1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ประมงเพาะปลาการ์ตูน ได้พันธุ์ใหม่ปล่อยสู่ทะเล
ตลาดปลาทะเลสวยงามในประเทศไทยทั้งส่วนกลางใน กทม.และภูมิภาค นอกจากจะนิยมเลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่นแล้ว ยังได้นำเข้าจากต่างประเทศหลากหลายชนิดสู่ตู้ปลาของลูกค้า เพื่ออวดอ้างในความแปลกใหม่และศักยภาพของผู้เลี้ยง ในจำนวนความหลากหลายนี้ “ปลาการ์ตูน” จะได้รับความนิยมสุดๆ และก็มีหลายสายพันธุ์ที่ตลาดต้องการ ในขณะเดียวกันนั้น นักธุรกิจปลาตู้ก็ทำการค้าทั้งนำเข้าและส่งออก ฉะนั้นกรมประมงจึงได้เร่งศึกษาวิจัยในการเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูน ซึ่งนายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง บอกกับสื่อมวลชนหลังจากดำน้ำลงไปปล่อยปลาการ์ตูนลงทะเลกระบี่ ร่วมกับกลุ่มสมาชิก SaveOurSea (SOS) นักดำน้ำจำนวนร้อยกว่าชีวิต นำโดย นางแน่งน้อย ยศสุนทร ว่ากรมประมงสามารถเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูนทุกชนิดได้สำเร็จแล้ว โดยนายอาคม สิงหบุญ กับนายสามารถ เดชสถิตย์ นักวิชาการประมงในสังกัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ เป็นผู้ดำเนินการ นายไพบูลย์ บุญลิปตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ซึ่งดูแลและควบคุมในการปฏิบัติการ ได้เล่าถึงความเป็นมาว่าปลาการ์ตูนเป็นปลาที่เพาะเลี้ยงยาก ติดโรคง่าย ต้องใช้สิ่งแวดล้อมจากธรรมชาติเป็นหลัก เมื่อประมาณปี 2544 ทีมนักวิจัยไปนำพันธุ์ปลาการ์ตูนจากทะเลฝั่งอันดามัน 5 สายพันธุ์ จากอ่าวไทย 2 สายพันธุ์ และนำเข้ามาจากต่างประเทศอีก 3 สายพันธุ์ จนประสบความสำเร็จและได้ปลาการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่ๆ
การคัดสายพันธุ์ถือว่าเป็นหัวใจของงานวิจัย เพราะลูกปลาการ์ตูนที่เพาะเลี้ยงออกมาจะได้มีสีสวยงาม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เมื่อได้พ่อแม่พันธุ์ที่ดีผ่านการคัดเลือกแล้ว จึงนำไปเลี้ยงในตู้กระจก โดยนำเปลือกหอยหรือแผ่นปูนไปวางให้พ่อแม่พันธุ์ผสมพันธุ์แล้วไปวางไข่ในระยะเวลา 15 วัน ไข่ปลาออกมาให้แยกพ่อแม่พันธุ์ออกไป จากนั้น 7 วัน ไข่จะกลายเป็นตัวปลา ช่วงนี้ให้อาหารคือ “โรดีเฟอร์” ก่อนนำไปใส่บ่ออนุบาลอีก 15 วันให้อาหารจำพวก “อาร์ทีเมีย” น้ำทะเลที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงควรมีค่า PH อยู่ที่ 7.5 - 8.5 เท่านี้ก็ทำให้ลูกปลาการ์ตูนรอดชีวิต เมื่อเพาะเลี้ยงสำเร็จทางศูนย์มีการส่งออกไปจำหน่ายในท้องตลาดทั้งในและต่างประเทศ อีกส่วนหนึ่งก็นำไปปล่อยลงสู่แหล่งธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาการ์ตูนนั้น จะให้อยู่กับดอกไม้ทะเลที่มีพิษ (แต่ไม่เป็นอันตรายกับปลาการ์ตูน) ภายใต้ท้องทะเล
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานสถานการณ์จากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.80 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 162.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 159.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 142.51 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.63 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 143.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.66 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 8 - 12 พ.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.76 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 18 ประจำวันที่ 8—14 พ.ค.2549--
-พห-
การผลิต
ประมงเพาะปลาการ์ตูน ได้พันธุ์ใหม่ปล่อยสู่ทะเล
ตลาดปลาทะเลสวยงามในประเทศไทยทั้งส่วนกลางใน กทม.และภูมิภาค นอกจากจะนิยมเลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่นแล้ว ยังได้นำเข้าจากต่างประเทศหลากหลายชนิดสู่ตู้ปลาของลูกค้า เพื่ออวดอ้างในความแปลกใหม่และศักยภาพของผู้เลี้ยง ในจำนวนความหลากหลายนี้ “ปลาการ์ตูน” จะได้รับความนิยมสุดๆ และก็มีหลายสายพันธุ์ที่ตลาดต้องการ ในขณะเดียวกันนั้น นักธุรกิจปลาตู้ก็ทำการค้าทั้งนำเข้าและส่งออก ฉะนั้นกรมประมงจึงได้เร่งศึกษาวิจัยในการเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูน ซึ่งนายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง บอกกับสื่อมวลชนหลังจากดำน้ำลงไปปล่อยปลาการ์ตูนลงทะเลกระบี่ ร่วมกับกลุ่มสมาชิก SaveOurSea (SOS) นักดำน้ำจำนวนร้อยกว่าชีวิต นำโดย นางแน่งน้อย ยศสุนทร ว่ากรมประมงสามารถเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูนทุกชนิดได้สำเร็จแล้ว โดยนายอาคม สิงหบุญ กับนายสามารถ เดชสถิตย์ นักวิชาการประมงในสังกัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ เป็นผู้ดำเนินการ นายไพบูลย์ บุญลิปตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ซึ่งดูแลและควบคุมในการปฏิบัติการ ได้เล่าถึงความเป็นมาว่าปลาการ์ตูนเป็นปลาที่เพาะเลี้ยงยาก ติดโรคง่าย ต้องใช้สิ่งแวดล้อมจากธรรมชาติเป็นหลัก เมื่อประมาณปี 2544 ทีมนักวิจัยไปนำพันธุ์ปลาการ์ตูนจากทะเลฝั่งอันดามัน 5 สายพันธุ์ จากอ่าวไทย 2 สายพันธุ์ และนำเข้ามาจากต่างประเทศอีก 3 สายพันธุ์ จนประสบความสำเร็จและได้ปลาการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่ๆ
การคัดสายพันธุ์ถือว่าเป็นหัวใจของงานวิจัย เพราะลูกปลาการ์ตูนที่เพาะเลี้ยงออกมาจะได้มีสีสวยงาม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เมื่อได้พ่อแม่พันธุ์ที่ดีผ่านการคัดเลือกแล้ว จึงนำไปเลี้ยงในตู้กระจก โดยนำเปลือกหอยหรือแผ่นปูนไปวางให้พ่อแม่พันธุ์ผสมพันธุ์แล้วไปวางไข่ในระยะเวลา 15 วัน ไข่ปลาออกมาให้แยกพ่อแม่พันธุ์ออกไป จากนั้น 7 วัน ไข่จะกลายเป็นตัวปลา ช่วงนี้ให้อาหารคือ “โรดีเฟอร์” ก่อนนำไปใส่บ่ออนุบาลอีก 15 วันให้อาหารจำพวก “อาร์ทีเมีย” น้ำทะเลที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงควรมีค่า PH อยู่ที่ 7.5 - 8.5 เท่านี้ก็ทำให้ลูกปลาการ์ตูนรอดชีวิต เมื่อเพาะเลี้ยงสำเร็จทางศูนย์มีการส่งออกไปจำหน่ายในท้องตลาดทั้งในและต่างประเทศ อีกส่วนหนึ่งก็นำไปปล่อยลงสู่แหล่งธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาการ์ตูนนั้น จะให้อยู่กับดอกไม้ทะเลที่มีพิษ (แต่ไม่เป็นอันตรายกับปลาการ์ตูน) ภายใต้ท้องทะเล
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานสถานการณ์จากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.80 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 162.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 159.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 142.51 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.63 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 143.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.90 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.66 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 8 - 12 พ.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.76 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 18 ประจำวันที่ 8—14 พ.ค.2549--
-พห-