่องใด อย่างไร ก็เท่ากับต้องดีกว่าฉบับปี 2540 ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ที่สำคัญคือจะล้าหลังหรือถอยหลังกว่าฉบับปี 2540 ไม่ได้แน่นอนเพราะจะชี้แจงความแตกต่างไม่ได้
2. เมื่อมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวว่าให้ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ส่งคำชี้แจงไปพร้อมทั้งให้รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและองค์กรที่สำคัญ ๆ ถึง 12 องค์กร อันได้แก่ คมช. สนช. ครม. ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด กรรมการการเลือกตั้ง ปปช. ฯลฯ การรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรเหล่านี้จึงต้องทำอย่างจริงจัง และต้องอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่องค์กรเหล่านั้นเสนอมาซึ่งมีแน่
3. การจัดดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอน รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก็ต้องกระทำอย่างจริงจัง (ไม่ใช่ทำพอเป็นพิธี) เพราะเป็นเรื่องที่มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวอย่างชัดเจน
4. ในช่วงเวลาที่มีการออกเสียงประชามติ หากคณะกรรมาธิการยกร่าง ฯ ไม่สามารถที่จะสร้างความเข้าใจในประเด็นที่เป็นความเห็นต่างระหว่างร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างฯ กับองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือแม้แต่ความเห็นของประชาชนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือองค์กรภาคประชาชน ความยุ่งยากและความสับสนวุ่นวายก็จะเกิดมีขึ้นจนถึงขั้นมีการชุมนุมเพื่อแสดงความเห็นก็เป็นได้
5. ในกรณีที่การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ไม่อาจจะทำให้แล้วเสร็จได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดจนต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวคือให้ คมช. ประชุมร่วมกับ ครม. เพื่อพิจารณาเลือกรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งฉบับใดที่เคยประกาศใช้มาแล้วมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อดำเนินการให้มีการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป ข้อนี้ยิ่งจะเป็นปัญหามากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีลักษณะล้าหลังกว่าฉบับปี 2540 และอาจทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจจนไม่อาจชี้แจงให้เป็นที่เข้าใจได้ กรณีเช่นนี้ฟันธงได้เลยว่าวิกฤตแน่
จึงอาจกล่าวได้ว่า วิกฤตรัฐธรรมนูญนั้น อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา นี่ขนาดยังไม่ได้วิเคราะห์ไปถึงกลุ่มผู้สูญเสียอำนาจเก่าที่ คมช. คือ คปค. เดิมเพิ่งยึดอำนาจมาว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ ผมจึงไม่อยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ คมช. ตั้งอยู่ในความประมาท การแต่งตั้ง สสร. และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีความสามารถ มีความเหมาะสม ให้สังคมยอมรับได้ตั้งแต่ต้นจะเป็นการป้องกันปัญหามิให้บานปลายกลายเป็นวิกฤตได้เพราะถ้าถึงขั้นมีวิกฤตรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นมาอีก ประเทศก็มีแต่จะบอบช้ำมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน.
****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ธ.ค. 2549--จบ--
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะยังมีกระบวนการ ที่จะต้องดำเนินการต่อไปอีก 2 กระบวนการคือ กระบวนการที่ คมช. จะต้องคัดเลือก สสร. 100 คนจากจำนวน 200 คนที่สมัชชาคัดเลือกกันมาแล้ว กับอีกกระบวนการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน โดย 25 คน แต่งตั้งตามมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และ 10 คน แต่งตั้งตามคำแนะนำของประธาน คมช.
ทั้ง 2 กระบวนการถือว่าสำคัญมาก ซึ่งผมก็ได้เคยวิเคราะห์วิจารณ์เอาไว้แล้วว่า หากภาพของ สสร. และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ออกมาในลักษณะของความเป็นพวกพ้องมากกว่าความเหมาะสมแล้วละก็ นอกเหนือจากจะไม่ได้รัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมอย่างแท้จริงแล้ว จะส่งผลกระทบไปถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อ คมช. อย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อไม่กี่วันมานี้ทางคมช.เองโดยประธานคมช.ก็ได้จัดให้มีการแถลงผลงานในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาในทำนองว่าทำได้ครบถ้วนตามเป้าหมายและคิดว่าสอบผ่าน ผมจึงไม่อยากเห็น คมช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือประธานคมช. ต้องมาสอบตกเพราะเรื่องนี้
สำหรับกระบวนการแรกคือกระบวนการที่คมช. จะต้องคัดเลือกให้ได้ สสร. 100 คน จากจำนวน 200 คน ที่ผ่านการคัดเลือกจากสมัชชามาแล้วนั้น ผมคิดว่าวิธีการที่คมช. จะทำให้สังคมรู้สึกปลอดโปร่งไม่รู้สึกว่ามีการหมกเม็ด เล่นพวกพ้อง ก็คือการกำหนดกรอบเป็นหลักเกณฑ์ขึ้นมาก่อนและถ้าจะถามว่ากรอบหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก สสร. 100 คน จาก 200 คน ควรมีองค์ประกอบอย่างไร ผมคิดว่าอย่างน้อยในเบื้องต้นก็ต้องเดินตามแนวทางที่ได้มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวคือให้คำนึงถึงบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ จากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
ถ้าคมช. จะได้นำเอาเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวดังกล่าวนี้มาจัดทำเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือก สสร. เป็นข้อ ๆ และประกาศให้ทราบโดยทั่วกันเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจแล้วดำเนินการคัดเลือกให้ได้บุคคลที่มีความเหมาะสมจากทุกกลุ่มทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการจากที่มีอยู่แล้วใน 200 คน ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันและทั้งให้มีการกระจายตัวบุคคลที่มาจากแต่ละภูมิภาคอย่างเหมาะสมอีกด้วย อย่างนี้ก็จะเป้นคำตอบที่สังคมรับได้อย่างแน่นอนที่สำคัญก็คือว่าไม่ควรจะให้มีภาพของสีของรุ่นที่ไม่น่าจะมีความเหมาะสมพอเหมือนเมื่อครั้งเลือกกันเองจาก 1,982 คนให้เป็นที่คลางแคลงใจของสังคมต่อไปอีก
ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 25 คน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อมีกรอบอันเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดเอาไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกาแม้จะมีที่มาไม่ถูกใจกันอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญคือ สสร. จะต้องปฏิบัติภารกิจที่สำคัญนี้โดยเคร่งครัดและด้วยความบริสุทธิ์ใจเช่นเดียวกัน และผมมีความเห็นว่าแม้โดยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และโดยพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องจะเปิดโอกาสให้คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจากบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ด้วยก็ตาม แต่สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะได้คัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมจากสภาร่างรัฐธรรมนูญเองเป็นหลักหรือเป็นเสียงข้างมากเอาไว้ก่อน ตามหลักตัวแทนโดยแท้ของฝ่ายสภา ฯ ที่จะทำหน้าที่สะท้อนความคิดเห็นของสภา ฯ ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วก็แต่งตั้งบุคคลภายนอกที่มีความเหมาะสมมาประกอบกัน
ที่น่าเป็นห่วงก็คือการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 10 คน ที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องแต่งตั้งโดยคำแนะนำของประธานคมช. ซึ่งโดยร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญก็ปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของประธานคมช.อย่างเต็มที่โดยกำหนดไว้แต่เพียงว่าให้ประธานคมช.เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญเท่านี้เองซึ่งเรื่องนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และผมอยากเห็นท่านประธานคมช.ได้ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการนำเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คนนี้เพราะอาจก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่าบุคคลเหล่านี้คือผู้แทนทางความคิดของท่านประธานคมช. ถ้าดีก็ดีไปถ้าเกิดไม่ดีไม่เข้าท่าขึ้นมามีความเสียหายเกิดขึ้นได้แน่นอน อย่างน้อยที่สุดก็อย่างที่เคยวิเคราะห์ไว้แล้วว่าความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของสังคมที่มีต่อประธานคมช. ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่ดีจะมีอันต้องลดลงไป จะก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสมานฉันท์และที่สำคัญทำให้การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่มีปัญหายุ่งยากถึงขั้นเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญได้
ผมเห็นว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในคราวนี้ไม่ง่ายและอาจถึงขั้นเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญได้จริงๆ เพราะมีแรงกดดันหลายด้านด้วยกัน กล่าวคือ
1. เมื่อมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวว่า คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องมีคำชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่แตกต่างไปจากฉบับปี 2540 ในเรื่องใด อย่างไร ก็เท่ากับต้องดีกว่าฉบับปี 2540 ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ที่สำคัญคือจะล้าหลังหรือถอยหลังกว่าฉบับปี 2540 ไม่ได้แน่นอนเพราะจะชี้แจงความแตกต่างไม่ได้
2. เมื่อมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวว่าให้ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ส่งคำชี้แจงไปพร้อมทั้งให้รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและองค์กรที่สำคัญ ๆ ถึง 12 องค์กร อันได้แก่ คมช. สนช. ครม. ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด กรรมการการเลือกตั้ง ปปช. ฯลฯ การรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรเหล่านี้จึงต้องทำอย่างจริงจัง และต้องอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่องค์กรเหล่านั้นเสนอมาซึ่งมีแน่
3. การจัดดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอน รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก็ต้องกระทำอย่างจริงจัง (ไม่ใช่ทำพอเป็นพิธี) เพราะเป็นเรื่องที่มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวอย่างชัดเจน
4. ในช่วงเวลาที่มีการออกเสียงประชามติ หากคณะกรรมาธิการยกร่าง ฯ ไม่สามารถที่จะสร้างความเข้าใจในประเด็นที่เป็นความเห็นต่างระหว่างร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างฯ กับองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือแม้แต่ความเห็นของประชาชนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือองค์กรภาคประชาชน ความยุ่งยากและความสับสนวุ่นวายก็จะเกิดมีขึ้นจนถึงขั้นมีการชุมนุมเพื่อแสดงความเห็นก็เป็นได้
5. ในกรณีที่การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ไม่อาจจะทำให้แล้วเสร็จได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดจนต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวคือให้ คมช. ประชุมร่วมกับ ครม. เพื่อพิจารณาเลือกรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งฉบับใดที่เคยประกาศใช้มาแล้วมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อดำเนินการให้มีการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป ข้อนี้ยิ่งจะเป็นปัญหามากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีลักษณะล้าหลังกว่าฉบับปี 2540 และอาจทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจจนไม่อาจชี้แจงให้เป็นที่เข้าใจได้ กรณีเช่นนี้ฟันธงได้เลยว่าวิกฤตแน่
จึงอาจกล่าวได้ว่า วิกฤตรัฐธรรมนูญนั้น อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา นี่ขนาดยังไม่ได้วิเคราะห์ไปถึงกลุ่มผู้สูญเสียอำนาจเก่าที่ คมช. คือ คปค. เดิมเพิ่งยึดอำนาจมาว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ ผมจึงไม่อยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ คมช. ตั้งอยู่ในความประมาท การแต่งตั้ง สสร. และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีความสามารถ มีความเหมาะสม ให้สังคมยอมรับได้ตั้งแต่ต้นจะเป็นการป้องกันปัญหามิให้บานปลายกลายเป็นวิกฤตได้เพราะถ้าถึงขั้นมีวิกฤตรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นมาอีก ประเทศก็มีแต่จะบอบช้ำมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน.
****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ธ.ค. 2549--จบ--