ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ระหว่างวันที่ 19-20 เมษายน 2549 ที่เมืองอูบุด เกาะบาหลี ซึ่งเป็นกิจกรรมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่จะปรึกษาหารือและประสานงานในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องนโยบายและการตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ก่อนที่จะมีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและคู่เจรจาในวาระปกติ ที่จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมของทุกปี
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งนี้จะหารือกันใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การส่งเสริมสถานภาพและบทบาทนำของอาเซียนในการดำเนินความสัมพันธ์กับภายนอก (2) การพิจารณารับติมอร์เลสเตเข้าร่วมกิจกรรมของอาเซียน และ (3) การกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นแผนงานระยะ 6 ปีของอาเซียน ระหว่างปี 2547-2553
ทั้งสามประเด็นข้างต้นเป็นประเด็นสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อความร่วมมือของอาเซียน ซึ่งนับวันจะขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีผลให้ความสัมพันธ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น และช่วยให้อาเซียนได้รับความสนใจและการยอมรับจากนานาประเทศมากขึ้น โดยล่าสุดอาเซียนเป็นแกนนำในการจัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกครั้งแรก เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
สำหรับประเด็นด้านสถานการณ์การเมืองในภูมิภาคและระหว่างประเทศนั้น คาดว่าเรื่องสำคัญที่จะมีการหารือกัน คือ ผลการเยือนพม่าของรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียน ในปัจจุบัน อันเป็นการดำเนินการตามข้อตัดสินใจของผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 เมื่อเดือนธันวาคม 2548
ประเด็นสำคัญ ๆ ที่ไทยประสงค์จะหยิบยกขึ้นหารือและผลักดันในการประชุมครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องที่ไทยเคยเสนอและหยิบยกไว้แล้วในการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 11 ได้แก่ การเร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อันจะมีผลในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นใหม่ที่จะหารือกันในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน ทั้งในด้านหลักการการตัดสินใจ และการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกกลุ่มอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ การขจัดปัญหาและอุปสรรคในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะการระดมทรัพยากรเพื่อการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาและขจัดความยากจน นอกจากนี้ มีเรื่องการวางยุทธศาสตร์จัดอันดับความสำคัญของมาตรการต่างๆ ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่มีปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์กว่า 370 รายการ เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และเอื้อต่อการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน เช่น การจัดการด้านภัยพิบัติในภูมิภาค การอำนวยความสะดวกในการไปมาหาสู่ของประชาชนในอาเซียน การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและรับมือกับโรคติดต่อระดับภูมิภาค และการเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นต้น
อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกำหนดจะพบหารือกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องกฎบัตรอาเซียน ในวันที่ 19 เมษายน 2549 เวลา 17.00-18.00 น. ซึ่งเป็นการหารือที่มีขึ้นตามความประสงค์ของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่ได้เสนอไว้ในการประชุมคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ครั้งที่ 2 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 การหารือมีจุดประสงค์เพื่อให้คณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้รับฟังข้อคิดเห็นจากรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ เพื่อประกอบการเสนอแนะแนวทางจัดทำกฎบัตรอาเซียน ที่จะเป็นกรอบทางกฎหมายรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนต่อไป หลังจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และในวันที่ 20 เมษายน 2549 ประธานาธิบดีอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่คณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งนี้จะหารือกันใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การส่งเสริมสถานภาพและบทบาทนำของอาเซียนในการดำเนินความสัมพันธ์กับภายนอก (2) การพิจารณารับติมอร์เลสเตเข้าร่วมกิจกรรมของอาเซียน และ (3) การกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นแผนงานระยะ 6 ปีของอาเซียน ระหว่างปี 2547-2553
ทั้งสามประเด็นข้างต้นเป็นประเด็นสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อความร่วมมือของอาเซียน ซึ่งนับวันจะขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีผลให้ความสัมพันธ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น และช่วยให้อาเซียนได้รับความสนใจและการยอมรับจากนานาประเทศมากขึ้น โดยล่าสุดอาเซียนเป็นแกนนำในการจัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกครั้งแรก เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
สำหรับประเด็นด้านสถานการณ์การเมืองในภูมิภาคและระหว่างประเทศนั้น คาดว่าเรื่องสำคัญที่จะมีการหารือกัน คือ ผลการเยือนพม่าของรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียน ในปัจจุบัน อันเป็นการดำเนินการตามข้อตัดสินใจของผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 เมื่อเดือนธันวาคม 2548
ประเด็นสำคัญ ๆ ที่ไทยประสงค์จะหยิบยกขึ้นหารือและผลักดันในการประชุมครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องที่ไทยเคยเสนอและหยิบยกไว้แล้วในการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 11 ได้แก่ การเร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อันจะมีผลในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นใหม่ที่จะหารือกันในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน ทั้งในด้านหลักการการตัดสินใจ และการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกกลุ่มอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ การขจัดปัญหาและอุปสรรคในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะการระดมทรัพยากรเพื่อการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาและขจัดความยากจน นอกจากนี้ มีเรื่องการวางยุทธศาสตร์จัดอันดับความสำคัญของมาตรการต่างๆ ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่มีปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์กว่า 370 รายการ เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และเอื้อต่อการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน เช่น การจัดการด้านภัยพิบัติในภูมิภาค การอำนวยความสะดวกในการไปมาหาสู่ของประชาชนในอาเซียน การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและรับมือกับโรคติดต่อระดับภูมิภาค และการเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นต้น
อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกำหนดจะพบหารือกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องกฎบัตรอาเซียน ในวันที่ 19 เมษายน 2549 เวลา 17.00-18.00 น. ซึ่งเป็นการหารือที่มีขึ้นตามความประสงค์ของคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่ได้เสนอไว้ในการประชุมคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ครั้งที่ 2 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 การหารือมีจุดประสงค์เพื่อให้คณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้รับฟังข้อคิดเห็นจากรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ เพื่อประกอบการเสนอแนะแนวทางจัดทำกฎบัตรอาเซียน ที่จะเป็นกรอบทางกฎหมายรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนต่อไป หลังจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และในวันที่ 20 เมษายน 2549 ประธานาธิบดีอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่คณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-