กรุงเทพ--2 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดูเหมือนว่าจะเป็นข่าวดีสำหรับแรงงานไทยในตำแหน่งแม่บ้านหรือผู้ช่วยแม่บ้าน เพราะตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 เป็นต้นไป กระทรวงมหาดไทยสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ หรือเราเรียกสั้นๆ ว่า ยูเออี จะยกเลิกคำสั่งห้ามเข้าประเทศชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี สำหรับแรงงานต่างชาติตำแหน่งแม่บ้านหรือผู้ช่วยแม่บ้าน ซึ่งถูกยกเลิกใบอนุญาตการมีถิ่นพำนักในยูเออี เนื่องจากอายุสัญญาจ้างได้สิ้นสุดลง โดยไม่อนุญาตให้เดินทางกลับเข้าไปทำงานในยูเออีอีก จนกว่าจะพ้นช่วงเวลา 1 ปีดังกล่าว
คำสั่งยกเลิกระเบียบข้างต้น จะมีผลทำให้แรงงานต่างชาติในตำแหน่งแม่บ้าน/ผู้ช่วยแม่บ้านที่ถูกยกเลิกสัญญาจ้างอย่างถูกกฎหมาย สามารถเดินทางกลับเข้าไปทำงานในยูเออีได้อีกโดยไม่ต้องรอให้พ้นช่วงระยะ 1 ปี ยกเว้นในกรณีที่มีปัญหาข้อพิพากเกิดขึ้นระหว่างคนงานกับนายจ้าง หรือมีการเลิกจ้างก่อนหมดสัญญา คนงานประเภทนี้จะยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศเป็นเวลา 1 ปีตามระเบียบคนเข้าเมืองของยูเออีต่อไป
นอกจากนี้ ทางการยูเออีได้อนุญาตให้แม่บ้าน/ผู้ช่วยแม่บ้านในยูเออีสามารถย้ายสปอนเซอร์เพื่อไปทำงานกับนายจ้างอื่นได้เหมือนแรงงานประเภทอื่นๆ ทั่วไป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 เป็นต้นไป โดยแรงงานจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนย้ายสปอนเซอร์ประมาณ 500 ดีแรห์ม/คน เงินค้ำประกันสำหรับนายจ้างท้องถิ่น 1,500 ดีแรห์ม/คน สำหรับนายจ้างต่างประเทศ 5,000 ดีแรห์ม/คน ค่าออกใบอนุญาตมีถิ่นพำนัก 100 ดีแรห์ม/คน และค่าบัตรประจำตัว 100 ดีแรห์ม/คน
ยังมีค่าธรรมเนียมสำหรับนายจ้างในการเป็นสปอนเซอร์เพื่อนำแรงงานต่างชาติเข้าไปทำงานในตำแหน่งแม่บ้าน/ผู้ช่วยแม่บ้านอีก คือ ค่านิติกรณ์เอกสารคำขออนุญาตนำเข้าแรงงานเป็นเงิน 100 ดีแรห์ม/คน เงินค้ำประกันสำหรับนายจ้างท้องถิ่น 1,500 ดีแรห์ม/คน สำหรับนายจ้างต่างชาติ 5,000 ดีแรห์ม/คน รวมทั้งค่าธรรมเนียมอีกปีละ 5,000 ดีแรห์ม
หากไม่มีเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งแรงงานและนายจ้างจะต้องจ่ายเป็นจำนวนสูงมากแล้ว ก็นับว่าเป็นข่าวดีที่ทางการยูเออีได้ยกเลิกระเบียบดังกล่าวข้างต้น แต่เมื่อดูอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่แรงงานแม่บ้านฟิลิปปินส์ซึ่งได้ได้รับเพียง 700 ดีแรห์ม/เดือนแล้ว จึงน่าจะเป็นเรื่องหนักหนาสำหรับแม่บ้านไทยที่จะต้องนำเงินเดือนจากน้ำพักน้ำแรงของตนเป็นเวลา 3-4 เดือนมาจ่ายค่าธรรมเนียมและค่าใบอนุญาตต่างๆ จึงขอเตือนแรงงานหญิงไทยให้คิดทบทวนอย่างรอบคอบว่าจะคุ้มหรือไม่ ก่อนที่จะตัดสินใจเดินทางไปทำงานในยูเออี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ดูเหมือนว่าจะเป็นข่าวดีสำหรับแรงงานไทยในตำแหน่งแม่บ้านหรือผู้ช่วยแม่บ้าน เพราะตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 เป็นต้นไป กระทรวงมหาดไทยสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ หรือเราเรียกสั้นๆ ว่า ยูเออี จะยกเลิกคำสั่งห้ามเข้าประเทศชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี สำหรับแรงงานต่างชาติตำแหน่งแม่บ้านหรือผู้ช่วยแม่บ้าน ซึ่งถูกยกเลิกใบอนุญาตการมีถิ่นพำนักในยูเออี เนื่องจากอายุสัญญาจ้างได้สิ้นสุดลง โดยไม่อนุญาตให้เดินทางกลับเข้าไปทำงานในยูเออีอีก จนกว่าจะพ้นช่วงเวลา 1 ปีดังกล่าว
คำสั่งยกเลิกระเบียบข้างต้น จะมีผลทำให้แรงงานต่างชาติในตำแหน่งแม่บ้าน/ผู้ช่วยแม่บ้านที่ถูกยกเลิกสัญญาจ้างอย่างถูกกฎหมาย สามารถเดินทางกลับเข้าไปทำงานในยูเออีได้อีกโดยไม่ต้องรอให้พ้นช่วงระยะ 1 ปี ยกเว้นในกรณีที่มีปัญหาข้อพิพากเกิดขึ้นระหว่างคนงานกับนายจ้าง หรือมีการเลิกจ้างก่อนหมดสัญญา คนงานประเภทนี้จะยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศเป็นเวลา 1 ปีตามระเบียบคนเข้าเมืองของยูเออีต่อไป
นอกจากนี้ ทางการยูเออีได้อนุญาตให้แม่บ้าน/ผู้ช่วยแม่บ้านในยูเออีสามารถย้ายสปอนเซอร์เพื่อไปทำงานกับนายจ้างอื่นได้เหมือนแรงงานประเภทอื่นๆ ทั่วไป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 เป็นต้นไป โดยแรงงานจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนย้ายสปอนเซอร์ประมาณ 500 ดีแรห์ม/คน เงินค้ำประกันสำหรับนายจ้างท้องถิ่น 1,500 ดีแรห์ม/คน สำหรับนายจ้างต่างประเทศ 5,000 ดีแรห์ม/คน ค่าออกใบอนุญาตมีถิ่นพำนัก 100 ดีแรห์ม/คน และค่าบัตรประจำตัว 100 ดีแรห์ม/คน
ยังมีค่าธรรมเนียมสำหรับนายจ้างในการเป็นสปอนเซอร์เพื่อนำแรงงานต่างชาติเข้าไปทำงานในตำแหน่งแม่บ้าน/ผู้ช่วยแม่บ้านอีก คือ ค่านิติกรณ์เอกสารคำขออนุญาตนำเข้าแรงงานเป็นเงิน 100 ดีแรห์ม/คน เงินค้ำประกันสำหรับนายจ้างท้องถิ่น 1,500 ดีแรห์ม/คน สำหรับนายจ้างต่างชาติ 5,000 ดีแรห์ม/คน รวมทั้งค่าธรรมเนียมอีกปีละ 5,000 ดีแรห์ม
หากไม่มีเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งแรงงานและนายจ้างจะต้องจ่ายเป็นจำนวนสูงมากแล้ว ก็นับว่าเป็นข่าวดีที่ทางการยูเออีได้ยกเลิกระเบียบดังกล่าวข้างต้น แต่เมื่อดูอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่แรงงานแม่บ้านฟิลิปปินส์ซึ่งได้ได้รับเพียง 700 ดีแรห์ม/เดือนแล้ว จึงน่าจะเป็นเรื่องหนักหนาสำหรับแม่บ้านไทยที่จะต้องนำเงินเดือนจากน้ำพักน้ำแรงของตนเป็นเวลา 3-4 เดือนมาจ่ายค่าธรรมเนียมและค่าใบอนุญาตต่างๆ จึงขอเตือนแรงงานหญิงไทยให้คิดทบทวนอย่างรอบคอบว่าจะคุ้มหรือไม่ ก่อนที่จะตัดสินใจเดินทางไปทำงานในยูเออี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-