ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เน้นรักษาวินัยทางการเงินและการคลังเพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพในระยะยาว
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวในการบรรยายพิเศษเรื่อง “Updating
เศรษฐกิจไทยแบบคม ลึก แต่ไม่ชัด: ความท้าทายของปี 2549” ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้ การส่งออก
เป็นปัจจัยหลักหนุนเศรษฐกิจ ช่วยลดผลกระทบจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศในไตรมาส
แรกลง ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจปีนี้คือความไม่แน่นอนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยในประเทศ
คือความไม่แน่นอนของการชะลอตัวลงของการใช้จ่ายและการลงทุนอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวสูง ขณะ
ที่ความเชื่อมั่นยังคงปรับตัวลดลง รวมถึงความไม่แน่นอนด้านนโยบายของภาครัฐ ส่วนความไม่แน่นอนภายนอกคือ
ภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเรื่องของแรงเหวี่ยงเศรษฐกิจของ สรอ. ที่มีผลต่อประเทศอื่นอย่างมาก เนื่องจาก
เศรษฐกิจของ สรอ. เริ่มชะลอตัวลง รวมทั้งความไม่แน่นอนด้านราคาน้ำมันโลกที่อาจปรับตัวสูงขึ้น และปัจจัยเรื่อง
ความผันผวนของกระแสเงินทุนไหลเข้า ซึ่งจะมีผลกระทบต่อตลาดการเงิน เนื่องจากต้นทุนของการลงทุนที่เพิ่มสูง
ขึ้นจะทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในประเทศที่มีความเสี่ยงไม่สูงนักแต่ยังให้ผลตอบแทนการลงทุนมากพอสมควร ทำให้
มีเงินทุนไหลเข้ามาในกลุ่มประเทศเอเชียมากขึ้น แต่เงินทุนที่ไหลเข้าก็พร้อมที่จะไหลออกไปได้ ทำให้เกิดความ
ผันผวนต่ออัตราแลกเปลี่ยนได้ ทั้งนี้ ปัจจัยความไม่แน่นอนทั้งในและนอกประเทศจะต้องอาศัยกลไกตลาดเป็นช่องทาง
ให้เศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้ ประกอบกับนโยบายจะมุ่งเน้นที่การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจไม่ให้ผันผวนมากเกิน
ไป ซึ่งการรองรับผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นที่จะเกี่ยวพันกับการฟื้นตัวของการใช้จ่าย
ในประเทศ หากความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจกลับดีขึ้นได้เร็วก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น โดยแนว
นโยบายเศรษฐกิจที่จะช่วยให้ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์ในระยะต่อไปจากการที่ภูมิภาคเอเชียมีเงินทุนไหลเข้า
อย่างต่อเนื่องนั้นจะต้องมีการจัดการโอกาสและความเสี่ยง โดยการสร้างความยืดหยุ่นให้กับเศรษฐกิจของประเทศ
ให้สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งให้มีกลไกที่สามารถรองรับความผันผวนต่าง ๆ ได้มากขึ้นโดย
สร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกตลาดการค้า นอกจากนี้ ยังต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ทั้งการศึกษา
การพัฒนาทักษะแรงงาน การเพิ่มผลิตภาพการผลิต และสนับสุนการลดการพึ่งพาน้ำมันลง รวมทั้งการปรับปรุงระบบ
แรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้มีการจัดสรรทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังต้องพยายามรักษาวินัยทางการเงิน
และการคลังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพในระยะยาว และยังต้องดูแลเรื่องปัญหาความไม่สมดุลใน
ประเทศ เช่น ปัญหาความยากจนให้ดีขึ้นด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ปัญหาการเมืองทำให้การพิจารณาร่างกฎหมายการเงินต้องเลื่อนออกไป บ. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ระบุว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่แน่นอนเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรอาจจะมีสมาชิกไม่ครบจำนวนตามที่
รัฐธรรมนูญกำหนด ทำให้ยังคงไม่แน่ชัดว่าจะสามารถเปิดประชุมสภาฯ ได้เมื่อใด ส่งผลให้การพิจารณาร่างกฎหมาย
ง ๆ อาจต้องเลื่อนออกไป รวมถึงกฎหมายการเงินการธนาคารที่สำคัญ เช่น ร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝาก
และร่าง พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงิน แต่คงไม่มีผลกระทบ เพราะการกำกับดูแลคงจะต้องดำเนินการภายใต้กรอบ
กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปัญหาดังกล่าว แต่การกำกับดูแลสถาบันการเงินในปัจจุบันยังคง
เดินหน้าได้ตามปกติของ ธปท. และ ก.คลัง ในเรื่องของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เกณฑ์การกำกับแบบรวม
กลุ่มที่จะเริ่มนำมาใช้ในปี 2549 นอกเหนือไปจากเกณฑ์กำหนดเงินกองทุน BASEL II ที่จะบังคับใช้ได้ในปี 2551
และมาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 ที่จะนำมาบังคับใช้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนา
ศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของ ธ.พาณิชย์ให้มีมาตรฐานสากล ทั้งนี้ จากประเด็นในเรื่องการกำกับดูแลและ
กฎหมายทางการเงินต่าง ๆ ดังกล่าว ทำให้ ธ.พาณิชย์คงต้องเตรียมการปรับปรุงระบบและการดำเนินงานภายใน
ของตนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การวางรูปแบบการดำเนินธุรกิจภายใต้รูปแบบการทำธุรกิจที่ครบวงจร (Universal
Banking) ตอบรับกระแสการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น การเตรียมความพร้อมในเรื่องการบริหารความเสี่ยง และเกณฑ์บัญชี
ใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีความพร้อมที่จะรับมือกับการกำกับต่าง ๆ ที่ยังคงอยู่
ในกระบวนการตัดสินใจของภาครัฐเพื่อการปฏิรูปภาคการเงินในระยะต่อไป ตลอดจนการแข่งขันที่สูงขึ้นจากการเปิด
เสรีทางการเงิน (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังเตรียมปรับสัดส่วนการนำส่งรายได้เข้าคลังของรัฐวิสาหกิจ นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง
ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สนง.คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กำลังเร่งทำการศึกษา
เพื่อปรับสัดส่วนการนำส่งรายได้เข้าคลังของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด ก.คลังทุกแห่งให้มีความเหมาะสม แต่
ไม่ใช่เป็นการปรับเพื่อเพิ่มรายได้ให้คลัง แต่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังอยู่ในขั้นการศึกษา แต่
จะให้มีการปรับเมื่อใดยังไม่แน่ชัด โดยอาจจะยังไม่ใช่ในปี 50 เพราะมีการทำตัวเลข งปม. เอาไว้ชัดแล้ว ซึ่ง
เป็น งปม. แบบสมดุลที่ 1.476 ล้านล้านบาท สำหรับการจัดทำ งปม. รายจ่ายปี 50 ที่ต้องล่าช้าออกไปเนื่องจาก
ยังไม่มีความชัดเจนทางการเมือง คาดว่าคงจะล่าช้าออกไปไม่เกิน 1 เดือน ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ สศค.
ได้จัดเตรียมมาตรการภาคการเงินและการคลัง ในทุกด้านเอาไว้แล้ว โดยบางส่วนเป็นมาตรการใหม่ และบางส่วน
เป็นการสานต่อจากมาตรการเดิม (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน มี.ค.49 จากเดือนก่อน รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 14 เม.ย.49 ธ.กลาง สรอ.รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน โดยผลผลิตด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในขณะที่ผลผลิตจากการสำรวจและ
ขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 หลังจากลดลงร้อยละ
0.7 ในเดือน ก.พ.49 เมื่อการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเริ่มฟื้นตัวหลังได้รับความเสียหายจากพายุเฮอริเคน
เมื่อปีที่แล้วและการผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในส่วนของผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนโดย
เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่อัตราส่วนการใช้กำลัง
การผลิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 81.3 จากร้อยละ 81.0 ในเดือน ก.พ.49 สูงสุดในรอบ 5 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน
ก.ย.43 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 81.5 โดยผลสำรวจรอยเตอร์ก่อนหน้านี้คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.49
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และการใช้กำลังการผลิตจะอยู่ที่ร้อยละ 81.4 โดย ธ.กลาง สรอ.กำลังตรวจสอบติดตาม
ตัวเลขทางเศรษฐกิจในประชุมแต่ละครั้งเพื่อประเมินว่าการจ้างงานและสัดส่วนการใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้นในขณะ
นี้จะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้ออย่างไรเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดด้วยการขึ้น
อัตราดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีนี้จะเติบโตมากกว่าร้อยละ 2.0 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่
16 เม.ย. 49 นาย Kaoru Yosano รมว. เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ
2.0 ซึ่งสอดคล้องกับที่ ธ.กลางญี่ปุ่นคาดการณ์ไว้ เนื่องจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจหลายตัวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่น
ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนอาจจะดูได้จากรายงานแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจงวดครึ่งปีของ ธ.กลางญี่ปุ่นซึ่งจะ
มีรายงานตัวเลขของปีนี้ และแนวโน้มในปีหน้า ที่จะเปิดเผยในวันที่ 28 เม.ย. นี้ ทั้งนี้ ตลาดคงจับตามองอย่าง
ใกล้ชิดเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวเพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละศูนย์
เมื่อใด ซึ่งจากรายงานเมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว คณะกรรมาธิการนโยบายการเงิน ธ.กลางญี่ปุ่นจำนวน 9 คนคาด
ว่าเศรษฐกิจในปี 49/50 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.8 ส่วนรัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.9 ทั้งนี้
นาย Kaoru Yosano มิได้ให้ความเห็นว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน มิ.ย. และ
ก.ค. ตามการคาดการณ์ของนักการตลาดหรือไม่ โดยเขาเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันของญี่ปุ่น (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสแรกปี 49 จะขยายตัวร้อยละ 10.2
เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 16 เม.ย.49 ประธานาธิบดีจีน (Hu Jintao) เปิดเผยว่า อัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสแรกปี 49 คาดว่าจะขยายตัวอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 10.2 หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 4 ปี 48 ขยายตัวร้อยละ 9.9 เทียบต่อปี ซึ่งจะเพิ่มความกดดันให้กับรัฐบาลจีนใน
การที่เงินหยวนจะแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนในช่วงระหว่างปี 46-48 เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10
ส่งผลให้จีนมีระบบเศรษฐกิจโตเป็นอันดับที่ 4 หรือ 5 ของโลก อย่างไรก็ตาม สำนักงานสถิติจะรายงานตัวเลขป
ระจำไตรมาส 4 ปี 48 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 เม.ย.นี้ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ
10 หลังจากที่พบข้อมูลตัวเลขบางอย่างที่แข็งแกร่งขึ้น อาทิเช่น ปริมาณเงินขยายตัวเหนือกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
การเติบโตของสินเชื่อเพิ่มขึ้น และที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ในไตรมาสแรกปี 49 จีนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
41 เมื่อเทียบต่อปี อย่างไรก็ตาม หัวหน้านักวิเคราะห์ของ China Everbright Securities in Shanghai
กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่งส่งผลให้มีความต้องการในสินค้าของจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถชดเชยกับผล
กระทบจากการที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. KDI คาดการณ์จีดีพีของเกาหลีใต้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.3 ในปี 49 รายงานจากโซลเมื่อ
16 เม.ย.49 The Korea Development Institute (KDI) สถาบันวิจัยชั้นนำของทางการเกาหลีใต้ เปิด
เผยการคาดการณ์ผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)ของเกาหลีใต้ในปี 49 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากที่ขยาย
ตัวร้อยละ 4.0 ในปี 48 และสูงกว่าที่ ก.คลังและ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.0 อย่างไรก็ตาม
KDI กล่าวว่า ยังไม่ชัดเจนนักว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขยายตัวในระดับเดิมต่อเนื่องหลังปี 49 หรือไม่
เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าความต้องการภายในประเทศจะไม่สามารถเป็นปัจจัยผลักดันอัตราการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจได้มากนัก รวมถึงการส่งออกอาจจะยังคงชะลอตัวจนถึงปีหน้า อันเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
สรอ.และจีน นอกจากนี้ KDI ได้ปรับลดประมาณการยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 49 ลงอย่างมากที่ระดับ 4.1
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากเดิมที่เคยประมาณการไว้ที่ระดับ 12.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือน ธ.ค.48
และต่ำกว่ามากจากการคาดการณ์ของ ธ.กลางเกาหลีใต้ซึ่งคาดว่ายอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะอยู่ที่ระดับ 10 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยมีการปรับลดประมาณการลงเช่นกันจากระดับ 16 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เมื่อเดือนก่อน
ทั้งนี้ KDI เชื่อว่า ในปี 50 ธ.กลางเกาหลีใต้จะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อและ
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากที่ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาแล้วร้อยละ 0.75 ตั้งแต่เดือน ต.ค.48
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 เม.ย. 49 12 เม.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.074 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8414/38.1291 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.78656 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 755.43/ 16.30 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,650/10,750 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.34 62.44 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 เม.ย. 49 27.94*/26.29* 27.94*/26.29* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. เน้นรักษาวินัยทางการเงินและการคลังเพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพในระยะยาว
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวในการบรรยายพิเศษเรื่อง “Updating
เศรษฐกิจไทยแบบคม ลึก แต่ไม่ชัด: ความท้าทายของปี 2549” ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้ การส่งออก
เป็นปัจจัยหลักหนุนเศรษฐกิจ ช่วยลดผลกระทบจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศในไตรมาส
แรกลง ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจปีนี้คือความไม่แน่นอนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยในประเทศ
คือความไม่แน่นอนของการชะลอตัวลงของการใช้จ่ายและการลงทุนอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวสูง ขณะ
ที่ความเชื่อมั่นยังคงปรับตัวลดลง รวมถึงความไม่แน่นอนด้านนโยบายของภาครัฐ ส่วนความไม่แน่นอนภายนอกคือ
ภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเรื่องของแรงเหวี่ยงเศรษฐกิจของ สรอ. ที่มีผลต่อประเทศอื่นอย่างมาก เนื่องจาก
เศรษฐกิจของ สรอ. เริ่มชะลอตัวลง รวมทั้งความไม่แน่นอนด้านราคาน้ำมันโลกที่อาจปรับตัวสูงขึ้น และปัจจัยเรื่อง
ความผันผวนของกระแสเงินทุนไหลเข้า ซึ่งจะมีผลกระทบต่อตลาดการเงิน เนื่องจากต้นทุนของการลงทุนที่เพิ่มสูง
ขึ้นจะทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในประเทศที่มีความเสี่ยงไม่สูงนักแต่ยังให้ผลตอบแทนการลงทุนมากพอสมควร ทำให้
มีเงินทุนไหลเข้ามาในกลุ่มประเทศเอเชียมากขึ้น แต่เงินทุนที่ไหลเข้าก็พร้อมที่จะไหลออกไปได้ ทำให้เกิดความ
ผันผวนต่ออัตราแลกเปลี่ยนได้ ทั้งนี้ ปัจจัยความไม่แน่นอนทั้งในและนอกประเทศจะต้องอาศัยกลไกตลาดเป็นช่องทาง
ให้เศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้ ประกอบกับนโยบายจะมุ่งเน้นที่การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจไม่ให้ผันผวนมากเกิน
ไป ซึ่งการรองรับผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นที่จะเกี่ยวพันกับการฟื้นตัวของการใช้จ่าย
ในประเทศ หากความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจกลับดีขึ้นได้เร็วก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น โดยแนว
นโยบายเศรษฐกิจที่จะช่วยให้ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์ในระยะต่อไปจากการที่ภูมิภาคเอเชียมีเงินทุนไหลเข้า
อย่างต่อเนื่องนั้นจะต้องมีการจัดการโอกาสและความเสี่ยง โดยการสร้างความยืดหยุ่นให้กับเศรษฐกิจของประเทศ
ให้สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งให้มีกลไกที่สามารถรองรับความผันผวนต่าง ๆ ได้มากขึ้นโดย
สร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกตลาดการค้า นอกจากนี้ ยังต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ทั้งการศึกษา
การพัฒนาทักษะแรงงาน การเพิ่มผลิตภาพการผลิต และสนับสุนการลดการพึ่งพาน้ำมันลง รวมทั้งการปรับปรุงระบบ
แรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้มีการจัดสรรทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังต้องพยายามรักษาวินัยทางการเงิน
และการคลังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพในระยะยาว และยังต้องดูแลเรื่องปัญหาความไม่สมดุลใน
ประเทศ เช่น ปัญหาความยากจนให้ดีขึ้นด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ปัญหาการเมืองทำให้การพิจารณาร่างกฎหมายการเงินต้องเลื่อนออกไป บ. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ระบุว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่แน่นอนเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรอาจจะมีสมาชิกไม่ครบจำนวนตามที่
รัฐธรรมนูญกำหนด ทำให้ยังคงไม่แน่ชัดว่าจะสามารถเปิดประชุมสภาฯ ได้เมื่อใด ส่งผลให้การพิจารณาร่างกฎหมาย
ง ๆ อาจต้องเลื่อนออกไป รวมถึงกฎหมายการเงินการธนาคารที่สำคัญ เช่น ร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝาก
และร่าง พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงิน แต่คงไม่มีผลกระทบ เพราะการกำกับดูแลคงจะต้องดำเนินการภายใต้กรอบ
กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปัญหาดังกล่าว แต่การกำกับดูแลสถาบันการเงินในปัจจุบันยังคง
เดินหน้าได้ตามปกติของ ธปท. และ ก.คลัง ในเรื่องของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เกณฑ์การกำกับแบบรวม
กลุ่มที่จะเริ่มนำมาใช้ในปี 2549 นอกเหนือไปจากเกณฑ์กำหนดเงินกองทุน BASEL II ที่จะบังคับใช้ได้ในปี 2551
และมาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 ที่จะนำมาบังคับใช้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนา
ศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของ ธ.พาณิชย์ให้มีมาตรฐานสากล ทั้งนี้ จากประเด็นในเรื่องการกำกับดูแลและ
กฎหมายทางการเงินต่าง ๆ ดังกล่าว ทำให้ ธ.พาณิชย์คงต้องเตรียมการปรับปรุงระบบและการดำเนินงานภายใน
ของตนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การวางรูปแบบการดำเนินธุรกิจภายใต้รูปแบบการทำธุรกิจที่ครบวงจร (Universal
Banking) ตอบรับกระแสการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น การเตรียมความพร้อมในเรื่องการบริหารความเสี่ยง และเกณฑ์บัญชี
ใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีความพร้อมที่จะรับมือกับการกำกับต่าง ๆ ที่ยังคงอยู่
ในกระบวนการตัดสินใจของภาครัฐเพื่อการปฏิรูปภาคการเงินในระยะต่อไป ตลอดจนการแข่งขันที่สูงขึ้นจากการเปิด
เสรีทางการเงิน (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังเตรียมปรับสัดส่วนการนำส่งรายได้เข้าคลังของรัฐวิสาหกิจ นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง
ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สนง.คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กำลังเร่งทำการศึกษา
เพื่อปรับสัดส่วนการนำส่งรายได้เข้าคลังของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด ก.คลังทุกแห่งให้มีความเหมาะสม แต่
ไม่ใช่เป็นการปรับเพื่อเพิ่มรายได้ให้คลัง แต่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังอยู่ในขั้นการศึกษา แต่
จะให้มีการปรับเมื่อใดยังไม่แน่ชัด โดยอาจจะยังไม่ใช่ในปี 50 เพราะมีการทำตัวเลข งปม. เอาไว้ชัดแล้ว ซึ่ง
เป็น งปม. แบบสมดุลที่ 1.476 ล้านล้านบาท สำหรับการจัดทำ งปม. รายจ่ายปี 50 ที่ต้องล่าช้าออกไปเนื่องจาก
ยังไม่มีความชัดเจนทางการเมือง คาดว่าคงจะล่าช้าออกไปไม่เกิน 1 เดือน ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ สศค.
ได้จัดเตรียมมาตรการภาคการเงินและการคลัง ในทุกด้านเอาไว้แล้ว โดยบางส่วนเป็นมาตรการใหม่ และบางส่วน
เป็นการสานต่อจากมาตรการเดิม (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน มี.ค.49 จากเดือนก่อน รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 14 เม.ย.49 ธ.กลาง สรอ.รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน โดยผลผลิตด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในขณะที่ผลผลิตจากการสำรวจและ
ขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 หลังจากลดลงร้อยละ
0.7 ในเดือน ก.พ.49 เมื่อการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเริ่มฟื้นตัวหลังได้รับความเสียหายจากพายุเฮอริเคน
เมื่อปีที่แล้วและการผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในส่วนของผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนโดย
เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่อัตราส่วนการใช้กำลัง
การผลิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 81.3 จากร้อยละ 81.0 ในเดือน ก.พ.49 สูงสุดในรอบ 5 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน
ก.ย.43 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 81.5 โดยผลสำรวจรอยเตอร์ก่อนหน้านี้คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.49
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และการใช้กำลังการผลิตจะอยู่ที่ร้อยละ 81.4 โดย ธ.กลาง สรอ.กำลังตรวจสอบติดตาม
ตัวเลขทางเศรษฐกิจในประชุมแต่ละครั้งเพื่อประเมินว่าการจ้างงานและสัดส่วนการใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้นในขณะ
นี้จะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้ออย่างไรเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดด้วยการขึ้น
อัตราดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีนี้จะเติบโตมากกว่าร้อยละ 2.0 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่
16 เม.ย. 49 นาย Kaoru Yosano รมว. เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ
2.0 ซึ่งสอดคล้องกับที่ ธ.กลางญี่ปุ่นคาดการณ์ไว้ เนื่องจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจหลายตัวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่น
ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนอาจจะดูได้จากรายงานแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจงวดครึ่งปีของ ธ.กลางญี่ปุ่นซึ่งจะ
มีรายงานตัวเลขของปีนี้ และแนวโน้มในปีหน้า ที่จะเปิดเผยในวันที่ 28 เม.ย. นี้ ทั้งนี้ ตลาดคงจับตามองอย่าง
ใกล้ชิดเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวเพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละศูนย์
เมื่อใด ซึ่งจากรายงานเมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว คณะกรรมาธิการนโยบายการเงิน ธ.กลางญี่ปุ่นจำนวน 9 คนคาด
ว่าเศรษฐกิจในปี 49/50 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.8 ส่วนรัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.9 ทั้งนี้
นาย Kaoru Yosano มิได้ให้ความเห็นว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน มิ.ย. และ
ก.ค. ตามการคาดการณ์ของนักการตลาดหรือไม่ โดยเขาเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันของญี่ปุ่น (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสแรกปี 49 จะขยายตัวร้อยละ 10.2
เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 16 เม.ย.49 ประธานาธิบดีจีน (Hu Jintao) เปิดเผยว่า อัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสแรกปี 49 คาดว่าจะขยายตัวอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 10.2 หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 4 ปี 48 ขยายตัวร้อยละ 9.9 เทียบต่อปี ซึ่งจะเพิ่มความกดดันให้กับรัฐบาลจีนใน
การที่เงินหยวนจะแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนในช่วงระหว่างปี 46-48 เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10
ส่งผลให้จีนมีระบบเศรษฐกิจโตเป็นอันดับที่ 4 หรือ 5 ของโลก อย่างไรก็ตาม สำนักงานสถิติจะรายงานตัวเลขป
ระจำไตรมาส 4 ปี 48 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 เม.ย.นี้ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ
10 หลังจากที่พบข้อมูลตัวเลขบางอย่างที่แข็งแกร่งขึ้น อาทิเช่น ปริมาณเงินขยายตัวเหนือกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
การเติบโตของสินเชื่อเพิ่มขึ้น และที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ในไตรมาสแรกปี 49 จีนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
41 เมื่อเทียบต่อปี อย่างไรก็ตาม หัวหน้านักวิเคราะห์ของ China Everbright Securities in Shanghai
กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่งส่งผลให้มีความต้องการในสินค้าของจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถชดเชยกับผล
กระทบจากการที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. KDI คาดการณ์จีดีพีของเกาหลีใต้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.3 ในปี 49 รายงานจากโซลเมื่อ
16 เม.ย.49 The Korea Development Institute (KDI) สถาบันวิจัยชั้นนำของทางการเกาหลีใต้ เปิด
เผยการคาดการณ์ผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)ของเกาหลีใต้ในปี 49 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากที่ขยาย
ตัวร้อยละ 4.0 ในปี 48 และสูงกว่าที่ ก.คลังและ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.0 อย่างไรก็ตาม
KDI กล่าวว่า ยังไม่ชัดเจนนักว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขยายตัวในระดับเดิมต่อเนื่องหลังปี 49 หรือไม่
เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าความต้องการภายในประเทศจะไม่สามารถเป็นปัจจัยผลักดันอัตราการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจได้มากนัก รวมถึงการส่งออกอาจจะยังคงชะลอตัวจนถึงปีหน้า อันเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
สรอ.และจีน นอกจากนี้ KDI ได้ปรับลดประมาณการยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 49 ลงอย่างมากที่ระดับ 4.1
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากเดิมที่เคยประมาณการไว้ที่ระดับ 12.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือน ธ.ค.48
และต่ำกว่ามากจากการคาดการณ์ของ ธ.กลางเกาหลีใต้ซึ่งคาดว่ายอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะอยู่ที่ระดับ 10 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยมีการปรับลดประมาณการลงเช่นกันจากระดับ 16 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เมื่อเดือนก่อน
ทั้งนี้ KDI เชื่อว่า ในปี 50 ธ.กลางเกาหลีใต้จะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อและ
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากที่ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาแล้วร้อยละ 0.75 ตั้งแต่เดือน ต.ค.48
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 เม.ย. 49 12 เม.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.074 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8414/38.1291 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.78656 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 755.43/ 16.30 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,650/10,750 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.34 62.44 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 เม.ย. 49 27.94*/26.29* 27.94*/26.29* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--