วันนี้ ( 23 มี.ค. 49 ) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นาย เกียรติ สิทธีอมร คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ ว่าตนเห็นว่าการกล่าวหากลุ่มผู้ชุมนุมเช่นนี้ ถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ชุมนุม เพราะว่าสัญญาณอันตรายทางเศรษฐกิจนั้นได้ แสดงให้เห็นมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2548 แล้ว
และวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา ตนได้ตั้งกระทู้ถามเรื่องปัญหาเศรษฐกิจในสภา สัญญาณอันตรายที่พูดถึงมีทั้งเรื่องของดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุล ตลอดทั้งภาพรวมของดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น แสดงให้เห็นถึงการขาดดุลรวมแสนกว่าล้านบาท ด้านการท่องเที่ยวก็มีปัญหาหลักมาจากเรื่องความน่าเชื่อถือของตัวเลข
ของททท.เองด้วย โดยตัวเลขของททท.ที่ผ่านมาไม่ตรงกับของต่างประเทศ เพราะเป็นตัวเลขที่ลบน้อยกว่า เงินเฟ้อก็สูง สัญญาณเหล่านี้บ่งบอกมาตั้งแต่ปี2548
รวมไปถึงในส่วนของระดับรากหญ้าก็มีสัญญาณอันตราย เรื่องของหนี้ครัวเรือนก็พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี2544 จาก 67,000 บาทต่อครัวเรือน กลายเป็น 135,000 บาทต่อครัวเรือนไปแล้ว หนี้บัตรเครดิตก็พุ่งขึ้น จาก 1,900,000 บัญชี กลายเป็น 9,000,000 บัญชี ในปี 2548 สถิติสูงสุดบุคคลคนหนึ่งมีถึง 21 บัตร สัญญาณเหล่านี้ทางพรรคได้มีการหารือกับรัฐบาล แต่ก็รู้สึกผิดหวัง เพราะปัญหาเหล่านี้รัฐบาลไม่มีมาตรการมารองรับและใช้นโยบายแบบเดิมๆ ส่งผลให้ปีที่แล้ว เศรษฐกิจโต 4% แต่เงินเฟ้อก็เท่ากับ 4 % เท่ากับว่าเศรษฐกิจไม่ได้โตเลย และปีนี้ก็ยังมีการโต้แย้งกันด้วยเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งจะขอพูดในประเด็นต่อไป
“ผู้ประท้วงที่ออกมาประท้วงกันนี้ เค้ามาเรียกร้องเรื่องความไม่โปร่งใส การทำผิดกฎหมาย การเลี่ยงภาษี การซุกหุ้นในกรณีของการขายหุ้นชิน แต่ก็ไม่ได้มีการตอบคำถามให้ชัดเจน แล้วรัฐบาลก็ยุบสภาหนีการซักฟอก ตรงนี้ที่ไม่ตามกติกา นายกชอบพูดว่าคนอื่นไม่ทำตามกติกา แต่ตรงนี้เรียกได้ว่านายกฯไม่ได้ทำตามกติกา” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ กล่าวว่า แล้วส่วนหนึ่งที่เศรษฐกิจตอนนี้ชะลอตัวลง เพราะการยุบสภาและการหนีการซักฟอกของนายกฯ สาเหตุจริงๆแล้วที่นักลงทุนส่วนใหญ่ ตอนนี้ชะลอลงทุนเป็นเพราะต้องการดูว่ากรณีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป การตรวจสอบของรัฐบาลจะออกมาเป็นเช่นไร เพราะเรื่องนี้จะเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ กลต. กรมสรรพากรและกระทรวงพาณิชย์ในกรณีพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว สิ่งเหล่านี้ยังอึมครึมอยู่ ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุของการชะลอการลงทุนส่วนหนึ่ง และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจระดับหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของเมกะโปรเจค ในปีนี้มีหลายสำนักที่เวลาประเมินระดับเศรษฐกิจของไทย ก็จะรวมกรณีของเมกะโปรเจคเข้าไปด้วย
“การยุบสภานี่แหละที่ทำให้การดำเนินงานของโครงการใหญ่ๆหลายโครงการล่มไป ปัญหาอยู่ที่ไหนก็ควรแก้ที่นั่น ในระยะสั้นนี้การชุมนุมในบางพื้นที่อาจส่งผลกระทบบ้าง แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดมาจากความน่าเชื่อถือของนายกฯและการรอดูการบังคับใช้กฎหมายในกรณีซื้อขายหุ้นชินคอร์ป” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ กล่าวอีกว่า อีกกรณีหนึ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือ รัฐบาลมักจะใช้หน่วยงานรัฐออกมาชี้ตัวเลขที่ผิดตลอด พอเริ่มที่จะมีการประเมินผิดมากๆ ความน่าเชื่อถือของตัวเลขของรัฐบาลลดลงไปทันที วันนี้รัฐบาลชี้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจขยาย 4.5 — 5.5 % แต่เอกชนทั่วโลกชี้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจของไทยคือ 4% เท่านั้น จึงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าตัวเลขของรัฐไม่เอามาใช้อีกแล้ว เพราะเป็นการประเมินที่คลาดเคลื่อนหลายปีติดต่อกัน รัฐบาลจึงควรแก้ปัญหาที่ต้นตอ เช่นแก้ปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ การประเมินอย่างเป็นการชี้นำสร้างภาพบวกเกินไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มี.ค. 2549--จบ--
และวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา ตนได้ตั้งกระทู้ถามเรื่องปัญหาเศรษฐกิจในสภา สัญญาณอันตรายที่พูดถึงมีทั้งเรื่องของดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุล ตลอดทั้งภาพรวมของดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น แสดงให้เห็นถึงการขาดดุลรวมแสนกว่าล้านบาท ด้านการท่องเที่ยวก็มีปัญหาหลักมาจากเรื่องความน่าเชื่อถือของตัวเลข
ของททท.เองด้วย โดยตัวเลขของททท.ที่ผ่านมาไม่ตรงกับของต่างประเทศ เพราะเป็นตัวเลขที่ลบน้อยกว่า เงินเฟ้อก็สูง สัญญาณเหล่านี้บ่งบอกมาตั้งแต่ปี2548
รวมไปถึงในส่วนของระดับรากหญ้าก็มีสัญญาณอันตราย เรื่องของหนี้ครัวเรือนก็พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี2544 จาก 67,000 บาทต่อครัวเรือน กลายเป็น 135,000 บาทต่อครัวเรือนไปแล้ว หนี้บัตรเครดิตก็พุ่งขึ้น จาก 1,900,000 บัญชี กลายเป็น 9,000,000 บัญชี ในปี 2548 สถิติสูงสุดบุคคลคนหนึ่งมีถึง 21 บัตร สัญญาณเหล่านี้ทางพรรคได้มีการหารือกับรัฐบาล แต่ก็รู้สึกผิดหวัง เพราะปัญหาเหล่านี้รัฐบาลไม่มีมาตรการมารองรับและใช้นโยบายแบบเดิมๆ ส่งผลให้ปีที่แล้ว เศรษฐกิจโต 4% แต่เงินเฟ้อก็เท่ากับ 4 % เท่ากับว่าเศรษฐกิจไม่ได้โตเลย และปีนี้ก็ยังมีการโต้แย้งกันด้วยเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งจะขอพูดในประเด็นต่อไป
“ผู้ประท้วงที่ออกมาประท้วงกันนี้ เค้ามาเรียกร้องเรื่องความไม่โปร่งใส การทำผิดกฎหมาย การเลี่ยงภาษี การซุกหุ้นในกรณีของการขายหุ้นชิน แต่ก็ไม่ได้มีการตอบคำถามให้ชัดเจน แล้วรัฐบาลก็ยุบสภาหนีการซักฟอก ตรงนี้ที่ไม่ตามกติกา นายกชอบพูดว่าคนอื่นไม่ทำตามกติกา แต่ตรงนี้เรียกได้ว่านายกฯไม่ได้ทำตามกติกา” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ กล่าวว่า แล้วส่วนหนึ่งที่เศรษฐกิจตอนนี้ชะลอตัวลง เพราะการยุบสภาและการหนีการซักฟอกของนายกฯ สาเหตุจริงๆแล้วที่นักลงทุนส่วนใหญ่ ตอนนี้ชะลอลงทุนเป็นเพราะต้องการดูว่ากรณีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป การตรวจสอบของรัฐบาลจะออกมาเป็นเช่นไร เพราะเรื่องนี้จะเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ กลต. กรมสรรพากรและกระทรวงพาณิชย์ในกรณีพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว สิ่งเหล่านี้ยังอึมครึมอยู่ ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุของการชะลอการลงทุนส่วนหนึ่ง และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจระดับหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของเมกะโปรเจค ในปีนี้มีหลายสำนักที่เวลาประเมินระดับเศรษฐกิจของไทย ก็จะรวมกรณีของเมกะโปรเจคเข้าไปด้วย
“การยุบสภานี่แหละที่ทำให้การดำเนินงานของโครงการใหญ่ๆหลายโครงการล่มไป ปัญหาอยู่ที่ไหนก็ควรแก้ที่นั่น ในระยะสั้นนี้การชุมนุมในบางพื้นที่อาจส่งผลกระทบบ้าง แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดมาจากความน่าเชื่อถือของนายกฯและการรอดูการบังคับใช้กฎหมายในกรณีซื้อขายหุ้นชินคอร์ป” นายเกียรติกล่าว
นายเกียรติ กล่าวอีกว่า อีกกรณีหนึ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือ รัฐบาลมักจะใช้หน่วยงานรัฐออกมาชี้ตัวเลขที่ผิดตลอด พอเริ่มที่จะมีการประเมินผิดมากๆ ความน่าเชื่อถือของตัวเลขของรัฐบาลลดลงไปทันที วันนี้รัฐบาลชี้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจขยาย 4.5 — 5.5 % แต่เอกชนทั่วโลกชี้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจของไทยคือ 4% เท่านั้น จึงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าตัวเลขของรัฐไม่เอามาใช้อีกแล้ว เพราะเป็นการประเมินที่คลาดเคลื่อนหลายปีติดต่อกัน รัฐบาลจึงควรแก้ปัญหาที่ต้นตอ เช่นแก้ปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ การประเมินอย่างเป็นการชี้นำสร้างภาพบวกเกินไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มี.ค. 2549--จบ--