"ประเทศไทย มีแผนพัฒนา ปาล์มน้ำมันอยู่แล้ว ทำกันมา 10 ปี ผ่าน ครม.ทุกปี อนุมัติทุกปี แต่ไม่เกิดอะไรขึ้นเลย...
วันนี้ ต้องขอบคุณไบโอดีเซล ที่มาจุดประกายปาล์มน้ำมัน เพื่อให้เกิดแนวทางจริงๆ ในการพัฒนาปาล์มน้ำมัน จะปลูกเพื่อทำไบโอดีเซล เพียงอย่างเดียว หรือจะปลูกเพื่อธุรกิจต่อเนื่อง ปลายน้ำที่มีมูลค่ามหาศาล”
ดร.กฤษดา ชวนะนันท์ นายกสมาคมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนาปาล์มน้ำมันเส้นทางสู่ความสำเร็จของเกษตรกร ที่จังหวัดกระบี่ เมื่อต้นเดือนกันยายน 2548 จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ดร.กฤษดา บอกว่า แผนปาล์มน้ำมันที่ผ่านมามีอะไรเด่นๆเยอะมาก เหลือแต่ขยายแนวคิดออกไปเท่านั้น
“เกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน แทนที่ ครม.จะประชุมอาทิตย์ละครั้ง ก็น่าจะเป็นสองเดือนครั้ง หรือไม่ก็เปลี่ยนมานั่งฟังพวกเราที่มาสัมมนาเรื่องปาล์มแค่ 1 วัน ครม.จะได้เข้าใจเรื่องปาล์มน้ำมันกันอย่างลึกซึ้ง”
ถามว่า...แนวทางพัฒนาคืออะไร?
กว่าจะถึงวันนี้โครงการปาล์มเกิดขึ้นเอง พัฒนาด้วยตัวของตัวเอง
ที่ผ่านมา...เดี๋ยวคนโน้นชกที คนนี้ชกที รัฐบาลชกที อยู่ดีๆก็จะมีการเปิดเสรีทางการค้า กำลังอ้าซ่ากับการค้าเสรี ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจปาล์มน้ำมันในประเทศเกิดปัญหา
“ประเทศไทยมีแต่เสียเปรียบ มีสินค้าส่งผ่านเฉยๆ...โดยไม่ได้เงิน”
ดร.กฤษดา บอกว่า แนวทางพัฒนาปาล์มน้ำมันมีปัญหาเยอะ ทางที่จะพัฒนา มาถึงตรงนี้ต้องพัฒนามาจากฐานราก หมายถึงภาคเกษตรต้องมีองค์กรดูแลอย่างจริงๆจังๆ
เกษตรฝ่ายเดียวทำไม่ได้ ปาล์มน้ำมันเป็นเรื่องใหญ่กระทบกับหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กรมศุลกากร
ปาล์มน้ำมันต้องมีองค์กร ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย นักวิชาการ ภาคเอกชน ภาครัฐ และเกษตรกร
เมื่อเกิดแนวทางที่ชัดเจน รัฐบาลดำเนินการวางแผนยุทธศาสตร์ ก็จะตรงประเด็นกว่าที่จะมีการพูดกันที คิดจะทำกันที แล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
“นักวิจัยแต่ละส่วนแต่ละหน่วยงาน ทำวิจัยซ้ำกันกี่คน มหาวิทยาลัย สกว. ปตท. ก็ทำในแต่ละส่วนของตัวเอง มันหมายถึงอะไร...ประเทศไทยไม่มีการรวมงานวิจัย เราต้องวางแผนกองทุนวิจัยกันใหม่ งานวิจัยอันไหนดี ก็อย่าทำซ้ำกัน ต้องมีองค์กรที่ทำให้เป็นในแนวทางเดียวกัน”
นี่แค่ขั้นตอนการวิจัย ยังมีอื่นๆอีกมากมายที่เป็นอย่างนี้
แผนพัฒนาปาล์มน้ำมัน ไม่ได้บอกว่าหมายถึงการผลิต การจำหน่ายไบโอดีเซลเพื่อลดการใช้น้ำมันที่มีราคาแพงเพียงอย่างเดียว
ที่ต้องพูดกัน...วันนี้...แม้ว่าไบโอดีเซลจะมีราคาแพง มีต้นทุนสูง ยังไงไบโอดีเซลก็ต้องเกิด
ประโยชน์ของปาล์มน้ำมันมีมากมาย แต่ที่คนไทยพูดกัน ส่วนใหญ่มักได้ยินคำว่า...ไบโอดีเซลคือ เรื่องของพลังงานทดแทนราคาถูก ใช้ของถูก ไม่ต้องจ่ายน้ำมันแพง
ประชาชนส่วนใหญ่จะรับรู้ได้บ้างไหมว่า การที่เราจะต้องจ่ายแพงอีกหน่อย แต่อนาคตจะได้รับประโยชน์กลับคืนมาถึงประชาชนและประเทศชาติอย่างมโหฬารมาก
“บางคนอาจจะรู้ บางคนอาจจะไม่ทราบนั่นคือประเด็นที่ชี้ให้เห็นว่า ภาพไบโอดีเซลที่ออกสู่สังคมเป็นเพียงภาพเล็กๆ ภาพเดียว ภาพใหญ่ของมันจริงๆมันคืออะไรบ้าง ต้องบอกให้ทุกคนรู้ ถ้าเข้าใจ รัฐบาลจะออกนโยบายอะไรมันง่ายขึ้น”
ความเห็นบนเวทีสัมมนาแสดงความสงสารไปถึงเกษตรกร ถ้าปล่อยให้รัฐบาลปกครองแนวดิ่งดูท่าจะไม่เกิดผล...เหลวหมด โครงการโคล้านตัว... ห้าล้านตัว ยังเสียว เลี้ยงกันมากๆ...คนก็ต้องกินวัวเยอะๆ
ไม่อยากให้เกษตรสวนปาล์มถูกบังคับเป็นนโยบายจากบนลงล่าง รัฐบาลต้องฟังผู้ที่อยู่ในวงการปาล์ม ทุกฝ่ายต้องแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันร่วมกัน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภาคเอกชน ชุมชน ปตท. กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรฯ...มีอะไรดี ต้องเอามารวมกันเป็นยุทธศาสตร์
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่สร้างมูลค่าได้มหาศาล นอกจากไบโอดีเซลยังมีผลิตภัณฑ์ปลายน้ำซึ่งมีมูลค่าเพิ่มอีกมาก น้ำมันพืชสำหรับบริโภค ผลิตภัณฑ์ อาหาร...กรดไขมัน เนยเทียม และผลิตภัณฑ์โอลิโอเคมี เครื่องสำอาง แว็กซ์ จาระบี ฯลฯ
หากเข้าใจว่าการมีไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทน หมายถึงประโยชน์มากมาย แต่เป็นระยะยาว เขายินดีจะจ่ายไหม ก็ต้องเปรียบเทียบกันดู หากไม่มีการอธิบาย ไม่มีการบอก จะไปจ่ายแพงทำไม ก็จะคิดกันว่า...เป็นเรื่องเสียเวลา
ดร.กฤษดา ย้ำว่า จริงอยู่เรามีแผน แต่สิ่งที่ขาดคือตัวองค์กรที่รวมความร่วมมือกัน เรายังไม่เคยมี และเราก็ไม่เคยร่วมมือกันเลย
ถ้าเป็นองค์กรที่เป็นความร่วมมือกันแล้ว คุยกันด้วยหลักการ ย่อมดีกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกมาพูด และมีน้ำหนักมากกว่าเอกชนมาพูดฝ่ายเดียว
“องค์กรปาล์มน้ำมันต้องเกิด แล้วแนวทางยั่งยืนที่จะมาพัฒนาปาล์มน้ำมันในประเทศก็จะเกิด”
ดร.กฤษดา กล่าวทิ้งท้าย
สมชาย สิทธิโชค ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ เสริมว่า การใช้ปาล์มน้ำมันต้องใช้ประโยชน์ได้ทั้งระบบ อเมริกาพัฒนาใช้ปาล์มเป็นไบโอฟูเอล ใช้ลำต้น ใช้ต้นปาล์มพัฒนาเป็นซุปเปอร์ดีเซล
พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ ปลูกปาล์ม 22 ต้น ได้ผลผลิตไบโอแมส ไบโอแกส 153 ตัน ใช้เป็นพลังงานทดแทนได้ทั้งระบบ...ไม่มีพืชใดที่มีประสิทธิภาพขนาดนี้
วงการปาล์มน้ำมันในวันนี้ สมชายมีสองเรื่องที่อยากจะฝากไว้ เรื่องแรกนโยบายแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันจะต้องเอาคนที่รู้เรื่อง เข้าใจเรื่องปาล์มน้ำมันมาพูด ไม่ใช่เอาแต่โครงการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อจะเอาน้ำมันดิบ ใน 5 ปี
“ขอประทานโทษ...เมืองไทยผลิตเมล็ดปาล์มได้เท่าไหร่ ทั้งโลกผลิตได้ 20 ล้านเมล็ด เราจะนำเข้าได้เท่าไหร่ เพื่อนบ้านก็นำเข้า...ปลูกไปแล้วเท่าไหร่
เป้าหมาย 4 แสนไร่ต่อปี ใช้เวลา 10 ปี ก็ปลูกได้ 4 ล้านไร่ ถ้าเป้าเพิ่มเป็น 10 ล้านไร่ เราไม่ต้องรอถึง 20 ปี...เลยหรือ”
ปาล์มน้ำมันไม่ใช่พูดกันง่ายๆ ต้องคิดกันทั้งระบบ ต้องคิดให้รอบคอบ
เรื่องที่สองเป็นเรื่องเดียวกับ ดร.กฤษดา เป็นห่วง เมืองไทยต้องมองเรื่องกฎหมายกับการบังคับใช้กฎหมาย
เรากำลังเปิดประเทศเวทีการค้าเสรีเอฟทีเอ ทำให้เรากำลังอ้าซ่า เปิดรับหมด จู่ๆจะไปตกลงกับที่โน่นทีที่นี่ที เรายังไม่เข้มแข็ง เราเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ อาศัยเครือข่ายกสิกรรม ไม่เหมือนประเทศอื่น...ก็เจ๊งกันระนาว
“เราอ้าซ่า หลายอย่างเกิดขึ้นแบบมีลูกเล่น บางครั้งก็เหมือนๆกับว่า เรากำลังเลี่ยงบาลี ใช้กฎหมายกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายในในการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากชายแดนไปยังประเทศส่งออก เช่น พม่า ลาว เขมร เรากำลังปล่อยให้ใช้ประเทศไทยเป็นแค่ถนน เป็นสะพานส่งออกข้ามประเทศ”
เชื่อไหม...เรามีน้ำมันที่ด่านจังโหลนวันละเกือบ 100 ตันที่เป็นโอลีน
ถามว่าขนได้อย่างไร? คำตอบก็คือ น้ำมันเหล่านี้ไม่ได้ขนโดยใช้กฎหมายในประเทศ แต่ใช้กฎหมายศุลกากรระหว่างประเทศ
ทำไมประเทศไทยไม่ใช้กฎหมายให้ชัดเจน เจ้าของธุรกิจวงการปาล์มน้ำมันหลายคนตั้งข้อสังเกต น้ำมันปาล์มจากจังโหลนผ่านไปถึงกรุงเทพฯไปหล่นอยู่ที่หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ฯ ชุมพร...จะเป็นยังไง
ถ้าน้ำมันเหล่านี้เกิดแวะจริงๆ ไม่ได้ขนไปถึงด่านเชียงของ หรือแวะแล้วเปลี่ยนถ่ายใส่น้ำไปปั๊มตราส่งออกนอกประเทศจะได้ไหม ก็ต้องบอกว่าทำได้
ใครจะรู้ น้ำมันกับน้ำดูจากภายนอกก็ไม่ต่างกัน ประเทศไทยเสียหายไปเท่าไหร่ มีใครทำอะไรได้บ้าง
สมชายคำนวณคร่าวๆ ถ้าขนวันละ 100 ตัน ก็เดือนละ 3,000 ตัน เท่ากับ โรงสกัดน้ำมันปาล์ม 1 โรง น้ำมันปริมาณขนาดนี้ คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบ กับน้ำมันปาล์มที่ผลิตได้ในประเทศ
“สิ่งเหล่านี้ทำไมไม่มีใครพูดถึง ปล่อยแบบนี้ หรือที่เรียกว่าเปิดเสรีทางการค้า แผนพัฒนาปาล์มน้ำมัน ถ้าไม่ทำให้เป็นมาตรฐาน ก็ลักปิดลักเปิดกันอย่างนี้...ขนกันไม่หยุด...ก็ฉิบหายกันหมด”.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
วันนี้ ต้องขอบคุณไบโอดีเซล ที่มาจุดประกายปาล์มน้ำมัน เพื่อให้เกิดแนวทางจริงๆ ในการพัฒนาปาล์มน้ำมัน จะปลูกเพื่อทำไบโอดีเซล เพียงอย่างเดียว หรือจะปลูกเพื่อธุรกิจต่อเนื่อง ปลายน้ำที่มีมูลค่ามหาศาล”
ดร.กฤษดา ชวนะนันท์ นายกสมาคมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนาปาล์มน้ำมันเส้นทางสู่ความสำเร็จของเกษตรกร ที่จังหวัดกระบี่ เมื่อต้นเดือนกันยายน 2548 จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ดร.กฤษดา บอกว่า แผนปาล์มน้ำมันที่ผ่านมามีอะไรเด่นๆเยอะมาก เหลือแต่ขยายแนวคิดออกไปเท่านั้น
“เกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน แทนที่ ครม.จะประชุมอาทิตย์ละครั้ง ก็น่าจะเป็นสองเดือนครั้ง หรือไม่ก็เปลี่ยนมานั่งฟังพวกเราที่มาสัมมนาเรื่องปาล์มแค่ 1 วัน ครม.จะได้เข้าใจเรื่องปาล์มน้ำมันกันอย่างลึกซึ้ง”
ถามว่า...แนวทางพัฒนาคืออะไร?
กว่าจะถึงวันนี้โครงการปาล์มเกิดขึ้นเอง พัฒนาด้วยตัวของตัวเอง
ที่ผ่านมา...เดี๋ยวคนโน้นชกที คนนี้ชกที รัฐบาลชกที อยู่ดีๆก็จะมีการเปิดเสรีทางการค้า กำลังอ้าซ่ากับการค้าเสรี ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจปาล์มน้ำมันในประเทศเกิดปัญหา
“ประเทศไทยมีแต่เสียเปรียบ มีสินค้าส่งผ่านเฉยๆ...โดยไม่ได้เงิน”
ดร.กฤษดา บอกว่า แนวทางพัฒนาปาล์มน้ำมันมีปัญหาเยอะ ทางที่จะพัฒนา มาถึงตรงนี้ต้องพัฒนามาจากฐานราก หมายถึงภาคเกษตรต้องมีองค์กรดูแลอย่างจริงๆจังๆ
เกษตรฝ่ายเดียวทำไม่ได้ ปาล์มน้ำมันเป็นเรื่องใหญ่กระทบกับหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กรมศุลกากร
ปาล์มน้ำมันต้องมีองค์กร ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย นักวิชาการ ภาคเอกชน ภาครัฐ และเกษตรกร
เมื่อเกิดแนวทางที่ชัดเจน รัฐบาลดำเนินการวางแผนยุทธศาสตร์ ก็จะตรงประเด็นกว่าที่จะมีการพูดกันที คิดจะทำกันที แล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
“นักวิจัยแต่ละส่วนแต่ละหน่วยงาน ทำวิจัยซ้ำกันกี่คน มหาวิทยาลัย สกว. ปตท. ก็ทำในแต่ละส่วนของตัวเอง มันหมายถึงอะไร...ประเทศไทยไม่มีการรวมงานวิจัย เราต้องวางแผนกองทุนวิจัยกันใหม่ งานวิจัยอันไหนดี ก็อย่าทำซ้ำกัน ต้องมีองค์กรที่ทำให้เป็นในแนวทางเดียวกัน”
นี่แค่ขั้นตอนการวิจัย ยังมีอื่นๆอีกมากมายที่เป็นอย่างนี้
แผนพัฒนาปาล์มน้ำมัน ไม่ได้บอกว่าหมายถึงการผลิต การจำหน่ายไบโอดีเซลเพื่อลดการใช้น้ำมันที่มีราคาแพงเพียงอย่างเดียว
ที่ต้องพูดกัน...วันนี้...แม้ว่าไบโอดีเซลจะมีราคาแพง มีต้นทุนสูง ยังไงไบโอดีเซลก็ต้องเกิด
ประโยชน์ของปาล์มน้ำมันมีมากมาย แต่ที่คนไทยพูดกัน ส่วนใหญ่มักได้ยินคำว่า...ไบโอดีเซลคือ เรื่องของพลังงานทดแทนราคาถูก ใช้ของถูก ไม่ต้องจ่ายน้ำมันแพง
ประชาชนส่วนใหญ่จะรับรู้ได้บ้างไหมว่า การที่เราจะต้องจ่ายแพงอีกหน่อย แต่อนาคตจะได้รับประโยชน์กลับคืนมาถึงประชาชนและประเทศชาติอย่างมโหฬารมาก
“บางคนอาจจะรู้ บางคนอาจจะไม่ทราบนั่นคือประเด็นที่ชี้ให้เห็นว่า ภาพไบโอดีเซลที่ออกสู่สังคมเป็นเพียงภาพเล็กๆ ภาพเดียว ภาพใหญ่ของมันจริงๆมันคืออะไรบ้าง ต้องบอกให้ทุกคนรู้ ถ้าเข้าใจ รัฐบาลจะออกนโยบายอะไรมันง่ายขึ้น”
ความเห็นบนเวทีสัมมนาแสดงความสงสารไปถึงเกษตรกร ถ้าปล่อยให้รัฐบาลปกครองแนวดิ่งดูท่าจะไม่เกิดผล...เหลวหมด โครงการโคล้านตัว... ห้าล้านตัว ยังเสียว เลี้ยงกันมากๆ...คนก็ต้องกินวัวเยอะๆ
ไม่อยากให้เกษตรสวนปาล์มถูกบังคับเป็นนโยบายจากบนลงล่าง รัฐบาลต้องฟังผู้ที่อยู่ในวงการปาล์ม ทุกฝ่ายต้องแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันร่วมกัน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภาคเอกชน ชุมชน ปตท. กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรฯ...มีอะไรดี ต้องเอามารวมกันเป็นยุทธศาสตร์
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่สร้างมูลค่าได้มหาศาล นอกจากไบโอดีเซลยังมีผลิตภัณฑ์ปลายน้ำซึ่งมีมูลค่าเพิ่มอีกมาก น้ำมันพืชสำหรับบริโภค ผลิตภัณฑ์ อาหาร...กรดไขมัน เนยเทียม และผลิตภัณฑ์โอลิโอเคมี เครื่องสำอาง แว็กซ์ จาระบี ฯลฯ
หากเข้าใจว่าการมีไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทน หมายถึงประโยชน์มากมาย แต่เป็นระยะยาว เขายินดีจะจ่ายไหม ก็ต้องเปรียบเทียบกันดู หากไม่มีการอธิบาย ไม่มีการบอก จะไปจ่ายแพงทำไม ก็จะคิดกันว่า...เป็นเรื่องเสียเวลา
ดร.กฤษดา ย้ำว่า จริงอยู่เรามีแผน แต่สิ่งที่ขาดคือตัวองค์กรที่รวมความร่วมมือกัน เรายังไม่เคยมี และเราก็ไม่เคยร่วมมือกันเลย
ถ้าเป็นองค์กรที่เป็นความร่วมมือกันแล้ว คุยกันด้วยหลักการ ย่อมดีกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกมาพูด และมีน้ำหนักมากกว่าเอกชนมาพูดฝ่ายเดียว
“องค์กรปาล์มน้ำมันต้องเกิด แล้วแนวทางยั่งยืนที่จะมาพัฒนาปาล์มน้ำมันในประเทศก็จะเกิด”
ดร.กฤษดา กล่าวทิ้งท้าย
สมชาย สิทธิโชค ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ เสริมว่า การใช้ปาล์มน้ำมันต้องใช้ประโยชน์ได้ทั้งระบบ อเมริกาพัฒนาใช้ปาล์มเป็นไบโอฟูเอล ใช้ลำต้น ใช้ต้นปาล์มพัฒนาเป็นซุปเปอร์ดีเซล
พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 1 ไร่ ปลูกปาล์ม 22 ต้น ได้ผลผลิตไบโอแมส ไบโอแกส 153 ตัน ใช้เป็นพลังงานทดแทนได้ทั้งระบบ...ไม่มีพืชใดที่มีประสิทธิภาพขนาดนี้
วงการปาล์มน้ำมันในวันนี้ สมชายมีสองเรื่องที่อยากจะฝากไว้ เรื่องแรกนโยบายแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันจะต้องเอาคนที่รู้เรื่อง เข้าใจเรื่องปาล์มน้ำมันมาพูด ไม่ใช่เอาแต่โครงการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อจะเอาน้ำมันดิบ ใน 5 ปี
“ขอประทานโทษ...เมืองไทยผลิตเมล็ดปาล์มได้เท่าไหร่ ทั้งโลกผลิตได้ 20 ล้านเมล็ด เราจะนำเข้าได้เท่าไหร่ เพื่อนบ้านก็นำเข้า...ปลูกไปแล้วเท่าไหร่
เป้าหมาย 4 แสนไร่ต่อปี ใช้เวลา 10 ปี ก็ปลูกได้ 4 ล้านไร่ ถ้าเป้าเพิ่มเป็น 10 ล้านไร่ เราไม่ต้องรอถึง 20 ปี...เลยหรือ”
ปาล์มน้ำมันไม่ใช่พูดกันง่ายๆ ต้องคิดกันทั้งระบบ ต้องคิดให้รอบคอบ
เรื่องที่สองเป็นเรื่องเดียวกับ ดร.กฤษดา เป็นห่วง เมืองไทยต้องมองเรื่องกฎหมายกับการบังคับใช้กฎหมาย
เรากำลังเปิดประเทศเวทีการค้าเสรีเอฟทีเอ ทำให้เรากำลังอ้าซ่า เปิดรับหมด จู่ๆจะไปตกลงกับที่โน่นทีที่นี่ที เรายังไม่เข้มแข็ง เราเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ อาศัยเครือข่ายกสิกรรม ไม่เหมือนประเทศอื่น...ก็เจ๊งกันระนาว
“เราอ้าซ่า หลายอย่างเกิดขึ้นแบบมีลูกเล่น บางครั้งก็เหมือนๆกับว่า เรากำลังเลี่ยงบาลี ใช้กฎหมายกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายในในการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากชายแดนไปยังประเทศส่งออก เช่น พม่า ลาว เขมร เรากำลังปล่อยให้ใช้ประเทศไทยเป็นแค่ถนน เป็นสะพานส่งออกข้ามประเทศ”
เชื่อไหม...เรามีน้ำมันที่ด่านจังโหลนวันละเกือบ 100 ตันที่เป็นโอลีน
ถามว่าขนได้อย่างไร? คำตอบก็คือ น้ำมันเหล่านี้ไม่ได้ขนโดยใช้กฎหมายในประเทศ แต่ใช้กฎหมายศุลกากรระหว่างประเทศ
ทำไมประเทศไทยไม่ใช้กฎหมายให้ชัดเจน เจ้าของธุรกิจวงการปาล์มน้ำมันหลายคนตั้งข้อสังเกต น้ำมันปาล์มจากจังโหลนผ่านไปถึงกรุงเทพฯไปหล่นอยู่ที่หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ฯ ชุมพร...จะเป็นยังไง
ถ้าน้ำมันเหล่านี้เกิดแวะจริงๆ ไม่ได้ขนไปถึงด่านเชียงของ หรือแวะแล้วเปลี่ยนถ่ายใส่น้ำไปปั๊มตราส่งออกนอกประเทศจะได้ไหม ก็ต้องบอกว่าทำได้
ใครจะรู้ น้ำมันกับน้ำดูจากภายนอกก็ไม่ต่างกัน ประเทศไทยเสียหายไปเท่าไหร่ มีใครทำอะไรได้บ้าง
สมชายคำนวณคร่าวๆ ถ้าขนวันละ 100 ตัน ก็เดือนละ 3,000 ตัน เท่ากับ โรงสกัดน้ำมันปาล์ม 1 โรง น้ำมันปริมาณขนาดนี้ คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบ กับน้ำมันปาล์มที่ผลิตได้ในประเทศ
“สิ่งเหล่านี้ทำไมไม่มีใครพูดถึง ปล่อยแบบนี้ หรือที่เรียกว่าเปิดเสรีทางการค้า แผนพัฒนาปาล์มน้ำมัน ถ้าไม่ทำให้เป็นมาตรฐาน ก็ลักปิดลักเปิดกันอย่างนี้...ขนกันไม่หยุด...ก็ฉิบหายกันหมด”.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-