วันนี้ (25 ม.ค.48)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวผ่านรายการคุยกับวิปฝ่ายค้านว่า ความคืบหน้าการทำงานของพรรคฝ่ายค้านในเรื่องนโยบายข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหรัฐอเมริกา กับประเทศไทย และได้มีการไปยื่นหนังสือถึงทางสถานทูตสหรัฐฯ และได้มีการแสดงทัศนะความห่วงใยต่อกระบวนการของการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการของไทยเองที่ประชาชนยังมีส่วนร่วมน้อย ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (26 ม.ค.48) ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางพรรคร่วมฝ่ายค้านจะได้จัดเสวนาสาธารณะเรื่อง FTA อเมริกา — ไทย ใครได้ — ใครเสีย ซึ่งจะจัดขึ้นตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป งานนี้ทางหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรค จะไปร่วมเสวนากับบรรดานักวิชาการ และตัวแทนขององค์กรภาคประชาชน เพื่อที่จะให้เกิดการรับรู้รับทราบ และแลกเปลี่ยนกันในประเด็นที่เราเห็นว่ามีความสำคัญมากที่เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อกำหนดเขตการค้าเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้มีการเจรจากับสหรัฐอเมริกา และล่าสุดก็มีข่าวว่าทางฝ่ายไทยทางหัวหน้าคณะที่เจรจาได้ตัดสินใจที่จะลาออกและจะได้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผมก็ขอเรียนสั้น ๆ ว่าจริง ๆ แล้วสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องได้พยายามแสดงทัศนะนั้นไม่ได้มุ่งไปในเรื่องของตัวบุคคลหรอกครับ แต่ว่ามุ่งไปในเรื่องของกระบวนการ มุ่งไปในเรื่องของเนื้อหาสาระของการเจรจา เพราะฉะนั้นวันพรุ่งนี้ ไปพบกันที่หอประชุมเล็กธรรมศาสตร์
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า การดำเนินการจัดทำเอกสารสมุดปกดำ เกี่ยวกับเรื่องของการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทั้งองค์กรไปเข้าสู่กระบวนการของการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ได้มีการทำเอกสารขึ้นมาลำดับให้เห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อประชาชนในแง่ของค่าไฟ ผลกระทบในแง่ของต้นทุนการดำเนินงานทางธุรกิจ ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อระบบการแข่งขันต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีการรองรับไว้ แล้วก็มีการวิเคราะห์ว่าวาระแอบแฝง วาระซ้อนเร้นที่อาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครือข่ายใยแก้วนำแสง อันนี้ก็จะเป็นเรื่องที่รวบรวมไว้ในสมุดปกดำที่ขณะนี้ต้นฉบับเรียบร้อยกำลังอยู่ในกระบวนการของการจัดพิมพ์ สัปดาห์หน้าทางพรรคประชาธิปัตย์ก็คงจะสามารถนำเอกสารนี้มาเผยแพร่ให้กับพี่น้องประชาชนที่สนใจได้ต่อไป
ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์กันทางการเมืองกันค่อนข้างจะมากในระยะหลัง และมีการพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับทางออกของการเมืองไทย ทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้แสดงจุดยืนมาตั้งแต่ต้น ว่าวิธีการ แนวทางที่น่าจะเหมาะสมที่สุดคือแนวคิดเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ ขณะนี้ทางคณะกรรมการพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ได้มีการยกร่างเป็นตุ๊กตาขึ้นมา คาดว่าในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนกุมภาพันธ์นี้ก็จะสามารถจัดเป็นเวทีสาธารณะ และก็จะได้นำเอาแนวคิดของอาจารย์ธีรยุทธ์ บุญมี ที่ได้มีการนำเสนอในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าควรจะได้มีการระดมสมองกันในเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและก็มีการเสนอชื่อบุคคล องค์กรที่เกี่ยวข้องและผมก็ขอให้ทางวิปฝ่ายค้านเอาไปดำเนินการเพื่อที่จะให้การจัดเวทีสาธารณะซึ่งเราจะจัดอยู่ก่อนหน้านี้ ได้ผนวกเอาความคิดของท่านอาจารย์ธีรยุทธไปและก็จะดูว่าจะได้มีการดำเนินการในรูปแบบทีเหมาะสมได้อย่างไรต่อไป
เพราะฉะนั้น 3 เรื่องนี้ซึ่งได้เคยพูดคุยไว้ค้างคาไว้ จะเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ จะเป็นเรื่องรัฐวิสาหกิจ จะเป็นเรื่อง FTA ก็ขอรายงานความคืบหน้าการทำงานของพรรคฝ่ายค้านในช่วงสัปดาห์ทีผ่านมา สำหรับสัปดาห์นี้มีเรื่องอยู่ 2 เรื่องที่ผมอยากจะขอเวลาพูดคุยเพื่อให้เกิดความเข้าใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น
เรื่องแรกเป็นเรื่องของการขายหุ้นบริษัทของครอบครัวท่านนายกรัฐมนตรี เป็นข่าวฮือฮามากไม่ใช่ว่ามันเป็นการขายหุ้นซึ่งมีมูลค่ามหาศาล พูดกันถึง 70,000 กว่าล้าน แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางนะครับ ต่อโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย ต้องยอมรับครับว่าธุรกิจในเครือข่ายของท่านนายกฯ ได้เติบโตขึ้นมากและได้เข้าไปอยู่ในธุรกิจหลายธุรกิจด้วยกัน บริษัทที่มีการซื้อขายหุ้นนั้นเป็นบริษัทแม่ซึ่งยังถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบกิจการหลายกิจการ ตั้งแต่เรื่องของโทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ไปจนถึงเรื่องของสถานีโทรทัศน์ ไปถึงเรื่องของสายการบิน ถึงเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมาย ธุรกิจเหล่านี้ค่อนข้างจะเติบโตมากในช่วงที่ท่านนายกฯ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีและก็มีกำไรมหาศาล การขายหุ้นที่เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ ก็ทำให้คนที่อยู่ในครอบครัวของท่านได้ทำกำไรไปเป็นมูลค่ามหาศาล ขณะเดียวกันธุรกิจต่าง ๆ เหล่านี้ที่ผมได้เอ่ยถึงซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้นก็ได้เปลี่ยนมือไปอยู่ในมือของต่างชาติ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ต้องมองให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเมืองของเราในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา นโยบายของรัฐการใช้อำนาจหลายอย่างได้มีผลต่อการประกอบธุรกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายบริษัทเหล่านี้ได้เติบโตมาและทำกำไร ซึ่งก็เป็นเงินของคนไทยนั่นเอง แต่ขณะนี้เงินทั้งหมดนี้ก็เป็นการทำกำไรของคนที่เป็นผู้ถือหุ้นเดิม ขณะเดียวกันธุรกิจเครือข่ายเหล่านี้ก็กำลังตกไปอยู่ในมือของต่างชาติ อันนี้ก็เป็นประเด็นปัญหาที่จะได้มีการติดตามกันว่าจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของเศรษฐกิจอย่างไร แต่ว่าการดำเนินการในวันจันทร์ที่ผ่านมามันมีปัญหามีคำถามมากมาย ซึ่งไม่มีคำตอบ ไม่ใช่เฉพาะในประเด็นที่มีความพยายามจะอธิบายแล้วขัดแย้งกันเพราะว่าท่านนายกฯ พูดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของลูก ๆ ที่ได้เปิดทางที่จะให้คุณพ่อทำงานการเมืองโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งความจริงก็ต้องบอกว่าแปลว่า 4 — 5 ปีที่ผ่านมามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ขณะเดียวกันก็ไม่มีความชัดเจนครับว่าเงินที่ขายหุ้นไปแล้วจะนำไปสู่การลงทุนในด้านไหนอย่างไรบ้าง ถ้าเราทราบตรงนั้นเราจึงจะพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า ปัญหาการมีผลประโยชน์ทับซ้อนนี้มันยุติลงหรือไม่อย่างไร เพราะคำชี้แจงนั้นขัดกันเพราะว่าผู้เกี่ยวข้องในการแถลงข่าวในการซื้อขายหุ้นไม่ได้พูดถึงในมุมของท่านนายกฯ เลยแต่พูดในมุมของการใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจ เพราะฉะนั้นต้องจับตาดูว่าเงินที่ขายได้นั้นนำไปสู่อะไรบ้าง
ประการที่สองมันมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลของหน่วงานต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ หน่วยงานแรกคือ กลต.ครับ เพราะว่าการซื้อขายหุ้นครั้งนี้มีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นจังหวะเวลาที่มีการตรากฎหมายในเรื่องธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งก็มีคำถามไปว่าเกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในแค่ไหน มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลต. ว่าเวลาที่มีการเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วนมากอย่างนี้ในบริษัทแม่ ปกติแล้วก็จะมีการดำเนินการประกาศเกี่ยวกับการขอรับซื้อหุ้นต่าง ๆ ในบริษัทลูกด้วย แต่ว่าก็มีการวินิจฉัยทำนองว่าการเข้าถือหุ้นในบริษัทแม่ครั้งนี้ ผู้ซื้อไม่มีเจตนาที่จะเข้าไปครอบงำกิจการที่เป็นบริษัทลูกแต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งความจริงเพื่อแสดงความเป็นธรรมกับผู้ถือหุ้นรายย่อยก็ควรจะต้องมีความชัดเจนว่าเจตนาของผู้ถือหุ้นใหม่ ท่าทีของธุรกิจที่เป็นธุรกิจลูกจะมีการขายหุ้นหรือไม่อย่างไร และราคาที่มีการประเมินก็เช่นเดียวกันครับมีเครื่องหมายคำถามอยู่นะครับว่ามีความโปร่งใส มีความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยในบริษัทเหล่านั้นหรือไม่ นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร มีการเปลี่ยนการวินิจฉัยของกรมสรรพากรเพื่อมารองรับการดำเนินการในเรื่องนี้ซึ่งก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นครับว่าการทำกำไร หรือการทำรายได้มูลค่ามหาศาลทั้งหมดนี้กลับไม่มีการจะต้องเสียภาษีแต่ประการใด ซึ่งถ้าจะพูดถึงว่าเป็นการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามปกติหรือไม่ก็น่ากลับไปวิเคราะห์ดู เพราะว่ามีหลายกรณีนะครับไม่ได้เริ่มจากผู้ถือหุ้นเหล่านี้เข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในลักษณะของการลงทุน ก็จะต้องมีการติดตามตรวจสอบและก็ให้หน่วยงานเหล่านี้ชี้แจงเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน ผมอยากจะชี้ให้เห็นง่าย ๆ ครับว่าการที่ท่านนายกฯ พูดว่าเงินบางส่วนไม่ทราบเท่าไหร่อาจจะนำไปบริจาคมูลนิธิ หรือว่าเอามาวิจัยเรื่องปัญหาความยากจน ความจริงแล้วการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ถ้าหากว่าทำในรูปแบบอื่น ทางครอบครัวของท่านก็จะมีส่วนในการเสียภาษีให้บ้านเมืองให้ประเทศชาติเป็นมูลค่ามหาศาลทีเดียว แต่กลับเลือกใช้วิธีการที่จะสร้างกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งเรากำลังไปตรวจสอบว่ามีความถูกต้องหรือไม่ว่าไม่จำเป็นจะต้องเสียภาษี เรื่องนี้ก็ขอเรียนให้ทราบว่าทางพรรคประชาธิปัตย์ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อติดตามตรวจสอบให้ทางท่านส.ส.กรณ์ จาติกวินิช ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเงินการคลัง ในเรื่องตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ก็จะได้มีการติดตามเรื่องเหล่านี้และก็คงจะได้มีโอกาสรายงานให้พี่น้องประชาชนและท่านผู้ฟังให้ทราบต่อไป
อีกเรื่องหนึ่งครับคงเป็นเรื่องสุดท้ายที่จะพูดคุยคือเรื่องของ กทม. ครับ เพราะว่ามีข่าวคราวอยู่พอสมควร ผมขอเรียนให้ท่านผู้ฟังและพี่น้องประชาชนได้มั่นใจนะครับว่า ประการแรกทางพรรคประชาธิปัตย์นั้นยืนหยัดและยึดมั่นในอุดมการณ์ของพรรคที่ได้ประกาศไว้ในเรื่องของการทำการเมืองที่สุจริต ดังนั้นขอยืนหยัดนะครับว่าถ้ามีสิ่งใดที่ขัดกับกระบวนการตรงนี้ เป็นการเมืองที่มีการทุจริตมีความไม่ถูกต้อง พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ปกป้อง และพรรคประชาธิปัตย์จะไม่มีการไปแสวงประโยชน์จากการกระทำหรือพฤติกรรมเหล่านี้ ประการที่สองก็คือว่าเมื่อท่านผู้ว่ากทม. คือคุณอภิรักษ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ในนามของพรรค พรรคก็มีความรับผิดชอบในการที่จะดูแลแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน กทม. ผมขอเรียนว่าทั้งสองข้อที่ผมได้พูดนี้เราได้ดำเนินการ สิ่งที่อยากจะชี้ให้เห็นก็คือว่าประเด็นปัญหาในขณะนี้ก็มีการสอบสวนโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษที่เราเรียกว่า DSI ซึ่งได้มีการไปตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ประมาณกลางปีที่แล้วต่อเนื่องไปจนถึงต้นปีนี้ แต่โครงการนี้ผมลำดับให้เห็นถึงความเป็นมาก็คือว่า ได้เริ่มมีการเปิดประมูลกันตั้งแต่เดือน ตุลาคม มีการเปิดประมูลก็มีการร้องเรียนขณะนี้ก็มีบางฝ่ายได้พยายามพูดจาว่ามีการร้องเรียนมาแล้ว ผู้บริหารกทม.ไม่ทำอะไร มีการร้องเรียนช่วงนั้น แล้วก็ยังมีการระบุช่วงหลังด้วยซ้ำว่า มีการจ่ายเงินจ่ายทองกัน ในเดือนตุลาคม พูดถึงตัวเลข ร้อยล้านพันล้านที่จริงแล้ว เมื่อประมูลไปแล้วก็มีการร้องเรียน มันมีการตรวจสอบครับ ตรวจสอบโดยกทม.เอง จะตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมาธิการอย่างน้อย ๆ 2 คณะ ซึ่งคนของพรรคประชาธิปัตย์ก็ร่วมตรวจสอบด้วย สุดท้ายนำไปสู่การยกเลิกการประมูลในเดือน ธันวาคม แล้วก็ต้องมีการเปิดประมูลครั้งใหม่ หลังจากเปิดประมูลครั้งใหม่ไปแล้ว ก็มีการร้องเรียนมาเป็นรอบที่ 3 การร้องเรียนส่วนใหญ่ก็เข้ามาในช่วงของวันที่ 20 — 21 ธันวาคม ก็จะมีการเคาะราคาในการประมูลกันในวันที่ 22 ครับ ทุกครั้งที่มีการร้องเรียนเรื่องมาถึงทางสำนักของท่านผู้ว่าฯ หรือท่านรองผู้ว่าฯ หรือใครก็ตาม ก็จะมีการสั่งการให้มีการตรวจสอบและชี้แจง แล้วก็ในวันที่ 22 ก่อนที่จะมีการเคาะราคากันซัก 1 — 2 ช.ม. ท่านปลัดกทม. ก็ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อพิจารณาว่าจะมีการเดินหน้ากับการเคาะราคาหรือไม่ ในที่สุดแล้วในที่ประชุมนั้น ที่ท่านปลัดฯ เป็นประธาน ก็เห็นว่าคำร้องเรียนต่าง ๆ สามารถชี้แจงได้ ที่ประชุมก็มีมติให้เดินหน้ากับการเคาะราคาประมูล จากนั้นก็จึงมาแจ้งท่านรองผู้ว่าฯ และท่านผู้ว่าฯ ทราบต่อไป ซึ่งท่านรองผู้ว่าฯ ก็ได้ลงนามรับทราบเรื่องนี้วันที่ 5 มกราคม และท่านผู้ว่าฯ ก็มาทราบรายละเอียดเรื่องพวกนี้หลังจากนั้นประมาณ 2 — 3 วัน สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อท่านผู้ว่าฯ ทราบเรื่องตรงนี้ ก็คือท่านก็ได้มีการสั่งให้ชะลอโครงการหลังจากนั้นก็ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริงให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน ซึ่งมาเสร็จเอาเมื่อวันอังคาร หรือพุธที่แล้ว แล้วก็ได้มีการสรุปออกมาครับว่ามันมีปัญหาในการประมูลครั้งที่ 2 ด้วยซึ่งอาจจะมีลักษณะของการกีดกันผู้เข้าแข่งขันมีความไม่โปร่งใส ท่านผู้ว่าฯ ก็จึงได้สั่งยกเลิกการประมูล โครงการทั้งหมดที่มีการพูดถึง 20,000 ล้าน ยังไม่มีการเซ็นสัญญาเลยแม้แต่โครงการเดียว นอกจากนั้นท่านผู้ว่าฯ อภิรักษ์ ก็ได้สั่งให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมว่า ที่บอกว่าอาจจะมีการกีดกันมีความไม่โปร่งใส ใครเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องบ้าง แล้วก็ยังได้เชิญบุคคลภายนอก คือ พล.ต.อ.ประทิน เข้ามาเป็นผู้ช่วยตรวจสอบในเรื่องนี้คือเป็นคณะกรรมการอีกชุดหนึ่ง ขณะเดียวกันครับทาง DSI ก็สอบสวนไป ทางผู้ว่าฯ ท่านรองผู้ว่าฯ ก็ได้ให้ความร่วมมือในการสอบสวนเป็นอย่างดี ไม่มีการขอเลื่อนเวลา ไม่มีการบอกว่าไม่พูดอะไรไปให้การในชั้นศาลไม่ใช่ พยายามชี้แจง ให้ข้อมูล ให้ข้อชี้แจง ให้ความร่วมมือทุกประการกับการสอบ นอกจากนั้นเมื่อทาง DSI ได้ออกหมายเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่ไม่ใช่ภาคเอกชน 3 ราย ท่านผู้ว่าฯ ก็ได้ดำเนินการให้ทางท่านรองผู้ว่าฯ โดยการพูดคุยกันว่า ให้ท่านรองผู้ว่าฯ ได้พิจารณา ท่านก็บอกว่าจะคืนความรับผิดชอบของงานต่าง ๆ ที่อยู่ในสายที่เกี่ยวข้องกับการสอบทั้งหมด เพื่อให้เกิดความสบายใจว่าการสอบจะดำเนินการได้อย่างอิสระ ส่วนข้าราชการอีก 2 ราย ท่านผู้ว่าฯ ก็ได้ให้โยกย้ายไป เพื่อให้หลุดจากสายงานความรับผิดชอบมีการสอบเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นผมก็ขอเรียนอย่างนี้ครับว่า เมื่อวานนี้ท่านผู้ว่าฯ และท่านรองฯ ก็ได้มาชี้แจงที่พรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกัน เราเห็นชัดเจนว่าท่านผู้ว่าฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรถ้าหากจะมีการทุจริตเกิดขึ้นและขณะเดียวกันได้ใช้การตัดสินใจ ได้ตั้งกรรมการ ได้มีมาตรการ ได้แก้ไขปัญหา อย่างที่พึงจะกระทำ เหมือนกับที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องตรวจสอบรัฐบาลเรื่องการทุจริต เราเรียกร้องอย่างนี้ครับว่าชะลอโครงการก่อน ยกเลิกโครงการได้ไม๊ ตั้งกรรมการมาสอบได้ไม๊ ใครรับผิดชอบย้ายไปก่อนได้ไม๊ อย่างนี้เป็นสิ่งที่เราเรียกร้องจากรัฐบาล ฉะนั้นเมื่อเราถูกกล่าวหาเสียเองเราก็ดำเนินการตามแนวทางในมาตรฐานที่เราเรียกร้อง ส่วนกรณีของท่านรองผู้ว่าฯ นั้นก็ได้มาชี้แจงเช่นเดียวกันก็มีเอกสารที่มาให้ดูว่าการสั่งการของท่านทุกอย่างก็เป็นไปตามระเบียบราชการ และเป็นไปตามขั้นตอนของการเสนอขึ้นมา แต่ว่าถูกผิดอย่างไรพรรคประชาธิปัตย์เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ ขณะนี้เข้ามาสอบได้อย่างเต็มที่ แล้วก็จะต้องมีการติดตามกันต่อไปทั้งในส่วนของคณะกรรมการกทม. ทั้งในส่วนของท่านพล.ต.อ.ประทิน ทั้งในส่วนของ DSI ซึ่งเมื่อทำงานเสร็จก็ต้องสรุปสำนวนทั้งหมดให้ ปปช. เพื่อพิจารณาตามกระบวนการตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญต่อไป เพราะฉะนั้นก็ขอได้มีโอกาสได้เล่าให้ทราบนะครับว่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น และพรรคประชาธิปัตย์ และคนของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้ว่าฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับ และก็ปัญหาเมื่อมีการกล่าวหาขึ้นมาก็จะต้องรับผิดชอบโดยการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และก็ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งครับว่าโครงการที่พูดว่ามีปัญหา ๆ เนี่ย ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญาเลยแม้แต่โครงการเดียวนะครับ ขณะเดียวกันการสอบของ DSI ก็ว่ากันไปตามกระบวนการนะครับ แต่สิ่งที่เราเรียกร้องคือ อย่าเลือกปฏิบัติ คืออย่างละเว้นและอย่ากลั่นแกล้ง ยังมีอีกหลายโครงการซึ่งมีปัญหาในทำนองเดียวกัน คือ E-Auction มีการกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของรัฐบาลเองบางโครงการมีการลงนามเซ็นสัญญาไปแล้วด้วยซ้ำก็อยากให้มีการตรวจสอบเช่นเดียวกัน ในส่วนของทาง DSI และนอกจากนั้นก็ขอเรียนว่าเรื่องเหล่านี้ก็ไม่ใช่เป็นประเด็นที่พูดจากล่าวหากันลอย ๆ คนที่มาอ้างว่ามีการรู้เห็นว่ารับเงินนั้น ความจริงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควรจะได้ดำเนินการ และก็พยายามจะโยงเข้าไปเรื่องการเมืองท้องถิ่น เรื่อง ส.ก. แต่ความจริงแล้วจะเห็นว่าในสภากรุงเทพมหานคร นั้นผู้บริหารนั้นจะเป็นผู้ที่เข้าประชุมสภา ผมเข้าใจว่าน่าจะทุกนัดหรือว่าเกือบทุกนัด ไม่เคยหลบหนีสภาและเข้ามาตอบข้อซักถามต่าง ๆ แสดงความรับผิดชอบตามกระบวนการของประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นก็ขอให้พี่น้องประชาชนได้มีความมั่นใจและผมก็จะติดตามสถานการณ์เรื่องนี้อย่างใกล้ชิดอย่างที่ได้ทำมาในช่วง 2 สัปดาห์ทีผ่านมาและก็จะช่วยผลักดันว่าอะไรที่ถูกต้อง ต้องดำเนินการ อะไรที่ผิดไม่ปกป้อง อันนี้ก็ขอให้ความมั่นใจ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ม.ค. 2549--จบ--
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า การดำเนินการจัดทำเอกสารสมุดปกดำ เกี่ยวกับเรื่องของการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทั้งองค์กรไปเข้าสู่กระบวนการของการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ได้มีการทำเอกสารขึ้นมาลำดับให้เห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อประชาชนในแง่ของค่าไฟ ผลกระทบในแง่ของต้นทุนการดำเนินงานทางธุรกิจ ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อระบบการแข่งขันต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีการรองรับไว้ แล้วก็มีการวิเคราะห์ว่าวาระแอบแฝง วาระซ้อนเร้นที่อาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครือข่ายใยแก้วนำแสง อันนี้ก็จะเป็นเรื่องที่รวบรวมไว้ในสมุดปกดำที่ขณะนี้ต้นฉบับเรียบร้อยกำลังอยู่ในกระบวนการของการจัดพิมพ์ สัปดาห์หน้าทางพรรคประชาธิปัตย์ก็คงจะสามารถนำเอกสารนี้มาเผยแพร่ให้กับพี่น้องประชาชนที่สนใจได้ต่อไป
ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์กันทางการเมืองกันค่อนข้างจะมากในระยะหลัง และมีการพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับทางออกของการเมืองไทย ทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้แสดงจุดยืนมาตั้งแต่ต้น ว่าวิธีการ แนวทางที่น่าจะเหมาะสมที่สุดคือแนวคิดเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ ขณะนี้ทางคณะกรรมการพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ได้มีการยกร่างเป็นตุ๊กตาขึ้นมา คาดว่าในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนกุมภาพันธ์นี้ก็จะสามารถจัดเป็นเวทีสาธารณะ และก็จะได้นำเอาแนวคิดของอาจารย์ธีรยุทธ์ บุญมี ที่ได้มีการนำเสนอในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าควรจะได้มีการระดมสมองกันในเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและก็มีการเสนอชื่อบุคคล องค์กรที่เกี่ยวข้องและผมก็ขอให้ทางวิปฝ่ายค้านเอาไปดำเนินการเพื่อที่จะให้การจัดเวทีสาธารณะซึ่งเราจะจัดอยู่ก่อนหน้านี้ ได้ผนวกเอาความคิดของท่านอาจารย์ธีรยุทธไปและก็จะดูว่าจะได้มีการดำเนินการในรูปแบบทีเหมาะสมได้อย่างไรต่อไป
เพราะฉะนั้น 3 เรื่องนี้ซึ่งได้เคยพูดคุยไว้ค้างคาไว้ จะเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ จะเป็นเรื่องรัฐวิสาหกิจ จะเป็นเรื่อง FTA ก็ขอรายงานความคืบหน้าการทำงานของพรรคฝ่ายค้านในช่วงสัปดาห์ทีผ่านมา สำหรับสัปดาห์นี้มีเรื่องอยู่ 2 เรื่องที่ผมอยากจะขอเวลาพูดคุยเพื่อให้เกิดความเข้าใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น
เรื่องแรกเป็นเรื่องของการขายหุ้นบริษัทของครอบครัวท่านนายกรัฐมนตรี เป็นข่าวฮือฮามากไม่ใช่ว่ามันเป็นการขายหุ้นซึ่งมีมูลค่ามหาศาล พูดกันถึง 70,000 กว่าล้าน แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางนะครับ ต่อโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย ต้องยอมรับครับว่าธุรกิจในเครือข่ายของท่านนายกฯ ได้เติบโตขึ้นมากและได้เข้าไปอยู่ในธุรกิจหลายธุรกิจด้วยกัน บริษัทที่มีการซื้อขายหุ้นนั้นเป็นบริษัทแม่ซึ่งยังถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบกิจการหลายกิจการ ตั้งแต่เรื่องของโทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ไปจนถึงเรื่องของสถานีโทรทัศน์ ไปถึงเรื่องของสายการบิน ถึงเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมาย ธุรกิจเหล่านี้ค่อนข้างจะเติบโตมากในช่วงที่ท่านนายกฯ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีและก็มีกำไรมหาศาล การขายหุ้นที่เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ ก็ทำให้คนที่อยู่ในครอบครัวของท่านได้ทำกำไรไปเป็นมูลค่ามหาศาล ขณะเดียวกันธุรกิจต่าง ๆ เหล่านี้ที่ผมได้เอ่ยถึงซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้นก็ได้เปลี่ยนมือไปอยู่ในมือของต่างชาติ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ต้องมองให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเมืองของเราในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา นโยบายของรัฐการใช้อำนาจหลายอย่างได้มีผลต่อการประกอบธุรกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายบริษัทเหล่านี้ได้เติบโตมาและทำกำไร ซึ่งก็เป็นเงินของคนไทยนั่นเอง แต่ขณะนี้เงินทั้งหมดนี้ก็เป็นการทำกำไรของคนที่เป็นผู้ถือหุ้นเดิม ขณะเดียวกันธุรกิจเครือข่ายเหล่านี้ก็กำลังตกไปอยู่ในมือของต่างชาติ อันนี้ก็เป็นประเด็นปัญหาที่จะได้มีการติดตามกันว่าจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของเศรษฐกิจอย่างไร แต่ว่าการดำเนินการในวันจันทร์ที่ผ่านมามันมีปัญหามีคำถามมากมาย ซึ่งไม่มีคำตอบ ไม่ใช่เฉพาะในประเด็นที่มีความพยายามจะอธิบายแล้วขัดแย้งกันเพราะว่าท่านนายกฯ พูดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของลูก ๆ ที่ได้เปิดทางที่จะให้คุณพ่อทำงานการเมืองโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งความจริงก็ต้องบอกว่าแปลว่า 4 — 5 ปีที่ผ่านมามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ขณะเดียวกันก็ไม่มีความชัดเจนครับว่าเงินที่ขายหุ้นไปแล้วจะนำไปสู่การลงทุนในด้านไหนอย่างไรบ้าง ถ้าเราทราบตรงนั้นเราจึงจะพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า ปัญหาการมีผลประโยชน์ทับซ้อนนี้มันยุติลงหรือไม่อย่างไร เพราะคำชี้แจงนั้นขัดกันเพราะว่าผู้เกี่ยวข้องในการแถลงข่าวในการซื้อขายหุ้นไม่ได้พูดถึงในมุมของท่านนายกฯ เลยแต่พูดในมุมของการใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจ เพราะฉะนั้นต้องจับตาดูว่าเงินที่ขายได้นั้นนำไปสู่อะไรบ้าง
ประการที่สองมันมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลของหน่วงานต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ หน่วยงานแรกคือ กลต.ครับ เพราะว่าการซื้อขายหุ้นครั้งนี้มีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นจังหวะเวลาที่มีการตรากฎหมายในเรื่องธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งก็มีคำถามไปว่าเกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในแค่ไหน มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลต. ว่าเวลาที่มีการเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วนมากอย่างนี้ในบริษัทแม่ ปกติแล้วก็จะมีการดำเนินการประกาศเกี่ยวกับการขอรับซื้อหุ้นต่าง ๆ ในบริษัทลูกด้วย แต่ว่าก็มีการวินิจฉัยทำนองว่าการเข้าถือหุ้นในบริษัทแม่ครั้งนี้ ผู้ซื้อไม่มีเจตนาที่จะเข้าไปครอบงำกิจการที่เป็นบริษัทลูกแต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งความจริงเพื่อแสดงความเป็นธรรมกับผู้ถือหุ้นรายย่อยก็ควรจะต้องมีความชัดเจนว่าเจตนาของผู้ถือหุ้นใหม่ ท่าทีของธุรกิจที่เป็นธุรกิจลูกจะมีการขายหุ้นหรือไม่อย่างไร และราคาที่มีการประเมินก็เช่นเดียวกันครับมีเครื่องหมายคำถามอยู่นะครับว่ามีความโปร่งใส มีความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยในบริษัทเหล่านั้นหรือไม่ นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร มีการเปลี่ยนการวินิจฉัยของกรมสรรพากรเพื่อมารองรับการดำเนินการในเรื่องนี้ซึ่งก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นครับว่าการทำกำไร หรือการทำรายได้มูลค่ามหาศาลทั้งหมดนี้กลับไม่มีการจะต้องเสียภาษีแต่ประการใด ซึ่งถ้าจะพูดถึงว่าเป็นการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามปกติหรือไม่ก็น่ากลับไปวิเคราะห์ดู เพราะว่ามีหลายกรณีนะครับไม่ได้เริ่มจากผู้ถือหุ้นเหล่านี้เข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในลักษณะของการลงทุน ก็จะต้องมีการติดตามตรวจสอบและก็ให้หน่วยงานเหล่านี้ชี้แจงเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน ผมอยากจะชี้ให้เห็นง่าย ๆ ครับว่าการที่ท่านนายกฯ พูดว่าเงินบางส่วนไม่ทราบเท่าไหร่อาจจะนำไปบริจาคมูลนิธิ หรือว่าเอามาวิจัยเรื่องปัญหาความยากจน ความจริงแล้วการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ถ้าหากว่าทำในรูปแบบอื่น ทางครอบครัวของท่านก็จะมีส่วนในการเสียภาษีให้บ้านเมืองให้ประเทศชาติเป็นมูลค่ามหาศาลทีเดียว แต่กลับเลือกใช้วิธีการที่จะสร้างกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งเรากำลังไปตรวจสอบว่ามีความถูกต้องหรือไม่ว่าไม่จำเป็นจะต้องเสียภาษี เรื่องนี้ก็ขอเรียนให้ทราบว่าทางพรรคประชาธิปัตย์ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อติดตามตรวจสอบให้ทางท่านส.ส.กรณ์ จาติกวินิช ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเงินการคลัง ในเรื่องตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ก็จะได้มีการติดตามเรื่องเหล่านี้และก็คงจะได้มีโอกาสรายงานให้พี่น้องประชาชนและท่านผู้ฟังให้ทราบต่อไป
อีกเรื่องหนึ่งครับคงเป็นเรื่องสุดท้ายที่จะพูดคุยคือเรื่องของ กทม. ครับ เพราะว่ามีข่าวคราวอยู่พอสมควร ผมขอเรียนให้ท่านผู้ฟังและพี่น้องประชาชนได้มั่นใจนะครับว่า ประการแรกทางพรรคประชาธิปัตย์นั้นยืนหยัดและยึดมั่นในอุดมการณ์ของพรรคที่ได้ประกาศไว้ในเรื่องของการทำการเมืองที่สุจริต ดังนั้นขอยืนหยัดนะครับว่าถ้ามีสิ่งใดที่ขัดกับกระบวนการตรงนี้ เป็นการเมืองที่มีการทุจริตมีความไม่ถูกต้อง พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ปกป้อง และพรรคประชาธิปัตย์จะไม่มีการไปแสวงประโยชน์จากการกระทำหรือพฤติกรรมเหล่านี้ ประการที่สองก็คือว่าเมื่อท่านผู้ว่ากทม. คือคุณอภิรักษ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ในนามของพรรค พรรคก็มีความรับผิดชอบในการที่จะดูแลแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน กทม. ผมขอเรียนว่าทั้งสองข้อที่ผมได้พูดนี้เราได้ดำเนินการ สิ่งที่อยากจะชี้ให้เห็นก็คือว่าประเด็นปัญหาในขณะนี้ก็มีการสอบสวนโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษที่เราเรียกว่า DSI ซึ่งได้มีการไปตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ประมาณกลางปีที่แล้วต่อเนื่องไปจนถึงต้นปีนี้ แต่โครงการนี้ผมลำดับให้เห็นถึงความเป็นมาก็คือว่า ได้เริ่มมีการเปิดประมูลกันตั้งแต่เดือน ตุลาคม มีการเปิดประมูลก็มีการร้องเรียนขณะนี้ก็มีบางฝ่ายได้พยายามพูดจาว่ามีการร้องเรียนมาแล้ว ผู้บริหารกทม.ไม่ทำอะไร มีการร้องเรียนช่วงนั้น แล้วก็ยังมีการระบุช่วงหลังด้วยซ้ำว่า มีการจ่ายเงินจ่ายทองกัน ในเดือนตุลาคม พูดถึงตัวเลข ร้อยล้านพันล้านที่จริงแล้ว เมื่อประมูลไปแล้วก็มีการร้องเรียน มันมีการตรวจสอบครับ ตรวจสอบโดยกทม.เอง จะตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมาธิการอย่างน้อย ๆ 2 คณะ ซึ่งคนของพรรคประชาธิปัตย์ก็ร่วมตรวจสอบด้วย สุดท้ายนำไปสู่การยกเลิกการประมูลในเดือน ธันวาคม แล้วก็ต้องมีการเปิดประมูลครั้งใหม่ หลังจากเปิดประมูลครั้งใหม่ไปแล้ว ก็มีการร้องเรียนมาเป็นรอบที่ 3 การร้องเรียนส่วนใหญ่ก็เข้ามาในช่วงของวันที่ 20 — 21 ธันวาคม ก็จะมีการเคาะราคาในการประมูลกันในวันที่ 22 ครับ ทุกครั้งที่มีการร้องเรียนเรื่องมาถึงทางสำนักของท่านผู้ว่าฯ หรือท่านรองผู้ว่าฯ หรือใครก็ตาม ก็จะมีการสั่งการให้มีการตรวจสอบและชี้แจง แล้วก็ในวันที่ 22 ก่อนที่จะมีการเคาะราคากันซัก 1 — 2 ช.ม. ท่านปลัดกทม. ก็ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อพิจารณาว่าจะมีการเดินหน้ากับการเคาะราคาหรือไม่ ในที่สุดแล้วในที่ประชุมนั้น ที่ท่านปลัดฯ เป็นประธาน ก็เห็นว่าคำร้องเรียนต่าง ๆ สามารถชี้แจงได้ ที่ประชุมก็มีมติให้เดินหน้ากับการเคาะราคาประมูล จากนั้นก็จึงมาแจ้งท่านรองผู้ว่าฯ และท่านผู้ว่าฯ ทราบต่อไป ซึ่งท่านรองผู้ว่าฯ ก็ได้ลงนามรับทราบเรื่องนี้วันที่ 5 มกราคม และท่านผู้ว่าฯ ก็มาทราบรายละเอียดเรื่องพวกนี้หลังจากนั้นประมาณ 2 — 3 วัน สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อท่านผู้ว่าฯ ทราบเรื่องตรงนี้ ก็คือท่านก็ได้มีการสั่งให้ชะลอโครงการหลังจากนั้นก็ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริงให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน ซึ่งมาเสร็จเอาเมื่อวันอังคาร หรือพุธที่แล้ว แล้วก็ได้มีการสรุปออกมาครับว่ามันมีปัญหาในการประมูลครั้งที่ 2 ด้วยซึ่งอาจจะมีลักษณะของการกีดกันผู้เข้าแข่งขันมีความไม่โปร่งใส ท่านผู้ว่าฯ ก็จึงได้สั่งยกเลิกการประมูล โครงการทั้งหมดที่มีการพูดถึง 20,000 ล้าน ยังไม่มีการเซ็นสัญญาเลยแม้แต่โครงการเดียว นอกจากนั้นท่านผู้ว่าฯ อภิรักษ์ ก็ได้สั่งให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมว่า ที่บอกว่าอาจจะมีการกีดกันมีความไม่โปร่งใส ใครเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องบ้าง แล้วก็ยังได้เชิญบุคคลภายนอก คือ พล.ต.อ.ประทิน เข้ามาเป็นผู้ช่วยตรวจสอบในเรื่องนี้คือเป็นคณะกรรมการอีกชุดหนึ่ง ขณะเดียวกันครับทาง DSI ก็สอบสวนไป ทางผู้ว่าฯ ท่านรองผู้ว่าฯ ก็ได้ให้ความร่วมมือในการสอบสวนเป็นอย่างดี ไม่มีการขอเลื่อนเวลา ไม่มีการบอกว่าไม่พูดอะไรไปให้การในชั้นศาลไม่ใช่ พยายามชี้แจง ให้ข้อมูล ให้ข้อชี้แจง ให้ความร่วมมือทุกประการกับการสอบ นอกจากนั้นเมื่อทาง DSI ได้ออกหมายเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่ไม่ใช่ภาคเอกชน 3 ราย ท่านผู้ว่าฯ ก็ได้ดำเนินการให้ทางท่านรองผู้ว่าฯ โดยการพูดคุยกันว่า ให้ท่านรองผู้ว่าฯ ได้พิจารณา ท่านก็บอกว่าจะคืนความรับผิดชอบของงานต่าง ๆ ที่อยู่ในสายที่เกี่ยวข้องกับการสอบทั้งหมด เพื่อให้เกิดความสบายใจว่าการสอบจะดำเนินการได้อย่างอิสระ ส่วนข้าราชการอีก 2 ราย ท่านผู้ว่าฯ ก็ได้ให้โยกย้ายไป เพื่อให้หลุดจากสายงานความรับผิดชอบมีการสอบเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นผมก็ขอเรียนอย่างนี้ครับว่า เมื่อวานนี้ท่านผู้ว่าฯ และท่านรองฯ ก็ได้มาชี้แจงที่พรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกัน เราเห็นชัดเจนว่าท่านผู้ว่าฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรถ้าหากจะมีการทุจริตเกิดขึ้นและขณะเดียวกันได้ใช้การตัดสินใจ ได้ตั้งกรรมการ ได้มีมาตรการ ได้แก้ไขปัญหา อย่างที่พึงจะกระทำ เหมือนกับที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องตรวจสอบรัฐบาลเรื่องการทุจริต เราเรียกร้องอย่างนี้ครับว่าชะลอโครงการก่อน ยกเลิกโครงการได้ไม๊ ตั้งกรรมการมาสอบได้ไม๊ ใครรับผิดชอบย้ายไปก่อนได้ไม๊ อย่างนี้เป็นสิ่งที่เราเรียกร้องจากรัฐบาล ฉะนั้นเมื่อเราถูกกล่าวหาเสียเองเราก็ดำเนินการตามแนวทางในมาตรฐานที่เราเรียกร้อง ส่วนกรณีของท่านรองผู้ว่าฯ นั้นก็ได้มาชี้แจงเช่นเดียวกันก็มีเอกสารที่มาให้ดูว่าการสั่งการของท่านทุกอย่างก็เป็นไปตามระเบียบราชการ และเป็นไปตามขั้นตอนของการเสนอขึ้นมา แต่ว่าถูกผิดอย่างไรพรรคประชาธิปัตย์เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ ขณะนี้เข้ามาสอบได้อย่างเต็มที่ แล้วก็จะต้องมีการติดตามกันต่อไปทั้งในส่วนของคณะกรรมการกทม. ทั้งในส่วนของท่านพล.ต.อ.ประทิน ทั้งในส่วนของ DSI ซึ่งเมื่อทำงานเสร็จก็ต้องสรุปสำนวนทั้งหมดให้ ปปช. เพื่อพิจารณาตามกระบวนการตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญต่อไป เพราะฉะนั้นก็ขอได้มีโอกาสได้เล่าให้ทราบนะครับว่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น และพรรคประชาธิปัตย์ และคนของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้ว่าฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับ และก็ปัญหาเมื่อมีการกล่าวหาขึ้นมาก็จะต้องรับผิดชอบโดยการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และก็ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งครับว่าโครงการที่พูดว่ามีปัญหา ๆ เนี่ย ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญาเลยแม้แต่โครงการเดียวนะครับ ขณะเดียวกันการสอบของ DSI ก็ว่ากันไปตามกระบวนการนะครับ แต่สิ่งที่เราเรียกร้องคือ อย่าเลือกปฏิบัติ คืออย่างละเว้นและอย่ากลั่นแกล้ง ยังมีอีกหลายโครงการซึ่งมีปัญหาในทำนองเดียวกัน คือ E-Auction มีการกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของรัฐบาลเองบางโครงการมีการลงนามเซ็นสัญญาไปแล้วด้วยซ้ำก็อยากให้มีการตรวจสอบเช่นเดียวกัน ในส่วนของทาง DSI และนอกจากนั้นก็ขอเรียนว่าเรื่องเหล่านี้ก็ไม่ใช่เป็นประเด็นที่พูดจากล่าวหากันลอย ๆ คนที่มาอ้างว่ามีการรู้เห็นว่ารับเงินนั้น ความจริงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควรจะได้ดำเนินการ และก็พยายามจะโยงเข้าไปเรื่องการเมืองท้องถิ่น เรื่อง ส.ก. แต่ความจริงแล้วจะเห็นว่าในสภากรุงเทพมหานคร นั้นผู้บริหารนั้นจะเป็นผู้ที่เข้าประชุมสภา ผมเข้าใจว่าน่าจะทุกนัดหรือว่าเกือบทุกนัด ไม่เคยหลบหนีสภาและเข้ามาตอบข้อซักถามต่าง ๆ แสดงความรับผิดชอบตามกระบวนการของประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นก็ขอให้พี่น้องประชาชนได้มีความมั่นใจและผมก็จะติดตามสถานการณ์เรื่องนี้อย่างใกล้ชิดอย่างที่ได้ทำมาในช่วง 2 สัปดาห์ทีผ่านมาและก็จะช่วยผลักดันว่าอะไรที่ถูกต้อง ต้องดำเนินการ อะไรที่ผิดไม่ปกป้อง อันนี้ก็ขอให้ความมั่นใจ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ม.ค. 2549--จบ--