เป็นความเจ็บปวดของผู้รักประชาธิปไตย และผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตทุกครั้ง ที่เหตุผลในการยึดอำนาจ ปฏิวัติ รัฐประหาร จะต้องกล่าวถึงปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ปี พ.ศ.๒๕๔๙ ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น
ทั้งที่ก่อนหน้านี้เกือบ ๙ ปี เราเคยเชื่อกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จะทำให้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง มีความโปร่งใส ใช้อำนาจอย่างถูกต้อง เพราะจะมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุล ที่เข้มแข็ง
การทุจริตทั้งหลายที่เกิดขึ้นในยุคของ “ระบอบทักษิณ” จึงเป็นบทเรียนราคาแพง ทั้งในรูปของเงินของประชาชนที่สูญหาย บริการสาธารณะที่ด้อยคุณภาพ รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยที่ถูกเว้นวรรค ตลอดจนผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
ในฐานะนักการเมืองในวิถีทางรัฐสภา ผมและสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ครั้งที่อดีตนายกฯ ชวน หลีกภัย และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค มาจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยละเลยหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริต ดังจะเห็นได้ถึงเรื่องราวที่มีการตรวจสอบโดยกลไกต่าง ๆ ในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวที่พรรค หรือสมาชิกของพรรคได้ดำเนินการ ทั้งในคณะกรรมาธิการต่าง ๆ การติดตามตรวจสอบจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรง การเสนอกระทู้และญัตติในสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และการยื่นถอดถอนรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นต้นมา
การทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเมืองของเรา ใน ๔-๕ ปี ที่ผ่านมา และคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยในกระบวนการตรวจสอบในปัจจุบัน ตลอดจนการคิดถึงอนาคตว่า ทำอย่างไร การทุจริตเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก หรือหากเกิดขึ้นอีก ทำอย่างไรให้เราจะสามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ ภายใต้กรอบกติกาของประชาธิปไตย สิ่งที่น่าจะเป็นบทสรุปได้มีดังต่อไปนี้
๑. การทุจริตซับซ้อนขึ้น มีทุจริตรูปแบบใหม่ ขณะที่ทุจริตแบบเก่าก็ไม่หมดไป หลายกรณีที่เกิดขึ้นเหมือนดูหนังเก่าซ้ำซาก เช่น ปัญหาสินบน การทุจริตจากงบประมาณ โครงการแทรกแซงต่างๆ อีกหลายกรณีแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาคเอกชนในกระบวน การทุจริต ในรูปแบบของการสมยอมกันในการเสนอราคา ซึ่งพรรคได้ผลักดันกฎหมายให้เป็นความผิดอาญาในสมัยรัฐบาลชวน ๒ แต่การใช้กฎหมายยังไม่สัมฤทธิผล แต่ที่สำคัญที่สุดคือการเติบโตของการทุจริตเชิงนโยบาย ที่เริ่มตั้งแต่การคิดโครงการ/นโยบาย โดยมีเป้าหมายในการเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจของผู้มีอำนาจและผู้เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน บางเรื่องกลายเป็นการทุจริตที่อาจไม่ผิดกฎหมาย เพราะ ความซับซ้อน หรือ ความแนบเนียนทางกระบวนการที่เกิดขึ้น บทเรียนที่เกิดขึ้นก็คือ เราจำเป็นที่จะต้องผลักดันกฎหมายใหม่ๆ หรือ ปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ ให้มีความเข้มงวดกวดขันมากขึ้น ในการห้ามการมีผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ บังคับให้มีการเปิดเผยผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งและครอบครัว เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้กฎหมายจะต้องสามารถใช้ข้อเท็จจริงในภาพรวมของการทุจริตมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา มากกว่าดูเพียงแค่ว่าการกระทำในแต่ละขั้นตอนผิดกฎระเบียบหรือไม่
๒. กระบวนการของรัฐสภา ต้องได้รับการส่งเสริม และสานต่อ กรณีการทุจริตต่างๆ เคยได้รับการ
ตรวจสอบในกระบวนการของสภาเกือบทั้งสิ้น แต่ “ระบอบทักษิณ” ประสบความสำเร็จในการลดความสำคัญของกระบวนการของสภา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี หลีกเลี่ยงการมาตอบกระทู้ โดยสังคมไม่เห็นเป็นเรื่องสำคัญ การอภิปรายในสภาได้รับความสนใจน้อยกว่าที่ควร จนทำให้การรับรู้เรื่องต่างๆเหล่านี้มีน้อย กระทั่งหลายคนเพิ่งทราบจากการตรวจสอบหลังรัฐประหาร นอกจากนั้น แม้ในกรณีที่การอภิปรายได้รับความสนใจ เช่น กรณี CTX หน่วยงานที่มีอำนาจก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการอภิปรายในการดำเนินการเอาผิดอย่างจริงจัง
สังคมจึงต้องมีการตื่นตัวว่า กระบวนการรัฐสภา ไม่ใช่ พิธีกรรม ไม่ใช่เกมการเมือง แต่เป็นการนำเสนอข้อมูลให้ครบถ้วนทุกด้าน หากฝ่ายตรวจสอบเหลวไหลก็จะเสียหายเอง และในอนาคตจำเป็นจะต้องให้รัฐสภามีความสามารถในการตรวจสอบมากขึ้น เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และการสร้างทัศนคติ และค่านิยมที่ถูกต้อง ในการให้ฝ่ายบริหารร่วมมือกับการตรวจสอบของสภา
๓. สื่อมวลชนต้องมีเสรีภาพในการเสนอความจริง ปัญหาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ซึ่ง
จะช่วยปราบผู้ทุจริต เกี่ยวพันกับปัญหาการแทรกแซงสื่อมวลชนอย่างใกล้ชิด แต่สื่อที่ตรวจสอบรัฐบาลทักษิณกลับถูกแทรกแซง คุกคามด้วยวิธีการต่างๆ และผู้จัดรายการโทรทัศน์และวิทยุหลายรายที่ทำงานอย่างตรง ไปตรงมากลับถูกขจัดออกไปจากสื่อหลัก รายการที่จะช่วยให้ประชาชนรับรู้และช่วยตรวจสอบ หายไปจากสถานีโทรทัศน์ต่างๆ โดยลำดับ การจะป้องปรามและติดตามการทุจริตไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ภายใต้สภาวะแวดล้อม เช่นนี้ เราจำเป็นจะต้องมีกฎหมายคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ และให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนและฝ่ายตรวจสอบในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆมากกว่านี้
๔. ภาคราชการต้องรับใช้ประชาชนมากกว่านักการเมือง แม้กลไกราชการจะต้องทำหน้าที่สนอง และ
ขับเคลื่อนนโยบาย แต่ราชการต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือจำนนต่อผู้มีอำนาจที่กระทำความผิด หลายกรณีที่เกิดขึ้น ราชการพยายามช่วยฝ่ายการเมืองให้พ้นผิดอย่างชัดเจน เช่น กรณีการวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องภาษี บางกรณีเมื่อมีการยื่นถอดถอนไปยังปปช. ปปช. กลับสรุปว่ามีการกระทำผิด แต่ผิดที่ระดับเจ้าหน้าที่ ทั้งๆที่ผู้ได้ประโยชน์ คือ นักการเมืองและพวกพ้อง เราจึงจำเป็นต้องมีกลไกคุ้มครองข้าราชการที่ดีเพื่อให้เจ้าหน้าที่กล้ายืนหยัดความถูกต้อง โดยไม่ต้องกลัวการกลั่นแกล้งจากฝ่ายการเมือง
๕. ถึงเวลาที่ภาคธุรกิจจะต้องมาร่วมต่อสู้เรื่องนี้ การทุจริตหลายกรณีเกิดขึ้นไม่ได้หากภาคธุรกิจยึด
หลักธรรมาภิบาล หากธุรกิจไม่ตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐ เพื่อให้การแข่งขันทางธุรกิจเป็นไปอย่างโปร่งใส และ แข่งขันกันด้วยคุณภาพ และ ประสิทธิภาพ การทุจริตเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจก็ดำเนินต่อไป ในอารยประเทศ บทบาทขององค์กรภาคธุรกิจในเรื่องนี้มีไม่น้อย ตั้งแต่การตกลงร่วมกันว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต การช่วยกันสอดส่องอย่างเป็นระบบ และร่วมมือกับภาครัฐอย่างเป็นระบบ
๖. ขยายเสรีภาพประชาชน พรรคประชาธิปัตย์หรือฝ่ายค้านไม่ได้ต่อสู้กับเรื่องนี้โดยลำพัง แต่มี
ประชาชนจำนวนหนึ่งที่ได้พยายามทำหน้าที่นี้ด้วย แต่ประสบกับอุปสรรคนาๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นแต่อยู่ในการครอบครองของราชการ ข้อจำกัดที่ไม่สามารถฟ้องร้องได้เพราะถูกตีความว่าไม่ใช่ผู้เสียหาย การแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ แต่คดีไม่คืบหน้า การถูกข่มขู่คุกคาม หากคิดจะปราบทุจริตอย่างจริงจัง จะต้องแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น ปรับปรุงกฎหมายข้อมูลข่าวสาร กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เสียหายในคดีทุจริต การปฏิรูปตำรวจ การเพิ่มกลไกคุ้มครองพยาน ซึ่งประเด็นเหล่านี้พรรคถือเป็นสิ่งหนึ่งของ “วาระประชาชน” ที่จะต้องผลักดันอย่างต่อเนื่องต่อไป
ประเทศไทยสูญเสียมามากแล้วจากปัญหาการทุจริต และจะสูญเสียโอกาสอย่างสำคัญหากเราไม่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ หวังว่าทุกกรณีจะได้รับการสะสาง และหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้
*(บทความนี้ดัดแปลงมาจากคำนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในสมุดปกดำ)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 ธ.ค. 2549--จบ--
ปี พ.ศ.๒๕๔๙ ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น
ทั้งที่ก่อนหน้านี้เกือบ ๙ ปี เราเคยเชื่อกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จะทำให้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง มีความโปร่งใส ใช้อำนาจอย่างถูกต้อง เพราะจะมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุล ที่เข้มแข็ง
การทุจริตทั้งหลายที่เกิดขึ้นในยุคของ “ระบอบทักษิณ” จึงเป็นบทเรียนราคาแพง ทั้งในรูปของเงินของประชาชนที่สูญหาย บริการสาธารณะที่ด้อยคุณภาพ รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยที่ถูกเว้นวรรค ตลอดจนผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
ในฐานะนักการเมืองในวิถีทางรัฐสภา ผมและสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ครั้งที่อดีตนายกฯ ชวน หลีกภัย และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค มาจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยละเลยหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริต ดังจะเห็นได้ถึงเรื่องราวที่มีการตรวจสอบโดยกลไกต่าง ๆ ในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวที่พรรค หรือสมาชิกของพรรคได้ดำเนินการ ทั้งในคณะกรรมาธิการต่าง ๆ การติดตามตรวจสอบจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรง การเสนอกระทู้และญัตติในสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และการยื่นถอดถอนรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นต้นมา
การทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเมืองของเรา ใน ๔-๕ ปี ที่ผ่านมา และคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยในกระบวนการตรวจสอบในปัจจุบัน ตลอดจนการคิดถึงอนาคตว่า ทำอย่างไร การทุจริตเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก หรือหากเกิดขึ้นอีก ทำอย่างไรให้เราจะสามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ ภายใต้กรอบกติกาของประชาธิปไตย สิ่งที่น่าจะเป็นบทสรุปได้มีดังต่อไปนี้
๑. การทุจริตซับซ้อนขึ้น มีทุจริตรูปแบบใหม่ ขณะที่ทุจริตแบบเก่าก็ไม่หมดไป หลายกรณีที่เกิดขึ้นเหมือนดูหนังเก่าซ้ำซาก เช่น ปัญหาสินบน การทุจริตจากงบประมาณ โครงการแทรกแซงต่างๆ อีกหลายกรณีแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาคเอกชนในกระบวน การทุจริต ในรูปแบบของการสมยอมกันในการเสนอราคา ซึ่งพรรคได้ผลักดันกฎหมายให้เป็นความผิดอาญาในสมัยรัฐบาลชวน ๒ แต่การใช้กฎหมายยังไม่สัมฤทธิผล แต่ที่สำคัญที่สุดคือการเติบโตของการทุจริตเชิงนโยบาย ที่เริ่มตั้งแต่การคิดโครงการ/นโยบาย โดยมีเป้าหมายในการเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจของผู้มีอำนาจและผู้เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน บางเรื่องกลายเป็นการทุจริตที่อาจไม่ผิดกฎหมาย เพราะ ความซับซ้อน หรือ ความแนบเนียนทางกระบวนการที่เกิดขึ้น บทเรียนที่เกิดขึ้นก็คือ เราจำเป็นที่จะต้องผลักดันกฎหมายใหม่ๆ หรือ ปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ ให้มีความเข้มงวดกวดขันมากขึ้น ในการห้ามการมีผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ บังคับให้มีการเปิดเผยผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งและครอบครัว เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้กฎหมายจะต้องสามารถใช้ข้อเท็จจริงในภาพรวมของการทุจริตมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา มากกว่าดูเพียงแค่ว่าการกระทำในแต่ละขั้นตอนผิดกฎระเบียบหรือไม่
๒. กระบวนการของรัฐสภา ต้องได้รับการส่งเสริม และสานต่อ กรณีการทุจริตต่างๆ เคยได้รับการ
ตรวจสอบในกระบวนการของสภาเกือบทั้งสิ้น แต่ “ระบอบทักษิณ” ประสบความสำเร็จในการลดความสำคัญของกระบวนการของสภา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี หลีกเลี่ยงการมาตอบกระทู้ โดยสังคมไม่เห็นเป็นเรื่องสำคัญ การอภิปรายในสภาได้รับความสนใจน้อยกว่าที่ควร จนทำให้การรับรู้เรื่องต่างๆเหล่านี้มีน้อย กระทั่งหลายคนเพิ่งทราบจากการตรวจสอบหลังรัฐประหาร นอกจากนั้น แม้ในกรณีที่การอภิปรายได้รับความสนใจ เช่น กรณี CTX หน่วยงานที่มีอำนาจก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการอภิปรายในการดำเนินการเอาผิดอย่างจริงจัง
สังคมจึงต้องมีการตื่นตัวว่า กระบวนการรัฐสภา ไม่ใช่ พิธีกรรม ไม่ใช่เกมการเมือง แต่เป็นการนำเสนอข้อมูลให้ครบถ้วนทุกด้าน หากฝ่ายตรวจสอบเหลวไหลก็จะเสียหายเอง และในอนาคตจำเป็นจะต้องให้รัฐสภามีความสามารถในการตรวจสอบมากขึ้น เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และการสร้างทัศนคติ และค่านิยมที่ถูกต้อง ในการให้ฝ่ายบริหารร่วมมือกับการตรวจสอบของสภา
๓. สื่อมวลชนต้องมีเสรีภาพในการเสนอความจริง ปัญหาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ซึ่ง
จะช่วยปราบผู้ทุจริต เกี่ยวพันกับปัญหาการแทรกแซงสื่อมวลชนอย่างใกล้ชิด แต่สื่อที่ตรวจสอบรัฐบาลทักษิณกลับถูกแทรกแซง คุกคามด้วยวิธีการต่างๆ และผู้จัดรายการโทรทัศน์และวิทยุหลายรายที่ทำงานอย่างตรง ไปตรงมากลับถูกขจัดออกไปจากสื่อหลัก รายการที่จะช่วยให้ประชาชนรับรู้และช่วยตรวจสอบ หายไปจากสถานีโทรทัศน์ต่างๆ โดยลำดับ การจะป้องปรามและติดตามการทุจริตไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ภายใต้สภาวะแวดล้อม เช่นนี้ เราจำเป็นจะต้องมีกฎหมายคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ และให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนและฝ่ายตรวจสอบในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆมากกว่านี้
๔. ภาคราชการต้องรับใช้ประชาชนมากกว่านักการเมือง แม้กลไกราชการจะต้องทำหน้าที่สนอง และ
ขับเคลื่อนนโยบาย แต่ราชการต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือจำนนต่อผู้มีอำนาจที่กระทำความผิด หลายกรณีที่เกิดขึ้น ราชการพยายามช่วยฝ่ายการเมืองให้พ้นผิดอย่างชัดเจน เช่น กรณีการวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องภาษี บางกรณีเมื่อมีการยื่นถอดถอนไปยังปปช. ปปช. กลับสรุปว่ามีการกระทำผิด แต่ผิดที่ระดับเจ้าหน้าที่ ทั้งๆที่ผู้ได้ประโยชน์ คือ นักการเมืองและพวกพ้อง เราจึงจำเป็นต้องมีกลไกคุ้มครองข้าราชการที่ดีเพื่อให้เจ้าหน้าที่กล้ายืนหยัดความถูกต้อง โดยไม่ต้องกลัวการกลั่นแกล้งจากฝ่ายการเมือง
๕. ถึงเวลาที่ภาคธุรกิจจะต้องมาร่วมต่อสู้เรื่องนี้ การทุจริตหลายกรณีเกิดขึ้นไม่ได้หากภาคธุรกิจยึด
หลักธรรมาภิบาล หากธุรกิจไม่ตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐ เพื่อให้การแข่งขันทางธุรกิจเป็นไปอย่างโปร่งใส และ แข่งขันกันด้วยคุณภาพ และ ประสิทธิภาพ การทุจริตเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจก็ดำเนินต่อไป ในอารยประเทศ บทบาทขององค์กรภาคธุรกิจในเรื่องนี้มีไม่น้อย ตั้งแต่การตกลงร่วมกันว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต การช่วยกันสอดส่องอย่างเป็นระบบ และร่วมมือกับภาครัฐอย่างเป็นระบบ
๖. ขยายเสรีภาพประชาชน พรรคประชาธิปัตย์หรือฝ่ายค้านไม่ได้ต่อสู้กับเรื่องนี้โดยลำพัง แต่มี
ประชาชนจำนวนหนึ่งที่ได้พยายามทำหน้าที่นี้ด้วย แต่ประสบกับอุปสรรคนาๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นแต่อยู่ในการครอบครองของราชการ ข้อจำกัดที่ไม่สามารถฟ้องร้องได้เพราะถูกตีความว่าไม่ใช่ผู้เสียหาย การแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ แต่คดีไม่คืบหน้า การถูกข่มขู่คุกคาม หากคิดจะปราบทุจริตอย่างจริงจัง จะต้องแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น ปรับปรุงกฎหมายข้อมูลข่าวสาร กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เสียหายในคดีทุจริต การปฏิรูปตำรวจ การเพิ่มกลไกคุ้มครองพยาน ซึ่งประเด็นเหล่านี้พรรคถือเป็นสิ่งหนึ่งของ “วาระประชาชน” ที่จะต้องผลักดันอย่างต่อเนื่องต่อไป
ประเทศไทยสูญเสียมามากแล้วจากปัญหาการทุจริต และจะสูญเสียโอกาสอย่างสำคัญหากเราไม่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ หวังว่าทุกกรณีจะได้รับการสะสาง และหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้
*(บทความนี้ดัดแปลงมาจากคำนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในสมุดปกดำ)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 ธ.ค. 2549--จบ--