ดร.ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 (2549-2553) ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลังและสภาธุรกิจตลาดทุนไทยในวันนี้ว่า เนื่องจากแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับแรก(2545-2548) ได้ดำเนินการจนสำเร็จลุล่วงในระดับที่น่าพอใจ แต่เนื่องจากตลาดทุนยังมีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินบทบาทเพื่อสนับสนุนการระดมทุนระยะยาว และเพื่อเป็นทางเลือกในการออมและการลงทุนของประชาชนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนั้น จึงได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อจัดทำแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 ขึ้นโดยคณะทำงานชุดนี้ได้ยกร่างแผนฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเพื่อให้แผนฯ มีความสมบูรณ์และเป็นเรื่องที่มีความเห็นชอบร่วมกันของทุกฝ่าย จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขึ้นในวันนี้ เพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายเป็นครั้งสุดท้ายก่อนนำออกประกาศใช้ต่อไป
สำหรับร่างแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 (2549-2553) นี้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายเชิงปริมาณ และแนวทางหลักในการพัฒนา ดังนี้
วิสัยทัศน์และภารกิจ สร้างเสถียรภาพของตลาดทุน สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายเชิงปริมาณ
(1) ขยายตลาดตราสารทุน และตลาดตราสารหนี้ ให้มีสัดส่วนทัดเทียมกับระบบธนาคาร
(2) เพิ่มนักลงทุนสถาบันในตลาดตราสารทุน และสนับสนุนนักลงทุนบุคคลในตลาดตราสารหนี้
แนวทางหลัก
(1) ด้านตลาดตราสารทุน : ขยายขนาดของตลาด เพิ่มอุปทานของตราสารทุนของกิจการที่มีขนาดใหญ่ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้กิจการขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบของการเป็นบริษัทจดทะเบียน โดยมุ่งเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ (จากประมาณร้อยละ 10 ในปัจจุบัน) ให้มีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับผู้ลงทุนสถาบันในตลาดต่างประเทศ และจะทำให้สัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันต่อผู้ลงทุนบุคคลเป็น 40-60 ซึ่งเป็นระดับที่มีความสมดุลของสภาพคล่องและเสถียรภาพราคาซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเมื่อเทียบกับผลกำไรโดยรวม (Market P/E) มีระดับที่สูงขึ้น
(2) ด้านตลาดตราสารหนี้ : ขยายขนาดตลาดให้มีขนาดทัดเทียมกับตลาดเงิน โดยเพิ่มอุปทานของตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน พร้อมกับส่งเสริมการลงทุนของผู้ลงทุนบุคคล โดยพิจารณาแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางด้านภาษี
(3) ด้านการเพิ่มนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการและ
ผู้ลงทุนในตลาดทุนไทย : เช่น ตราสารอนุพันธ์ securitisation และ structured products
(4) ด้านสถาบันตัวกลาง : เพิ่มศักยภาพในการให้บริการและเพิ่มความแข็งแกร่งมั่นคงของสถาบันตัวกลาง โดยผลักดันให้มีขนาดทุนที่สูงขึ้นเพื่อให้สามารถทำธุรกรรมได้ทุกประเภท และจัดลำดับเวลาในการกำหนดให้เริ่มมีการแข่งขันเสรีด้านราคาก่อนนำไปสู่การเปิดรับการแข่งขันจากผู้ประกอบการต่างประเทศ
(5) ด้านบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียน : สนับสนุนบริษัทจดทะเบียนให้ดำเนินการตามหลักบรรษัทภิบาลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติในมาตรฐานที่สูงเพื่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยอาจจะพิจารณาให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีบางประการเพื่อการปฏิบัติตามมาตรฐานที่สูงและขยายศักยภาพของกิจการ
(6) ด้านการขยายความรู้เกี่ยวกับตลาดทุน : ขยายความรู้ด้านตลาดทุนและความรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) ให้ทั่วถึงทุกจังหวัดและทุกสถาบันการศึกษา ทุกองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยให้สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมทั้ง 5 และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดให้แบ่งเขตการทำงานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
(7) ด้านหน่วยงานกำกับดูแล : ให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีภารกิจในการพัฒนาตลาดทุนควบคู่ไปกับหน้าที่ในการกำกับดูแลและประสานงาน
ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละแนวทางและมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละเรื่องไว้อย่างชัดเจนด้วยแล้ว
ร่างแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 นี้ นับได้ว่าเป็นแผนที่ได้จัดทำขึ้นโดยมีการศึกษา และวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งสภาวการณ์ของตลาดทุนและเศรษฐกิจไทยโดยรวมโดยเฉพาะในเรื่องของกระแสโลกาภิวัตน์ กระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนซึ่งเป็นไปอย่างเสรี และแนวนโยบายของรัฐบาลในการเปิดเสรีภาคการค้าและบริการทางการเงิน หรือ FTA เพื่อวางแผนรองรับในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ โดยให้ตลาดทุนไทยมีการพัฒนาทัดเทียมกับตลาดทุนอื่น ๆ มีมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และผู้ร่วมตลาดสามารถแข่งขันกับต่างประเทศไทยได้ ทั้งยังต้องช่วยสนับสนุนความเข้มแข็งของเศรษฐกิจโดยรวมด้วย
ผลของการสัมมนาในวันนี้ คณะทำงานยกร่างแผนพัฒนาตลาดทุนไทยจะได้นำไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 (2549-2553) ให้เป็นแผนพัฒนาตลาดทุนไทยที่สมบูรณ์เพื่อที่กระทรวงการคลังจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 9/2549 1 กุมภาพันธ์ 49--
สำหรับร่างแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 (2549-2553) นี้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายเชิงปริมาณ และแนวทางหลักในการพัฒนา ดังนี้
วิสัยทัศน์และภารกิจ สร้างเสถียรภาพของตลาดทุน สนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายเชิงปริมาณ
(1) ขยายตลาดตราสารทุน และตลาดตราสารหนี้ ให้มีสัดส่วนทัดเทียมกับระบบธนาคาร
(2) เพิ่มนักลงทุนสถาบันในตลาดตราสารทุน และสนับสนุนนักลงทุนบุคคลในตลาดตราสารหนี้
แนวทางหลัก
(1) ด้านตลาดตราสารทุน : ขยายขนาดของตลาด เพิ่มอุปทานของตราสารทุนของกิจการที่มีขนาดใหญ่ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้กิจการขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบของการเป็นบริษัทจดทะเบียน โดยมุ่งเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ (จากประมาณร้อยละ 10 ในปัจจุบัน) ให้มีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับผู้ลงทุนสถาบันในตลาดต่างประเทศ และจะทำให้สัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันต่อผู้ลงทุนบุคคลเป็น 40-60 ซึ่งเป็นระดับที่มีความสมดุลของสภาพคล่องและเสถียรภาพราคาซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเมื่อเทียบกับผลกำไรโดยรวม (Market P/E) มีระดับที่สูงขึ้น
(2) ด้านตลาดตราสารหนี้ : ขยายขนาดตลาดให้มีขนาดทัดเทียมกับตลาดเงิน โดยเพิ่มอุปทานของตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน พร้อมกับส่งเสริมการลงทุนของผู้ลงทุนบุคคล โดยพิจารณาแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางด้านภาษี
(3) ด้านการเพิ่มนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการและ
ผู้ลงทุนในตลาดทุนไทย : เช่น ตราสารอนุพันธ์ securitisation และ structured products
(4) ด้านสถาบันตัวกลาง : เพิ่มศักยภาพในการให้บริการและเพิ่มความแข็งแกร่งมั่นคงของสถาบันตัวกลาง โดยผลักดันให้มีขนาดทุนที่สูงขึ้นเพื่อให้สามารถทำธุรกรรมได้ทุกประเภท และจัดลำดับเวลาในการกำหนดให้เริ่มมีการแข่งขันเสรีด้านราคาก่อนนำไปสู่การเปิดรับการแข่งขันจากผู้ประกอบการต่างประเทศ
(5) ด้านบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียน : สนับสนุนบริษัทจดทะเบียนให้ดำเนินการตามหลักบรรษัทภิบาลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติในมาตรฐานที่สูงเพื่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยอาจจะพิจารณาให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีบางประการเพื่อการปฏิบัติตามมาตรฐานที่สูงและขยายศักยภาพของกิจการ
(6) ด้านการขยายความรู้เกี่ยวกับตลาดทุน : ขยายความรู้ด้านตลาดทุนและความรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) ให้ทั่วถึงทุกจังหวัดและทุกสถาบันการศึกษา ทุกองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยให้สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมทั้ง 5 และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดให้แบ่งเขตการทำงานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
(7) ด้านหน่วยงานกำกับดูแล : ให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีภารกิจในการพัฒนาตลาดทุนควบคู่ไปกับหน้าที่ในการกำกับดูแลและประสานงาน
ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละแนวทางและมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละเรื่องไว้อย่างชัดเจนด้วยแล้ว
ร่างแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 นี้ นับได้ว่าเป็นแผนที่ได้จัดทำขึ้นโดยมีการศึกษา และวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งสภาวการณ์ของตลาดทุนและเศรษฐกิจไทยโดยรวมโดยเฉพาะในเรื่องของกระแสโลกาภิวัตน์ กระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนซึ่งเป็นไปอย่างเสรี และแนวนโยบายของรัฐบาลในการเปิดเสรีภาคการค้าและบริการทางการเงิน หรือ FTA เพื่อวางแผนรองรับในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ โดยให้ตลาดทุนไทยมีการพัฒนาทัดเทียมกับตลาดทุนอื่น ๆ มีมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และผู้ร่วมตลาดสามารถแข่งขันกับต่างประเทศไทยได้ ทั้งยังต้องช่วยสนับสนุนความเข้มแข็งของเศรษฐกิจโดยรวมด้วย
ผลของการสัมมนาในวันนี้ คณะทำงานยกร่างแผนพัฒนาตลาดทุนไทยจะได้นำไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 (2549-2553) ให้เป็นแผนพัฒนาตลาดทุนไทยที่สมบูรณ์เพื่อที่กระทรวงการคลังจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 9/2549 1 กุมภาพันธ์ 49--