ข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ล่าสุดคือ Real GDP ไตรมาส 4/2549 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ GDP ของปี 2548 เติบโตร้อยละ 5.1 และ Real GNP เติบโตร้อยละ 5.7 โดยการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 5.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เนื่องจาก ภาวะราคาน้ำมันแพง ซึ่งการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาครัฐ เติบโตลดลงเหลือร้อยละ 4.2 ในทำนองเดียวกัน การใช้ทุนถาวร ลดลงเหลือร้อยละ 1.4 ทำให้การลงทุนในเครื่องมือและอุปกรณ์ลดลง ในปี 2548 การลงทุนภาคเอกชน เติบโตลดลงร้อยละ 4.9 การใช้ทุนถาวรลดลงเหลือร้อยละ 3 แสดงถึงแนวโน้มการชะลอตัวของภาคการผลิต และการลดลงของความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของผู้ประกอบการในฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ มูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 4/2548 เติบโตร้อยละ 6.48 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเติบโตร้อยละ 7.18
ทางด้านการค้าต่างประเทศ การส่งออกในไตรมาส 4/2548 เติบโตลดลงเหลือร้อยละ 0.4 โดยมูลค่าการส่งออกสูงสุดในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ กล้วย และสิ่งทอ ในขณะที่ การนำเข้าเติบโตลดลง เหลือร้อยละ 1.2 ซึ่งมูลค่าการนำเข้าสูงสุดในหมวดการขนส่ง เครื่องจักรไฟฟ้า และเครื่องใช้ภายในบ้าน
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโดยเฉลี่ยในไตรมาสแรกปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อน แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 โดยระดับราคาในหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อน แต่ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.2 ในขณะที่หมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อน แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 การลดลงของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาส 1/2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งเกือบทุกประเทศในภูมิภาคได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกัน
อินโดนีเซีย
ในไตรมาส 1/2549 คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะเติบโตน้อยที่สุดในรอบ 2 ปี โดยจะเติบโตอยู่ในช่วงร้อยละ 4.5 — 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทางด้านการบริโภคภาคเอกชน มียอดการจำหน่ายรถยนต์ลดลงตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อน เนื่องจากรัฐบาลประกาศขึ้นราคาน้ำมัน โดยยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ลดลงร้อยละ 34 จากปีก่อน
ในไตรมาส 1/2549 รัฐบาลไม่สามารถเพิ่มการใช้จ่าย 1.7 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ในโครงการสร้างสาธารธูปโภค เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้ไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนได้ ซึ่งถ้าการบริโภคภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของรัฐ จะช่วยชดเชยการหดตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยบังคับใช้กฎหมายใหม่เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียได้ง่ายขึ้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้ชะลอการบังคับใช้มากตั้งแต่ปี 2004 ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุนในอินโดนีเซีย โดยรัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจอาจกระเตื้องขึ้นในไตรมาส 2/2549 เนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอินโดนีเซีย โดยมีผลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม อันเป็นการส่งสัญญานที่ดีต่อตลาด นักลงทุน และธุรกิจ
ทั้งนี้ World Bank คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะเติบโตร้อยละ 5.5 ต่ำกว่าปีก่อนซึ่งเติบโตร้อยละ 5.6 ขณะที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียคาดว่า เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะเติบโตร้อยละ 5-7 ในปีนี้ และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 6.4 ในปีหน้า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนของนักลงทุนภายในประเทศ
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในอาเซียน
ไต้หวัน
ไตรมาส 4/2548 GDP ไต้หวันขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสูงกว่าค่าคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.3 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเทคโนโลยี ในขณะที่ภาคก่อสร้าง การขนส่ง และการท่องเที่ยว เติบโตลดลงเหลือร้อยละ 4.04 ร้อยละ 8.18 และร้อยละ 12.97 ตามลำดับ
การส่งออกของในเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน น้อยกว่าการขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 26.4 ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการนำเข้าในเดือนมีนาคมหดตัวร้อยละ 0.5 เนื่องจากการนำเข้าสินค้าทุน และสินค้าเพื่อการบริโภค ลดลง อย่างไรก็ตาม ทั้งการส่งออกและการนำเข้าไตรมาสแรก ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี 2548 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งปรับตัวตามค่าเงินที่แข็งขึ้น และราคาอาหารที่มีแนวโน้มลดลง
ค่า GDP ตลอดปี 2549 คาดว่าจะเติบโตลดลงเหลือร้อยละ 3.5 จากที่เติบโตร้อยละ 4 ในปี 2548 เนื่องจากรัฐบาลจะยังคงใช้นโยบายการเงินที่กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และช่วยขับเคลื่อนการส่งออกให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
ฮ่องกง
เศรษฐกิจฮ่องกงมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดย GDP ในไตรมาส 4/2548 เติบโตร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และทางการฮ่องกง ได้ปรับค่าประมาณการ GDP ไตรมาสแรกปี 2549 ลงเล็กน้อย จากเดิมประมาณการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.2 เป็นร้อยละ 6.1 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ทำให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศต่ำลง และอุปสงค์จากภายนอกลดเล็กน้อย โดยการบริโภคภายในประเทศในไตรมาสที่ 4/2548 เติบโตร้อยละ 3.7 ต่ำกว่าไตรมาสที่ 3 ที่เติบโตร้อยละ 4.1 ซึ่งในไตรมาสแรกปีนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะเติบโตลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ส่วนปริมาณการขายปลีกในเดือนมกราคม 2549 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.7 เนื่องจากการทะลักเข้ามาของนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่
ทางด้านการส่งออกสินค้าในไตรมาสที่ 4/2548 มีการเติบโตร้อยละ 11.41 และคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสแรก ปี 2549 ที่ร้อยละ 11.6 เนื่องจากการชะลอตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศ ทางด้านการส่งออกบริการในไตรมาส 4/2548 เติบโตร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 6.2 ในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่หลั่งไหลเข้ามาเที่ยวฮ่องกงมากขึ้นอย่างมากในช่วงตรุษจีน สำหรับการนำเข้าสินค้าในไตรมาส 4/2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 และคาดว่าจะชะลอการเติบโตเหลือร้อยละ 11.0 ในไตรมาสแรกปีนี้ ส่วนการนำเข้าบริการในไตรมาส 4/2548 เติบโตเพียงร้อยละ 1.4 เนื่องจากค่าขนส่งและค่าเดินทางได้รับผลกระทบของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ ดุลการค้าของฮ่องกงในไตรมาส 4/2548 มีสัดส่วนใน GDP ร้อยละ 19 และคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 15.2 ของ GDP ในไตรมาส1/2549
การลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์ และ Software เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 ในไตรมาส 4/2548 และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.5 ในไตรมาส 1/2549 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และภาวะราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้อในฮ่องกงยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.8 ในเดือนมีนาคม 2549 จากร้อยละ 1.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าเช่าบ้าน และอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งการเพิ่มของค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน ร้อยละ 1.4 ในเดือนธันวาคม ขณะที่การว่างงานไม่ลดลง แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานในฮ่องกงไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องเพิ่มค่าจ้างให้แก่แรงงานที่มีอยู่ในระบบ ทำให้ต้นทุนการผลิตโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อทางด้านอุปทานได้ในระยะปานกลาง
เกาหลีใต้
GDP ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2549 ที่ร้อยละ 6.2 (yoy) เทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่เร่งขึ้น และการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ไตรมาส โดยการส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสแรก ขยายตัวร้อยละ 10.73 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 73.98 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในหมวดเครื่องจักรและรถยนต์ ซึ่งมีการขยายตัวร้อยละ 7.82 คิดเป็นมูลค่า 45.37 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ทางด้านการนำเข้าในไตรมาสแรกปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 18.88 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 72.06 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ทำให้เกาหลีใต้มีดุลการค้าเกินดุลเพียง 1.92 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยสินค้านำเข้าหมวดที่มีมูลค่าสูงสุดคือหมวดเครื่องจักรและรถยนต์เช่นเดียวกับการส่งออก ซึ่งมีการขยายตัวร้อยละ 15.21 คิดเป็นมูลค่า 22.07 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบการส่งออก และการนำเข้าในหมวดเครื่องจักรและรถยนต์ พบว่า การส่งออกยังมากกว่าการนำเข้าถึง 23.3 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยเมื่อพิจารณารายละเอียดพบว่า รายการสินค้าส่งออกในหมวดนี้ คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่รายการสินค้านำเข้าในหมวดนี้ คือ เครื่องจักรอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่าเกาหลีใต้ กำลังขยายการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตมากขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังแสดงถึงความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ จึงมีการตัดสินใจขยายการผลิตและลงทุนในเครื่องจักรมากขึ้น
การเติบโตของมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมในไตรมาส 1/2549 สอดคล้องกับการขยายตัวของดัชนีอุตสาหกรรม โดยดัชนีอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ระดับ 141.6 และดัชนีสินค้าคงคลัง ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.42 มาอยู่ที่ระดับ 132.9 ย่อมหมายถึงการผลิตที่เกิดขึ้น เป็นการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ความต้องการปัจจัยการผลิตขยายตัวสูงขึ้นด้วย และส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลง เพื่อตอบสนองต่อการขยายการผลิตดังกล่าว นอกจากนี้ ราคาหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยส่งเสริมความเชื่อมั่น และกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค
เนื่องจากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังคงได้รับปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง และค่าเงินวอนที่แข็งค่าขึ้นมาก ทำให้ในไตรมาส 1/2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ ขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือช่วงร้อยละ 0.2 — 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 119.85 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนเมษายน 2549 เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม ร้อยละ 0.1 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.0 โดยในระดับราคาหมวดพลังงานเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 8.5 ซึ่งส่งผลให้ราคาหมวดการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 อันเป็นค่าใช้จ่ายหลักของประชาชน ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะเงินเฟ้อได้ในระยะสั้น และระยะปานกลางได้
ทั้งนี้ State Street Global Advisors ในรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจไตรมาสสองปี 2549 ได้คาดการณ์การเติบโตของ Real GDP ของเกาหลีใต้ในปี 2549 จะเติบโตร้อยละ 4.5 อัตราดอกเบี้ยต่อปี อยู่ที่ร้อยละ 4 ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ดี และไม่ผันผวน แนวโน้มการขยายของเกาหลีใต้จึงยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ทางด้านการค้าต่างประเทศ การส่งออกในไตรมาส 4/2548 เติบโตลดลงเหลือร้อยละ 0.4 โดยมูลค่าการส่งออกสูงสุดในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ กล้วย และสิ่งทอ ในขณะที่ การนำเข้าเติบโตลดลง เหลือร้อยละ 1.2 ซึ่งมูลค่าการนำเข้าสูงสุดในหมวดการขนส่ง เครื่องจักรไฟฟ้า และเครื่องใช้ภายในบ้าน
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโดยเฉลี่ยในไตรมาสแรกปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อน แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 โดยระดับราคาในหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อน แต่ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.2 ในขณะที่หมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อน แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 การลดลงของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาส 1/2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งเกือบทุกประเทศในภูมิภาคได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกัน
อินโดนีเซีย
ในไตรมาส 1/2549 คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะเติบโตน้อยที่สุดในรอบ 2 ปี โดยจะเติบโตอยู่ในช่วงร้อยละ 4.5 — 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทางด้านการบริโภคภาคเอกชน มียอดการจำหน่ายรถยนต์ลดลงตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อน เนื่องจากรัฐบาลประกาศขึ้นราคาน้ำมัน โดยยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ลดลงร้อยละ 34 จากปีก่อน
ในไตรมาส 1/2549 รัฐบาลไม่สามารถเพิ่มการใช้จ่าย 1.7 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ในโครงการสร้างสาธารธูปโภค เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้ไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนได้ ซึ่งถ้าการบริโภคภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของรัฐ จะช่วยชดเชยการหดตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยบังคับใช้กฎหมายใหม่เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียได้ง่ายขึ้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้ชะลอการบังคับใช้มากตั้งแต่ปี 2004 ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุนในอินโดนีเซีย โดยรัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจอาจกระเตื้องขึ้นในไตรมาส 2/2549 เนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอินโดนีเซีย โดยมีผลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม อันเป็นการส่งสัญญานที่ดีต่อตลาด นักลงทุน และธุรกิจ
ทั้งนี้ World Bank คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะเติบโตร้อยละ 5.5 ต่ำกว่าปีก่อนซึ่งเติบโตร้อยละ 5.6 ขณะที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียคาดว่า เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะเติบโตร้อยละ 5-7 ในปีนี้ และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 6.4 ในปีหน้า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนของนักลงทุนภายในประเทศ
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในอาเซียน
ไต้หวัน
ไตรมาส 4/2548 GDP ไต้หวันขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสูงกว่าค่าคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.3 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเทคโนโลยี ในขณะที่ภาคก่อสร้าง การขนส่ง และการท่องเที่ยว เติบโตลดลงเหลือร้อยละ 4.04 ร้อยละ 8.18 และร้อยละ 12.97 ตามลำดับ
การส่งออกของในเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน น้อยกว่าการขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 26.4 ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการนำเข้าในเดือนมีนาคมหดตัวร้อยละ 0.5 เนื่องจากการนำเข้าสินค้าทุน และสินค้าเพื่อการบริโภค ลดลง อย่างไรก็ตาม ทั้งการส่งออกและการนำเข้าไตรมาสแรก ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี 2548 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งปรับตัวตามค่าเงินที่แข็งขึ้น และราคาอาหารที่มีแนวโน้มลดลง
ค่า GDP ตลอดปี 2549 คาดว่าจะเติบโตลดลงเหลือร้อยละ 3.5 จากที่เติบโตร้อยละ 4 ในปี 2548 เนื่องจากรัฐบาลจะยังคงใช้นโยบายการเงินที่กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และช่วยขับเคลื่อนการส่งออกให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
ฮ่องกง
เศรษฐกิจฮ่องกงมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดย GDP ในไตรมาส 4/2548 เติบโตร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และทางการฮ่องกง ได้ปรับค่าประมาณการ GDP ไตรมาสแรกปี 2549 ลงเล็กน้อย จากเดิมประมาณการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.2 เป็นร้อยละ 6.1 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ทำให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศต่ำลง และอุปสงค์จากภายนอกลดเล็กน้อย โดยการบริโภคภายในประเทศในไตรมาสที่ 4/2548 เติบโตร้อยละ 3.7 ต่ำกว่าไตรมาสที่ 3 ที่เติบโตร้อยละ 4.1 ซึ่งในไตรมาสแรกปีนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะเติบโตลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ส่วนปริมาณการขายปลีกในเดือนมกราคม 2549 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.7 เนื่องจากการทะลักเข้ามาของนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่
ทางด้านการส่งออกสินค้าในไตรมาสที่ 4/2548 มีการเติบโตร้อยละ 11.41 และคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสแรก ปี 2549 ที่ร้อยละ 11.6 เนื่องจากการชะลอตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศ ทางด้านการส่งออกบริการในไตรมาส 4/2548 เติบโตร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 6.2 ในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่หลั่งไหลเข้ามาเที่ยวฮ่องกงมากขึ้นอย่างมากในช่วงตรุษจีน สำหรับการนำเข้าสินค้าในไตรมาส 4/2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 และคาดว่าจะชะลอการเติบโตเหลือร้อยละ 11.0 ในไตรมาสแรกปีนี้ ส่วนการนำเข้าบริการในไตรมาส 4/2548 เติบโตเพียงร้อยละ 1.4 เนื่องจากค่าขนส่งและค่าเดินทางได้รับผลกระทบของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ ดุลการค้าของฮ่องกงในไตรมาส 4/2548 มีสัดส่วนใน GDP ร้อยละ 19 และคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 15.2 ของ GDP ในไตรมาส1/2549
การลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์ และ Software เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 ในไตรมาส 4/2548 และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.5 ในไตรมาส 1/2549 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และภาวะราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้อในฮ่องกงยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.8 ในเดือนมีนาคม 2549 จากร้อยละ 1.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าเช่าบ้าน และอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งการเพิ่มของค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน ร้อยละ 1.4 ในเดือนธันวาคม ขณะที่การว่างงานไม่ลดลง แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานในฮ่องกงไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องเพิ่มค่าจ้างให้แก่แรงงานที่มีอยู่ในระบบ ทำให้ต้นทุนการผลิตโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อทางด้านอุปทานได้ในระยะปานกลาง
เกาหลีใต้
GDP ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2549 ที่ร้อยละ 6.2 (yoy) เทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่เร่งขึ้น และการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ไตรมาส โดยการส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสแรก ขยายตัวร้อยละ 10.73 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 73.98 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในหมวดเครื่องจักรและรถยนต์ ซึ่งมีการขยายตัวร้อยละ 7.82 คิดเป็นมูลค่า 45.37 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ทางด้านการนำเข้าในไตรมาสแรกปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 18.88 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 72.06 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ทำให้เกาหลีใต้มีดุลการค้าเกินดุลเพียง 1.92 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยสินค้านำเข้าหมวดที่มีมูลค่าสูงสุดคือหมวดเครื่องจักรและรถยนต์เช่นเดียวกับการส่งออก ซึ่งมีการขยายตัวร้อยละ 15.21 คิดเป็นมูลค่า 22.07 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบการส่งออก และการนำเข้าในหมวดเครื่องจักรและรถยนต์ พบว่า การส่งออกยังมากกว่าการนำเข้าถึง 23.3 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยเมื่อพิจารณารายละเอียดพบว่า รายการสินค้าส่งออกในหมวดนี้ คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่รายการสินค้านำเข้าในหมวดนี้ คือ เครื่องจักรอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่าเกาหลีใต้ กำลังขยายการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตมากขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังแสดงถึงความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ จึงมีการตัดสินใจขยายการผลิตและลงทุนในเครื่องจักรมากขึ้น
การเติบโตของมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมในไตรมาส 1/2549 สอดคล้องกับการขยายตัวของดัชนีอุตสาหกรรม โดยดัชนีอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ระดับ 141.6 และดัชนีสินค้าคงคลัง ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.42 มาอยู่ที่ระดับ 132.9 ย่อมหมายถึงการผลิตที่เกิดขึ้น เป็นการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ความต้องการปัจจัยการผลิตขยายตัวสูงขึ้นด้วย และส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลง เพื่อตอบสนองต่อการขยายการผลิตดังกล่าว นอกจากนี้ ราคาหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยส่งเสริมความเชื่อมั่น และกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค
เนื่องจากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังคงได้รับปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง และค่าเงินวอนที่แข็งค่าขึ้นมาก ทำให้ในไตรมาส 1/2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ ขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือช่วงร้อยละ 0.2 — 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 119.85 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนเมษายน 2549 เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม ร้อยละ 0.1 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.0 โดยในระดับราคาหมวดพลังงานเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 8.5 ซึ่งส่งผลให้ราคาหมวดการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 อันเป็นค่าใช้จ่ายหลักของประชาชน ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะเงินเฟ้อได้ในระยะสั้น และระยะปานกลางได้
ทั้งนี้ State Street Global Advisors ในรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจไตรมาสสองปี 2549 ได้คาดการณ์การเติบโตของ Real GDP ของเกาหลีใต้ในปี 2549 จะเติบโตร้อยละ 4.5 อัตราดอกเบี้ยต่อปี อยู่ที่ร้อยละ 4 ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ดี และไม่ผันผวน แนวโน้มการขยายของเกาหลีใต้จึงยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-