สรุปภาวะการค้าไทย-ญี่ปุ่นระหว่างเดือน ม.ค.- ก.พ.2549

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 31, 2006 12:29 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 6 ของโลก รองจาก สหรัฐเยอรมนี จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ โดยมีมูลค่า
การนำเข้า 455,661.440 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.86 ปี 2548
2. แหล่งนำเข้าสำคัญของญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม 2549
- จีน มูลค่า 9,952.025 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 21.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58
- สหรัฐฯ มูลค่า 5,334.524 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 11.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.66
- ซาอุดิฯ มูลค่า 2,876.781 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 6.20 เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.84
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มูลค่า 2,411.830 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 5.20 เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.02
ไทยอยู่อันดับที่ 11 มูลค่า 1,310.360 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 2.82 ลดลงร้อยละ 1.37
3. ดุลการค้า ประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าในเดือนมกราคม 2549 เป็นมูลค่า —3,039.214 ล้านเหรียญสหรัฐ
ลดลงร้อยละ 261.97 ดังตัวอย่างสถิติต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบดุลการค้าของประเทศญี่ปุ่นเดือนมกราคม 2549
ลำดับที่ ประเทศ 2547 2548 2549 อัตราการเปลี่ยนแปลง(%)
มูลค่า: ล้านเหรียญ สหรัฐ 48/47 49/48
ทั่วโลก 4,594.71 1,876.40 -3,039.21 -59.16 -261.97
1 สหรัฐฯ 4,623.05 4,536.89 4,955.04 -1.86 9.22
2 จีน -2,802.76 -3,636.74 -4,819.65 29.76 32.53
3 ซาอุดิอาระเบีย -1,094.35 -1,711.67 -2,607.37 56.51 52.33
4 ฮ่องกง 2,196.47 2,442.67 2,081.42 11.21 -14.79
8 ไต้หวัน 1,363.64 1,845.56 1,229.59 33.34 -33.38
21 ไทย 334.878 383.416 341.224 14.49 -11
ที่มา : WTA Japan Customs
4. ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทยโดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ร้อยละ 13.05 ของ
มูลค่าการส่งออกโดยรวมในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2549
การส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นปี 2549 (ม.ค.-ก.พ.) มีมูลค่า 2,409.30 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.88 หรือคิดเป็นร้อยละ 13.24 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 18,187 ล้าน
เหรียญสหรัฐ
5. สินค้าไทยส่งออกไปญี่ปุ่นปี 2549 (ม.ค.-ก.พ.) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 63.47 ของ
มูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 100 มี 1 รายการ สินค้าที่มี
มูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 30 มี 1 รายการ
ดังสถิติต่อไปนี้
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ % สัดส่วน : ร้อยละ
ตลาด ม.ค.-ก.พ 48 ม.ค.-ก.พ 49 เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง 2548 2549ม.ค-ก.พ
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการ
- เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ 24 12.72 31.01 18.29 143.73 1.10 1.29
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ
- ยางพารา 3 97.50 157.01 59.51 61.04 5.02 6.52
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นลดลง
มากกว่าร้อยละ 30 มี 1 รายการ
- อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด 16 62.59 43.79 -18.80 -30.04 2.25 1.82
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
1) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (HS 8408) COMPRESSION-IGNITION
INTERNAL COMB PISTON ENGINES
- การนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค 49) มูลค่า 37.719 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
49.74 มีการนำเข้าจาก ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เป็นหลัก
- การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 13 สัดส่วนร้อยละ 0.09 มูลค่า 0.032 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.21
2) ยางพารา (HS 4001) NATURAL RUBBER
- การนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค 49) มูลค่า 143.730 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
43.15 มีการนำเข้าจาก ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นหลัก
- การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 59.14 มูลค่า 85.008 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.25
3) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด (HS. 8541) SEMICONDUCTOR DEVICES,
LIGHT-EMIT DIODES, PTS
- การนำเข้าของญี่ปุ่น (ม.ค 49) มูลค่า 234.766 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ7.00
มีการนำเข้าจาก มาเลเซีย จีน สหรัฐฯ เป็นหลัก
- การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 8.57 มูลค่า 20.115 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.46
6. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย — ญี่ปุ่น
ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นฐานการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญของนักลงทุนญี่ปุ่น และปัจจุบัน
ก็ยังคงมีศักยภาพที่เอื้อต่อการลงทุนค่อนข้างมาก ซึ่งนอกจากสิทธิประโยชน์ต่างๆ แล้วยังมีองค์ประกอบอื่นๆ
ที่ทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นยังคงให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะฝีมือแรงงานที่มีทักษะและมี
คุณภาพสูงมาก
6.1 เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์คณะนักลงทุนของสถานประกอบการและผู้แทนสมาชิก สมาคมพัฒนา
แรงงานระหว่างประเทศของสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ประเทศญี่ปุน (Association
for International Manpower Development fo Medium and Small Enterprise, Japan: IMM)
ต่างให้ความสนใจพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นฐานที่ตั้ง
ของโรงงานอุตสาห-กรรมที่นักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูนเป็นจำนวนมาก
นอกจากจังหวัดลำพูนแล้วญี่ปุ่นยังคงสนใจที่จะเข้าไปสำรวจลู่ทางการลงทุน ณ จังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นเขต
เศรษฐกิจพิเศษและกำลังจะมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในอีก 2 ปี ข้างหน้า อีกทั้งยังสามารถเป็นฐานการ
ผลิตอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีสนามบินนานาชาติ มีสถาบันการศึกษาระดับอุดม-ศึกษาหลายแห่ง
และมีฐานของฝีมือแรงงานที่สามารถเดินทางมาทำงานได้จากจังหวัดใกล้เคียง
6.2 ปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ ไดโซ อินดัสเตรีนล จำกัด เจ้าของร้าน 100 เยนช็อปของประเทศ
ญี่ปุ่นได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลไทยเพื่อร่วมกันพัฒนาสินค้าโอท็อปเพื่อส่งขายในร้าน 100 เยนช็อป
โดยแถลงว่าปัจจุบันไดโซฯ มีกำลังสั่งซื้อจากจีน ไต้หวัน เกาหลี ยุโรป ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส
โปแลนด์ อังกฤษ ฯลฯ เป็นหลัก แต่มีการสั่งซื้อจากประเทศไทยเพียง 0.5-1% เท่านั้น ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อ
เทียบกับรายได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามในขณะนี้ไดโซฯ จะมีโอกาสซื้อสินค้าจากไทย โดยเฉพาะสินค้าธูปหอม สปา
เซรามิก ผ้าฝ้ายดิบ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มที่ดีและญี่ปุ่นให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น ภายใต้เงื่อนไขสำคัญที่ผู้ประกอบ
การโอท็อปไทยและเอสเอ็มอีไทย ต้องดำเนินการ 3 เรื่องหลัก ได้แก่
- ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง
- ผลิตสินค้าที่เป็นไปตามหลักดีมานด์และซัพพลาย
- ทำราคาสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งหมายถึงสินค้าดี ผลิตได้ในปริมาณสูง และขายในราคาต่ำ
ทั้งนี้นโยบายของไดโซฯ ในการเข้ามาประเทศไทยครั้งนี้คือ ต้องการการลงทุนสร้างศูนย์ลอจิสติก
ในประเทศไทย เพื่อกระจายสินค้าไปทั่วโลก เพิ่มจากเดิมที่มีศูนย์อยู่แล้วที่จีนและเกาหลี
6.3 สินค้าผลิตภัณฑ์สปาและเครื่องสำอางจากประเทศไทยที่ส่งออกไปญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะ
การรับจ้างผลิต (OEM : Original Equipment Manufacturer) แต่ญี่ปุ่นก็มีมุมมองว่าคนไทยมีศักยภาพ ฝีมือ
และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในธุรกิจสปา โดยผู้ประกอบการโรงแรมหลายแห่งในญี่ปุ่นต่างนิยมสปาจากเมืองไทย
มากขึ้น ประกอบกับญี่ปุ่นในปัจจุบันอยู่ในยุคที่นิยมบริโภคสินค้าและการใช้บริการผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากวัฒนธรรมเอเซีย
และจากธรรมชาติ ส่งผลให้สปาและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากประเทศไทยเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมากขึ้น
ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการธุรกิจสปาและผลิตภัณฑ์ความงาม เครื่องสำอางจากประเทศไทยต้องให้ความใส่ใจและ
เร่งหาข้อมูล
คือเรื่องกฎหมายนำเข้า และกฎระเบียบในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนและผู้ประกอบการจะต้องมีความเข้าใจ
ในกระบวนการด้วย
6.4 หัวหน้าคณะเจรจาจัดทำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย — ญี่ปุ่น หรือ JTEP
นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจา แถลงว่าคณะได้แจ้งให้
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้ทราบอย่างเป็นทางการว่า ไทยไม่สามารถลงนามใน JTEP ได้ตาม
กำหนดในวันที่ 3 เมษายน 2549 เนื่องจากต้องรอให้รัฐบาลใหม่เข้ามารับหน้าที่ก่อน ส่วนข้อเสนอฝ่ายญี่ปุ่นที่จะ
ให้นายกรัฐมนตรีไทยมอบ “ตัวแทน” ให้ไปลงนามกับญี่ปุ่นก่อนวันเลือกตั้ง ไทยก็คงไปไม่ได้ เพราะโดยมารยาท
ทางการเมืองแล้ว ควรเป็นดุลพินิจของรัฐบาลใหม่ที่จะมาจากการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
6.5 บริษัทแมนพาวเวอร์ของสหรัฐฯ ได้แถลงผลสำรวจความต้องการของการจ้างงาน และแผน
การจ้างงานจากผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเซีย พบว่าผู้ประกอบการ 47,000 รายใน 24 ประเทศ
ที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเซีย ส่วนใหญ่มีแผนเพิ่มการจ้างแรงงานมากขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ของ
ปี 2549 โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นมีแผนการเพิ่มอัตราแรงงานมากที่สุดในผลการสำรวจ ตามมาด้วยประเทศใน
เขตเอเซีย-แปซิฟิกอื่นๆ ได้แก่อินเดีย ไต้หวัน เปรู นิวซีแลนด์ และฮ่องกง ซึ่งเป็นประเทศที่มีแนวโน้มการ
จ้างงานแข็งแกร่งที่สุดในไตรมาส 2 ของปี 2549
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ