เผยอุตฯไตรมาสสุดท้าย ปี 48 ขยายตัวดี ตามแรงหนุนของยานยนต์-อาหาร-ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่งดัชนีผลผลิตพุ่งร้อยละ 3.45 เทียบจากช่วงเดียวกันของปี 47
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้สรุปภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2548 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม 215 ผลิตภัณฑ์ พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 152.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 จากช่วงเดียวกันของปี 2547 (อยู่ที่ระดับ 147.43) โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 อยู่ที่ระดับ 68.92 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.03 จากช่วงเดียวกันของปี 2547 (อยู่ที่ระดับ 68.89) โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
โดย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.02 และการจำหน่ายรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2548 มีจำนวนรวม 1,125,316 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.25 จากปี 2547 และมีการจำหน่ายรถยนต์ 703,437 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.36 จากปี 2547 ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.62 และจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.31
ส่วน อุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 ภาวะการผลิตเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปี 2547 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประมง มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.9 ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนจากการผลิตของกุ้งสดแช่เย็นและแช่แข็ง ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.5 และปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.7 โดยสินค้าประมงของไทยมีความได้เปรียบจากการส่งสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ซึ่งการเรียกเก็บภาษีจากไทยยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ประกอบกับการประกาศคืนสิทธิ GSP ในสินค้าประมงของสหภาพยุโรป เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยมีการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาด
สำหรับ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 ภาวะการผลิตโดยรวมมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.7 Monolithic IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 และ HDD เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 เนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์ในตลาดโลกของไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมถึงความต้องการ Consumer electronic ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายผลิตภัณฑ์ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องดิจิตอล เครื่องรับโทรทัศน์แบบดิจิตอล เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้สรุปภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2548 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม 215 ผลิตภัณฑ์ พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 152.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 จากช่วงเดียวกันของปี 2547 (อยู่ที่ระดับ 147.43) โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 อยู่ที่ระดับ 68.92 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.03 จากช่วงเดียวกันของปี 2547 (อยู่ที่ระดับ 68.89) โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
โดย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.02 และการจำหน่ายรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2548 มีจำนวนรวม 1,125,316 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.25 จากปี 2547 และมีการจำหน่ายรถยนต์ 703,437 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.36 จากปี 2547 ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.62 และจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.31
ส่วน อุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 ภาวะการผลิตเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปี 2547 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประมง มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.9 ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนจากการผลิตของกุ้งสดแช่เย็นและแช่แข็ง ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.5 และปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.7 โดยสินค้าประมงของไทยมีความได้เปรียบจากการส่งสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ ซึ่งการเรียกเก็บภาษีจากไทยยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ประกอบกับการประกาศคืนสิทธิ GSP ในสินค้าประมงของสหภาพยุโรป เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยมีการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาด
สำหรับ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 ภาวะการผลิตโดยรวมมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.7 Monolithic IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 และ HDD เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 เนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์ในตลาดโลกของไตรมาสที่ 4 ปี 2548 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมถึงความต้องการ Consumer electronic ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายผลิตภัณฑ์ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องดิจิตอล เครื่องรับโทรทัศน์แบบดิจิตอล เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-