สศข.5 แจ้ง เมืองย่าโมขานรับนโยบายประหยัดพลังงาน ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลใหม่ 5 แห่ง แก้ปัญหาน้ำมันแพง โดยใช้วัตถุดิบทั้งมันและอ้อย คาดส่งผลดีต่อเกษตรกรที่ปลูกพืชดังกล่าว
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาราคาน้ำมันแพง ทำให้ประเทศไทยมีความพยายามที่จะหาพลังงานอื่น ๆ มาทดแทน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสนับสนุนให้มีการผลิตเอทานอลที่ใช้พืชเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง อ้อย หรือพืชชนิดอื่น ๆ มีผลผลิตที่พอเพียงต่อความต้องการของโรงงานที่จะนำไปทำการผลิตดังกล่าว
เลขาธิการ สศก. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานที่สามารถทำการผลิตเอทานอลได้แล้วจำนวน 6 โรงงาน มีกำลังการผลิตทั้งสิ้นเป็นจำนวน 99,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งโรงงานดังกล่าวนั้นตั้งอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม ระยอง จังหวัดละ 1 โรงงาน และจังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 โรงงาน แต่ในปี 2549 นี้ได้มีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้นอีก 18 บริษัท รวมเป็น 24 บริษัท มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 4,410,000 ลิตรต่อวัน โรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (13 โรงงาน) โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะตั้งขึ้นใหม่จำนวน 5 โรงงาน คิดเป็น 20.8 % ของโรงงานผลิตเอทานอลทั้งหมด และมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 1,410,000 ลิตรต่อวัน คิดเป็น 33.9 % ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยโรงงานจำนวน 3 โรงงานแรกจะใช้วัตถุดิบจากน้ำอ้อยและกากน้ำตาล ซึ่งจะต้องใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบจำนวน 0.87 ล้านตัน ใช้กากน้ำตาลทั้งสิ้น 287,000 ตัน ส่วนอีก 2 โรงงานที่เหลือจะใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ จำนวน 1,840,000 ตัน จากการตั้งโรงงานผลิตเอทานอล 5 โรงงานดังกล่าวนั้น คาดว่าจะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังในเขตจังหวัดนครราชสีมารวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จะติดตามสถานการณ์และนำเสนอต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาราคาน้ำมันแพง ทำให้ประเทศไทยมีความพยายามที่จะหาพลังงานอื่น ๆ มาทดแทน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสนับสนุนให้มีการผลิตเอทานอลที่ใช้พืชเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง อ้อย หรือพืชชนิดอื่น ๆ มีผลผลิตที่พอเพียงต่อความต้องการของโรงงานที่จะนำไปทำการผลิตดังกล่าว
เลขาธิการ สศก. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานที่สามารถทำการผลิตเอทานอลได้แล้วจำนวน 6 โรงงาน มีกำลังการผลิตทั้งสิ้นเป็นจำนวน 99,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งโรงงานดังกล่าวนั้นตั้งอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม ระยอง จังหวัดละ 1 โรงงาน และจังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 โรงงาน แต่ในปี 2549 นี้ได้มีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้นอีก 18 บริษัท รวมเป็น 24 บริษัท มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 4,410,000 ลิตรต่อวัน โรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (13 โรงงาน) โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะตั้งขึ้นใหม่จำนวน 5 โรงงาน คิดเป็น 20.8 % ของโรงงานผลิตเอทานอลทั้งหมด และมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 1,410,000 ลิตรต่อวัน คิดเป็น 33.9 % ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยโรงงานจำนวน 3 โรงงานแรกจะใช้วัตถุดิบจากน้ำอ้อยและกากน้ำตาล ซึ่งจะต้องใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบจำนวน 0.87 ล้านตัน ใช้กากน้ำตาลทั้งสิ้น 287,000 ตัน ส่วนอีก 2 โรงงานที่เหลือจะใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ จำนวน 1,840,000 ตัน จากการตั้งโรงงานผลิตเอทานอล 5 โรงงานดังกล่าวนั้น คาดว่าจะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังในเขตจังหวัดนครราชสีมารวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จะติดตามสถานการณ์และนำเสนอต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-