นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงการที่นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 10 (10th ASEAN Finance Ministers Meeting: AFMM) ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4-5 เมษายน 2549 ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งมีนาย Keat Chhon รัฐมนตรีอาวุโสกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประธานการประชุมฯ โดยมีสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ ซึ่งสมเด็จฮุนเซ็นได้กล่าวสุนทรพจน์เน้นถึงความสำคัญของความร่วมมือทางการเงินของอาเซียน ว่ามีความสำคัญและการมีระบบการเงินที่มีเสถียรภาพเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะช่วยผลักดันไปสู่เป้าหมายของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ ผลของการประชุม AFMM ครั้งที่ 10 สรุปได้ ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
เลขาธิการอาเซียนได้รายงานภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2548 ของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวมคาดว่าจะขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ลดลง เมื่อเทียบกับร้อยละ 6.1 ของปีก่อนหน้า สืบเนื่องมาจากปัจจัยหลัก อาทิ ภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ปัญหาไข้หวัดนก และปัญหาภัยธรรมชาติในบางประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนยังคงเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้ การไหลเข้าของเงินทุนผ่านการลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งส่งผลให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่มีการสะสมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และส่งผลให้เงินสกุลต่างๆ มีค่าเงินที่แข็งขึ้น
สำหรับตัวเลขประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนของปี 2549 คาดว่าจะมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.8 จากผลของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในทวีปยุโรปและประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่จำเป็นต้องคำนึงถึง อาทิ ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น สถานการณ์ความไม่สงบในบางประเทศ และภาวะภัยธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้มีการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนในอนาคตได้
2. แนวทางการรวมตัวทางการเงินของอาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN in Finance: RIA-fin)
เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเงินและการลงทุนในภูมิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้ให้การสนับสนุนแนวทางการรวมตัวทางการเงินใน 3 ด้านหลัก ดังนี้
2.1 การพัฒนาตลาดทุนอาเซียนให้เป็นแหล่งการลงทุน (ASEAN Asset Class) ภายหลังจากการเปิดตัวการจัดทำดัชนี FTSE/ASEAN ระหว่างการประชุม ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 20-21 กันยายน 2548 สมาชิกอาเซียนและภาคเอกชนได้ร่วมกันหาแนวทางเพื่อพัฒนาหลักทรัพย์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการลงทุน อาทิ การจัดตั้งกองทุน Exchange Traded Fund (ETF) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการระดมเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่อยู่ในดัชนี FTSE/ASEAN
2.2 การเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินระหว่างสมาชิกอาเซียนเพื่อนำไปสู่การเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น (Free flow of financial services) ในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ได้มีความคืบหน้าโดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาในรอบที่ 4 ทั้งนี้ สมาชิกอาเซียนเล็งเห็นความสำคัญของการกำหนดแนวทางการเจรจาของอาเซียนให้สอดคล้องกันทั้งในภูมิภาคและในการเจรจากับคู่ภาคีอื่น เช่น อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย เป็นต้น
2.3 การเปิดเสรีบัญชีเคลื่อนย้ายเงินทุน ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการแถลงเปิดตัว web page ที่เป็นจุดเชื่อมโยงข้อมูลของสมาชิกอาเซียนในเรื่อง Capital Account Regime นอกจากนี้จะมีจัดทำหนังสือ ASEAN Capital Account Regime เพื่อแจกในการประชุม ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งที่ 3 ที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนปีนี้ด้วย
3. ความร่วมมือด้านศุลกากร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนไดัให้ความเห็นชอบการจัดทำพิธีสารว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Protocol to Establish and Implement the Single Window) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รูปแบบของเอกสาร พิธีการ การบริหารข้อมูล และกระบวนการดำเนินการของ ASEAN Single Window และ National Single Window มีความสอดคล้องกันในกลุ่มสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะมีการลงนามในพิธีสารฯ ดังกล่าวต่อไป
4. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนรับทราบความคืบหน้าการดำเนินมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ซึ่งในปี 2548 จำนวนผู้ออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อาทิ การออกพันธบัตรสกุลเงินริงกิตโดยธนาคารโลกในประเทศมาเลเซีย การออกพันธบัตรสกุลเงินบาทโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) ในประเทศไทย และการออกพันธบัตรสกุลเงินหยวน (Panda Bond) โดย International Finance Company (IFC) และ ADB ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการหารือการผลักดันการเพิ่มการออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นที่ใช้รูปแบบสินทรัพย์หนุนหลังประเภทต่างๆ (Securitized Bond) ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนาตราสารหนี้ประเภทใหม่ ได้เสนอให้ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว และกัมพูชา เป็นต้น มีส่วนร่วมในมาตรการฯ ดังกล่าวโดยเปิดโอกาสให้ประเทศดังกล่าวสามารถระดมทุนเป็นเงินบาทผ่านการออกพันธบัตรในประเทศไทย นอกจากนี้ ได้มีหารือแนวทางการกำหนดมาตรฐานกลาง (Common Standards) สำหรับบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งถือว่าจะเป็นก้าวแรกในการนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรจัดอันดับความน่าเชื่อภูมิภาค (Regional Credit Rating Agency) ต่อไป
5. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้รับทราบถึงความคืบหน้าในกรณีของความตกลง ทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Arrangement) ภายใต้มาตรการริเริ่มร่วมมือเชียงใหม่ว่าจน ถึงปัจจุบันได้มีการลงนามในสัญญาไปแล้วทั้งสิ้น 16 สัญญา รวมวงเงินทั้งสิ้น 71.5 พันล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าในเดือนพฤษภาคม 2548 เกือบเท่าตัวที่มีวงเงินรวม 37.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาคที่มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบถึงการดำเนินการทบทวนหลักการสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ที่มีความคืบหน้าไปอย่างมาก
6. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งที่ 11
ในโอกาสครบรอบปีที่ 11 ของการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ประเทศไทยในฐานะผู้ริเริ่มการจัดการประชุมฯ เมื่อปี 2540 ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งที่ 11 และการประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในปี 2550
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 32/2549 7 เมษายน 49--
1. ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
เลขาธิการอาเซียนได้รายงานภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2548 ของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวมคาดว่าจะขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ลดลง เมื่อเทียบกับร้อยละ 6.1 ของปีก่อนหน้า สืบเนื่องมาจากปัจจัยหลัก อาทิ ภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ปัญหาไข้หวัดนก และปัญหาภัยธรรมชาติในบางประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนยังคงเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้ การไหลเข้าของเงินทุนผ่านการลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งส่งผลให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่มีการสะสมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และส่งผลให้เงินสกุลต่างๆ มีค่าเงินที่แข็งขึ้น
สำหรับตัวเลขประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนของปี 2549 คาดว่าจะมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.8 จากผลของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในทวีปยุโรปและประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่จำเป็นต้องคำนึงถึง อาทิ ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น สถานการณ์ความไม่สงบในบางประเทศ และภาวะภัยธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้มีการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนในอนาคตได้
2. แนวทางการรวมตัวทางการเงินของอาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN in Finance: RIA-fin)
เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเงินและการลงทุนในภูมิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้ให้การสนับสนุนแนวทางการรวมตัวทางการเงินใน 3 ด้านหลัก ดังนี้
2.1 การพัฒนาตลาดทุนอาเซียนให้เป็นแหล่งการลงทุน (ASEAN Asset Class) ภายหลังจากการเปิดตัวการจัดทำดัชนี FTSE/ASEAN ระหว่างการประชุม ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 20-21 กันยายน 2548 สมาชิกอาเซียนและภาคเอกชนได้ร่วมกันหาแนวทางเพื่อพัฒนาหลักทรัพย์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการลงทุน อาทิ การจัดตั้งกองทุน Exchange Traded Fund (ETF) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการระดมเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่อยู่ในดัชนี FTSE/ASEAN
2.2 การเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินระหว่างสมาชิกอาเซียนเพื่อนำไปสู่การเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น (Free flow of financial services) ในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ได้มีความคืบหน้าโดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาในรอบที่ 4 ทั้งนี้ สมาชิกอาเซียนเล็งเห็นความสำคัญของการกำหนดแนวทางการเจรจาของอาเซียนให้สอดคล้องกันทั้งในภูมิภาคและในการเจรจากับคู่ภาคีอื่น เช่น อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย เป็นต้น
2.3 การเปิดเสรีบัญชีเคลื่อนย้ายเงินทุน ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการแถลงเปิดตัว web page ที่เป็นจุดเชื่อมโยงข้อมูลของสมาชิกอาเซียนในเรื่อง Capital Account Regime นอกจากนี้จะมีจัดทำหนังสือ ASEAN Capital Account Regime เพื่อแจกในการประชุม ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งที่ 3 ที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนปีนี้ด้วย
3. ความร่วมมือด้านศุลกากร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนไดัให้ความเห็นชอบการจัดทำพิธีสารว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Protocol to Establish and Implement the Single Window) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รูปแบบของเอกสาร พิธีการ การบริหารข้อมูล และกระบวนการดำเนินการของ ASEAN Single Window และ National Single Window มีความสอดคล้องกันในกลุ่มสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะมีการลงนามในพิธีสารฯ ดังกล่าวต่อไป
4. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนรับทราบความคืบหน้าการดำเนินมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ซึ่งในปี 2548 จำนวนผู้ออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อาทิ การออกพันธบัตรสกุลเงินริงกิตโดยธนาคารโลกในประเทศมาเลเซีย การออกพันธบัตรสกุลเงินบาทโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) ในประเทศไทย และการออกพันธบัตรสกุลเงินหยวน (Panda Bond) โดย International Finance Company (IFC) และ ADB ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการหารือการผลักดันการเพิ่มการออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นที่ใช้รูปแบบสินทรัพย์หนุนหลังประเภทต่างๆ (Securitized Bond) ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนาตราสารหนี้ประเภทใหม่ ได้เสนอให้ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว และกัมพูชา เป็นต้น มีส่วนร่วมในมาตรการฯ ดังกล่าวโดยเปิดโอกาสให้ประเทศดังกล่าวสามารถระดมทุนเป็นเงินบาทผ่านการออกพันธบัตรในประเทศไทย นอกจากนี้ ได้มีหารือแนวทางการกำหนดมาตรฐานกลาง (Common Standards) สำหรับบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งถือว่าจะเป็นก้าวแรกในการนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรจัดอันดับความน่าเชื่อภูมิภาค (Regional Credit Rating Agency) ต่อไป
5. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้รับทราบถึงความคืบหน้าในกรณีของความตกลง ทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Arrangement) ภายใต้มาตรการริเริ่มร่วมมือเชียงใหม่ว่าจน ถึงปัจจุบันได้มีการลงนามในสัญญาไปแล้วทั้งสิ้น 16 สัญญา รวมวงเงินทั้งสิ้น 71.5 พันล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าในเดือนพฤษภาคม 2548 เกือบเท่าตัวที่มีวงเงินรวม 37.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาคที่มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบถึงการดำเนินการทบทวนหลักการสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ที่มีความคืบหน้าไปอย่างมาก
6. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งที่ 11
ในโอกาสครบรอบปีที่ 11 ของการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ประเทศไทยในฐานะผู้ริเริ่มการจัดการประชุมฯ เมื่อปี 2540 ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งที่ 11 และการประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในปี 2550
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 32/2549 7 เมษายน 49--