สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังครับ พี่น้องประชาชนทุกท่าน ผมอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กลับมาพบปะพูดคุยกับพี่น้องประชาชนอีกครั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ต้องขออภัยที่ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาผมไม่ได้มานั่งอยู่ในห้องส่ง 2 สัปดาห์ก่อนนั้นเดินทางไปที่จังหวัดตรัง และพยายามที่จะดำเนินรายการผ่านทางโทรศัพท์ แต่ว่าก็พบว่ามีปัญหาเรื่องของสัญญาณ ก็ขลุกขลักอยู่พอสมควร และสัปดาห์ที่แล้วเดินทางไปที่จังหวัดหนองคาย รองหัวหน้าพรรค จุรินทร์ ลักษณะวิสิษฐ์ ได้มาดำเนินรายการแทนตรงนี้ วันนี้กลับมาที่ห้องส่งเหมือนเดิม และช่วงท้ายรายการก็พร้อมจะเปิดสาย 02-244-1482-3 และ 02-241-0055 เพื่อที่ท่านผู้ฟัง พี่น้องประชาชนที่มีคำถาม ความเห็นจะได้มาแลกเปลี่ยนกันทางรายการนี้ครับ
วันนี้ผมคงอยากจะขอพูดถึงการดำเนินงานของฝ่ายค้าน ต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งก็มีความสนใจอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นกับท่านนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่สืบเนื่องมาจากการซื้อ ขายหุ้น ชินคอร์ปอเรชั่น และก็มีประเด็นที่มีการเคลื่อนไหวมากมาย พร้อม ๆ กับการที่มีองค์กรต่าง ๆ ได้ออกมาแสดงทัศนะ ความคิดเห็น มีทั้งกลุ่มคนที่ไปชุมนุมเรียกร้องให้ท่านนายกลาออก มีทั้งกลุ่มคนที่สนับสนุนท่านนายกฯ มีทั้งกระบวนการของนักศึกษาที่กำลังให้พี่น้องประชาชนไปลงชื่อกันเพื่อทำเรื่องถอดถอน มีทั้งกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาได้นำเรื่องส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความว่า นายกฯ ขาดคุณสมบัติหรือไม่ และได้กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 209 กับ 216 เหล่านั้นเป็นสิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ในส่วนของพรรคฝ่ายค้าน ผมขอเรียนเพื่อความชัดเจนว่าเราได้ประกาศมาตลอดเวลาว่าการดำเนินการทางการเมืองของเรา จะต้องคำนึงถึงสถานะของเราในฐานะผู้แทนปวงชนคนไทย ในสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภา และต้องการให้กระบวนการ กลไกของรัฐสภา สามารถที่จะเป็นจุดที่คลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ทางการเมืองได้ แนวทางตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามแนวทางนี้อย่างเคร่งครัด แล้วก็ในหลายต่อหลายโอกาสเราเป็นฝ่ายเรียกร้องให้รัฐบาลได้มาในเวทีของสภา ใช้กลไกของรัฐธรรมนูญในการที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ผมก็เรียนว่าหลังจากที่ได้มีการตรวจสอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น แล้วเราก็เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงจริยธรรมทั้งในเชิงกฎหมาย มีเหตุผลเพียงพอในการที่ฝ่ายค้านน่าจะได้มีการตรวจสอบ ญัตติ เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เหตุผลนั้นก็คงไม่จำเป็นต้องแจกแจงเพิ่มเติม แต่ว่าปัญหาในเรื่องของจริยธรรมที่เกิดขึ้นกับการตัดสินใจในเรื่องของการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ค่อนข้างชัดเจนว่ามีการเลือกรูปแบบในการที่จะให้เสียภาษีน้อยที่สุด และขณะเดียวกันการขายหุ้นครั้งนี้ที่กระทบกระเทือนต่อพี่น้องประชาชนจำนวนมาก ที่มีความรู้สึกในเรื่องนี้ก็เพราะว่าเป็นการขายธุรกิจที่มีความใกล้ชิดผูกพันอยู่กับความมั่นคงของประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แล้วก็ได้มีการขายออกไปโดยได้มีการทำกำไร โดยมูลค่าของบริษัทที่เพิ่มขึ้นนั้นก็มีการมองกันมาตลอดว่า เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นโดยผล โดยนัยของนโยบายของรัฐบาล ในหลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมายภาษีสรรพสามิต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการยกเว้นภาษีโดยอาศัย มาตรการการส่งเสริมการลงทุนและอื่น ๆ เพราะฉะนั้นเฉพาะประเด็นในเรื่องความเหมาะสมตรงนั้น ก็เป็นปัญหา
ในเชิงของกฎหมายได้มีการติดตามตรวจสอบทบทวนสั้น ๆ ครับว่า ประการแรกมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายธุรกิจของชาวต่างชาติ นั่นก็คือว่าในปัจจุบันมีการขายหุ้นออกไป บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่นนั้น ก็ยังถูกนับว่าเป็นบริษัทที่เป็นสัญชาติไทย โดยมีผู้ถือหุ้นบริษัทชิน หรือผู้ที่มาซื้อหุ้นบริษัทชินนั้น ที่เป็นบริษัทตั้งใหม่ขึ้นมาถ้าดูตามกระดาษ ถ้าดูตามทะเบียน ก็ต้องบอกว่าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ยังเป็นสัญชาติไทยอยู่ แต่ว่ากฎหมายการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาตินั้น โดยเฉพาะที่ได้แก้ไขไปเมื่อปี พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการเข้ามาถือครองหุ้นของชาวต่างชาติต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส เพราะฉะนั้นตามกฎหมายฉบับนั้น หรือกฎหมายเฉพาะในธุรกิจการบิน ทั้งในธุรกิจคมนาคมก็ดี ถ้าบอกว่าชาวต่างชาติถือหุ้นได้สัดส่วนเท่าไหร่ จะเป็นร้อยละ 49 หรือจะเป็นเท่าไหร่ก็ดี ซึ่งในระยะหลังก็มักจะมีการผ่อนผัน ตรงนั้นไม่เป็นไร แต่ว่านอกเหนือจากสัดส่วนนั้นแล้วต้องไม่มีการแอบหรืออ้อมไปถือหุ้นในรูปแบบอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ออกมาเมื่อปี 2542 ได้กำหนดโทษเอาไว้ชัดเจนว่า ถ้ามีกรณีที่คนไทยไปถือหุ้นแทนชาวต่างประเทศจะเป็นความผิด เพราะฉะนั้นการที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคฝ่ายค้านได้ทำการสอบ เราก็พบความจริงว่าโครงสร้างของบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อซื้อหุ้นในครั้งนี้ น่าจะเข้าข่ายกรณีที่มีคนไทยหรือนิติบุคคลที่อ้างว่าเป็นไทย แต่ว่าไปถือหุ้นแทนคนอื่นทั้งโดยการพิจารณาจากผลตอบแทนที่ได้รับที่เป็นสัญญาข้อตกลง ทั้งในเรื่องของแหล่งเงินทุนที่นำมาใช้ในการซื้อหุ้นในครั้งนี้ นอกจากนั้นแล้วยังมีปัญหาการทำผิดกฎหมายฉบับนี้เพราะว่าบริษัทที่ตั้งขึ้นมาบางบริษัทได้เปลี่ยนจากการเป็นบริษัทไทยไปเป็นบริษัทของคนต่างชาติ โดยไม่ได้มีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตามขั้นตอนของกฎหมายที่กำหนดไว้ เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นประเด็นหนึ่งซึ่งวันนี้คณะทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ก็คงจะได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในส่วนของกระทรวงพาณิชย์อย่างไร ว่าจะให้เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาตรงนี้
พี่น้องที่ติดตามข่าวสารเรื่องนี้ก็คงจะทราบครับว่าประเด็นเรื่องนี้คงจะเป็นปัญหาจริง ๆ อย่างน้อยที่สุดกับกรณีหนึ่งแล้วก็คือกรณีของบริษัทลูกของบริษัทชินคือ แอร์เอเชีย ก็ได้ถูกอธิบดีที่กำกับดูแลในเรื่องของธุรกิจการบินแจ้งว่าน่าจะขัดต่อกฎหมายแล้ว แล้วก็กำลังเปิดโอกาสให้มีการไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้น เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นประเด็นแรกที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เข้ามาถือหุ้นของชาวต่างชาติ ปัญหาที่สองคือปัญหาเรื่องภาษีอากร โดยการตรวจสอบว่าแม้ว่าจะมีความพยายามในการที่จะใช้รูปแบบของการซื้อขายหุ้นแล้วก็เสียภาษีน้อยที่สุดหรือไม่เสียเลย แต่ว่าในบางขั้นตอนของการโอนหุ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนของการที่บริษัท Ample Rich ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนใน British Virgin Island ได้มีการโอนหุ้นให้แก่ คุณพานทองแท้ คุณพิณทองทาในราคา 1 บาท และต่อมามีการกล่าวอ้างว่าบุคคลทั้งสองกับบริษัท Ample Rich นั้นมีความเกี่ยวข้องหรือเป็นเสมือนกับเป็นบุคคลคนเดียวกัน กรณีเช่นว่านี้ก็ต้องเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณี กฟผ. ได้รับหุ้นจากทางบริษัท กฟผ. ในช่วงของการที่มีการวางแผนการณ์ที่จะแปรรูป และพนักงานกฟผ. ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ฉะนั้นคำถามก็เกิดขึ้นว่าทำไมจึงไม่ได้มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกัน อันนี้ก็เป็นประเด็นในเรื่องของภาษี ส่วนประเด็นในเรื่องของกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น อย่างที่เคยได้มีโอกาสพูดในหลายเวทีแล้วว่า ก็คงจะชัดเจนว่าคงจะมีการกระทำความผิด เพียงแต่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดตามมาตราไหน แต่ว่าเป็นความผิดอาญา แล้วก็เป็นเรื่องซึ่งท่านนายกฯ ซึ่งเคยยืนยันก่อนหน้านี้ทีแรกว่าการดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายกติกา ต่อมาก็ยังยอมรับว่าอาจจะต้องมีการเสียค่าปรับตามโทษ ความจริงแล้วก็เป็นความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือว่าปรับวันละ 1 หมื่นบาท นับตั้งแต่วันที่มีการกระทำความผิด อันนั้นก็เป็นประเด็นที่ 3 นอกจากเหนือจากเรื่องของการถือหุ้นของคนต่างชาติ เรื่องภาษี ก็มีเรื่องกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ แล้วก็ล่าสุดก็คือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริษัท Ample Rich ทั้งหมด ซึ่งเป็นบริษัทที่ตอนแรกมีการกล่าวอ้างว่าท่านนายกฯ ได้ตั้งไว้เป็นเจ้าของเพื่อที่จะเอาหุ้นไปพักไว้ในต่างประเทศก่อนที่จะนำไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกา แต่ว่าเราไปค้นพบความจริงว่ามีความสลับซับซ้อนกว่านั้น มีการแบ่งหุ้นออกเป็น 2 กอง ให้มี Ample Rich 1 Ample Rich 2 ถืออยู่มีการซื้อขายมีการเคลื่อนไหว ซึ่งก็ทำให้เกิดมีคำถามขึ้นมาอีกมากมายว่าการกระทำเช่นว่านี้ทำให้มีการไหลออกของเงินตรา ไม่ได้มีการแจ้งไม่ได้มีการขออนุญาต รวมไปถึงการที่มีการค้นพบว่าที่อยู่ที่มีการแจ้งไว้ ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นที่อยู่จริงหรือไม่ เพราะว่าคณะทำงานก็ได้ไปตรวจสอบที่สิงคโปร์ เช่นเดียวกันเพราะฉะนั้นญัตติทั้งที่จะได้มีการทำขึ้นก็จะได้มีการรวบรวมประเด็นปัญหาตรงนี้ทั้งหมดแล้วก็เกี่ยวเนื่องไปถึงเรื่องปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย ที่เราได้พูดมาโดยตลอดและวันนี้การขายหุ้นเพื่อทำกำไรเปรียบเสมือนภาพต่อชิ้นสุดท้ายที่ถูกวางลงไปให้เห็นความชัดเจนว่าอะไรที่เกิดความชัดเจนในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา
ปัญหาของการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจก็คือเมื่อเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี จะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมด พูดกันง่าย ๆ ตัวเลขกลม ๆ ก็คือ 200 พรรคฝ่ายค้านมีไม่ถึงครับ แต่ที่พรรคฝ่ายค้านได้ประกาศอย่างนี้เพราะว่าก่อนหน้านี้ท่านนายกรัฐมนตรีได้เคยพูดว่า ไม่ต้องไปกังวลว่าพรรคฝ่ายค้านมีเสียงไม่พอในการดำเนินการในเรื่องของการตรวจสอบ ถ้ามีประเด็นที่จะต้องตรวจสอบ ท่านพร้อมครับ พร้อมที่จะเอาชื่อของพรรคของท่านที่เป็นพรรครัฐบาลมาเติมให้เต็มเพื่อให้เกิดการตรวจสอบได้เพราะฉะนั้น เมื่อพรรคฝ่ายค้านได้พิจารณาจากคำพูดของท่านนายกฯ ตรงนี้ และสถานการณ์ปัจจุบัน เราเห็นว่าเวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทวงคำพูดของท่านนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เพราะฉะนั้นภายในสัปดาห์นี้ เราก็ตั้งเป้าหมายว่าจะร่างญัตติและมีการร่างคำถอดถอนพร้อม ๆ กันไปในกรณีที่มีการปฏิบัติซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญก็อยากจะทำให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ และพร้อม ๆ กันนี้ก็จะได้ทำหนังสือเพื่อจะได้ทวงถามคำพูดของท่านนายกฯ ขอให้ท่านได้ปฏิบัติตามที่ท่านได้เคยพูดไว้ก็คือส่งมอบรายชื่อเพื่อสนับสนุนให้เราสามารถที่จะนำเรื่องนี้ไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฏรในรัฐสภา และเป็นการเปิดโอกาสให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงในระบบว่าข้อสงสัยข้อกังขาซึ่งนำมาสู่ความรู้สึกว่าท่านไม่มีความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งนั้น ท่านจะมีคำตอบอย่างไร อันนี้ก็คือการดำเนินการของพรรคนะครับ
ผมเรียนเพิ่มเติมนิดเดียวว่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปสิงคโปร์ ความจริงแล้วความตั้งใจเดิม ผมไปเพื่อพาครอบครัวไปเยี่ยมเพื่อน ๆ ซึ่งบังเอิญไปทำงานอยู่ที่นั่น แต่ว่าภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มีสื่อสารมวลชนที่เขาสนใจ สื่อในประเทศสิงคโปร์ ที่เป็นสื่อต่างประเทศจะเป็น CNBC, Business Times, Forbs เป็น Singapore Press Holding ก็จึงได้ขอมาสัมภาษณ์ผม ขณะเดียวกันเวลาผมเดินทางไปก็มักจะมีโอกาสได้พบกับผู้นำในภาคธุรกิจ ผู้นำในภาคการเมืองด้วยซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการไปตรวจสอบนะครับ คณะทำงานตรวจสอบก็ไปในเรื่องของการไปตรวจสอบ Ample Rich ก็ว่ากันไป แต่ว่าที่ผมไปก็เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทั้งสื่อ กับทั้งภาคธุรกิจของสิงคโปร์นะครับ ในมุมของสิงคโปร์เองก็มีความห่วงใยมากว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะลุกลามไปสู่การต่อต้านจะเป็นสิงคโปร์ หรือต่อต้านนักลงทุนต่างชาติหรือไม่ เพราะฉะนั้นผมก็ได้อธิบายถึงข้อกังวล ถึงข้อห่วงใยของความไม่พอใจที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เนื้อหาสาระก็คงจะไม่ต่างจากที่ผมพูดคุยกับท่านผู้ฟังและพี่น้องประชาชนไปเมื่อสักครู่ อันนี้ก็จะได้ไม่เกิดความสับสนเพราะว่ารายงานข่าวเรื่องนี้ก็มีความสับสนอยู่เหมือนกันว่าที่ไปสิงคโปร์ไปพบใครไปทำอะไรอย่างไร ก็เรียนให้ทราบว่าคณะทำงานก็ไปตรวจสอบและในส่วนที่ผมไปพบกับสื่อหรือภาคธุรกิจนั้นก็เป็นเรื่องปกติของผมที่เวลาที่ผมไปต่างประเทศจะมีการดำเนินการในลักษณะนี้อยู่แล้วและก็ไปเพื่อจะให้เกิดความเข้าใจว่าสถานการณ์ในบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจริง ๆ นั้นเป็นอย่างไร และพี่น้องประชาชนคนไทยคิดอย่างไร
อันนี้ก็คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับญัตติและการดำเนินการของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งวันนี้ก็คงจะมีความคืบหน้าเพิ่มเติมของการประชุมของคณะทำงาน ขณะเดียวกันมีอีกเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นมาหลังจากที่ท่านนายกฯ ได้เผชิญกับสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้าท่านก็มีการเสนอทางออก ทางออกของท่านคือท่านได้พูดว่ารัฐบาลจะขอให้พี่น้องประชาชนในวันที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกสมาชิกวุฒิสภา กลางเดือนเมษายนนี้ ไปใช้สิทธิ์ในการออกเสียงประชามติว่าอยากจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผมต้องเรียนในเบื้องต้นก่อนนะครับว่า ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของรัฐธรรมนูญ กับการปฏิรูปการเมืองกับประเด็นในเรื่องของปัญหาความชอบธรรมของท่านนายกฯ เป็นคนละประเด็นกัน จริงอยู่ครับหลายฝ่ายรวมทั้งพรรคฝ่ายค้านและพี่น้องประชาชนที่มีการไปชุมนุมเขาก็มองเห็นเรียกร้องว่าอยากให้มีการปฏิรูปทางการเมือง แต่การปฏิรูปทางการเมืองก็ต้องมุ่งไปสู่การแก้ปัญหาของรัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องว่าอยู่ตรงไหน ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือปัญหาในเรื่องขององค์กรอิสระว่าได้ทำงานอย่างเป็นอิสระจริงอย่างเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือว่าถูกแทรกแซงถูกครอบงำจนทำให้ในขณะนี้กลไกการตรวจสอบมันไม่สามารถทำงานได้ เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ควรจะได้มีการร่วมกันในการที่จะหาทางออกในการแก้ไขปัญหา แต่ไม่ได้เป็นประเด็นที่ไปผูกติดกับว่าท่านนายกฯ จะต้องดำรงำแหน่งต่อไปหรือไม่ ที่สำคัญก็คือว่าคนที่คิดผลักดันเรื่องการปฏิรูปการเมืองเขาคิดกันมาระยะหนึ่ง และพรรคฝ่ายค้านใช้เวลามาเกือบ 2 เดือนในการที่จะเสนอว่าวิธีดีที่สุดต่อการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คือหาช่องทางให้ประชาชนมามีส่วนร่วม
ผมคุยกับพี่น้องประชาชนในรายการนี้และในที่อื่น ๆ มาหลายครั้งว่าพรรคฝ่ายค้านจะเสนอแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ จะได้ไม่ต้องถกเถียงกัน เพราะแต่ละคนก็อาจจะมีความคิดที่แตกต่างกันว่า สมควรจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างไร ดังนั้นฝ่ายค้านทำงานกันมาจนกระทั่งร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเสร็จแล้ว กำลังจะมีการนำไปสู่การทำประชาพิจารณ์และเสนอต่อสภาทันทีที่สภาเปิด ปัญหาที่ผ่านมาก็คือว่ามีพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรครัฐบาลที่ไม่ได้เห็นด้วยหรือมาสนับสนุนกระบวนการนี้เลย วันนี้วิธีการที่เร็วที่สุดตรงประเด็นที่สุดในการที่จะเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปการเมืองคือการสนับสนุนร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายค้านได้ร่างขึ้นมา เราจะไปปรึกษาหารือกับทางนักวิชาการว่าจะปรับปรุงเนื้อหาสาระเพิ่มเติมอย่างไร นี่คือแนวทางที่เร็วที่สุด ตรงประเด็นที่สุด สอดคล้องกับความเป็นจริงที่สุด ปัญหาที่ท่านนายกฯ ได้เสนอแนวทางของการทำประชามติเบื้องต้นก็คือว่าขณะนี้ชัดเจนแล้วว่าไม่สามารถทำประชามติตามรัฐธรรมนูญได้ เพราะว่าการจัดประชามติตามรัฐธรรมนูญต้องมีการกำหนดประเด็นชัดเจน และกฎหมายกำหนดเวลาชัดเจนไว้เลยว่าอย่างน้อย 3 เดือน ที่พี่น้องประชาชนจะไปใช้สิทธิ์จะต้องมีความชัดเจนและได้รับข้อมูลว่าประเด็นที่ไปสอบถามเป็นประเด็นอะไร จะได้ตัดสินใจไปลงคะแนนได้อย่างถูกต้อง
วันนี้เวลาไม่พอแล้วในการที่จะไปจัดการลงคะแนนเสียงประชามติตามกรอบรัฐธรรมนูญ ก็ยังไม่ทราบว่ารัฐบาลจะหาทางออกอย่างไร แต่ไม่ว่ารัฐบาลจะหาทางออกอย่างไรมันไม่มีผลทางกฎหมายเลย และที่สำคัญก็คือไม่ได้เป็นหลักประกันในการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองที่แท้จริง ยิ่งไปกว่านั้นก็คือว่า แม้จนถึงขณะนี้ก็ไม่ทราบว่ารัฐบาลต้องการจะถามประชาชนว่าอะไร และจะไปได้ข้อสรุปอย่างไร ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับว่ารัฐบาลไปถามและพวกเราไปลงคะแนนเพียงแค่ว่า อยากจะแก้หรือไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ พี่น้องจำนวนมากที่ไปลงคะแนนแก้ไขอาจจะมีเหตุผลต่างกันครับ บางคนอาจจะบอกว่าที่ไปลงอยากให้แก้ไขเพราะว่าอยากให้คนสมัคร ส.ส. ไม่ต้องจบปริญญาตรีก็ได้ บางคนอาจจะบอกว่าอยากจะให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีแต่งตั้งถอดถอน สสร. อิสระก็ได้ บางคนอาจจะไปพูดถึงเรื่อง 90 วันว่าส.ส.ต้องสังกัดพรรคหรือไม่ก็ได้ แต่สมมติว่าลงประชามติแล้วปรากฎว่าเป็นเสียงข้างมาก รัฐบาลจะทราบได้อย่างไรว่าจะแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นไหน เพราะอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยังคงขึ้นอยู่กับการเสนอโดยคณะรัฐมนตรี กับส.ส. ส.ว. เท่านั้นหรือถ้าหากว่าเสียงส่วนใหญ่ไปลงว่าไม่แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ท่านนายกฯ บอกทุกอย่างการเคลื่อนไหวทางการเมืองต้องหยุดไม่ใช่หรอกครับ ที่เขาเคลื่อนไหวกันอยู่นั้นรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องหนึ่ง แต่อีกเรื่องหนึ่งคือปัญหาเกี่ยวกับความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งของท่านนายกรัฐมนตรี คนที่ไปลงคะแนนบอกว่าไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจจะมองว่าปัญหาขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญก็ได้ แต่อยู่ที่คนที่มีอำนาจแล้วไปบิดเบือนการใช้รัฐธรรมนูญต่างหาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องก็คือว่าถ้าอยากจะมาร่วมปฏิรูปการเมืองกันถ้าอยากจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกันอย่างจริงจัง หนทางที่ดีที่สุดวันนี้ช่วยกันเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 313 เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะได้มีการถกเถียง ถกแถลง แก้ไขเพิ่มเติมนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองกันต่อไปอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นวันนี้ได้มีโอกาสได้พูดถึงจุดยืนของพรรคฝ่ายค้านอย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของการติดตามตรวจสอบท่านนายกฯ อันจะนำไปสู่การนำเสนอญัตติไม่ไว้วางใจทวงสัญญาคำพูดท่านนายกฯ แล้วก็เรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ในช่วงท้ายนี้ก็พร้อมที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนสนทนากับท่านผู้ฟัง ที่สนใจทางหมายเลขโทรศัพท์ 02-244-1482-3 และ 02-241-0055
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.พ. 2549--จบ--
วันนี้ผมคงอยากจะขอพูดถึงการดำเนินงานของฝ่ายค้าน ต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งก็มีความสนใจอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้นกับท่านนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่สืบเนื่องมาจากการซื้อ ขายหุ้น ชินคอร์ปอเรชั่น และก็มีประเด็นที่มีการเคลื่อนไหวมากมาย พร้อม ๆ กับการที่มีองค์กรต่าง ๆ ได้ออกมาแสดงทัศนะ ความคิดเห็น มีทั้งกลุ่มคนที่ไปชุมนุมเรียกร้องให้ท่านนายกลาออก มีทั้งกลุ่มคนที่สนับสนุนท่านนายกฯ มีทั้งกระบวนการของนักศึกษาที่กำลังให้พี่น้องประชาชนไปลงชื่อกันเพื่อทำเรื่องถอดถอน มีทั้งกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาได้นำเรื่องส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความว่า นายกฯ ขาดคุณสมบัติหรือไม่ และได้กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 209 กับ 216 เหล่านั้นเป็นสิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ในส่วนของพรรคฝ่ายค้าน ผมขอเรียนเพื่อความชัดเจนว่าเราได้ประกาศมาตลอดเวลาว่าการดำเนินการทางการเมืองของเรา จะต้องคำนึงถึงสถานะของเราในฐานะผู้แทนปวงชนคนไทย ในสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภา และต้องการให้กระบวนการ กลไกของรัฐสภา สามารถที่จะเป็นจุดที่คลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ทางการเมืองได้ แนวทางตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามแนวทางนี้อย่างเคร่งครัด แล้วก็ในหลายต่อหลายโอกาสเราเป็นฝ่ายเรียกร้องให้รัฐบาลได้มาในเวทีของสภา ใช้กลไกของรัฐธรรมนูญในการที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ผมก็เรียนว่าหลังจากที่ได้มีการตรวจสอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น แล้วเราก็เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงจริยธรรมทั้งในเชิงกฎหมาย มีเหตุผลเพียงพอในการที่ฝ่ายค้านน่าจะได้มีการตรวจสอบ ญัตติ เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เหตุผลนั้นก็คงไม่จำเป็นต้องแจกแจงเพิ่มเติม แต่ว่าปัญหาในเรื่องของจริยธรรมที่เกิดขึ้นกับการตัดสินใจในเรื่องของการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ค่อนข้างชัดเจนว่ามีการเลือกรูปแบบในการที่จะให้เสียภาษีน้อยที่สุด และขณะเดียวกันการขายหุ้นครั้งนี้ที่กระทบกระเทือนต่อพี่น้องประชาชนจำนวนมาก ที่มีความรู้สึกในเรื่องนี้ก็เพราะว่าเป็นการขายธุรกิจที่มีความใกล้ชิดผูกพันอยู่กับความมั่นคงของประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แล้วก็ได้มีการขายออกไปโดยได้มีการทำกำไร โดยมูลค่าของบริษัทที่เพิ่มขึ้นนั้นก็มีการมองกันมาตลอดว่า เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นโดยผล โดยนัยของนโยบายของรัฐบาล ในหลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมายภาษีสรรพสามิต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการยกเว้นภาษีโดยอาศัย มาตรการการส่งเสริมการลงทุนและอื่น ๆ เพราะฉะนั้นเฉพาะประเด็นในเรื่องความเหมาะสมตรงนั้น ก็เป็นปัญหา
ในเชิงของกฎหมายได้มีการติดตามตรวจสอบทบทวนสั้น ๆ ครับว่า ประการแรกมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายธุรกิจของชาวต่างชาติ นั่นก็คือว่าในปัจจุบันมีการขายหุ้นออกไป บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่นนั้น ก็ยังถูกนับว่าเป็นบริษัทที่เป็นสัญชาติไทย โดยมีผู้ถือหุ้นบริษัทชิน หรือผู้ที่มาซื้อหุ้นบริษัทชินนั้น ที่เป็นบริษัทตั้งใหม่ขึ้นมาถ้าดูตามกระดาษ ถ้าดูตามทะเบียน ก็ต้องบอกว่าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ยังเป็นสัญชาติไทยอยู่ แต่ว่ากฎหมายการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาตินั้น โดยเฉพาะที่ได้แก้ไขไปเมื่อปี พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการเข้ามาถือครองหุ้นของชาวต่างชาติต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส เพราะฉะนั้นตามกฎหมายฉบับนั้น หรือกฎหมายเฉพาะในธุรกิจการบิน ทั้งในธุรกิจคมนาคมก็ดี ถ้าบอกว่าชาวต่างชาติถือหุ้นได้สัดส่วนเท่าไหร่ จะเป็นร้อยละ 49 หรือจะเป็นเท่าไหร่ก็ดี ซึ่งในระยะหลังก็มักจะมีการผ่อนผัน ตรงนั้นไม่เป็นไร แต่ว่านอกเหนือจากสัดส่วนนั้นแล้วต้องไม่มีการแอบหรืออ้อมไปถือหุ้นในรูปแบบอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ออกมาเมื่อปี 2542 ได้กำหนดโทษเอาไว้ชัดเจนว่า ถ้ามีกรณีที่คนไทยไปถือหุ้นแทนชาวต่างประเทศจะเป็นความผิด เพราะฉะนั้นการที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคฝ่ายค้านได้ทำการสอบ เราก็พบความจริงว่าโครงสร้างของบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อซื้อหุ้นในครั้งนี้ น่าจะเข้าข่ายกรณีที่มีคนไทยหรือนิติบุคคลที่อ้างว่าเป็นไทย แต่ว่าไปถือหุ้นแทนคนอื่นทั้งโดยการพิจารณาจากผลตอบแทนที่ได้รับที่เป็นสัญญาข้อตกลง ทั้งในเรื่องของแหล่งเงินทุนที่นำมาใช้ในการซื้อหุ้นในครั้งนี้ นอกจากนั้นแล้วยังมีปัญหาการทำผิดกฎหมายฉบับนี้เพราะว่าบริษัทที่ตั้งขึ้นมาบางบริษัทได้เปลี่ยนจากการเป็นบริษัทไทยไปเป็นบริษัทของคนต่างชาติ โดยไม่ได้มีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตามขั้นตอนของกฎหมายที่กำหนดไว้ เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นประเด็นหนึ่งซึ่งวันนี้คณะทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ก็คงจะได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในส่วนของกระทรวงพาณิชย์อย่างไร ว่าจะให้เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาตรงนี้
พี่น้องที่ติดตามข่าวสารเรื่องนี้ก็คงจะทราบครับว่าประเด็นเรื่องนี้คงจะเป็นปัญหาจริง ๆ อย่างน้อยที่สุดกับกรณีหนึ่งแล้วก็คือกรณีของบริษัทลูกของบริษัทชินคือ แอร์เอเชีย ก็ได้ถูกอธิบดีที่กำกับดูแลในเรื่องของธุรกิจการบินแจ้งว่าน่าจะขัดต่อกฎหมายแล้ว แล้วก็กำลังเปิดโอกาสให้มีการไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้น เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นประเด็นแรกที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เข้ามาถือหุ้นของชาวต่างชาติ ปัญหาที่สองคือปัญหาเรื่องภาษีอากร โดยการตรวจสอบว่าแม้ว่าจะมีความพยายามในการที่จะใช้รูปแบบของการซื้อขายหุ้นแล้วก็เสียภาษีน้อยที่สุดหรือไม่เสียเลย แต่ว่าในบางขั้นตอนของการโอนหุ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนของการที่บริษัท Ample Rich ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนใน British Virgin Island ได้มีการโอนหุ้นให้แก่ คุณพานทองแท้ คุณพิณทองทาในราคา 1 บาท และต่อมามีการกล่าวอ้างว่าบุคคลทั้งสองกับบริษัท Ample Rich นั้นมีความเกี่ยวข้องหรือเป็นเสมือนกับเป็นบุคคลคนเดียวกัน กรณีเช่นว่านี้ก็ต้องเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณี กฟผ. ได้รับหุ้นจากทางบริษัท กฟผ. ในช่วงของการที่มีการวางแผนการณ์ที่จะแปรรูป และพนักงานกฟผ. ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ฉะนั้นคำถามก็เกิดขึ้นว่าทำไมจึงไม่ได้มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกัน อันนี้ก็เป็นประเด็นในเรื่องของภาษี ส่วนประเด็นในเรื่องของกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น อย่างที่เคยได้มีโอกาสพูดในหลายเวทีแล้วว่า ก็คงจะชัดเจนว่าคงจะมีการกระทำความผิด เพียงแต่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดตามมาตราไหน แต่ว่าเป็นความผิดอาญา แล้วก็เป็นเรื่องซึ่งท่านนายกฯ ซึ่งเคยยืนยันก่อนหน้านี้ทีแรกว่าการดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายกติกา ต่อมาก็ยังยอมรับว่าอาจจะต้องมีการเสียค่าปรับตามโทษ ความจริงแล้วก็เป็นความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือว่าปรับวันละ 1 หมื่นบาท นับตั้งแต่วันที่มีการกระทำความผิด อันนั้นก็เป็นประเด็นที่ 3 นอกจากเหนือจากเรื่องของการถือหุ้นของคนต่างชาติ เรื่องภาษี ก็มีเรื่องกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ แล้วก็ล่าสุดก็คือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริษัท Ample Rich ทั้งหมด ซึ่งเป็นบริษัทที่ตอนแรกมีการกล่าวอ้างว่าท่านนายกฯ ได้ตั้งไว้เป็นเจ้าของเพื่อที่จะเอาหุ้นไปพักไว้ในต่างประเทศก่อนที่จะนำไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกา แต่ว่าเราไปค้นพบความจริงว่ามีความสลับซับซ้อนกว่านั้น มีการแบ่งหุ้นออกเป็น 2 กอง ให้มี Ample Rich 1 Ample Rich 2 ถืออยู่มีการซื้อขายมีการเคลื่อนไหว ซึ่งก็ทำให้เกิดมีคำถามขึ้นมาอีกมากมายว่าการกระทำเช่นว่านี้ทำให้มีการไหลออกของเงินตรา ไม่ได้มีการแจ้งไม่ได้มีการขออนุญาต รวมไปถึงการที่มีการค้นพบว่าที่อยู่ที่มีการแจ้งไว้ ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นที่อยู่จริงหรือไม่ เพราะว่าคณะทำงานก็ได้ไปตรวจสอบที่สิงคโปร์ เช่นเดียวกันเพราะฉะนั้นญัตติทั้งที่จะได้มีการทำขึ้นก็จะได้มีการรวบรวมประเด็นปัญหาตรงนี้ทั้งหมดแล้วก็เกี่ยวเนื่องไปถึงเรื่องปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย ที่เราได้พูดมาโดยตลอดและวันนี้การขายหุ้นเพื่อทำกำไรเปรียบเสมือนภาพต่อชิ้นสุดท้ายที่ถูกวางลงไปให้เห็นความชัดเจนว่าอะไรที่เกิดความชัดเจนในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา
ปัญหาของการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจก็คือเมื่อเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี จะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมด พูดกันง่าย ๆ ตัวเลขกลม ๆ ก็คือ 200 พรรคฝ่ายค้านมีไม่ถึงครับ แต่ที่พรรคฝ่ายค้านได้ประกาศอย่างนี้เพราะว่าก่อนหน้านี้ท่านนายกรัฐมนตรีได้เคยพูดว่า ไม่ต้องไปกังวลว่าพรรคฝ่ายค้านมีเสียงไม่พอในการดำเนินการในเรื่องของการตรวจสอบ ถ้ามีประเด็นที่จะต้องตรวจสอบ ท่านพร้อมครับ พร้อมที่จะเอาชื่อของพรรคของท่านที่เป็นพรรครัฐบาลมาเติมให้เต็มเพื่อให้เกิดการตรวจสอบได้เพราะฉะนั้น เมื่อพรรคฝ่ายค้านได้พิจารณาจากคำพูดของท่านนายกฯ ตรงนี้ และสถานการณ์ปัจจุบัน เราเห็นว่าเวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทวงคำพูดของท่านนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เพราะฉะนั้นภายในสัปดาห์นี้ เราก็ตั้งเป้าหมายว่าจะร่างญัตติและมีการร่างคำถอดถอนพร้อม ๆ กันไปในกรณีที่มีการปฏิบัติซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญก็อยากจะทำให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ และพร้อม ๆ กันนี้ก็จะได้ทำหนังสือเพื่อจะได้ทวงถามคำพูดของท่านนายกฯ ขอให้ท่านได้ปฏิบัติตามที่ท่านได้เคยพูดไว้ก็คือส่งมอบรายชื่อเพื่อสนับสนุนให้เราสามารถที่จะนำเรื่องนี้ไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฏรในรัฐสภา และเป็นการเปิดโอกาสให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงในระบบว่าข้อสงสัยข้อกังขาซึ่งนำมาสู่ความรู้สึกว่าท่านไม่มีความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งนั้น ท่านจะมีคำตอบอย่างไร อันนี้ก็คือการดำเนินการของพรรคนะครับ
ผมเรียนเพิ่มเติมนิดเดียวว่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปสิงคโปร์ ความจริงแล้วความตั้งใจเดิม ผมไปเพื่อพาครอบครัวไปเยี่ยมเพื่อน ๆ ซึ่งบังเอิญไปทำงานอยู่ที่นั่น แต่ว่าภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มีสื่อสารมวลชนที่เขาสนใจ สื่อในประเทศสิงคโปร์ ที่เป็นสื่อต่างประเทศจะเป็น CNBC, Business Times, Forbs เป็น Singapore Press Holding ก็จึงได้ขอมาสัมภาษณ์ผม ขณะเดียวกันเวลาผมเดินทางไปก็มักจะมีโอกาสได้พบกับผู้นำในภาคธุรกิจ ผู้นำในภาคการเมืองด้วยซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการไปตรวจสอบนะครับ คณะทำงานตรวจสอบก็ไปในเรื่องของการไปตรวจสอบ Ample Rich ก็ว่ากันไป แต่ว่าที่ผมไปก็เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทั้งสื่อ กับทั้งภาคธุรกิจของสิงคโปร์นะครับ ในมุมของสิงคโปร์เองก็มีความห่วงใยมากว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะลุกลามไปสู่การต่อต้านจะเป็นสิงคโปร์ หรือต่อต้านนักลงทุนต่างชาติหรือไม่ เพราะฉะนั้นผมก็ได้อธิบายถึงข้อกังวล ถึงข้อห่วงใยของความไม่พอใจที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เนื้อหาสาระก็คงจะไม่ต่างจากที่ผมพูดคุยกับท่านผู้ฟังและพี่น้องประชาชนไปเมื่อสักครู่ อันนี้ก็จะได้ไม่เกิดความสับสนเพราะว่ารายงานข่าวเรื่องนี้ก็มีความสับสนอยู่เหมือนกันว่าที่ไปสิงคโปร์ไปพบใครไปทำอะไรอย่างไร ก็เรียนให้ทราบว่าคณะทำงานก็ไปตรวจสอบและในส่วนที่ผมไปพบกับสื่อหรือภาคธุรกิจนั้นก็เป็นเรื่องปกติของผมที่เวลาที่ผมไปต่างประเทศจะมีการดำเนินการในลักษณะนี้อยู่แล้วและก็ไปเพื่อจะให้เกิดความเข้าใจว่าสถานการณ์ในบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจริง ๆ นั้นเป็นอย่างไร และพี่น้องประชาชนคนไทยคิดอย่างไร
อันนี้ก็คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับญัตติและการดำเนินการของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งวันนี้ก็คงจะมีความคืบหน้าเพิ่มเติมของการประชุมของคณะทำงาน ขณะเดียวกันมีอีกเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นมาหลังจากที่ท่านนายกฯ ได้เผชิญกับสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้าท่านก็มีการเสนอทางออก ทางออกของท่านคือท่านได้พูดว่ารัฐบาลจะขอให้พี่น้องประชาชนในวันที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกสมาชิกวุฒิสภา กลางเดือนเมษายนนี้ ไปใช้สิทธิ์ในการออกเสียงประชามติว่าอยากจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผมต้องเรียนในเบื้องต้นก่อนนะครับว่า ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของรัฐธรรมนูญ กับการปฏิรูปการเมืองกับประเด็นในเรื่องของปัญหาความชอบธรรมของท่านนายกฯ เป็นคนละประเด็นกัน จริงอยู่ครับหลายฝ่ายรวมทั้งพรรคฝ่ายค้านและพี่น้องประชาชนที่มีการไปชุมนุมเขาก็มองเห็นเรียกร้องว่าอยากให้มีการปฏิรูปทางการเมือง แต่การปฏิรูปทางการเมืองก็ต้องมุ่งไปสู่การแก้ปัญหาของรัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องว่าอยู่ตรงไหน ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือปัญหาในเรื่องขององค์กรอิสระว่าได้ทำงานอย่างเป็นอิสระจริงอย่างเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือว่าถูกแทรกแซงถูกครอบงำจนทำให้ในขณะนี้กลไกการตรวจสอบมันไม่สามารถทำงานได้ เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ควรจะได้มีการร่วมกันในการที่จะหาทางออกในการแก้ไขปัญหา แต่ไม่ได้เป็นประเด็นที่ไปผูกติดกับว่าท่านนายกฯ จะต้องดำรงำแหน่งต่อไปหรือไม่ ที่สำคัญก็คือว่าคนที่คิดผลักดันเรื่องการปฏิรูปการเมืองเขาคิดกันมาระยะหนึ่ง และพรรคฝ่ายค้านใช้เวลามาเกือบ 2 เดือนในการที่จะเสนอว่าวิธีดีที่สุดต่อการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คือหาช่องทางให้ประชาชนมามีส่วนร่วม
ผมคุยกับพี่น้องประชาชนในรายการนี้และในที่อื่น ๆ มาหลายครั้งว่าพรรคฝ่ายค้านจะเสนอแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ จะได้ไม่ต้องถกเถียงกัน เพราะแต่ละคนก็อาจจะมีความคิดที่แตกต่างกันว่า สมควรจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างไร ดังนั้นฝ่ายค้านทำงานกันมาจนกระทั่งร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเสร็จแล้ว กำลังจะมีการนำไปสู่การทำประชาพิจารณ์และเสนอต่อสภาทันทีที่สภาเปิด ปัญหาที่ผ่านมาก็คือว่ามีพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรครัฐบาลที่ไม่ได้เห็นด้วยหรือมาสนับสนุนกระบวนการนี้เลย วันนี้วิธีการที่เร็วที่สุดตรงประเด็นที่สุดในการที่จะเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปการเมืองคือการสนับสนุนร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายค้านได้ร่างขึ้นมา เราจะไปปรึกษาหารือกับทางนักวิชาการว่าจะปรับปรุงเนื้อหาสาระเพิ่มเติมอย่างไร นี่คือแนวทางที่เร็วที่สุด ตรงประเด็นที่สุด สอดคล้องกับความเป็นจริงที่สุด ปัญหาที่ท่านนายกฯ ได้เสนอแนวทางของการทำประชามติเบื้องต้นก็คือว่าขณะนี้ชัดเจนแล้วว่าไม่สามารถทำประชามติตามรัฐธรรมนูญได้ เพราะว่าการจัดประชามติตามรัฐธรรมนูญต้องมีการกำหนดประเด็นชัดเจน และกฎหมายกำหนดเวลาชัดเจนไว้เลยว่าอย่างน้อย 3 เดือน ที่พี่น้องประชาชนจะไปใช้สิทธิ์จะต้องมีความชัดเจนและได้รับข้อมูลว่าประเด็นที่ไปสอบถามเป็นประเด็นอะไร จะได้ตัดสินใจไปลงคะแนนได้อย่างถูกต้อง
วันนี้เวลาไม่พอแล้วในการที่จะไปจัดการลงคะแนนเสียงประชามติตามกรอบรัฐธรรมนูญ ก็ยังไม่ทราบว่ารัฐบาลจะหาทางออกอย่างไร แต่ไม่ว่ารัฐบาลจะหาทางออกอย่างไรมันไม่มีผลทางกฎหมายเลย และที่สำคัญก็คือไม่ได้เป็นหลักประกันในการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองที่แท้จริง ยิ่งไปกว่านั้นก็คือว่า แม้จนถึงขณะนี้ก็ไม่ทราบว่ารัฐบาลต้องการจะถามประชาชนว่าอะไร และจะไปได้ข้อสรุปอย่างไร ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับว่ารัฐบาลไปถามและพวกเราไปลงคะแนนเพียงแค่ว่า อยากจะแก้หรือไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ พี่น้องจำนวนมากที่ไปลงคะแนนแก้ไขอาจจะมีเหตุผลต่างกันครับ บางคนอาจจะบอกว่าที่ไปลงอยากให้แก้ไขเพราะว่าอยากให้คนสมัคร ส.ส. ไม่ต้องจบปริญญาตรีก็ได้ บางคนอาจจะบอกว่าอยากจะให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีแต่งตั้งถอดถอน สสร. อิสระก็ได้ บางคนอาจจะไปพูดถึงเรื่อง 90 วันว่าส.ส.ต้องสังกัดพรรคหรือไม่ก็ได้ แต่สมมติว่าลงประชามติแล้วปรากฎว่าเป็นเสียงข้างมาก รัฐบาลจะทราบได้อย่างไรว่าจะแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นไหน เพราะอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยังคงขึ้นอยู่กับการเสนอโดยคณะรัฐมนตรี กับส.ส. ส.ว. เท่านั้นหรือถ้าหากว่าเสียงส่วนใหญ่ไปลงว่าไม่แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ท่านนายกฯ บอกทุกอย่างการเคลื่อนไหวทางการเมืองต้องหยุดไม่ใช่หรอกครับ ที่เขาเคลื่อนไหวกันอยู่นั้นรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องหนึ่ง แต่อีกเรื่องหนึ่งคือปัญหาเกี่ยวกับความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งของท่านนายกรัฐมนตรี คนที่ไปลงคะแนนบอกว่าไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจจะมองว่าปัญหาขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญก็ได้ แต่อยู่ที่คนที่มีอำนาจแล้วไปบิดเบือนการใช้รัฐธรรมนูญต่างหาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องก็คือว่าถ้าอยากจะมาร่วมปฏิรูปการเมืองกันถ้าอยากจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกันอย่างจริงจัง หนทางที่ดีที่สุดวันนี้ช่วยกันเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 313 เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะได้มีการถกเถียง ถกแถลง แก้ไขเพิ่มเติมนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองกันต่อไปอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นวันนี้ได้มีโอกาสได้พูดถึงจุดยืนของพรรคฝ่ายค้านอย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของการติดตามตรวจสอบท่านนายกฯ อันจะนำไปสู่การนำเสนอญัตติไม่ไว้วางใจทวงสัญญาคำพูดท่านนายกฯ แล้วก็เรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ในช่วงท้ายนี้ก็พร้อมที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนสนทนากับท่านผู้ฟัง ที่สนใจทางหมายเลขโทรศัพท์ 02-244-1482-3 และ 02-241-0055
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.พ. 2549--จบ--