วันนี้(10 พ.ค.) นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวว่า จากการที่ศาลปกครองได้มีคำสั่งเพิกถอนคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ กรณีให้บริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) จ่ายค่าสัมปทานปี 230 ล้านบาท จากที่ต้องจ่ายปีละ 1000 ล้านบาท รวมทั้งเพิกถอนให้ไอทีวี ปรับลดสัดส่วนนำเสนอรายการ ข่าวสาร สาระ ต่อรายการบันเทิงจากเดิม 70 ต่อ 30 เป็น 50 ต่อ 50 จึงมีข้อที่น่าสังเกตว่า รัฐบาลชุดนี้มีความจริงใจต่อการรักษาผลประโยชน์มากน้อยเพียงใด เพราะจากการตัดสินของอนุญาโตตุลาการให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) แพ้ไอทีวี เมื่อปี 2547 รัฐบาลไม่ได้เร่งรีบในการเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์กลับคืนมาสู่รัฐ แม้จะมีการกดดันจากมวลชน ซึ่งทำให้เห็นถึงพฤติกรรม 2 ลักษณะ คือ 1. การเลือกปฏิบัติ เห็นได้จาก กรณีค่าโง่ทางด่วน 6,200 ล้านบาท ที่นายกฯแสดงท่าทีขึงขังในการปกป้องผลประโยชน์ให้กับรัฐ โดยการตั้งทีมกฎหมายยื่นอุทรณ์เพื่อจะไม่จ่ายค่าโง่ดังกล่าวภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน แตกต่างจากที่สปน.ใช้เวลา2 เดือนกว่าในการยื่นคำร้องศาลปกครอง เพื่อเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และยังมีคำถามตามมาว่า การที่สปน.ฟ้องไอทีวีนั้น เพื่อลดกระแสความไม่พอใจทางสังคม
และ 2 . การเจรจาต่อรองที่ส่อแววว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยมีความพยายามในการเปิดช่องให้ไอทีวี ละเมิดสัญญาขยายช่วงเวลา ไพรม์ไทม์ จากเดิม 19.00 - 21.30 น. เป็น 18.00-23.00 น. รวมทั้งปรับผังรายการให้มีรายการบันเทิงรวมอยู่ช่วงเวลาข่าว โดยอ้างมติครม. เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 46 ที่กำหนดให้ออกอากาศรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว ในช่วงไพรม์ไทม์ 18.00-23.00 น.มาสร้างความชอบธรรมให้กับการปรับผังของไอทีวี
“พฤติกรรมในขณะนั้นมีความน่าเคลือบแคลง สงสัยเป็นเสมือนละครฉากใหญ่ที่หลอกลวงประชาชน ไม่ผิดกับคำวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้านี้ ที่มีเสียงครหาถึงการสมรู้ร่วมคิด แบบแยบยล บ่งชี้ถึงความน่าสงสัย ว่าอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ เพราะกิจการไอทีวีในขณะนั้นก็คือ 1 ในเครือชินคอร์ป ซึ่งยังเป็นของตระกูลของชินวัตรอยู่ วันนี้คำตัดสินศาลปกครองที่ให้สปน. เป็นผู้มีชัย อาจไม่ใช่การสิ้นสุดกรณีพิพาท แต่เป็นการแสดงให้เห็นทาสแท้รัฐบาล ที่ยอมให้ประชาชนได้รับประโยชน์เมื่อตนเองไม่มีผลประโยชน์ในกิจการนั้นแล้ว ” นายเกรียงศักดิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 พ.ค. 2549--จบ--
และ 2 . การเจรจาต่อรองที่ส่อแววว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยมีความพยายามในการเปิดช่องให้ไอทีวี ละเมิดสัญญาขยายช่วงเวลา ไพรม์ไทม์ จากเดิม 19.00 - 21.30 น. เป็น 18.00-23.00 น. รวมทั้งปรับผังรายการให้มีรายการบันเทิงรวมอยู่ช่วงเวลาข่าว โดยอ้างมติครม. เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 46 ที่กำหนดให้ออกอากาศรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว ในช่วงไพรม์ไทม์ 18.00-23.00 น.มาสร้างความชอบธรรมให้กับการปรับผังของไอทีวี
“พฤติกรรมในขณะนั้นมีความน่าเคลือบแคลง สงสัยเป็นเสมือนละครฉากใหญ่ที่หลอกลวงประชาชน ไม่ผิดกับคำวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้านี้ ที่มีเสียงครหาถึงการสมรู้ร่วมคิด แบบแยบยล บ่งชี้ถึงความน่าสงสัย ว่าอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ เพราะกิจการไอทีวีในขณะนั้นก็คือ 1 ในเครือชินคอร์ป ซึ่งยังเป็นของตระกูลของชินวัตรอยู่ วันนี้คำตัดสินศาลปกครองที่ให้สปน. เป็นผู้มีชัย อาจไม่ใช่การสิ้นสุดกรณีพิพาท แต่เป็นการแสดงให้เห็นทาสแท้รัฐบาล ที่ยอมให้ประชาชนได้รับประโยชน์เมื่อตนเองไม่มีผลประโยชน์ในกิจการนั้นแล้ว ” นายเกรียงศักดิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 พ.ค. 2549--จบ--