บทวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
ด้วยมุมมองที่ลึกซึ้ง คมเข้ม ทันต่อสถานการณ์ โดย “บัญญัติ บรรทัดฐาน” อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ทุกเช้าวันศุกร์ ประเดิมชิ้นแรกด้วยเรื่อง
“วาระแห่งชาติ ของรัฐบาลและคมช.” ...
วาระแห่งชาติของรัฐบาลและ คมช.
บัญญัติ บรรทัดฐาน
ที่ได้ยกเอาเรื่องวาระแห่งชาติของรัฐบาลและ คมช. มาเป็นประเด็นวิเคราะห์วิจารณ์สู่กันฟัง ก็เพราะเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญ และมีผู้คนตั้งข้อสงสัยเรื่อยมา
บ้างก็กล่าววิพากษ์วิจารณ์กันว่า ในเวลาที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่เรียกชื่อย่อว่า คปค. เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ ได้อ้างถึงเหตุ 4 ประการด้วยกัน ซึ่งพอรับฟังได้ และต่างก็ปรารถนาที่จะได้เห็นการพิสูจน์ความจริงเหล่านั้นอย่างชัดแจ้ง พร้อมกับมีการดำเนินการอันเป็นการป้องกันมิให้เกิดเหตุดังกล่าวนั้นอีกในอนาคต ซึ่งก็ยังไม่เห็นมีความชัดเจนใดๆในเรื่องนี้
จะเป็นเพราะเหตุที่เริ่มจะได้ยินคำถามที่ว่านั้นเข้าหูกันบ้างแล้วหรือเพราะเหตุแห่ง “คลื่นใต้น้ำ” หรือเพราะเพิ่งจะตั้งหลักได้ เราก็เริ่มจะได้เห็นท่วงทำนองที่ชัดเจนจริงจัง ทั้งของรัฐบาลและ คมช.
ท่วงทำนองที่ชัดเจนจริงจังของ คมช. ก็คือของท่านประธาน คมช. พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ที่ได้เสนอเรื่องการเทอดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว การสร้างสมานฉันท์ การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ให้คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ
แต่ที่ชัดเจนจริงจังมากที่สุดคือ ท่วงทำนองของท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่แสดงในงานเลี้ยงอาหารค่ำของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศของประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 คือเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง
ที่ผมเห็นว่าชัดเจนและจริงจังมากที่สุด ก็เพราะว่าในสุนทรพจน์ที่ได้กล่าวในค่ำคืนวันนั้น มีความชัดเจนทั้งในเรื่องของเหตุอันเป็นที่มา และในเรื่องของผลอันเป็นความมุ่งหมายที่จะดำเนินการ ซึ่งจะเรียกว่าเป็น “วาระแห่งชาติ” ก็ว่าได้
พร้อมๆกับคำประกาศที่พอจะเรียกว่า เป็นวาระแห่งชาติในเวลา 12 เดือน หรือ 1 ปี ว่า 4 เรื่องหลักๆ ที่กำลังเป็นสิ่งที่ท้าทาย สำหรับรัฐบาลเฉพาะกาล ในอีก 12 เดือนข้างหน้าก็คือ การปฏิรูปการเมืองที่สัมฤทธิ์ผล การฟื้นฟูเอกภาพของชาติ การลดช่องว่างรายได้ของประชาชน การฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบของประเทศอีกครั้ง
ชัดเจนและจริงจังตรงไปตรงมา ทั้งที่มาและที่ไป ผมคิดว่าถ้าสามารถรักษาระดับของความกล้าพูด และกล้าทำตามที่ได้พูดไว้ด้วยแล้ว ทั้งรัฐบาลและคมช.ก็จะได้รับความเชื่อมั่นได้มากขึ้น คำถามเรื่องปฏิวัติไปทำไม รวมทั้งการเรียกร้องให้คืนอำนาจอาจลดน้อยลง เพื่อให้โอกาสคณะของท่านได้ทำงานตามคำมั่นสัญญา
ผมเห็นด้วยในทุกข้อ ที่มีความมุ่งหมายจะทำ แต่ก็ขอฝากข้อสังเกตเพิ่มเติมไว้ด้วยดังต่อไปนี้
1.การปฏิรูปการเมืองให้สัมฤทธิ์ผล จากคำประกาศของท่านนายกรัฐมนตรี เป็นเป้าหมายสำคัญแน่นอน แต่ต้องเข้าใจว่า ความสัมฤทธิ์ผลของการปฏิรูปการเมือง คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเรามีรัฐธรรมนูญใหม่ภายใน 1 ปี ด้วยการแก้ไขจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 แล้วเท่านั้น หรือแม้จะมีการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองขึ้นมาด้วยแล้วก็ตาม เพราะความสัมฤทธิ์ผลที่แท้จริง สำหรับการปฏิรูปการเมืองในเบื้องต้นที่ควรจะได้จัดเป็นวาระแห่งชาติด้วยก็คือ ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ในอันที่จะสร้างความเข้าใจใหม่แก่มวลชน ที่เคยยู่ภายใต้การครอบงำของการโฆษณาชวนเชื่อ และยังคงหลงใหลได้ปลื้มกับประชานิยมแอบแฝง โดยที่ยังไม่เข้าใจว่า สิ่งที่ตนเองหรือครอบครัวได้รับนั้น หาใช่ประโยชน์ที่แท้จริงและยั่งยืนแต่ประการใด หากเป็นเพียงกลอุบายให้เราขายอำนาจรัฐให้แก่กลุ่มผลประโยชน์เพียงไม่กี่กลุ่ม ได้เข้ามาโกงเอาผลประโยชน์ของชาติไป ซึ่งก็คือผลประโยชน์ของเราและลูกหลานในอนาคตนั้นเอง ตัวอย่างที่เป็นจริงว่า พวกเขารวยขึ้นมากมายอย่างไร จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
การปรับทัศนคติของมวลชนเสียใหม่ ในเรื่องนี้เพื่อให้ตระหนักในความสำคัญของสิทธิทางการเมือง และสิทธิในการเลือกตั้ง ไม่เผลอใผลขายอำนาจรัฐให้ใครง่ายๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฏิรูปการเมืองจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ อยู่ที่ตรงนี้
2.การฟื้นฟูเอกภาพของชาติ การฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ ซึ่งก็คือการสร้างสมานฉันท์ของชาติ เป็นเรื่องที่ดีที่ต้องทำ เพราะต้องยอมรับความจริงว่า การแตกแยก แตกร้าว การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างขนานใหญ่ในบ้านเมือง อันเป็นเรื่องที่ต้องระงับยั้บยั้ง และเสริมสร้างสมานฉันท์กันเป็นการใหญ่
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องเข้าใจว่า การสมานฉันท์นั้น มิได้หมายความแต่เพียงว่า เลิกแล้วกันไป ลืมเรื่องเก่ากันเสีย เพื่อมาจับมือกันใหม่ ใครทำความชั่ว ความเลวเคยข่มเหงใคร อย่างไรปล่อยไป ใครเคยเอารัดเอาเปรียบใครอย่างไร ก็ปล่อยให้เอารัดเอาเปรียบกันต่อไป อย่างนี้คงสมานฉันท์กันยาก เพราะความผิดกับความถูก และความชั่วความเลว กับความดีนั้น สมานฉันท์กันไม่ได้ เพราะสังคมจะยิ่งสับสนไม่รู้ว่าความเป็นธรรมอยู่ที่ไหน
3.เรื่องการฟื้นฟูกฎหมาย และระเบียบของประเทศ เพราะมีการละเมิดกฎหมายกันอย่างกว้างขวาง กฎหมายเสื่อมลง ไม่สามารถป้องกันการคอร์รัปชั่น และการทำร้ายคนยากจนได้ ก็เป็นเรื่องดีที่สมควรจะได้รับการชำระสะสาง ตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึง
อย่างไรก็ตามผมเห็นว่า สาเหตุที่สำคัญส่วนใหญ่ เกิดจากความลุแก่อำนาจของผู้มีอำนาจทางการเมือง และการยอมสยบ และยอมรับเอาอำนาจนั้นไปปฏิบัติ ของข้าราชการประจำอีกด้วย ทั้งที่เต็มใจเพราะพลอยเห็นดีเห็นงาม หรือได้รับผลประโยชน์ไปด้วยในเวลาเดียวกัน และทั้งที่ไม่เต็มใจ แต่ไม่อาจขัดขืนได้ เพราะอำนาจฝ่ายการเมืองที่เหนือกว่า การเลี่ยงปฏิบัติ ไม่ทำตามกฎหมายที่มีอยู่ และการใช้อำนาจเกินกฎหมาย จึงเกิดขึ้น ทางแก้ไขประการหนึ่งที่น่าจะทำได้ก็คือ การตรากฎหมายให้หลักประกันอย่างชัดเจนแก่ข้าราชการดีๆ ที่ไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่มีวาระซ่อนเร้นส่อไปในทางไม่สุจริต หรือจะเกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือบุคคลอื่น และในขณะเดียวกัน ก็จะต้องมีบทลงโทษหนักแก่ข้าราชการผู้ปฏิบัติ ที่พลอยเห็นดีเห็นงาม ปฏิบัติตามไปด้วย
4.การใช้สื่อวิทยุของและโทรทัศน์ของรัฐ เพื่อรับใช้เป้าหมายอันเป็นวาระแห่งชาติ ยังไม่ได้กระทำกันมากนัก จะเรียกว่า ยังไม่ได้กระทำเลยก็ว่าได้ เพราะหลายคลื่น หลายช่อง ยังคงเดิม ยังทำมาหากินสนุกสนานกันเหมือนเดิม บางที่บางแห่งยังรับใช้กลุ่มอำนาจเดิมด้วยซ้ำ เมื่อท่านนายกรัฐมนตรี ก็ตระหนักดีว่า การโฆษณาชวนเชื่อ ในเวลาที่ผ่านมา ได้กระทำผ่านช่องทางเหล่านี้เกือบทั้งสิ้น ท่านนายกรัฐมนตรี ก็ควรจะมีความกล้าหาญ พอที่จะมอบนโยบายอันเป็นวาระแห่งชาติ ให้สื่อเหล่านี้ ให้ความร่วมมือในการสนองนโยบายด้วย งานใหญ่ของชาติจึงจะสำเร็จได้ ก็หวังว่า ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ช่อง 9 อสมท. คงไม่เป็นเหตุให้ แผนงานการใช้สื่อของรัฐเพื่อสร้างประโยชน์ชาติ สร้างการเมืองที่ถูกต้อง ต้องเป็นอันต้องชะงักลง
ถ้าการเข้าไปกำกับดูแล เป็นการเข้าไปเพื่อแบ่งสรรปันส่วน ทำมาหากินอย่างนี้ไม่บังควร แต่ถ้าการเข้าไปนั้น เป็นการเข้าไปเพื่อให้สื่อของรัฐ ได้รับใช้รัฐอย่างจริงจังเสียที อย่างนั้นก็เป็นเรื่องควรทำ
การยืนอยู่ได้ด้วยตนเองของสื่อ ของรัฐ เป็นเรื่องดี แต่การมุ่งกำไรสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าถึงขนาดยึดเป็นแหล่งทำมาหากิน โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ชาตินั้น คงไม่ใช้ความมุ่งหมายของสื่อของรัฐอย่างแน่นอน
ผมเห็นว่า ถึงเวลาที่จะต้องชำระสะสางกันเสียทีได้แล้ว
5.ทุกวันนี้ ท่านนายกรัฐมนตรี ประธาน คมช. เริ่มเข้าใจ เข้าถึง และเริ่มเดินถูกทางอย่างชัดเจน จริงจังแล้ว แต่ผมยังไม่แน่ใจว่า รัฐมนตรีอื่น และ คมช. ท่านอื่น เข้าใจ เข้าถึง และพร้อมที่จะเดินในแนวทางเดียวกันนี้อย่างชัดเจนและจริงจังมากน้อยเพียงใด เพราะเห็นยังเงียบๆกันอยู่
จึงอยากให้รัฐมนตรีอื่น และคมช.ท่านอื่น ได้เข้าใจว่า ท่านทั้งหลายล้วนแต่เป็นผลิตผลของการเปลี่ยนแปลง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ด้วยกันทั้งสิ้น ถ้าไม่มีเหตุการณ์ 19 กันยา ก็จะไม่มีท่าน ในฐานะตำแหน่งที่ดำรงอยู่ เมื่อท่านยอมรับฐานะ ยอมรับตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่า ท่านยอมรับว่า เหตุอ้างของการเปลี่ยนแปลงเมื่อ 19 กันยา มีอยู่จริง และเป็นเหตุการณ์วิกฤติ ที่จะต้องแก้ไข เยียวยาและป้องกันมิให้เกิดขึ้นอีกในวันข้างหน้า เหล่านี้คือภารกิจของท่าน ที่จะต้องชัดเจนและจริงจังเช่นเดียวกัน ถ้าการบรรลุภารกิจดังกล่าวนี้ของท่าน ต้องกระทบกระทั่งกับใครอย่างไร ก็ต้องพร้อมในทุกเรื่อง
6.ข้อสังเกตประการสุดท้ายที่ขอฝากไว้แก่คณะรัฐบาล และ คมช. ในการวิเคราะห์วิจารณ์ ในคราวนี้ก็คือว่า
ในฐานะของนักการเมืองอาชีพที่อยู่ในสังเวียนการเมืองมายาวนานมากคนหนึ่ง มีโอกาสได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ด้วยการยึดอำนาจโดยคณะทหารมาแล้วหลายครั้งหลายหน ได้พบเห็นความจริงที่พอจะเรียกเป็นสัจจะธรรมได้ว่า การยึดอำนาจว่ายากแล้ว แต่การรักษาอำนาจนั้นยิ่งจะยากมากว่า และนับวันยิ่งมีความยากมากขึ้นทุกที เพราะอำนาจที่ได้มาในลักษณะเช่นนี้ มีลักษณะเปราะบางในความรู้สึกของประชาชน
อะไรก็ตาม ที่อาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจไปได้ว่า ท่านกำลังหลงไหลได้ปลื้มในอำนาจ เพลิดเพลินกับการใช้อำนาจ ไปในทางที่ไม่บังควร ผิดไปจากเจตนารมย์ที่ได้ประกาศไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการใช้อำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนและพวกพ้อง และเริ่มคิดที่จะมีการสืบทอดอำนาจต่อไปอีก เมื่อนั้นนับถอยหลังได้เลย
นี่คือสัจจธรรมที่เป็นจริงอันเที่ยงแท้แน่นอน ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นกับรัฐบาลและ คมช. เพราะทั้งท่าน นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ และท่านประธาน คมช. พล.อ.สนธิ ต่างก็มีความตั้งใจดีและมีต้นทุนทางสังคมสูงด้วยกันทั้งคู่และก็คงจะไม่มีใครในคณะของท่านคอยชักใบให้เรือเสีย.
10 พฤศจิกายน 2549
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 พ.ย. 2549--จบ--
ด้วยมุมมองที่ลึกซึ้ง คมเข้ม ทันต่อสถานการณ์ โดย “บัญญัติ บรรทัดฐาน” อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ทุกเช้าวันศุกร์ ประเดิมชิ้นแรกด้วยเรื่อง
“วาระแห่งชาติ ของรัฐบาลและคมช.” ...
วาระแห่งชาติของรัฐบาลและ คมช.
บัญญัติ บรรทัดฐาน
ที่ได้ยกเอาเรื่องวาระแห่งชาติของรัฐบาลและ คมช. มาเป็นประเด็นวิเคราะห์วิจารณ์สู่กันฟัง ก็เพราะเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญ และมีผู้คนตั้งข้อสงสัยเรื่อยมา
บ้างก็กล่าววิพากษ์วิจารณ์กันว่า ในเวลาที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่เรียกชื่อย่อว่า คปค. เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ ได้อ้างถึงเหตุ 4 ประการด้วยกัน ซึ่งพอรับฟังได้ และต่างก็ปรารถนาที่จะได้เห็นการพิสูจน์ความจริงเหล่านั้นอย่างชัดแจ้ง พร้อมกับมีการดำเนินการอันเป็นการป้องกันมิให้เกิดเหตุดังกล่าวนั้นอีกในอนาคต ซึ่งก็ยังไม่เห็นมีความชัดเจนใดๆในเรื่องนี้
จะเป็นเพราะเหตุที่เริ่มจะได้ยินคำถามที่ว่านั้นเข้าหูกันบ้างแล้วหรือเพราะเหตุแห่ง “คลื่นใต้น้ำ” หรือเพราะเพิ่งจะตั้งหลักได้ เราก็เริ่มจะได้เห็นท่วงทำนองที่ชัดเจนจริงจัง ทั้งของรัฐบาลและ คมช.
ท่วงทำนองที่ชัดเจนจริงจังของ คมช. ก็คือของท่านประธาน คมช. พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ที่ได้เสนอเรื่องการเทอดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว การสร้างสมานฉันท์ การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ให้คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ
แต่ที่ชัดเจนจริงจังมากที่สุดคือ ท่วงทำนองของท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่แสดงในงานเลี้ยงอาหารค่ำของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศของประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 คือเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง
ที่ผมเห็นว่าชัดเจนและจริงจังมากที่สุด ก็เพราะว่าในสุนทรพจน์ที่ได้กล่าวในค่ำคืนวันนั้น มีความชัดเจนทั้งในเรื่องของเหตุอันเป็นที่มา และในเรื่องของผลอันเป็นความมุ่งหมายที่จะดำเนินการ ซึ่งจะเรียกว่าเป็น “วาระแห่งชาติ” ก็ว่าได้
พร้อมๆกับคำประกาศที่พอจะเรียกว่า เป็นวาระแห่งชาติในเวลา 12 เดือน หรือ 1 ปี ว่า 4 เรื่องหลักๆ ที่กำลังเป็นสิ่งที่ท้าทาย สำหรับรัฐบาลเฉพาะกาล ในอีก 12 เดือนข้างหน้าก็คือ การปฏิรูปการเมืองที่สัมฤทธิ์ผล การฟื้นฟูเอกภาพของชาติ การลดช่องว่างรายได้ของประชาชน การฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบของประเทศอีกครั้ง
ชัดเจนและจริงจังตรงไปตรงมา ทั้งที่มาและที่ไป ผมคิดว่าถ้าสามารถรักษาระดับของความกล้าพูด และกล้าทำตามที่ได้พูดไว้ด้วยแล้ว ทั้งรัฐบาลและคมช.ก็จะได้รับความเชื่อมั่นได้มากขึ้น คำถามเรื่องปฏิวัติไปทำไม รวมทั้งการเรียกร้องให้คืนอำนาจอาจลดน้อยลง เพื่อให้โอกาสคณะของท่านได้ทำงานตามคำมั่นสัญญา
ผมเห็นด้วยในทุกข้อ ที่มีความมุ่งหมายจะทำ แต่ก็ขอฝากข้อสังเกตเพิ่มเติมไว้ด้วยดังต่อไปนี้
1.การปฏิรูปการเมืองให้สัมฤทธิ์ผล จากคำประกาศของท่านนายกรัฐมนตรี เป็นเป้าหมายสำคัญแน่นอน แต่ต้องเข้าใจว่า ความสัมฤทธิ์ผลของการปฏิรูปการเมือง คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเรามีรัฐธรรมนูญใหม่ภายใน 1 ปี ด้วยการแก้ไขจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 แล้วเท่านั้น หรือแม้จะมีการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองขึ้นมาด้วยแล้วก็ตาม เพราะความสัมฤทธิ์ผลที่แท้จริง สำหรับการปฏิรูปการเมืองในเบื้องต้นที่ควรจะได้จัดเป็นวาระแห่งชาติด้วยก็คือ ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ในอันที่จะสร้างความเข้าใจใหม่แก่มวลชน ที่เคยยู่ภายใต้การครอบงำของการโฆษณาชวนเชื่อ และยังคงหลงใหลได้ปลื้มกับประชานิยมแอบแฝง โดยที่ยังไม่เข้าใจว่า สิ่งที่ตนเองหรือครอบครัวได้รับนั้น หาใช่ประโยชน์ที่แท้จริงและยั่งยืนแต่ประการใด หากเป็นเพียงกลอุบายให้เราขายอำนาจรัฐให้แก่กลุ่มผลประโยชน์เพียงไม่กี่กลุ่ม ได้เข้ามาโกงเอาผลประโยชน์ของชาติไป ซึ่งก็คือผลประโยชน์ของเราและลูกหลานในอนาคตนั้นเอง ตัวอย่างที่เป็นจริงว่า พวกเขารวยขึ้นมากมายอย่างไร จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
การปรับทัศนคติของมวลชนเสียใหม่ ในเรื่องนี้เพื่อให้ตระหนักในความสำคัญของสิทธิทางการเมือง และสิทธิในการเลือกตั้ง ไม่เผลอใผลขายอำนาจรัฐให้ใครง่ายๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฏิรูปการเมืองจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ อยู่ที่ตรงนี้
2.การฟื้นฟูเอกภาพของชาติ การฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ ซึ่งก็คือการสร้างสมานฉันท์ของชาติ เป็นเรื่องที่ดีที่ต้องทำ เพราะต้องยอมรับความจริงว่า การแตกแยก แตกร้าว การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างขนานใหญ่ในบ้านเมือง อันเป็นเรื่องที่ต้องระงับยั้บยั้ง และเสริมสร้างสมานฉันท์กันเป็นการใหญ่
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องเข้าใจว่า การสมานฉันท์นั้น มิได้หมายความแต่เพียงว่า เลิกแล้วกันไป ลืมเรื่องเก่ากันเสีย เพื่อมาจับมือกันใหม่ ใครทำความชั่ว ความเลวเคยข่มเหงใคร อย่างไรปล่อยไป ใครเคยเอารัดเอาเปรียบใครอย่างไร ก็ปล่อยให้เอารัดเอาเปรียบกันต่อไป อย่างนี้คงสมานฉันท์กันยาก เพราะความผิดกับความถูก และความชั่วความเลว กับความดีนั้น สมานฉันท์กันไม่ได้ เพราะสังคมจะยิ่งสับสนไม่รู้ว่าความเป็นธรรมอยู่ที่ไหน
3.เรื่องการฟื้นฟูกฎหมาย และระเบียบของประเทศ เพราะมีการละเมิดกฎหมายกันอย่างกว้างขวาง กฎหมายเสื่อมลง ไม่สามารถป้องกันการคอร์รัปชั่น และการทำร้ายคนยากจนได้ ก็เป็นเรื่องดีที่สมควรจะได้รับการชำระสะสาง ตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึง
อย่างไรก็ตามผมเห็นว่า สาเหตุที่สำคัญส่วนใหญ่ เกิดจากความลุแก่อำนาจของผู้มีอำนาจทางการเมือง และการยอมสยบ และยอมรับเอาอำนาจนั้นไปปฏิบัติ ของข้าราชการประจำอีกด้วย ทั้งที่เต็มใจเพราะพลอยเห็นดีเห็นงาม หรือได้รับผลประโยชน์ไปด้วยในเวลาเดียวกัน และทั้งที่ไม่เต็มใจ แต่ไม่อาจขัดขืนได้ เพราะอำนาจฝ่ายการเมืองที่เหนือกว่า การเลี่ยงปฏิบัติ ไม่ทำตามกฎหมายที่มีอยู่ และการใช้อำนาจเกินกฎหมาย จึงเกิดขึ้น ทางแก้ไขประการหนึ่งที่น่าจะทำได้ก็คือ การตรากฎหมายให้หลักประกันอย่างชัดเจนแก่ข้าราชการดีๆ ที่ไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่มีวาระซ่อนเร้นส่อไปในทางไม่สุจริต หรือจะเกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือบุคคลอื่น และในขณะเดียวกัน ก็จะต้องมีบทลงโทษหนักแก่ข้าราชการผู้ปฏิบัติ ที่พลอยเห็นดีเห็นงาม ปฏิบัติตามไปด้วย
4.การใช้สื่อวิทยุของและโทรทัศน์ของรัฐ เพื่อรับใช้เป้าหมายอันเป็นวาระแห่งชาติ ยังไม่ได้กระทำกันมากนัก จะเรียกว่า ยังไม่ได้กระทำเลยก็ว่าได้ เพราะหลายคลื่น หลายช่อง ยังคงเดิม ยังทำมาหากินสนุกสนานกันเหมือนเดิม บางที่บางแห่งยังรับใช้กลุ่มอำนาจเดิมด้วยซ้ำ เมื่อท่านนายกรัฐมนตรี ก็ตระหนักดีว่า การโฆษณาชวนเชื่อ ในเวลาที่ผ่านมา ได้กระทำผ่านช่องทางเหล่านี้เกือบทั้งสิ้น ท่านนายกรัฐมนตรี ก็ควรจะมีความกล้าหาญ พอที่จะมอบนโยบายอันเป็นวาระแห่งชาติ ให้สื่อเหล่านี้ ให้ความร่วมมือในการสนองนโยบายด้วย งานใหญ่ของชาติจึงจะสำเร็จได้ ก็หวังว่า ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ช่อง 9 อสมท. คงไม่เป็นเหตุให้ แผนงานการใช้สื่อของรัฐเพื่อสร้างประโยชน์ชาติ สร้างการเมืองที่ถูกต้อง ต้องเป็นอันต้องชะงักลง
ถ้าการเข้าไปกำกับดูแล เป็นการเข้าไปเพื่อแบ่งสรรปันส่วน ทำมาหากินอย่างนี้ไม่บังควร แต่ถ้าการเข้าไปนั้น เป็นการเข้าไปเพื่อให้สื่อของรัฐ ได้รับใช้รัฐอย่างจริงจังเสียที อย่างนั้นก็เป็นเรื่องควรทำ
การยืนอยู่ได้ด้วยตนเองของสื่อ ของรัฐ เป็นเรื่องดี แต่การมุ่งกำไรสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าถึงขนาดยึดเป็นแหล่งทำมาหากิน โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ชาตินั้น คงไม่ใช้ความมุ่งหมายของสื่อของรัฐอย่างแน่นอน
ผมเห็นว่า ถึงเวลาที่จะต้องชำระสะสางกันเสียทีได้แล้ว
5.ทุกวันนี้ ท่านนายกรัฐมนตรี ประธาน คมช. เริ่มเข้าใจ เข้าถึง และเริ่มเดินถูกทางอย่างชัดเจน จริงจังแล้ว แต่ผมยังไม่แน่ใจว่า รัฐมนตรีอื่น และ คมช. ท่านอื่น เข้าใจ เข้าถึง และพร้อมที่จะเดินในแนวทางเดียวกันนี้อย่างชัดเจนและจริงจังมากน้อยเพียงใด เพราะเห็นยังเงียบๆกันอยู่
จึงอยากให้รัฐมนตรีอื่น และคมช.ท่านอื่น ได้เข้าใจว่า ท่านทั้งหลายล้วนแต่เป็นผลิตผลของการเปลี่ยนแปลง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ด้วยกันทั้งสิ้น ถ้าไม่มีเหตุการณ์ 19 กันยา ก็จะไม่มีท่าน ในฐานะตำแหน่งที่ดำรงอยู่ เมื่อท่านยอมรับฐานะ ยอมรับตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่า ท่านยอมรับว่า เหตุอ้างของการเปลี่ยนแปลงเมื่อ 19 กันยา มีอยู่จริง และเป็นเหตุการณ์วิกฤติ ที่จะต้องแก้ไข เยียวยาและป้องกันมิให้เกิดขึ้นอีกในวันข้างหน้า เหล่านี้คือภารกิจของท่าน ที่จะต้องชัดเจนและจริงจังเช่นเดียวกัน ถ้าการบรรลุภารกิจดังกล่าวนี้ของท่าน ต้องกระทบกระทั่งกับใครอย่างไร ก็ต้องพร้อมในทุกเรื่อง
6.ข้อสังเกตประการสุดท้ายที่ขอฝากไว้แก่คณะรัฐบาล และ คมช. ในการวิเคราะห์วิจารณ์ ในคราวนี้ก็คือว่า
ในฐานะของนักการเมืองอาชีพที่อยู่ในสังเวียนการเมืองมายาวนานมากคนหนึ่ง มีโอกาสได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ด้วยการยึดอำนาจโดยคณะทหารมาแล้วหลายครั้งหลายหน ได้พบเห็นความจริงที่พอจะเรียกเป็นสัจจะธรรมได้ว่า การยึดอำนาจว่ายากแล้ว แต่การรักษาอำนาจนั้นยิ่งจะยากมากว่า และนับวันยิ่งมีความยากมากขึ้นทุกที เพราะอำนาจที่ได้มาในลักษณะเช่นนี้ มีลักษณะเปราะบางในความรู้สึกของประชาชน
อะไรก็ตาม ที่อาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจไปได้ว่า ท่านกำลังหลงไหลได้ปลื้มในอำนาจ เพลิดเพลินกับการใช้อำนาจ ไปในทางที่ไม่บังควร ผิดไปจากเจตนารมย์ที่ได้ประกาศไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการใช้อำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนและพวกพ้อง และเริ่มคิดที่จะมีการสืบทอดอำนาจต่อไปอีก เมื่อนั้นนับถอยหลังได้เลย
นี่คือสัจจธรรมที่เป็นจริงอันเที่ยงแท้แน่นอน ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นกับรัฐบาลและ คมช. เพราะทั้งท่าน นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ และท่านประธาน คมช. พล.อ.สนธิ ต่างก็มีความตั้งใจดีและมีต้นทุนทางสังคมสูงด้วยกันทั้งคู่และก็คงจะไม่มีใครในคณะของท่านคอยชักใบให้เรือเสีย.
10 พฤศจิกายน 2549
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 พ.ย. 2549--จบ--