แท็ก
ปลาดุก
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 — 5 พ.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 953.91 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 481.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 472.55 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.05 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 75.86 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.18 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 45.66 ตัน
การตลาด
กุ้งไทยส่งออกญี่ปุ่นมีอนาคตสดใส
นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า จากกรณีที่ญี่ปุ่นตรวจเข้มการนำเข้าปลาหมึกจากเวียดนาม และระงับการนำเข้าหลังจากตรวจพบสารปฏิชีวนะตกค้างคลอแรมฟินิคอลในระดับสูง ทำให้มีการตรวจกุ้งจากเวียดนาม ขณะนี้มีความเข้มงวดขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะระงับการนำเข้ากุ้งจากเวียดนามนั้น ทำให้เป็นผลดีต่อการส่งออกกุ้งของไทย
ทั้งนี้ คาดว่าในช่วงสิ้นปี ญี่ปุ่นจะหันมานำเข้ากุ้งจากไทยมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมากุ้งของไทยไม่มีปัญหาเรื่องสารคลอแรมฟินิคอลมาก่อน โดยเชื่อว่าการส่งออกกุ้งไทยไปญี่ปุ่นจะมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนในอนาคต จากปัจจุบันไทยมีการส่งออกกุ้งแปรรูปไปญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 19.45% ส่วนกุ้งแช่แข็งนั้น ญี่ปุ่นจะนำเข้าจากเวียดนามและอินโดนีเซียมากกว่า เพราะมีราคาถูกกว่ากุ้งของไทย เหตุที่กุ้งเวียดนามและอินโดนีเซียมีราคาถูกกว่ากุ้งไทย ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนด้านแรงงานที่ต่ำกว่า แต่จากปัญหาการตรวจพบสารคลอแรมฟินิคอล คาดว่า ผู้ประกอบการของญี่ปุ่นจะหันมาสั่งซื้อกุ้งแปรรูปจากไทยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขการส่งออกกุ้งไปตลาดญี่ปุ่นช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ไทยสามารถส่งออกกุ้งแปรรูปไปตลาดญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น 10% ส่วนตัวเลขจากสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ระบุว่า การส่งออกกุ้ง 8 เดือนแรก มีมูลค่า 1,255.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.67% เมื่อเทียบกับการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออกได้ 1,057.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปริมาณกุ้งของไทยปีนี้ คาดว่าจะมีประมาณ 3.5 — 4 แสนตัน และมีการส่งออกประมาณ 3 แสนตัน หรือมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากทุกตลาดมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.67 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.33 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง(51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 113.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.89 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.51 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.20 บาท สูงจากกิโลกรัมละ 54.58 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.62 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 116.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.33 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 — 17 พ.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 45 ประจำวันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 — 5 พ.ย. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 953.91 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 481.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 472.55 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.05 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 75.86 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.18 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 45.66 ตัน
การตลาด
กุ้งไทยส่งออกญี่ปุ่นมีอนาคตสดใส
นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า จากกรณีที่ญี่ปุ่นตรวจเข้มการนำเข้าปลาหมึกจากเวียดนาม และระงับการนำเข้าหลังจากตรวจพบสารปฏิชีวนะตกค้างคลอแรมฟินิคอลในระดับสูง ทำให้มีการตรวจกุ้งจากเวียดนาม ขณะนี้มีความเข้มงวดขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะระงับการนำเข้ากุ้งจากเวียดนามนั้น ทำให้เป็นผลดีต่อการส่งออกกุ้งของไทย
ทั้งนี้ คาดว่าในช่วงสิ้นปี ญี่ปุ่นจะหันมานำเข้ากุ้งจากไทยมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมากุ้งของไทยไม่มีปัญหาเรื่องสารคลอแรมฟินิคอลมาก่อน โดยเชื่อว่าการส่งออกกุ้งไทยไปญี่ปุ่นจะมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนในอนาคต จากปัจจุบันไทยมีการส่งออกกุ้งแปรรูปไปญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 19.45% ส่วนกุ้งแช่แข็งนั้น ญี่ปุ่นจะนำเข้าจากเวียดนามและอินโดนีเซียมากกว่า เพราะมีราคาถูกกว่ากุ้งของไทย เหตุที่กุ้งเวียดนามและอินโดนีเซียมีราคาถูกกว่ากุ้งไทย ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนด้านแรงงานที่ต่ำกว่า แต่จากปัญหาการตรวจพบสารคลอแรมฟินิคอล คาดว่า ผู้ประกอบการของญี่ปุ่นจะหันมาสั่งซื้อกุ้งแปรรูปจากไทยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขการส่งออกกุ้งไปตลาดญี่ปุ่นช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ไทยสามารถส่งออกกุ้งแปรรูปไปตลาดญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น 10% ส่วนตัวเลขจากสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ระบุว่า การส่งออกกุ้ง 8 เดือนแรก มีมูลค่า 1,255.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.67% เมื่อเทียบกับการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออกได้ 1,057.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปริมาณกุ้งของไทยปีนี้ คาดว่าจะมีประมาณ 3.5 — 4 แสนตัน และมีการส่งออกประมาณ 3 แสนตัน หรือมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากทุกตลาดมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 93.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.67 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.33 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง(51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 113.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.89 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.51 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.20 บาท สูงจากกิโลกรัมละ 54.58 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.62 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 116.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.33 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 — 17 พ.ย. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 45 ประจำวันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน 2549--
-พห-