สศอ.ชี้อุตฯไทยยังโตแข็งแกร่ง แม้ปัจจัยลบกระทบเพียบ ดัชนีอุตฯพุ่ง 4 เดือนติดต่อกัน เผยคอมพ์ฯ-ยานยนต์ ยอดการผลิต การส่งออกไปได้ต่อ ส่งดัชนีอุตฯ เม.ย.พุ่งร้อยละ 5.32 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายน อยู่ที่ระดับ 143.45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.32 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 136.20 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 63.2
สำหรับในเดือนเมษายน ดัชนีอุตสาหกรรมมีการปรับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 147.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.02 จากระดับ 140.71 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 129.95 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95 จากระดับ 128.73 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 173.41 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.32 จากระดับ 150.38 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 137.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.56 จากระดับ 135.38
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วยดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 143.65 ลดลงร้อยละ 3.67 จากระดับ 149.12 และ ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 105.52 ลดลงร้อยละ 0.19 จากระดับ 105.72
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า นับจากเดือนมกราคม 2549 ถึงเดือนเมษายน 2549 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทย ถึงแม้จะมีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโดยรวมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สำหรับเดือนนี้มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ การผลิตยานยนต์ และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
โดย การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตสินค้าในกลุ่มมีการขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 23.5 เนื่องจากปีก่อนมีผู้ผลิตรายใหญ่ที่ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ยังไม่สามารถเดินเครื่องการผลิตได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ในปีนี้สามารถผลิตได้มากขึ้น อีกทั้งแรงสนับสนุนจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี Hard Disk Drive ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้ความต้องการใช้ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีก่อน
ส่วน การผลิตยานยนต์ ในเดือนเมษายนถึงแม้จะมีวันทำงานที่น้อยลง เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลหยุดสงกรานต์ ทำให้ส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการจำหน่าย ซึ่งทั้งบริษัทผู้ผลิตรวมถึงตัวแทนจำหน่ายได้ชะลอคำสั่งซื้อเพราะต้องให้ผ่านช่วงเทศกาลไปก่อน อย่างไรก็ตามการผลิตยานยนต์ของประเทศไทย เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวได้ถึงร้อยละ 7 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากยอดการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรถบรรทุก 1 ตันที่มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 44 จากเมื่อเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 37
และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งการผลิตและจำหน่ายเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปีนี้มีทิศทางขยายตัวได้ดี เนื่องจากแรงสนับสนุนของการขยายตัวในตลาดโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ IC Monolithic และ Other IC ยกเว้นหลอดภาพสำหรับจอโทรทัศน์และหลอดคอมพิวเตอร์ ซึ่งความต้องการของตลาดลดลง
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนเมษายนยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำดื่ม
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนมีการผลิตและจำหน่ายที่ชะลอลงเล็กน้อย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัว ซึ่งเริ่มส่งผลต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ต้องใช้เหล็ก รวมทั้งภาวะต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน จึงส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายเหล็กลดลง
การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำดื่ม การผลิตและจำหน่ายโดยรวมในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้ความต้องการสินค้าในกลุ่มลดลงไปด้วย โดยผู้บริโภคบางส่วนเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จากการดื่มเหล้าที่ต้องผสมโซดาและน้ำ ซึ่งมีความยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงหันไปบริโภคเครื่องดื่มชนิดอื่นแทน เช่น เบียร์ เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2549 โดยเก็บข้อมูลจาก 2,121 โรงงาน 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายน อยู่ที่ระดับ 143.45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.32 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่ระดับ 136.20 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 63.2
สำหรับในเดือนเมษายน ดัชนีอุตสาหกรรมมีการปรับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 147.77 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.02 จากระดับ 140.71 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 129.95 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95 จากระดับ 128.73 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 173.41 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.32 จากระดับ 150.38 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 137.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.56 จากระดับ 135.38
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วยดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 143.65 ลดลงร้อยละ 3.67 จากระดับ 149.12 และ ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 105.52 ลดลงร้อยละ 0.19 จากระดับ 105.72
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า นับจากเดือนมกราคม 2549 ถึงเดือนเมษายน 2549 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทย ถึงแม้จะมีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโดยรวมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สำหรับเดือนนี้มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ การผลิตยานยนต์ และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
โดย การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตสินค้าในกลุ่มมีการขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 23.5 เนื่องจากปีก่อนมีผู้ผลิตรายใหญ่ที่ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ยังไม่สามารถเดินเครื่องการผลิตได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ในปีนี้สามารถผลิตได้มากขึ้น อีกทั้งแรงสนับสนุนจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี Hard Disk Drive ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้ความต้องการใช้ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีก่อน
ส่วน การผลิตยานยนต์ ในเดือนเมษายนถึงแม้จะมีวันทำงานที่น้อยลง เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลหยุดสงกรานต์ ทำให้ส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการจำหน่าย ซึ่งทั้งบริษัทผู้ผลิตรวมถึงตัวแทนจำหน่ายได้ชะลอคำสั่งซื้อเพราะต้องให้ผ่านช่วงเทศกาลไปก่อน อย่างไรก็ตามการผลิตยานยนต์ของประเทศไทย เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวได้ถึงร้อยละ 7 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากยอดการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรถบรรทุก 1 ตันที่มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 44 จากเมื่อเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 37
และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งการผลิตและจำหน่ายเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปีนี้มีทิศทางขยายตัวได้ดี เนื่องจากแรงสนับสนุนของการขยายตัวในตลาดโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ IC Monolithic และ Other IC ยกเว้นหลอดภาพสำหรับจอโทรทัศน์และหลอดคอมพิวเตอร์ ซึ่งความต้องการของตลาดลดลง
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ได้กล่าวอีกว่า ในเดือนเมษายนยังมีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ คือ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำดื่ม
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนมีการผลิตและจำหน่ายที่ชะลอลงเล็กน้อย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัว ซึ่งเริ่มส่งผลต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ต้องใช้เหล็ก รวมทั้งภาวะต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน จึงส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายเหล็กลดลง
การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำดื่ม การผลิตและจำหน่ายโดยรวมในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้ความต้องการสินค้าในกลุ่มลดลงไปด้วย โดยผู้บริโภคบางส่วนเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จากการดื่มเหล้าที่ต้องผสมโซดาและน้ำ ซึ่งมีความยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงหันไปบริโภคเครื่องดื่มชนิดอื่นแทน เช่น เบียร์ เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-