กระทรวงเกษตรฯ เห็นชอบจัดทำโครงการนำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตร หวังให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอนและเห็นประโยชน์จากการทำ Zoning แบบเป็นรูปธรรม พร้อมสนับสนุนการทำ Contract Farming โดยเลือกดำเนินการ 7 สินค้า ใน 9 จังหวัด
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ โดยมี นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และมีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้เห็นชอบให้จัดทำโครงการนำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตร เพื่อต้องการให้เกษตรกรเห็นประโยชน์จากการทำ Zoning อย่างเป็นรูปธรรม โดยเลือกดำเนินการ 7 สินค้า ใน 9 จังหวัด ได้แก่ มันสำปะหลัง (จังหวัดนครราชสีมา), สับปะรด (ประจวบคีรีขันธ์), ยางพารา (ระยอง, สงขลา), ลำไย (เชียงใหม่, ลำพูน), ทุเรียน (จันทบุรี), ข้าว (ลพบุรี) และ ปาล์มน้ำมัน (กระบี่)
ซึ่งเหตุผลที่คณะอนุกรรมการฯ ได้เลือกสินค้าเป้าหมายดังกล่าว เพราะต้องการทำโครงการนำร่องสินค้า 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าที่มีอนาคต ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าว และกลุ่มสินค้าที่มีปัญหา ได้แก่ลำไย สับปะรด และทุเรียน ส่วนการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายนั้น ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของพืชนำร่องอยู่แล้ว เช่น จังหวัดนครราชสีมาเป็นแหล่งผลิตมันสำปะหลัง จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เป็นแหล่งผลิตลำไย และจังหวัดกระบี่เป็นแหล่งผลิตปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
สำหรับการทำโครงการนำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจครั้งนี้ นอกจากต้องการให้เกษตรกรเห็นประโยชน์จากการทำ Zoning แล้ว ยังสนับสนุนการทำ Contract Farming เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอน และเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ โดยมี นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และมีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้เห็นชอบให้จัดทำโครงการนำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตร เพื่อต้องการให้เกษตรกรเห็นประโยชน์จากการทำ Zoning อย่างเป็นรูปธรรม โดยเลือกดำเนินการ 7 สินค้า ใน 9 จังหวัด ได้แก่ มันสำปะหลัง (จังหวัดนครราชสีมา), สับปะรด (ประจวบคีรีขันธ์), ยางพารา (ระยอง, สงขลา), ลำไย (เชียงใหม่, ลำพูน), ทุเรียน (จันทบุรี), ข้าว (ลพบุรี) และ ปาล์มน้ำมัน (กระบี่)
ซึ่งเหตุผลที่คณะอนุกรรมการฯ ได้เลือกสินค้าเป้าหมายดังกล่าว เพราะต้องการทำโครงการนำร่องสินค้า 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าที่มีอนาคต ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าว และกลุ่มสินค้าที่มีปัญหา ได้แก่ลำไย สับปะรด และทุเรียน ส่วนการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายนั้น ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของพืชนำร่องอยู่แล้ว เช่น จังหวัดนครราชสีมาเป็นแหล่งผลิตมันสำปะหลัง จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เป็นแหล่งผลิตลำไย และจังหวัดกระบี่เป็นแหล่งผลิตปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
สำหรับการทำโครงการนำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจครั้งนี้ นอกจากต้องการให้เกษตรกรเห็นประโยชน์จากการทำ Zoning แล้ว ยังสนับสนุนการทำ Contract Farming เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอน และเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-