ความสำเร็จขอการให้บริการเงินทุนหมุนเวียน
เงินทุน...พลิกฟื้นธุรกิจขันลงหินบ้านบุ
บ้านบุ เป็นย่านที่ทำขันลงหินมาแต่โบราณปรากฏหลักฐานในเอกสารสมัยราชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาในชุมชนว่า บรรพบุรุษของชาวบ้านบ้านบุเป็นชาวกรุงศรีอยุธยา ชุมชนบ้านบุตั้งอยู่บริเวณริมคลองบางกอกน้อยฝั่งใต้ หลังสถานีรถไฟธนบุรี เป็นชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกว่า 100 หลังคาเรือน
บ้านบุ จากวันวานถึงวันนี้ ศิลปะการทำเครื่องทองลงหินของชาวบ้านบุ ดำรงอยู่ในบ้านบุสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปี มีผู้นิยมใช้เครื่องทองลงหินเป็นจำนวนมากจนช่างไม่สามารถผลิตได้ทันกับความต้องการของลูกค้า จึงเกิดการผลิตของเลียนแบบจากทองเหลือง หล่อปั้นด้วยเครื่องจักรขึ้นมาตีตลาดด้วยจำนวนการผลิตที่สูงกว่า และมีราคาถูกกว่ามาก
คุณเมตตา เสลานนท์ ผู้รับสืบทอดงานมรดก บริหารจัดการกิจการขันลงหินบ้านบุแห่งเดียวในประเทศไทยตลอดกว่าจนถึงปัจจุบัน เกือบ 40 ปี เล่าว่า
“จากสภาพบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ มีผลทำให้ศิลปหัตถกรรมการผลิตเครื่องทองลงหินของขันบ้านบุเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ ความรู้ความสามารถและเทคนิคในการผลิตภาชนะอย่างโบราณกลับเสื่อมถอยลงด้วยขาดหายผู้รู้ ช่างฝีมือรุ่นเก่าจะไม่ส่งเสริมให้ลูกหลานฝึกหัดฝีมือขึ้นแทนอีกต่อไป เพราะงานบุขันลงหินเป็นงานหนัก ผลิตสินค้าด้วยความลำบากเหนื่อยยาก ดังนั้นช่างฝีมือจึงอาจจะหมดไปในระยะเวลาอันสั้น เมื่อวาระนั้นมาถึง ความประณีตและสุนทรียภาพของเครื่องทองลงหินที่ผลิตขึ้นได้ด้วยฝีมือที่เชี่ยวชาญของชาวบ้านบุคงจะสูญหายไปพร้อมกับเสียงบุตีขันและบ้านบุคงจะกลายเป็นตำนานที่เล่าขานกันต่อไป”
ดิฉันดีใจที่เงินทุนหมุนเวียนฯ ได้ให้การช่วยเหลือให้คำปรึกษาแนะนำ สนับสนุนเงินลงทุนในการอนุรักษ์ กอบกู้สถาการณ์ผลิตภัณฑ์ขันลงหินบ้านบุกลับ สู่วันวานด้วยเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 500,000 บาท สามารถที่จะประคับประคองช่างฝีมือกลับมาร่วมใจกันผลิตสินค้า จัดจำหน่ายตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ฟื้นฟูสถานประกอบการโรงงานขันลงหินบ้านบุ เจียม แสงสัจจา ที่ถูกเหตุการณ์เพลิงไหม้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติ และคนไทย มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 400,000 — 500,000 บาท เกิดแรงงานในชุมชนบ้านบุที่อยู่ระหว่างการเรียนรู้ ฝึกฝนกว่า 20 ชีวิต ดิฉันมีกำลังใจที่จะต่อสู้อีกครั้ง เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยในงานศิลป์ ถิ่นเมืองกรุง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
เงินทุน...พลิกฟื้นธุรกิจขันลงหินบ้านบุ
บ้านบุ เป็นย่านที่ทำขันลงหินมาแต่โบราณปรากฏหลักฐานในเอกสารสมัยราชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาในชุมชนว่า บรรพบุรุษของชาวบ้านบ้านบุเป็นชาวกรุงศรีอยุธยา ชุมชนบ้านบุตั้งอยู่บริเวณริมคลองบางกอกน้อยฝั่งใต้ หลังสถานีรถไฟธนบุรี เป็นชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกว่า 100 หลังคาเรือน
บ้านบุ จากวันวานถึงวันนี้ ศิลปะการทำเครื่องทองลงหินของชาวบ้านบุ ดำรงอยู่ในบ้านบุสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปี มีผู้นิยมใช้เครื่องทองลงหินเป็นจำนวนมากจนช่างไม่สามารถผลิตได้ทันกับความต้องการของลูกค้า จึงเกิดการผลิตของเลียนแบบจากทองเหลือง หล่อปั้นด้วยเครื่องจักรขึ้นมาตีตลาดด้วยจำนวนการผลิตที่สูงกว่า และมีราคาถูกกว่ามาก
คุณเมตตา เสลานนท์ ผู้รับสืบทอดงานมรดก บริหารจัดการกิจการขันลงหินบ้านบุแห่งเดียวในประเทศไทยตลอดกว่าจนถึงปัจจุบัน เกือบ 40 ปี เล่าว่า
“จากสภาพบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ มีผลทำให้ศิลปหัตถกรรมการผลิตเครื่องทองลงหินของขันบ้านบุเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ ความรู้ความสามารถและเทคนิคในการผลิตภาชนะอย่างโบราณกลับเสื่อมถอยลงด้วยขาดหายผู้รู้ ช่างฝีมือรุ่นเก่าจะไม่ส่งเสริมให้ลูกหลานฝึกหัดฝีมือขึ้นแทนอีกต่อไป เพราะงานบุขันลงหินเป็นงานหนัก ผลิตสินค้าด้วยความลำบากเหนื่อยยาก ดังนั้นช่างฝีมือจึงอาจจะหมดไปในระยะเวลาอันสั้น เมื่อวาระนั้นมาถึง ความประณีตและสุนทรียภาพของเครื่องทองลงหินที่ผลิตขึ้นได้ด้วยฝีมือที่เชี่ยวชาญของชาวบ้านบุคงจะสูญหายไปพร้อมกับเสียงบุตีขันและบ้านบุคงจะกลายเป็นตำนานที่เล่าขานกันต่อไป”
ดิฉันดีใจที่เงินทุนหมุนเวียนฯ ได้ให้การช่วยเหลือให้คำปรึกษาแนะนำ สนับสนุนเงินลงทุนในการอนุรักษ์ กอบกู้สถาการณ์ผลิตภัณฑ์ขันลงหินบ้านบุกลับ สู่วันวานด้วยเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 500,000 บาท สามารถที่จะประคับประคองช่างฝีมือกลับมาร่วมใจกันผลิตสินค้า จัดจำหน่ายตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ฟื้นฟูสถานประกอบการโรงงานขันลงหินบ้านบุ เจียม แสงสัจจา ที่ถูกเหตุการณ์เพลิงไหม้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติ และคนไทย มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 400,000 — 500,000 บาท เกิดแรงงานในชุมชนบ้านบุที่อยู่ระหว่างการเรียนรู้ ฝึกฝนกว่า 20 ชีวิต ดิฉันมีกำลังใจที่จะต่อสู้อีกครั้ง เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยในงานศิลป์ ถิ่นเมืองกรุง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-