ทองคำเป็นวัสดุสำคัญที่นำมาใช้ทำตัวเรือนของเครื่องประดับอัญมณี แร่ทองคำถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ ไทกริส-ยูเฟรติส ของประเทศอิรักตอนใต้ ในทุกวันนี้ทองคำถูกนำมาใช้แทนสัญลักษณ์แห่งความอบอุ่น มั่นคงและสวยงาม นักออกแบบเครื่องประดับอิตาลี ส่วนใหญ่มักจะหันมาให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เครื่องประดับทองรูปพรรณมาเป็นเครื่องประดับชิ้นเอกสำหรับคอลเลคชั่นในปี 2006 เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับนักออกแบบชาวอิตาลี ที่ส่วนใหญ่ได้รับการฝึกฝนให้คิดวิเคราะห์ในลักษณะนี้มาเป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น นักออกแบบเครื่องประดับ Gold Expression ได้นำเอารูปแบบแห่งวิถีชีวิตในธรรมชาติ เช่น ดอกไม้และสัตว์ในท้องถิ่นมาใส่ไว้ แนวคิดสร้างสรรค์ในการสร้างแรงบันดาลใจจากธรรมชาติรอบตัวนั้น แนวคิดหลักในปี 2006 นี้ “กลิ่นอายแห่งเอเชีย” ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อบรรดานักออกแบบตะวันตกมาก
ในเรื่องของแนวโน้มและพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น World Gold Council ได้เปิดเผยตัวอย่างพฤติกรรมผู้บริโภคของจีนที่จัดเป็นประเทศคู่ค้าของไทย พบว่า ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก คือจะนิยมหันมานิยมซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ส่วนใหญ่จะนิยมซื้อหาทองรูปพรรณที่ได้รับการโฆษณาว่าผลิต และออกแบบจากอิตาลีที่เน้นความโอ่อ่า และรูปทรงเรขาคณิต นอกจากนั้นยังนิยมรูปพรรณทอง ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีการ ถัก ทอ สานเส้นด้วยทองคำให้เป็นเสมือนผืนผ้า และนิยมบริโภคทอง 18 กะรัต เพื่อการสวมใส่เป็นเครื่องประดับ แต่สำหรับทอง 24 กะรัต ชาวจีนจะนิยมซื้อเก็บเพื่อการเก็งกำไรส่วนต่างของราคาทองคำที่พุ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นนักออกแบบเครื่องประดับควรจะต้องทราบถึงองค์ประกอบที่มีผลทำให้ราคาทองรูปพรรณมีความแตกต่างกัน องค์ประกอบเหล่านั้น ได้แก่ ขนาดกะรัต น้ำหนัก การออกแบบ ความประณีตและคุณภาพของทองรูปพรรณ
ทองรูปพรรณ จะอยู่ในรูปของทองกะรัต ไม่ว่าจะเป็น 10K , 14K , 18K และอื่น ๆ ซึ่งจะมีคุณสมบัติของสีที่แตกต่างกัน และราคาก็จะเพิ่มขึ้นตามขนาดกะรัตของทองรูปพรรณเช่นกัน โดยสามารถสังเกตกะรัตของทองรูปพรรณนั้นได้จากตราประทับบนตัวทองรูปพรรณ สำหรับกะรัตของทองรูปพรรณ ที่มีผลิตและจำหน่ายในเมืองไทยนั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่ 23.16 กะรัต หรือเทียบเป็นอัตราส่วนร้อยละ 96.5 % หรือหมายถึงมีค่าความบริสุทธิ์ของทองคำอยู่ 965 ส่วนใน 1,000 ส่วน นอกจากนั้น น้ำหนักของทองรูปพรรณจะเป็นตัวบอกถึงปริมาณของทองคำที่ใส่ลงไปในทองกะรัตต่าง ๆ ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาและความแข็งแรงของทองรูปพรรณสูงตามไปด้วยเช่นกัน เพราะน้ำหนักทองที่เพิ่มขึ้น จะไปช่วยลดการโค้งงอและการหักได้ การออกแบบทองรูปพรรณที่เน้นถึงความพิเศษ ความประณีต การสลักลวดลายและความเรียบร้อยหรือมีการเพิ่มลักษณะของพื้นผิวเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นแบบผิวเงา ผิวแบบด้าน และแบบผิวซาติน ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาสูงขึ้น ตามการออกแบบตามสีต่าง ๆ ของทอง และรูปแบบใหม่ๆ ที่ผู้ผลิตใส่เข้าไป ยิ่งเป็นงานจำพวกทองถักแล้วยิ่งต้องอาศัยทั้งฝีมือ ความประณีต ความใส่ใจ ซึ่งก็จะทำให้ราคาผลงานทองประเภทนี้ยิ่งสูงตามไปด้วย
สำหรับสีสันของทองที่พบเห็นกันอยู่ในปัจจุบันต่างก็ได้รับการพัฒนารูปแบบของสีสันให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ซึ่งทางสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับความพึงพอใจในสีสันของทอง ดังนี้
ความบริสุทธิ์ของทองคำและความนิยมของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศต่าง ๆ
กะรัต หน่วย % ทองคำบริสุทธิ์ เฉดสีที่ได้ ประเทศใช้
24 24 K 100 ทอง สวิสต์เซอร์แลนด์
23.16 23.16 K 96.5 เหลืองทองเข้ม ไทย
23 23 K 95.8 ทองเข้ม อินเดีย
22 22 K 91.7 เหลืองทอง อินเดีย
21 21 K 84.5 เหลืองทอง กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
18 18 K 75 เหลือง , ขาว อิตาลี , ฝรั่งเศส , ญี่ปุ่น
14 14 K 58.3 เหลือง , ขาว สหรัฐอเมริกา , อเมริกาเหนือ , อังกฤษ
10 10 K 41.6 เหลือง สหรัฐอเมริกา , อเมริกาเหนือ
9 9 K 37.5 เหลืองปนเขียว อังกฤษ
8 8 K 33.3 เหลืองซีด เยอรมันนี
นักออกแบบควรหมั่นศึกษาติดตามสถานการณ์บ้านเมือง ตลอดจนสถานการณ์โลก เพื่อทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคที่จะต้องผลิตชิ้นงานให้ตอบสนองกับความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคหรือกระทั่งสามารถเป็นผู้นำแฟชั่น หรือ Trend Softer ก็เป็นได้ ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ได้เปิดให้บริการปรึกษาแนะนำ บริการเอกสารวิชาการ อยู่บริเวณชั้น 3 อาคารวิจัยและตรวจสอบอัญมณี ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บนถนนพญาไท หรือโทร 0 2218 5470
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ในเรื่องของแนวโน้มและพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น World Gold Council ได้เปิดเผยตัวอย่างพฤติกรรมผู้บริโภคของจีนที่จัดเป็นประเทศคู่ค้าของไทย พบว่า ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก คือจะนิยมหันมานิยมซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ส่วนใหญ่จะนิยมซื้อหาทองรูปพรรณที่ได้รับการโฆษณาว่าผลิต และออกแบบจากอิตาลีที่เน้นความโอ่อ่า และรูปทรงเรขาคณิต นอกจากนั้นยังนิยมรูปพรรณทอง ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีการ ถัก ทอ สานเส้นด้วยทองคำให้เป็นเสมือนผืนผ้า และนิยมบริโภคทอง 18 กะรัต เพื่อการสวมใส่เป็นเครื่องประดับ แต่สำหรับทอง 24 กะรัต ชาวจีนจะนิยมซื้อเก็บเพื่อการเก็งกำไรส่วนต่างของราคาทองคำที่พุ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นนักออกแบบเครื่องประดับควรจะต้องทราบถึงองค์ประกอบที่มีผลทำให้ราคาทองรูปพรรณมีความแตกต่างกัน องค์ประกอบเหล่านั้น ได้แก่ ขนาดกะรัต น้ำหนัก การออกแบบ ความประณีตและคุณภาพของทองรูปพรรณ
ทองรูปพรรณ จะอยู่ในรูปของทองกะรัต ไม่ว่าจะเป็น 10K , 14K , 18K และอื่น ๆ ซึ่งจะมีคุณสมบัติของสีที่แตกต่างกัน และราคาก็จะเพิ่มขึ้นตามขนาดกะรัตของทองรูปพรรณเช่นกัน โดยสามารถสังเกตกะรัตของทองรูปพรรณนั้นได้จากตราประทับบนตัวทองรูปพรรณ สำหรับกะรัตของทองรูปพรรณ ที่มีผลิตและจำหน่ายในเมืองไทยนั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่ 23.16 กะรัต หรือเทียบเป็นอัตราส่วนร้อยละ 96.5 % หรือหมายถึงมีค่าความบริสุทธิ์ของทองคำอยู่ 965 ส่วนใน 1,000 ส่วน นอกจากนั้น น้ำหนักของทองรูปพรรณจะเป็นตัวบอกถึงปริมาณของทองคำที่ใส่ลงไปในทองกะรัตต่าง ๆ ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาและความแข็งแรงของทองรูปพรรณสูงตามไปด้วยเช่นกัน เพราะน้ำหนักทองที่เพิ่มขึ้น จะไปช่วยลดการโค้งงอและการหักได้ การออกแบบทองรูปพรรณที่เน้นถึงความพิเศษ ความประณีต การสลักลวดลายและความเรียบร้อยหรือมีการเพิ่มลักษณะของพื้นผิวเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นแบบผิวเงา ผิวแบบด้าน และแบบผิวซาติน ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาสูงขึ้น ตามการออกแบบตามสีต่าง ๆ ของทอง และรูปแบบใหม่ๆ ที่ผู้ผลิตใส่เข้าไป ยิ่งเป็นงานจำพวกทองถักแล้วยิ่งต้องอาศัยทั้งฝีมือ ความประณีต ความใส่ใจ ซึ่งก็จะทำให้ราคาผลงานทองประเภทนี้ยิ่งสูงตามไปด้วย
สำหรับสีสันของทองที่พบเห็นกันอยู่ในปัจจุบันต่างก็ได้รับการพัฒนารูปแบบของสีสันให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ซึ่งทางสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับความพึงพอใจในสีสันของทอง ดังนี้
ความบริสุทธิ์ของทองคำและความนิยมของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศต่าง ๆ
กะรัต หน่วย % ทองคำบริสุทธิ์ เฉดสีที่ได้ ประเทศใช้
24 24 K 100 ทอง สวิสต์เซอร์แลนด์
23.16 23.16 K 96.5 เหลืองทองเข้ม ไทย
23 23 K 95.8 ทองเข้ม อินเดีย
22 22 K 91.7 เหลืองทอง อินเดีย
21 21 K 84.5 เหลืองทอง กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
18 18 K 75 เหลือง , ขาว อิตาลี , ฝรั่งเศส , ญี่ปุ่น
14 14 K 58.3 เหลือง , ขาว สหรัฐอเมริกา , อเมริกาเหนือ , อังกฤษ
10 10 K 41.6 เหลือง สหรัฐอเมริกา , อเมริกาเหนือ
9 9 K 37.5 เหลืองปนเขียว อังกฤษ
8 8 K 33.3 เหลืองซีด เยอรมันนี
นักออกแบบควรหมั่นศึกษาติดตามสถานการณ์บ้านเมือง ตลอดจนสถานการณ์โลก เพื่อทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคที่จะต้องผลิตชิ้นงานให้ตอบสนองกับความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคหรือกระทั่งสามารถเป็นผู้นำแฟชั่น หรือ Trend Softer ก็เป็นได้ ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ได้เปิดให้บริการปรึกษาแนะนำ บริการเอกสารวิชาการ อยู่บริเวณชั้น 3 อาคารวิจัยและตรวจสอบอัญมณี ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บนถนนพญาไท หรือโทร 0 2218 5470
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-