นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่าปัญหาวิกฤตทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงเศรษฐกิจของประเทศประกอบกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงหลายปัจจัย ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจ
ราคาน้ำมันตัวแปรสำคัญ แก้ปัญหาปั่นราคาสินค้าสูง
ราคาน้ำมันยังเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะการชะลอการลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชน และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นภายในประเทศ สังเกตได้จากตัวแปรที่สำคัญ คือ ตัวเลขการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีที่ชะลอลงอย่างชัดเจน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและถึงจุดต่ำสุดในรอบ 2 ปี อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูงอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง (ประมาณร้อยละ 6.0)และมีผลกระทบต่อประชาชนมาก การที่แนวโน้มของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ภาครัฐต้องหาวิธีควบคุมอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศนอกเหนือไปจากการใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (RP-14days) ของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ควรใช้มาตรการอื่นควบคู่ไป ทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาวเพื่อลดและควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันสำหรับประชาชน ในขณะนี้เห็นว่ามีโครงการที่สำคัญ คือ โครงการธงฟ้าราคาประหยัดของ กระทรวงพาณิชย์ ที่น่าจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยควบคุมระดับราคาสินค้าได้ในระยะสั้นเพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รัฐบาลควรขยายโครงการนี้ไปทั่วทุกจังหวัดอย่างเร่งด่วนเพื่อที่จะบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทันที
แก้ปัญหาระยะยาว ลดค่าใช้จ่ายการผลิต
ในส่วนของมาตรการระยะยาวนั้นรัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการช่วยผู้ประกอบการลดค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Efficiency) ของผู้ประกอบการเพื่อลดของเสียจากการผลิตจะทำให้ต้นทุนสินค้าลดลงได้ หรือการใช้มาตรการทางภาษี เช่น อาจลดภาษีให้กับผู้ประกอบการที่มีการลดใช้พลังงานและผลิตสินค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลอาจจำเป็นที่ต้องเข้าไปเจาะลึกในต้นทุนการผลิตสินค้าแต่ละชนิด โดยอาจอาศัยหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการเร่งด่วนเนื่องจากต้องใช้เวลาพอสมควร หรือลดภาษีให้กับผู้ประกอบการที่มีการลงทุนในส่วนของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีคุณภาพมากขึ้นเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในอนาคต
ส่งออกมีปัญหา ต้องเร่งหาตลาดใหม่
ในส่วนของเสถียรภาพทางการเงินนั้น เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างรอบคอบเพื่อควบคุมค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าจนกระทบต่อการส่งออกของประเทศเกินไป และการเฝ้าติดตามการไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างระมัดระวังจึงไม่น่าห่วง แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ การส่งออกที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ต้นปีที่การขยายตัวที่ร้อยละ 17.5 นั้นไม่น่าทำได้ โดยการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบในช่วง 4 เดือนแรกแสดงให้เห็นถึงมูลค่าการสั่งซื้อล่วงหน้าที่ไม่มากอย่างที่คาดการณ์ไว้ รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์คงต้องหาวิธีการใหม่ๆเข้ามาเพิ่มขยายมูลค่าการส่งออก โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่าของสินค้ามากกว่าการเน้นปริมาณที่จะส่งออก เนื่องจากประเทศเวียดนามที่มีสินค้าส่งออกใกล้เคียงกับประเทศไทยมาก ปัจจุบันมีการเพิ่มศักยภาพในการผลิตและคุณภาพของสินค้ามากขึ้นหากรัฐบาลยังไม่ให้ความสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าสินค้าในอนาคตอาจต้องเสียตลาดให้แก่ประเมศเวียดนามก็ได้ เช่น สินค้าข้าว และสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด และต้องขยายตลาดไปในตะวันออกกลางและกลุ่มผู้ค้าน้ำมันให้มากขึ้นและเร่งด่วน เพราะกำลังซื้อที่สำคัญของโลกปัจจุบันอยู่กับกลุ่มประเทศนี้เป็นหลัก แต่ช่วง 4 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลเน้นแต่การเจาะตลาดเก่าๆ เดิมๆ ผู้ซื้อกลุ่มเดิมๆ อย่างไรก็ตามการนำเข้าก็ต้องควบคุม ควรสนับสนุนให้ประชาชนบริโภคสินค้าไทยเพื่อลดการนำเข้าเป็นการแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าในระยะยาว และการรณรงค์ภาคการท่องเที่ยวทั้งนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และการท่องเที่ยวภายในประเทศยังจำเป็นและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อปัองกันปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ในส่วนของภาคการคลังรัฐบาลอาจประสบกับปัญหาการเก็บภาษีได้ไม่ตามเป้าเนื่องจากผลกำไรของบริษัทต่างๆในประเทศอาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ภาครัฐอาจจำเป็นต้องชะลอการลงทุนและการใช้จ่ายที่ยังไม่จำเป็นออกไปก่อนและอาจหาแนวทางการเพิ่มรายได้ที่ไม่กระทบต่อประชาชนในระดับล่าง เช่นการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการผลิตในประเทศ และนำเข้าในปริมาณมาก เป็นต้น
อสังหาฯ น่าเป็นห่วง แก้ได้ด้วยภาษี
ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในช่วงขาลงจากผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยทำให้กำลังซื้อลดลงนั้นรัฐบาลควรหามาตรการมาช่วยเหลือ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ประชาชนที่อยู่ระหว่างผ่อนบ้านอยู่ซึ่งกำลังจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย เพราะคนกลุ่มนี้มีการซื้อบ้านเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยหากขอผ่อนผันให้อัตราดอกเบี้ยคงที่อยู่อาจกระทบไม่มาก แต่ภายในปีหน้าประชาชนกลุ่มนี้อาจจะเริ่มได้รับผลกระทบ กลุ่มที่สอง ประชาชนที่คิดจะซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นชะลอการตัดสินใจเนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่สูงและความไม่มั่นใจของรายได้ในอนาคตเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ และกลุ่มสุดท้าย คือ ผู้ประกอบการที่สร้างบ้าน หรือคอนโดไปแล้วแต่ไม่มีคนซื้อจะทำให้เกิดปัญหา NPL ได้ในอนาคต โดยรัฐบาลอาจให้ผู้ซื้อที่ผ่อนบ้านอยู่นั้นสามารถนำไปลดภาษีได้มากขึ้นเพื่อลดภาระจากราคาดอกเบี้ย ส่วนผู้ที่กำลังจะซื้อนั้นภาครัฐอาจช่วยเหลือโดยการลดค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อจูงใจให้ซื้อได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ประกอบการจะได้รับผลพลอยได้จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐไปเองโดยอัตโนมัติ
สรุป
ภาวะเศษฐกิจของประเทศไทยในช่วงแรกของปี นอกจากประเทศจะเผชิญปัญหาทางการเมืองภายในแล้ว ยังเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเหมือนกับทุกประเทศทั่วโลก ทำให้สินค้าแพงขึ้น เงินเฟ้อสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประชาชนและนักลงทุนลดลง เต่รัฐบาลกลับไม่มีนโยบายที่ชัดเจนและจริงใจในการที่จะแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน มาตรการต่างๆที่ออกมาส่วนใหญ่เน้นการหาคะแนนเสียงมากกว่าที่จะเข้าไปแก้ปัญหาจริงๆ การพยายามอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบผ่านโครงการของรัฐนั้นนอกจากทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีปัญหาแล้ว ยังทำให้ประชาชนใช้จ่ายและบริโภคเกินตัวและอาจทำให้หนี้ในระบบสูงขึ้นตามไปด้วย ควรสนับสนุนให้ประชาชนใช้จ่ายอย่างพอเพียงและออมเงินไว้เพื่ออนาคต ตามแนวทางพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง และรัฐบาลเองก็ไม่ควรใช้จ่ายเกินตัวเช่นกันเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชน และควรดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจโดยยึดเอาประชาชนและระบบเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ไม่ควรเน้นแต่นโยบายเพื่อการหาเสียงแล้วค่อยตามไปแก้ไขหลังการเลือกตั้ง เหมือนตอนที่รัฐบาลเลิกอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลหลังการเลือกตั้งครั้งล่าสุด และขึ้นราคาน้ำมันทันทีทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 มิ.ย. 2549--จบ--
ราคาน้ำมันตัวแปรสำคัญ แก้ปัญหาปั่นราคาสินค้าสูง
ราคาน้ำมันยังเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะการชะลอการลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชน และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นภายในประเทศ สังเกตได้จากตัวแปรที่สำคัญ คือ ตัวเลขการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีที่ชะลอลงอย่างชัดเจน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและถึงจุดต่ำสุดในรอบ 2 ปี อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูงอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง (ประมาณร้อยละ 6.0)และมีผลกระทบต่อประชาชนมาก การที่แนวโน้มของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ภาครัฐต้องหาวิธีควบคุมอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศนอกเหนือไปจากการใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (RP-14days) ของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ควรใช้มาตรการอื่นควบคู่ไป ทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาวเพื่อลดและควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันสำหรับประชาชน ในขณะนี้เห็นว่ามีโครงการที่สำคัญ คือ โครงการธงฟ้าราคาประหยัดของ กระทรวงพาณิชย์ ที่น่าจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยควบคุมระดับราคาสินค้าได้ในระยะสั้นเพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รัฐบาลควรขยายโครงการนี้ไปทั่วทุกจังหวัดอย่างเร่งด่วนเพื่อที่จะบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทันที
แก้ปัญหาระยะยาว ลดค่าใช้จ่ายการผลิต
ในส่วนของมาตรการระยะยาวนั้นรัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการช่วยผู้ประกอบการลดค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Efficiency) ของผู้ประกอบการเพื่อลดของเสียจากการผลิตจะทำให้ต้นทุนสินค้าลดลงได้ หรือการใช้มาตรการทางภาษี เช่น อาจลดภาษีให้กับผู้ประกอบการที่มีการลดใช้พลังงานและผลิตสินค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลอาจจำเป็นที่ต้องเข้าไปเจาะลึกในต้นทุนการผลิตสินค้าแต่ละชนิด โดยอาจอาศัยหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการเร่งด่วนเนื่องจากต้องใช้เวลาพอสมควร หรือลดภาษีให้กับผู้ประกอบการที่มีการลงทุนในส่วนของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีคุณภาพมากขึ้นเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในอนาคต
ส่งออกมีปัญหา ต้องเร่งหาตลาดใหม่
ในส่วนของเสถียรภาพทางการเงินนั้น เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างรอบคอบเพื่อควบคุมค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าจนกระทบต่อการส่งออกของประเทศเกินไป และการเฝ้าติดตามการไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างระมัดระวังจึงไม่น่าห่วง แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ การส่งออกที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ต้นปีที่การขยายตัวที่ร้อยละ 17.5 นั้นไม่น่าทำได้ โดยการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบในช่วง 4 เดือนแรกแสดงให้เห็นถึงมูลค่าการสั่งซื้อล่วงหน้าที่ไม่มากอย่างที่คาดการณ์ไว้ รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์คงต้องหาวิธีการใหม่ๆเข้ามาเพิ่มขยายมูลค่าการส่งออก โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่าของสินค้ามากกว่าการเน้นปริมาณที่จะส่งออก เนื่องจากประเทศเวียดนามที่มีสินค้าส่งออกใกล้เคียงกับประเทศไทยมาก ปัจจุบันมีการเพิ่มศักยภาพในการผลิตและคุณภาพของสินค้ามากขึ้นหากรัฐบาลยังไม่ให้ความสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าสินค้าในอนาคตอาจต้องเสียตลาดให้แก่ประเมศเวียดนามก็ได้ เช่น สินค้าข้าว และสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด และต้องขยายตลาดไปในตะวันออกกลางและกลุ่มผู้ค้าน้ำมันให้มากขึ้นและเร่งด่วน เพราะกำลังซื้อที่สำคัญของโลกปัจจุบันอยู่กับกลุ่มประเทศนี้เป็นหลัก แต่ช่วง 4 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลเน้นแต่การเจาะตลาดเก่าๆ เดิมๆ ผู้ซื้อกลุ่มเดิมๆ อย่างไรก็ตามการนำเข้าก็ต้องควบคุม ควรสนับสนุนให้ประชาชนบริโภคสินค้าไทยเพื่อลดการนำเข้าเป็นการแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าในระยะยาว และการรณรงค์ภาคการท่องเที่ยวทั้งนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และการท่องเที่ยวภายในประเทศยังจำเป็นและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อปัองกันปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ในส่วนของภาคการคลังรัฐบาลอาจประสบกับปัญหาการเก็บภาษีได้ไม่ตามเป้าเนื่องจากผลกำไรของบริษัทต่างๆในประเทศอาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ภาครัฐอาจจำเป็นต้องชะลอการลงทุนและการใช้จ่ายที่ยังไม่จำเป็นออกไปก่อนและอาจหาแนวทางการเพิ่มรายได้ที่ไม่กระทบต่อประชาชนในระดับล่าง เช่นการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการผลิตในประเทศ และนำเข้าในปริมาณมาก เป็นต้น
อสังหาฯ น่าเป็นห่วง แก้ได้ด้วยภาษี
ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในช่วงขาลงจากผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยทำให้กำลังซื้อลดลงนั้นรัฐบาลควรหามาตรการมาช่วยเหลือ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ประชาชนที่อยู่ระหว่างผ่อนบ้านอยู่ซึ่งกำลังจะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย เพราะคนกลุ่มนี้มีการซื้อบ้านเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยหากขอผ่อนผันให้อัตราดอกเบี้ยคงที่อยู่อาจกระทบไม่มาก แต่ภายในปีหน้าประชาชนกลุ่มนี้อาจจะเริ่มได้รับผลกระทบ กลุ่มที่สอง ประชาชนที่คิดจะซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นชะลอการตัดสินใจเนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่สูงและความไม่มั่นใจของรายได้ในอนาคตเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ และกลุ่มสุดท้าย คือ ผู้ประกอบการที่สร้างบ้าน หรือคอนโดไปแล้วแต่ไม่มีคนซื้อจะทำให้เกิดปัญหา NPL ได้ในอนาคต โดยรัฐบาลอาจให้ผู้ซื้อที่ผ่อนบ้านอยู่นั้นสามารถนำไปลดภาษีได้มากขึ้นเพื่อลดภาระจากราคาดอกเบี้ย ส่วนผู้ที่กำลังจะซื้อนั้นภาครัฐอาจช่วยเหลือโดยการลดค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อจูงใจให้ซื้อได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ประกอบการจะได้รับผลพลอยได้จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐไปเองโดยอัตโนมัติ
สรุป
ภาวะเศษฐกิจของประเทศไทยในช่วงแรกของปี นอกจากประเทศจะเผชิญปัญหาทางการเมืองภายในแล้ว ยังเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเหมือนกับทุกประเทศทั่วโลก ทำให้สินค้าแพงขึ้น เงินเฟ้อสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประชาชนและนักลงทุนลดลง เต่รัฐบาลกลับไม่มีนโยบายที่ชัดเจนและจริงใจในการที่จะแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน มาตรการต่างๆที่ออกมาส่วนใหญ่เน้นการหาคะแนนเสียงมากกว่าที่จะเข้าไปแก้ปัญหาจริงๆ การพยายามอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบผ่านโครงการของรัฐนั้นนอกจากทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีปัญหาแล้ว ยังทำให้ประชาชนใช้จ่ายและบริโภคเกินตัวและอาจทำให้หนี้ในระบบสูงขึ้นตามไปด้วย ควรสนับสนุนให้ประชาชนใช้จ่ายอย่างพอเพียงและออมเงินไว้เพื่ออนาคต ตามแนวทางพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง และรัฐบาลเองก็ไม่ควรใช้จ่ายเกินตัวเช่นกันเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชน และควรดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจโดยยึดเอาประชาชนและระบบเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ไม่ควรเน้นแต่นโยบายเพื่อการหาเสียงแล้วค่อยตามไปแก้ไขหลังการเลือกตั้ง เหมือนตอนที่รัฐบาลเลิกอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลหลังการเลือกตั้งครั้งล่าสุด และขึ้นราคาน้ำมันทันทีทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน.
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 มิ.ย. 2549--จบ--