กรุงเทพ--8 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ผู้อ่านหลายท่านที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองเป็นประจำคงจำกันได้ว่าระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2549 ดร. กันต์ธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ไปเยือนญี่ปุ่นเพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลไทย ครั้งที่ 7 ร่วมกับนายทาโร โคโน รัฐมนตรีช่วยอาวุโส กระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ซึ่งเทศกาลไทยครั้งนี้มีความสำคัญและพิเศษกว่าทุกครั้ง เพราะตรงกับการฉลองวโรกาส 60 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอยู่ในระหว่างเริ่มต้นของการเตรียมการจัดงานเฉลิมฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและญี่ปุนซึ่งจะครบรอบ 120 ปีในเดือนกันยายน 2550
ในช่วงการเยือนดังกล่าว ดร. กันต์ธีร์ฯ ได้มีโอกาสพบปะหารือข้อราชการกับนายชินโช อาเบ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนายทาโร อาโซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เกี่ยวกับการหายสาบสูญของนางสาวอโนชา ปันจ้อยในเกาหลีเหนือ โดยทั้งสองฝ่ายจะติดตามและแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องนี้ระหว่างกันต่อไป นอกจากนั้น ได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในธุรกิจ SMEs โครงการ Long Stay สนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ ซึ่งขณะนี้มีคนไทยถูกจำคุกอยู่ในญี่ปุ่นถึง 60 คน รวมทั้งการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ซึ่ง ดร. กันต์ธีร์ฯ ได้เน้นถึงความยุติธรรมและผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
เรื่องสำคัญซึ่งสืบเนื่องมาจากการเยือนดังกล่าว คือ ดร. กันต์ธีร์ฯ ได้พบหารือกับนายทาโร อาโซ รมว. กต. ญี่ปุ่นและเห็นชอบร่วมกันที่จะตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ เพื่อเป็นกลไกที่ไทยและญี่ปุ่นใช้แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเน้นความร่วมมือ 3 ด้าน คือ การป้องกัน การดำเนินการทางกฎหมาย และการให้ความคุ้มครอง
เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ ที่ทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อที่ต่อไปนี้ ขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติจะได้ยุติการปฏิบัติการอย่างเย้ยกฎหมายเช่นในอดีตเสียที เพราะแทบทุกครั้งที่หญิงไทยตกเป็นเหยื่อของแก๊งค์มิจฉาชีพเหล่านี้ต้องถูกทารุณและบังคับให้ทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินมาชดใช้หนี้ที่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้จบ จนกระทั่งล้มป่วยและสูญเสียชีวิตไปก่อน
ก็มี แต่กลับจับตัวคนร้ายมาลงโทษไม่ได้กลายเป็นวงจรอุบาทว์ที่ยากจะขจัดให้หมดสิ้นไป
คณะทำงานเฉพาะกิจฯ ไทย-ญี่ปุ่นได้ประชุมครั้งแรกที่กระทรวงการต่างประเทศ ถนน
ศรีอยุธยา โดยมีนายอนุสนธิ์ ชินวรรโณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย นายฮิโรชิ
ฟูกาดะ รองอธิบดีกรมการกงสุล เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยเข้าร่วมได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานอัยการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ขณะที่ผู้แทนฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
ที่ประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจฯ ดังกล่าวได้ให้ความเห็นชอบ Concept Paper ซึ่งจะใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินความร่วมมือระหว่างฝ่ายไทยและญี่ปุ่นเพื่อขจัดขบวนการค้ามนุษย์ และได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในปัจจุบัน ตลอดทั้งมาตรการที่แต่ละประเทศใช้รับมือกับปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศของตน
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจฯ ยังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปรึกษาหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ การส่งเสริมการตระหนักรับรู้ปัญหาการค้ามนุษย์ของสังคม ความร่วมมือระหว่างสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและผู้แทนทางการทูตของแต่ละประเทศ ความร่วมมือในการคุ้มครองเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย และโครงการช่วยให้เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้เหมือนเดิม
กล่าวได้ว่าคณะทำงานเฉพาะกิจฯ มุ่งที่จะทำงานให้ได้ผลอย่างจริงจัง แม้ว่าจะเป็นการประชุมกันเป็นครั้งแรก แต่ได้มีแนวทางปฏิบัติงานร่วมกันออกมาชัดเจน มีมาตรการในการจัดการกับปัญหาค้ามนุษย์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน การให้สังคมเข้ามามีส่วนรับรู้ถึงปัญหา ตลอดทั้งการคุ้มครองและการให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย ซึ่งเป็นร่วมมือกันในการแก้ปัญหาอย่างครบวงจรเท่าที่พึงกระทำได้ในขณะนี้
ในขั้นตอนต่อไป ทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่นจะร่วมกันพัฒนาแผนการทำงาน เพื่อร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังกันต่อไป โดยในปี 2550 ฝ่ายญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจฯ ครั้งที่ 2 เชื่อว่าอีกไม่นานเกินรอ ครอบครัวและญาติมิตรของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นหญิงไทย จะได้เห็นการบังคับใช้กฎหมายและการพิจารณาคดีเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดในขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติมาลงโทษกันเสียที
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ผู้อ่านหลายท่านที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองเป็นประจำคงจำกันได้ว่าระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2549 ดร. กันต์ธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ไปเยือนญี่ปุ่นเพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลไทย ครั้งที่ 7 ร่วมกับนายทาโร โคโน รัฐมนตรีช่วยอาวุโส กระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ซึ่งเทศกาลไทยครั้งนี้มีความสำคัญและพิเศษกว่าทุกครั้ง เพราะตรงกับการฉลองวโรกาส 60 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอยู่ในระหว่างเริ่มต้นของการเตรียมการจัดงานเฉลิมฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและญี่ปุนซึ่งจะครบรอบ 120 ปีในเดือนกันยายน 2550
ในช่วงการเยือนดังกล่าว ดร. กันต์ธีร์ฯ ได้มีโอกาสพบปะหารือข้อราชการกับนายชินโช อาเบ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนายทาโร อาโซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เกี่ยวกับการหายสาบสูญของนางสาวอโนชา ปันจ้อยในเกาหลีเหนือ โดยทั้งสองฝ่ายจะติดตามและแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องนี้ระหว่างกันต่อไป นอกจากนั้น ได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในธุรกิจ SMEs โครงการ Long Stay สนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ ซึ่งขณะนี้มีคนไทยถูกจำคุกอยู่ในญี่ปุ่นถึง 60 คน รวมทั้งการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ซึ่ง ดร. กันต์ธีร์ฯ ได้เน้นถึงความยุติธรรมและผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
เรื่องสำคัญซึ่งสืบเนื่องมาจากการเยือนดังกล่าว คือ ดร. กันต์ธีร์ฯ ได้พบหารือกับนายทาโร อาโซ รมว. กต. ญี่ปุ่นและเห็นชอบร่วมกันที่จะตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ เพื่อเป็นกลไกที่ไทยและญี่ปุ่นใช้แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเน้นความร่วมมือ 3 ด้าน คือ การป้องกัน การดำเนินการทางกฎหมาย และการให้ความคุ้มครอง
เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ ที่ทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อที่ต่อไปนี้ ขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติจะได้ยุติการปฏิบัติการอย่างเย้ยกฎหมายเช่นในอดีตเสียที เพราะแทบทุกครั้งที่หญิงไทยตกเป็นเหยื่อของแก๊งค์มิจฉาชีพเหล่านี้ต้องถูกทารุณและบังคับให้ทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินมาชดใช้หนี้ที่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้จบ จนกระทั่งล้มป่วยและสูญเสียชีวิตไปก่อน
ก็มี แต่กลับจับตัวคนร้ายมาลงโทษไม่ได้กลายเป็นวงจรอุบาทว์ที่ยากจะขจัดให้หมดสิ้นไป
คณะทำงานเฉพาะกิจฯ ไทย-ญี่ปุ่นได้ประชุมครั้งแรกที่กระทรวงการต่างประเทศ ถนน
ศรีอยุธยา โดยมีนายอนุสนธิ์ ชินวรรโณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย นายฮิโรชิ
ฟูกาดะ รองอธิบดีกรมการกงสุล เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยเข้าร่วมได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานอัยการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ขณะที่ผู้แทนฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
ที่ประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจฯ ดังกล่าวได้ให้ความเห็นชอบ Concept Paper ซึ่งจะใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินความร่วมมือระหว่างฝ่ายไทยและญี่ปุ่นเพื่อขจัดขบวนการค้ามนุษย์ และได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในปัจจุบัน ตลอดทั้งมาตรการที่แต่ละประเทศใช้รับมือกับปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศของตน
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจฯ ยังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปรึกษาหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ การส่งเสริมการตระหนักรับรู้ปัญหาการค้ามนุษย์ของสังคม ความร่วมมือระหว่างสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและผู้แทนทางการทูตของแต่ละประเทศ ความร่วมมือในการคุ้มครองเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย และโครงการช่วยให้เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้เหมือนเดิม
กล่าวได้ว่าคณะทำงานเฉพาะกิจฯ มุ่งที่จะทำงานให้ได้ผลอย่างจริงจัง แม้ว่าจะเป็นการประชุมกันเป็นครั้งแรก แต่ได้มีแนวทางปฏิบัติงานร่วมกันออกมาชัดเจน มีมาตรการในการจัดการกับปัญหาค้ามนุษย์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน การให้สังคมเข้ามามีส่วนรับรู้ถึงปัญหา ตลอดทั้งการคุ้มครองและการให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย ซึ่งเป็นร่วมมือกันในการแก้ปัญหาอย่างครบวงจรเท่าที่พึงกระทำได้ในขณะนี้
ในขั้นตอนต่อไป ทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่นจะร่วมกันพัฒนาแผนการทำงาน เพื่อร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังกันต่อไป โดยในปี 2550 ฝ่ายญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจฯ ครั้งที่ 2 เชื่อว่าอีกไม่นานเกินรอ ครอบครัวและญาติมิตรของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นหญิงไทย จะได้เห็นการบังคับใช้กฎหมายและการพิจารณาคดีเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดในขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติมาลงโทษกันเสียที
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-