สวัสดีครับท่านผู้ฟังที่เคารพทุกท่าน ได้ยินเสียงวันนี้แล้วอย่าเพิ่งแปลกใจนะครับว่าทำไมเสียงรายการผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชนถึงเปลี่ยนไป ทั้งนี้ก็เพราะว่าท่านผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ติดภาระกิจสำคัญไม่สามารถมาจัดรายการได้ ก็ได้มอบหมายให้ผม สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน มาจัดรายการแทนสำหรับรายการนี้ก็เป็นรายการที่ได้จัดกันในทุกสัปดาห์ในช่วงวันพุธ 8 โมงครึ่งตอนเช้า ซึ่งก็เหมือนกับทุกครั้ง หลังจากที่ผมได้พบกับท่านผู้ฟังไปแล้วท่านก็สามารถโทรศัพท์เข้ามาที่รายการนี้ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-244-1482 และ 02-241-0055 ซึ่งต่างจังหวัดสามารถโทรเข้ามาฟรีได้นะครับ
สำหรับท่านผู้นำฝ่ายค้านในวันนี้ท่านก็ติดภาระกิจสำคัญครับ และได้มอบหมายให้ผมซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านมาจัดรายการแทน ในการจัดรายการวันนี้ก็เป็นการจัดในสัปดาห์ที่ถือว่าเป็นสัปดาห์สุดท้ายของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สัปดาห์นี้จะมีการประชุมกัน 2 วันตามปกติก็คือวันนี้ (14 ธ.ค.) กับวันพรุ่งนี้ (15 ธ.ค.) และสภาผู้แทนราษฎรก็จะปิดสมัยประชุมไป จะไปเปิดสมัยประชุมกันอีกครั้งหนึ่งก็ในเดือนมีนาคม ในช่วงตอนต้นเดือน
สำหรับการทำงานในช่วงเวลา 4 เดือนที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงสมัยประชุมนี้ ตามรัฐธรรมนูญก็กำหนดให้เป็นสมัยประชุมที่เรียกว่าสมัยสามัญนิติบัญญัตินะครับ ซึ่งการทำงานของพวกเราฝ่ายค้านตลอดระยะเวลา 4 เดือนนั้นก็ได้พยายามทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ในสภาผู้แทนราษฎรนะครับ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายนะครับว่า ในการทำงานของเรานั้นก็ยังได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลที่จะมาตอบคำถามสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในสภานี้ยังถือว่าน้อยมากนะครับ เพราะว่าในช่วงสมัยประชุม 4 เดือนนั้น ฝ่ายค้านได้ตั้งกระทู้ถามสดทั้งหมด 28 กระทู้ถาม และเป็นกระทู้ถามสดที่ถามนายกรัฐมนตรี 20 กระทู้ถาม แต่ว่าท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ไม่ได้มาตอบกระทู้ถามสดของฝ่ายค้านเลยแม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งอันนี้ก็เป็นข้อเรียกร้องอย่างมากของฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาว่าอยากให้ฝ่ายบริหารเข้ามารับผิดชอบต่อการทำงานของฝ่ายบริหารเองต่อสภานิติบัญญัตินะครับ ซึ่งก็ถือเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งฝ่ายค้านก็ต้องถือว่าเป็นสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งประชาชนเลือกให้เข้ามาทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนในสภาผู้แทนราษฎรนะครับ ซึ่งอันนี้ก็คงต้องดูกันต่อไปว่าในสมัยประชุมหน้าท่านนายกรัฐมนตรีจะเข้ามาตอบกระทู้ถามสดของฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่
อย่างไรก็ตามในช่วงปลายของสมัยประชุมนี้ ท่านผู้ฟังก็คงจะได้ติดตามข่าวสารอยู่นะครับว่า ก็มีกฎหมายสำคัญ ๆ ที่ผ่านสภาและก็กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ในสังคมขณะนี้ ในช่วงสัปดาห์สองสัปดาห์ที่แล้วก็คงจะเห็นว่าก็มี พระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจ ซึ่งก็เป็นข้อคัดค้านของทางฝั่งขององค์กรครูนะครับว่าก็ไม่เห็นด้วยกับการที่มีการเขียนกฎหมายให้มีการถ่ายโอนเรื่องของโรงเรียนเรื่องของสถานศึกษานะครับ แต่กฎหมายก็ผ่านสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 และวาระ 3 มาในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งก็เป็นข้อถกเถียงกันอย่างมากนะครับว่า ที่สุดแล้วคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากก็ได้ลงมติร่วมกับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรนี้ไปตามเสียงของกรรมาธิการเสียงข้างน้อยท่านหนึ่งซึ่งสงวนคำแปรญัตติไว้ แล้วก็มาเป็นที่มาที่องค์กรครูเองแสดงความไม่พอใจ และก็ได้มีการยื่นถวายฎีกาอย่างที่เป็นข่าว
เมื่อวานนี้พระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจก็ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนะครับ และก็คงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันดูต่อไป ก็ต้องฝ่ายวุฒิสภาเองแม้ว่าจะลงมติเห็นชอบด้วยเสียงข้างมากก็ตามเอง แต่ก็ได้มีการกำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญไปพิจารณาแล้วก็กำหนดให้มีการแปรญัตติภายใน 7 วัน ซึ่งการกำหนดให้มีการแปรญัตติภายใน 7 วันก็หมายความว่าก็จะไปสิ้นสุดในสัปดาห์หน้า ซึ่งสัปดาห์หน้าวันที่ 19 ก็เป็นวันที่จะมีการปิดสมัยประชุมนี้ของวุฒิสภาไปด้วยนะครับ เพราะฉะนั้นก็เข้าใจว่าพระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจก็อาจจะมีปัญหาไม่สามารถที่จะกลับมายังสภาผู้แทนราษฎรได้ ก็ส่งผลอาจจะต้องมีการทำให้กฎหมายฉบับนี้ต้องรอสมัยประชุมหน้าก็คือเดือนมีนาคม ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าในเรื่องนี้นั้นจะมีความเคลื่อนไหวอย่างไร
แต่ในส่วนของฝ่ายค้านเอง เราก็ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ตั้งแต่ต้นว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวการแก้ไขกฎหมายโดยที่ไม่มีการพิจารณาศึกษาผลกระทบต่าง ๆ โดยรอบคอบก็จะทำให้มีผลกระทบทั้งต่อทางการปฏิรูปการศึกษาก็ดี หรือต่อทางการกระจายอำนาจก็ดีนะครับ ซึ่งคิดว่าในสมัยประชุมหน้าในช่วงต้น ๆ สมัยประชุมจะมีการแถลงการดำเนินงานตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐครบรอบ 1 ปี ก็คิดว่าคงจะต้องหยิบยกเอาประเด็นนี้ขึ้นมาพูดจามาวิพากษ์วิจารณ์และก็มาเสนอแนะแนวความคิดเห็นต่างๆ ในสภาผู้แทนราษฎรต่อไปครับ อันนี้ก็เป็นเรื่องของพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ในเรื่องที่สองที่อยากจะพูดถึงในขณะนี้ก็คือว่าขณะนี้ที่หน้าสภาผู้แทนราษฎรก็มีพี่น้องประชาชนที่ได้อาศัยอยู่ในพื้นป่าในหลากหลายจังหวัดได้มีการชุมนุมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทางภาคเหนือ อย่างที่ได้ปรากฎเป็นข่าวนะครับก็มีการเดินที่เรียกว่า “ธรรมชาติยาตรา” นะครับ มาที่หน้าสภาผู้แทนราษฎร เพื่อที่จะเรียกร้องให้มีการพิจารณาพระราชบัญญัติป่าชุมชนซึ่งก็เป็นกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนและก็ค้างอยู่ในสภาเป็นระยะเวลาที่นานแล้วโดยเร็ว และก็ขอให้มีการทบทวนร่างกฎหมายซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาว่าให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เนื่องจากว่าในชั้นที่ผ่านกรรมาธิการร่วมก็มีการเพิ่มสาระบางอย่างของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของพื้นที่อนุรักษ์พิเศษนี้เข้าไป และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ก็เห็นว่าถ้าหากว่าเพิ่มสาระบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไปก็จะไม่บรรลุเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติป่าชุมชนที่ประสงค์จะให้คนอาศัยอยู่กับป่าได้นะครับ ก็ไม่ควรที่จะสร้างเงื่อนไขใด แต่ว่าก็น่าเสียดายนะครับที่กฎหมายฉบับนี้แม้ว่าคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาเสร็จแล้วแต่ว่าก็ยังไม่ได้เสนอรายงานเข้ามายังสภาผู้แทนราษฎรหรือเข้ามายังรัฐสภานะครับ ก็คงไม่สามารถที่จะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาได้ทันสมัยประชุมนี้ ซึ่งอันนี้ก็คงต้องดูกันต่อไป
อย่างไรก็ตามในการประชุมวันนี้ วันพุธ ก็จะมีกฎหมายที่สำคัญอีกฉบับหนึ่งเข้าสู่การประชุมของสภาผู้แทนราษฎรและก็เป็นกฎหมายที่พี่น้องประชาชนเข้าชื่อกันเข้าใจว่าเป็นแสนชื่อนะครับ เสนอเข้ามาก็คือ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ก็เป็นกฎหมายที่มีการจัดทำกันเป็นระยะเวลาที่นานมากนะครับ โดยสำนักงานที่ทำหน้าที่ทางด้านสุขภาพนะครับ ก็คือ ทางสปรส. (สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ) และก็มีการผลักดันกันมาตั้งแต่ยุคสมัยปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงที่ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้น กฎหมายดังกล่าวก็ได้มีความพยายามที่จะเสนอเข้าสภามาเป็นระยะเวลาที่นานมากนะครับ แต่ว่าอย่างไรก็ตามในวันนี้ก็จะได้มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาและก็ยังมีกฎหมายที่เสนอเข้ามาในหลักการคล้าย ๆ กัน ก็คือร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติของคณะรัฐมนตรี และก็ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติของพรรคประชาธิปัตย์นะครับ ซึ่งได้เสนอเข้าสู่สภาในวันนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ที่ผมหยิบเรื่องนี้เข้ามาเรียนท่านผู้ฟังก็เพราะว่าพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาตินี้จะเป็นกฎหมายแม่บทในเรื่องของระบบสุขภาพของประเทศของเรานะครับ และก็เป็นกฎหมายที่มีหลักการที่สำคัญก็คือจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องของระบบสุขภาพผ่านการจัดสิ่งที่เรียกว่าสมัชชาสุขภาพพื้นที่ก็ดี หรือสมัชชาสุขภาพระดับชาติก็ดีนะครับ และก็ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและก็ยังกำหนดให้มีเรื่องของธรรมนูญสุขภาพและก็กำหนดสิทธิของประชาชนทุกหมู่เหล่าในประเทศว่าจะมีสิทธิทางด้านสุขภาพอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคประชาธิปัตย์เองก็ได้มีการผลักดันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ผมก็หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยกับท่านผู้ฟังก่อนเพราะว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภาของเรานะครับ
อย่างไรก็ตามมีสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรหรืเกี่ยวกับฝ่ายค้านก็คือว่าในช่วงวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมาก็มีการให้สัมภาษณ์กันในหลากหลายประเด็นนะครับ ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญเรื่องการทำงานต่าง ๆ ท่านผู้นำฝ่ายค้านเองก็ได้มีการพูดถึงเรื่องของการอภิปรายไม่ไว้วางใจขึ้นมา ซึ่งก็กลายเป็นประเด็นที่พี่น้องสื่อมวลชนประชาชนก็ซักถามกันมากว่า เอ๊ะ ฝ่ายค้านจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสมัยประชุมหน้าหรืออย่างไร ซึ่งวันนี้ก็ถือโอกาสนี้เรียนท่านผู้ฟังนะครับว่า ในสมัยประชุมนี้ที่เรียกว่า สมัยสามัญนิติบัญญัติ ซึ่งจะปิดสมัยประชุมกันในสัปดาห์นี้ ก็ได้มีการบัญญัติเอาไว้ว่าการพิจารณาเรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องของกฎหมายหรือเรื่องของกระทู้สดก็ไม่สามารถที่จะทำได้นะครับ ก็คือหมายความว่า เจตนารมย์รัฐธรรมนูญนี้ก็ปรารถนาที่จะให้มีการอภิปรายหรือมีการพิจารณาเฉพาะของเรื่องกฎหมายนะครับ เพราะฉะนั้นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจต่าง ๆ ก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นในสมัยประชุมหน้าซึ่งจะเริ่มในเดือนมีนาคม ที่เรียกว่า สมัยสามัญทั่วไป ก็สามารถที่จะยื่นญัตติต่าง ๆ ได้ ซึ่งรวมถึงญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วยนะครับ
ในส่วนของฝ่ายค้านเองเมื่อวานนี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านก็มีการหยิบยกประเด็นในเรื่องของการอภิปรายไม่ไว้วางใจนี่นะครับ ขึ้นมาพูดคุยต่อเนื่องจากที่ท่านผู้นำฝ่ายค้านได้พูดถึงเอาไว้นะครับ ซึ่งก็ต้องถือโอกาสนี้เรียนท่านผู้ฟังนะครับว่า การอภิปรายไม่ไว้วางในรัฐมนตรีนั้นก็ถือว่าเป็นขั้นตอนการตรวจสอบที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งนะครับ ที่ถือว่าอาจจะเรียกว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้นะครับ มากกว่าการตรวจสอบโดยกระบวนการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระทู้ หรือเรื่องของญัตติธรรมดา ในเรื่องของการผ่านคณะกรรมาธิการก็ตาม ในสมัยประชุมที่ผ่านมาที่ในสมัยที่แล้วนี่นะครับ ฝ่ายค้านเองก็มีการยื่นอภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลไป 1 ท่าน ก็คือกรณีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งตอนนั้นท่านผู้ฟังก็คงจำได้ว่าเป็นการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด หรือเรื่องที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า CTX นะครับ ซึ่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจในตอนนั้น เสียงของฝ่ายค้านเองก็ไม่ครบ 125 เสียง ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สามารถที่จะอภิปรายเรื่องของทุจริตซึ่งจะต้องยื่นถอดถอนไว้ก่อนได้ ในสมัยนั้นก็ได้มีการอภิปรายกันถึงเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือว่าการทำผิดต่อนโยบายนะครับ แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้เสียงฝ่ายค้านเองก็มีครบ 125 เสียง ซึ่งท่านผู้นำฝ่ายค้านเองก็ได้ให้แนวทางเอาไว้นะครับว่า ในการติดตามตรวจสอบการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐนั้น ถ้าหากว่าพบว่ามีเรื่องที่ผิดนโยบายก็ดี ไม่ชอบมาพากลส่อไปในทางทุจริตไม่โปร่งใสอะไรต่าง ๆ เราก็จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ นี้เองไว้ แล้วพอถึงจุดหนึ่งเราก็มาประชุมกันเพื่อที่จะตัดสินใจว่าจะมีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในเรื่องใด ต่อรัฐมนตรีท่านใดบ้าง ซึ่งในช่วง 2 เดือนที่มีการปิดสมัยประชุมนี้ ทางฝ่ายค้านเองก็จะมีการติดตามตรวจสอบและก็นำเอาข้อมูลที่เรามีอยู่ขึ้นมาพิจารณากันว่าในสมัยประชุมหน้านี้เรื่องใดที่เป็นเรื่องที่เราเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะทำให้รัฐมนตรีท่านนั้นอยู่ทำงานต่อไปได้ เราก็จะมีการตัดสินใจว่าจะมีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจกันหรือไม่ ซึ่งก็คิดว่ากระบวนการตัดสินใจต่าง ๆ ก็น่าจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นต้นสมัยประชุมหน้าเพื่อที่จะตัดสินใจ
ต้องเรียนท่านผู้ฟังนะครับว่ากระบวนการที่จะพิจารณาตัดสินใจเรื่องของการอภิปรายไม่ไว้วางใจถือว่าเป็นกระบวนการสำคัญนะครับ เพราะถ้าหากว่าเราปล่อยให้รัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่ง ซึ่งอาจจะปฏิบัติไม่ถูกต้อง กระทำผิดกฎหมายก็ดี หรือส่อไปในทางทุจริตก็ดี ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปโดยที่ไม่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วเนี่ย เราก็คิดว่าก็อาจจะทำความเสียหายต่อประเทศชาติ ต่อประชาชนได้นะครับ ซึ่งต้องเรียนท่านผู้ฟังนะครับว่ามีหลายเรื่องทีเดียวครับที่เราได้ติดตามจับตา เรื่องของการทำงานของทางคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการตามนโยบายต่าง ๆ นะครับ ซึ่งแน่นอนที่สื่อสารมวลชนก็อาจพยายามติดตามถามไถ่ว่าฝ่ายค้านติดตามจับตาเรื่องใดเป็นพิเศษนะครับ ซึ่งฝ่ายค้านเองก็ขอเรียนว่าเราก็คงจะต้องเก็บเรื่องนี้เอาไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่คิดว่าตัดสินใจที่จะเปิดเผยว่าเรื่องใด หรือรัฐมนตรีท่านใด ที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องและอยู่ในข่ายที่อาจจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้นะครับ แต่ว่าในเวลาที่เราติดตามข้อมูลการทำงานของคณะรัฐมนตรีไป ประเด็นเกี่ยวกับการทำงานต่าง ๆ ของรัฐบาลเราก็ยังจะต้องติดตามกันต่อ ซึ่งก็ขอโอกาสนี้เรียนท่านผู้ฟังทั้งหลายนะครับว่าเราก็ยังติดตามทำงานกันต่อไป
ในวันนี้ก็จะมีประเด็นที่เราจะต้องติดตามกันก็คือเรื่องที่รัฐบาลจะมีการจัดประชุมทูตานุทูตนะครับ และก็จะมีการแจกแจงเรื่องที่เรียกว่า เมกะโปรเจ็กต์ ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนระบบราง 10 สาย ของประเทศไทยนะครับ ก็ปรากฎเป็นข่าวว่าท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ก็จะมีการเชิญทูตานุทูตจากทั่วโลกนะครับมาประชุมกัน และก็แจกแจงว่าประเทศไทยจะมี เมกะโปรเจ็กต์ระบบขนส่งมวลชนระบบรางและจะเปิดโอกาสให้ต่างชาติที่ผ่านทางทูตานุทูตต่าง ๆ ที่สนใจ ก็สามารถที่จะเข้ามาเสนอเงื่อนไขว่าตนเองจะเข้ามาสร้างขนส่งมวลชนระบบรางทั้ง 10 สายของไทยนี้ได้นะครับ ซึ่งในเรื่องนี้ฝ่ายค้านเองก็ได้จับตาดูอยู่นะครับว่าเรื่องนี้ที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไร แต่ว่าในฝ่ายของเราเองก็ยังมีข้อวิตกกังวลอยู่เหมือนกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็นข้อวิตกกังวลว่าวิธีการอย่างนี้จะทำให้เราได้สิ่งที่ดีที่สุดหรือเปล่า ก็หมายความว่าต่างชาติเขาสนใจเข้ามาลงทุน เขาจะเป็นคนยื่นเงื่อนไขครับ ว่าเงื่อนไขที่จะเข้ามาสร้างนั้นเทคนิคจะเป็นอย่างไรนะครับ และวิธีการสร้างรวมถึงระบบบริหารจัดการต่าง ๆ จะเป็นอย่างไร ซึ่งก็จะแตกต่างจากทุกครั้งที่ฝ่ายของทางรัฐบาลเป็นคนกำหนดเงื่อนไข และฝ่ายเอกชนก็จะเข้ามาประมูลงานกันแล้วจะเลือกเงื่อนไขที่ดีที่สุด นอกจากนั้นในเรื่องที่ทำวิธีการทำงานแบบนี้ก็จะเป็นข้อครหาได้เหมือนกันนะครับว่าจะมีความโปร่งใสมากน้อยเพียงใด หรือมีความเหมาะสมหรือไม่ ก็เหมือนกับที่หลายฝ่ายวิจารณ์ว่าเหมือนเป็นการเปิดสัมปทานประเทศไทยและก็เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาถือสัมปทานประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อว่าเรื่องของเม็ดเงิน เรื่องของความโปร่งใส เรื่องของการคัดเลือกบริษัทที่ดีที่สุดต่าง ๆ นี้ที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไร แต่ว่าฝ่ายค้านเองก็ตั้งข้อสังเกตนะครับว่าเรื่องนี้รัฐบาลเองก็ปฏิบัติไม่เท่าเทียมกัน ในกรณีของกทม. กรุงเทพมหานครนี่ท่านผู้ว่าอภิรักษ์จะมีส่วนต่อจากทางฝั่งอ่อนนุช ไปยังฝั่งสำโรง ซึ่งก็เป็นขนส่งมวลชนระบบรางเหมือนกัน แต่ต้องใช้เงินลงทุนถึง 8,000 ล้าน ทางรัฐบาลก็ปฏิเสธนะครับ ให้ทางกทม. ไปหาเงินลงทุนเอง แต่ว่าเวลาเรื่องของเมกะโปรเจ็กต์แล้ว รัฐบาลกลับเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้นะครับ อันนี้ก็เป็นทั้งหมดที่อยู่ในระยะเวลาที่จำกัดที่เรียนกับท่านผู้ฟังทั้งหลายได้
ในช่วงนี้ผมก็จะเปิดสายให้ท่านผู้ฟังได้มีโอกาสโทรศัพท์เข้ามาในรายการเหมือนกับที่ท่านผู้นำฝ่ายค้านได้จัดอยู่นะครับ ซึ่งท่านสามารถโทรศัพท์เข้ามาได้ที่ 02-244-1482 หรือ 02-241-0055 ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ผมได้แจ้งไปตั้งแต่ต้น แต่ว่าอย่างไรก็ตามในช่วงที่ท่านผู้ฟังยังไม่ได้โทรเข้ามาผมขอถือโอกาสนี้เรียนให้ท่านทั้งหลายต่อไปนะครับว่านอกเหนือจากเรื่องของเมกะโปรเจ็กต์ขนส่งมวลชนระบบรางแล้ว เราก็ได้ติดตามเมกะโปรเจ็กต์ด้านอื่น ๆ อยู่นะครับ ไม่ว่าจะเป็นเมกะโปรเจ็กต์ด้านเกษตร เมกะโปรเจ็กต์ด้านที่จะมีการหยิบยกขึ้นมาคือเรื่องที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากก็ต้องถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของทางฝ่ายค้านนะครับ ที่เราจะต้องติดตามจับตาโดยละเอียดต่อไปนะครับ
แต่ว่าอย่างไรก็ตามในเรื่องการทำงานต่าง ๆ ของรัฐบาลนั้น ฝ่ายค้านเองก็มีความสนใจติดตามอย่างใกล้ชิดนะครับ ในช่วงวันสองวันก็มีการพูดถึงเรื่องของการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว 1,800 ล้านนะครับ ซึ่งก็มีรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตส.ส.จากจังหวัดมหาสารคามได้ออกมาเปิดประเด็นเอาไว้ก็คือคุณยุทธพงษ์ จรัสเสถียร นะครับที่ได้พูดถึงเรื่องของพิรุธที่พบในขั้นตอนการประมูลบริษัทผู้ตรวจสอบและรับผิดชอบชนิดและน้ำหนักข้าวสาร หรือที่เรียกว่า บริษัท Survey นะครับ ซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้มีการตั้งประเด็นเอาไว้และก็มีการออกมาแถลงข่าวติดต่อกัน 2 วันแล้ว พูดง่าย ๆ ก็คือว่า พบพิรุธว่าบริษัทที่ได้งานจากโครงการนี้ไปก็มีผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นทั้งฝ่ายการเมือง และก็เป็นทั้งฝ่ายข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพาณิชย์นะครับ และก็เป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนกันในระยะเวลาที่กระชั้นชิดมากก่อนที่โครงการนี้จะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ความจริงมีรายละเอียดมากนะครับและก็คิดว่าในโอกาสที่เหมาะสมทางคนที่ติดตามเรื่องนี้อยู่ก็คงจะได้มีโอกาสที่จะมาพบกับท่านผู้ฟังผ่านทางสื่อสารมวลชนต่าง ๆ นะครับ
อย่างไรก็ตามผมคิดว่าเรื่องทั้งหมดซึ่งฝ่ายค้านได้มีการติดตามดำเนินไป และก็ถือโอกาสนี้มากราบเรียนกับท่านทั้งหลาย คิดว่ายังมีอีกหลายประเด็นนะครับแต่วันนี้ผมก็หยิบยกเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการทำงานในสภา เรื่องของกฎหมาย เรื่องของประเด็นใหญ่ ๆ ที่สื่อสารมวลชนได้ติดตามอยู่มาบอกเล่าเก้าสิบให้ประชาชนได้รับฟังกันนะครับ ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่สั้นๆ ก่อนที่จะปิดท้ายรายการนี้นะครับ ผมก็ถือโอกาสนี้ในนามของท่านผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรนะครับ ก็ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนซึ่งติดตามการทำงานของฝ่ายค้านและมีการส่งความคิดความเห็นข้อมูลต่าง ๆ มายังพวกเราฝ่ายค้านซึ่งก็เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำงานของพวกเรา และก็ในช่วงระยะเวลาที่มีอยู่ต่อไปนี้นะครับ ฝ่ายค้านก็จะทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนอย่างเต็มที่ต่อไปนะครับ และเราก็คิดว่าเราทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย ซึ่งจะต้องยึดเอาประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นหลักนะครับ มากกว่าที่จะยึดเอาประโยชน์ของพรรคหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นหลักนะครับ ก็คิดว่ารายการผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ซึ่งผมได้มาทำหน้าที่แทนท่านผู้นำฝ่ายค้านซึ่งติดภาระกิจ ก็คิดว่าได้เดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของรายการนะครับ ก็ถือโอกาสนี้ขอบคุณท่านผู้ฟังที่ได้ติดตามฟังรายการนี้มาโดยตลอดนะครับ และก็ขอยุติรายการนี้แต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ธ.ค. 2548--จบ--
สำหรับท่านผู้นำฝ่ายค้านในวันนี้ท่านก็ติดภาระกิจสำคัญครับ และได้มอบหมายให้ผมซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านมาจัดรายการแทน ในการจัดรายการวันนี้ก็เป็นการจัดในสัปดาห์ที่ถือว่าเป็นสัปดาห์สุดท้ายของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สัปดาห์นี้จะมีการประชุมกัน 2 วันตามปกติก็คือวันนี้ (14 ธ.ค.) กับวันพรุ่งนี้ (15 ธ.ค.) และสภาผู้แทนราษฎรก็จะปิดสมัยประชุมไป จะไปเปิดสมัยประชุมกันอีกครั้งหนึ่งก็ในเดือนมีนาคม ในช่วงตอนต้นเดือน
สำหรับการทำงานในช่วงเวลา 4 เดือนที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงสมัยประชุมนี้ ตามรัฐธรรมนูญก็กำหนดให้เป็นสมัยประชุมที่เรียกว่าสมัยสามัญนิติบัญญัตินะครับ ซึ่งการทำงานของพวกเราฝ่ายค้านตลอดระยะเวลา 4 เดือนนั้นก็ได้พยายามทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ในสภาผู้แทนราษฎรนะครับ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายนะครับว่า ในการทำงานของเรานั้นก็ยังได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลที่จะมาตอบคำถามสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในสภานี้ยังถือว่าน้อยมากนะครับ เพราะว่าในช่วงสมัยประชุม 4 เดือนนั้น ฝ่ายค้านได้ตั้งกระทู้ถามสดทั้งหมด 28 กระทู้ถาม และเป็นกระทู้ถามสดที่ถามนายกรัฐมนตรี 20 กระทู้ถาม แต่ว่าท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ไม่ได้มาตอบกระทู้ถามสดของฝ่ายค้านเลยแม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งอันนี้ก็เป็นข้อเรียกร้องอย่างมากของฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาว่าอยากให้ฝ่ายบริหารเข้ามารับผิดชอบต่อการทำงานของฝ่ายบริหารเองต่อสภานิติบัญญัตินะครับ ซึ่งก็ถือเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งฝ่ายค้านก็ต้องถือว่าเป็นสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งประชาชนเลือกให้เข้ามาทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนในสภาผู้แทนราษฎรนะครับ ซึ่งอันนี้ก็คงต้องดูกันต่อไปว่าในสมัยประชุมหน้าท่านนายกรัฐมนตรีจะเข้ามาตอบกระทู้ถามสดของฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่
อย่างไรก็ตามในช่วงปลายของสมัยประชุมนี้ ท่านผู้ฟังก็คงจะได้ติดตามข่าวสารอยู่นะครับว่า ก็มีกฎหมายสำคัญ ๆ ที่ผ่านสภาและก็กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ในสังคมขณะนี้ ในช่วงสัปดาห์สองสัปดาห์ที่แล้วก็คงจะเห็นว่าก็มี พระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจ ซึ่งก็เป็นข้อคัดค้านของทางฝั่งขององค์กรครูนะครับว่าก็ไม่เห็นด้วยกับการที่มีการเขียนกฎหมายให้มีการถ่ายโอนเรื่องของโรงเรียนเรื่องของสถานศึกษานะครับ แต่กฎหมายก็ผ่านสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 และวาระ 3 มาในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งก็เป็นข้อถกเถียงกันอย่างมากนะครับว่า ที่สุดแล้วคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากก็ได้ลงมติร่วมกับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรนี้ไปตามเสียงของกรรมาธิการเสียงข้างน้อยท่านหนึ่งซึ่งสงวนคำแปรญัตติไว้ แล้วก็มาเป็นที่มาที่องค์กรครูเองแสดงความไม่พอใจ และก็ได้มีการยื่นถวายฎีกาอย่างที่เป็นข่าว
เมื่อวานนี้พระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจก็ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนะครับ และก็คงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันดูต่อไป ก็ต้องฝ่ายวุฒิสภาเองแม้ว่าจะลงมติเห็นชอบด้วยเสียงข้างมากก็ตามเอง แต่ก็ได้มีการกำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญไปพิจารณาแล้วก็กำหนดให้มีการแปรญัตติภายใน 7 วัน ซึ่งการกำหนดให้มีการแปรญัตติภายใน 7 วันก็หมายความว่าก็จะไปสิ้นสุดในสัปดาห์หน้า ซึ่งสัปดาห์หน้าวันที่ 19 ก็เป็นวันที่จะมีการปิดสมัยประชุมนี้ของวุฒิสภาไปด้วยนะครับ เพราะฉะนั้นก็เข้าใจว่าพระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจก็อาจจะมีปัญหาไม่สามารถที่จะกลับมายังสภาผู้แทนราษฎรได้ ก็ส่งผลอาจจะต้องมีการทำให้กฎหมายฉบับนี้ต้องรอสมัยประชุมหน้าก็คือเดือนมีนาคม ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าในเรื่องนี้นั้นจะมีความเคลื่อนไหวอย่างไร
แต่ในส่วนของฝ่ายค้านเอง เราก็ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ตั้งแต่ต้นว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวการแก้ไขกฎหมายโดยที่ไม่มีการพิจารณาศึกษาผลกระทบต่าง ๆ โดยรอบคอบก็จะทำให้มีผลกระทบทั้งต่อทางการปฏิรูปการศึกษาก็ดี หรือต่อทางการกระจายอำนาจก็ดีนะครับ ซึ่งคิดว่าในสมัยประชุมหน้าในช่วงต้น ๆ สมัยประชุมจะมีการแถลงการดำเนินงานตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐครบรอบ 1 ปี ก็คิดว่าคงจะต้องหยิบยกเอาประเด็นนี้ขึ้นมาพูดจามาวิพากษ์วิจารณ์และก็มาเสนอแนะแนวความคิดเห็นต่างๆ ในสภาผู้แทนราษฎรต่อไปครับ อันนี้ก็เป็นเรื่องของพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ในเรื่องที่สองที่อยากจะพูดถึงในขณะนี้ก็คือว่าขณะนี้ที่หน้าสภาผู้แทนราษฎรก็มีพี่น้องประชาชนที่ได้อาศัยอยู่ในพื้นป่าในหลากหลายจังหวัดได้มีการชุมนุมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทางภาคเหนือ อย่างที่ได้ปรากฎเป็นข่าวนะครับก็มีการเดินที่เรียกว่า “ธรรมชาติยาตรา” นะครับ มาที่หน้าสภาผู้แทนราษฎร เพื่อที่จะเรียกร้องให้มีการพิจารณาพระราชบัญญัติป่าชุมชนซึ่งก็เป็นกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนและก็ค้างอยู่ในสภาเป็นระยะเวลาที่นานแล้วโดยเร็ว และก็ขอให้มีการทบทวนร่างกฎหมายซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาว่าให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เนื่องจากว่าในชั้นที่ผ่านกรรมาธิการร่วมก็มีการเพิ่มสาระบางอย่างของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของพื้นที่อนุรักษ์พิเศษนี้เข้าไป และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ก็เห็นว่าถ้าหากว่าเพิ่มสาระบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไปก็จะไม่บรรลุเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติป่าชุมชนที่ประสงค์จะให้คนอาศัยอยู่กับป่าได้นะครับ ก็ไม่ควรที่จะสร้างเงื่อนไขใด แต่ว่าก็น่าเสียดายนะครับที่กฎหมายฉบับนี้แม้ว่าคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาเสร็จแล้วแต่ว่าก็ยังไม่ได้เสนอรายงานเข้ามายังสภาผู้แทนราษฎรหรือเข้ามายังรัฐสภานะครับ ก็คงไม่สามารถที่จะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาได้ทันสมัยประชุมนี้ ซึ่งอันนี้ก็คงต้องดูกันต่อไป
อย่างไรก็ตามในการประชุมวันนี้ วันพุธ ก็จะมีกฎหมายที่สำคัญอีกฉบับหนึ่งเข้าสู่การประชุมของสภาผู้แทนราษฎรและก็เป็นกฎหมายที่พี่น้องประชาชนเข้าชื่อกันเข้าใจว่าเป็นแสนชื่อนะครับ เสนอเข้ามาก็คือ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ก็เป็นกฎหมายที่มีการจัดทำกันเป็นระยะเวลาที่นานมากนะครับ โดยสำนักงานที่ทำหน้าที่ทางด้านสุขภาพนะครับ ก็คือ ทางสปรส. (สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ) และก็มีการผลักดันกันมาตั้งแต่ยุคสมัยปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงที่ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้น กฎหมายดังกล่าวก็ได้มีความพยายามที่จะเสนอเข้าสภามาเป็นระยะเวลาที่นานมากนะครับ แต่ว่าอย่างไรก็ตามในวันนี้ก็จะได้มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาและก็ยังมีกฎหมายที่เสนอเข้ามาในหลักการคล้าย ๆ กัน ก็คือร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติของคณะรัฐมนตรี และก็ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติของพรรคประชาธิปัตย์นะครับ ซึ่งได้เสนอเข้าสู่สภาในวันนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ที่ผมหยิบเรื่องนี้เข้ามาเรียนท่านผู้ฟังก็เพราะว่าพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาตินี้จะเป็นกฎหมายแม่บทในเรื่องของระบบสุขภาพของประเทศของเรานะครับ และก็เป็นกฎหมายที่มีหลักการที่สำคัญก็คือจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องของระบบสุขภาพผ่านการจัดสิ่งที่เรียกว่าสมัชชาสุขภาพพื้นที่ก็ดี หรือสมัชชาสุขภาพระดับชาติก็ดีนะครับ และก็ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและก็ยังกำหนดให้มีเรื่องของธรรมนูญสุขภาพและก็กำหนดสิทธิของประชาชนทุกหมู่เหล่าในประเทศว่าจะมีสิทธิทางด้านสุขภาพอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคประชาธิปัตย์เองก็ได้มีการผลักดันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ผมก็หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยกับท่านผู้ฟังก่อนเพราะว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภาของเรานะครับ
อย่างไรก็ตามมีสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรหรืเกี่ยวกับฝ่ายค้านก็คือว่าในช่วงวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมาก็มีการให้สัมภาษณ์กันในหลากหลายประเด็นนะครับ ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญเรื่องการทำงานต่าง ๆ ท่านผู้นำฝ่ายค้านเองก็ได้มีการพูดถึงเรื่องของการอภิปรายไม่ไว้วางใจขึ้นมา ซึ่งก็กลายเป็นประเด็นที่พี่น้องสื่อมวลชนประชาชนก็ซักถามกันมากว่า เอ๊ะ ฝ่ายค้านจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสมัยประชุมหน้าหรืออย่างไร ซึ่งวันนี้ก็ถือโอกาสนี้เรียนท่านผู้ฟังนะครับว่า ในสมัยประชุมนี้ที่เรียกว่า สมัยสามัญนิติบัญญัติ ซึ่งจะปิดสมัยประชุมกันในสัปดาห์นี้ ก็ได้มีการบัญญัติเอาไว้ว่าการพิจารณาเรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องของกฎหมายหรือเรื่องของกระทู้สดก็ไม่สามารถที่จะทำได้นะครับ ก็คือหมายความว่า เจตนารมย์รัฐธรรมนูญนี้ก็ปรารถนาที่จะให้มีการอภิปรายหรือมีการพิจารณาเฉพาะของเรื่องกฎหมายนะครับ เพราะฉะนั้นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจต่าง ๆ ก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นในสมัยประชุมหน้าซึ่งจะเริ่มในเดือนมีนาคม ที่เรียกว่า สมัยสามัญทั่วไป ก็สามารถที่จะยื่นญัตติต่าง ๆ ได้ ซึ่งรวมถึงญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วยนะครับ
ในส่วนของฝ่ายค้านเองเมื่อวานนี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านก็มีการหยิบยกประเด็นในเรื่องของการอภิปรายไม่ไว้วางใจนี่นะครับ ขึ้นมาพูดคุยต่อเนื่องจากที่ท่านผู้นำฝ่ายค้านได้พูดถึงเอาไว้นะครับ ซึ่งก็ต้องถือโอกาสนี้เรียนท่านผู้ฟังนะครับว่า การอภิปรายไม่ไว้วางในรัฐมนตรีนั้นก็ถือว่าเป็นขั้นตอนการตรวจสอบที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งนะครับ ที่ถือว่าอาจจะเรียกว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้นะครับ มากกว่าการตรวจสอบโดยกระบวนการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระทู้ หรือเรื่องของญัตติธรรมดา ในเรื่องของการผ่านคณะกรรมาธิการก็ตาม ในสมัยประชุมที่ผ่านมาที่ในสมัยที่แล้วนี่นะครับ ฝ่ายค้านเองก็มีการยื่นอภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลไป 1 ท่าน ก็คือกรณีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งตอนนั้นท่านผู้ฟังก็คงจำได้ว่าเป็นการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด หรือเรื่องที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า CTX นะครับ ซึ่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจในตอนนั้น เสียงของฝ่ายค้านเองก็ไม่ครบ 125 เสียง ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สามารถที่จะอภิปรายเรื่องของทุจริตซึ่งจะต้องยื่นถอดถอนไว้ก่อนได้ ในสมัยนั้นก็ได้มีการอภิปรายกันถึงเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือว่าการทำผิดต่อนโยบายนะครับ แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้เสียงฝ่ายค้านเองก็มีครบ 125 เสียง ซึ่งท่านผู้นำฝ่ายค้านเองก็ได้ให้แนวทางเอาไว้นะครับว่า ในการติดตามตรวจสอบการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐนั้น ถ้าหากว่าพบว่ามีเรื่องที่ผิดนโยบายก็ดี ไม่ชอบมาพากลส่อไปในทางทุจริตไม่โปร่งใสอะไรต่าง ๆ เราก็จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ นี้เองไว้ แล้วพอถึงจุดหนึ่งเราก็มาประชุมกันเพื่อที่จะตัดสินใจว่าจะมีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในเรื่องใด ต่อรัฐมนตรีท่านใดบ้าง ซึ่งในช่วง 2 เดือนที่มีการปิดสมัยประชุมนี้ ทางฝ่ายค้านเองก็จะมีการติดตามตรวจสอบและก็นำเอาข้อมูลที่เรามีอยู่ขึ้นมาพิจารณากันว่าในสมัยประชุมหน้านี้เรื่องใดที่เป็นเรื่องที่เราเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะทำให้รัฐมนตรีท่านนั้นอยู่ทำงานต่อไปได้ เราก็จะมีการตัดสินใจว่าจะมีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจกันหรือไม่ ซึ่งก็คิดว่ากระบวนการตัดสินใจต่าง ๆ ก็น่าจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นต้นสมัยประชุมหน้าเพื่อที่จะตัดสินใจ
ต้องเรียนท่านผู้ฟังนะครับว่ากระบวนการที่จะพิจารณาตัดสินใจเรื่องของการอภิปรายไม่ไว้วางใจถือว่าเป็นกระบวนการสำคัญนะครับ เพราะถ้าหากว่าเราปล่อยให้รัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่ง ซึ่งอาจจะปฏิบัติไม่ถูกต้อง กระทำผิดกฎหมายก็ดี หรือส่อไปในทางทุจริตก็ดี ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปโดยที่ไม่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วเนี่ย เราก็คิดว่าก็อาจจะทำความเสียหายต่อประเทศชาติ ต่อประชาชนได้นะครับ ซึ่งต้องเรียนท่านผู้ฟังนะครับว่ามีหลายเรื่องทีเดียวครับที่เราได้ติดตามจับตา เรื่องของการทำงานของทางคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการตามนโยบายต่าง ๆ นะครับ ซึ่งแน่นอนที่สื่อสารมวลชนก็อาจพยายามติดตามถามไถ่ว่าฝ่ายค้านติดตามจับตาเรื่องใดเป็นพิเศษนะครับ ซึ่งฝ่ายค้านเองก็ขอเรียนว่าเราก็คงจะต้องเก็บเรื่องนี้เอาไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่คิดว่าตัดสินใจที่จะเปิดเผยว่าเรื่องใด หรือรัฐมนตรีท่านใด ที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องและอยู่ในข่ายที่อาจจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้นะครับ แต่ว่าในเวลาที่เราติดตามข้อมูลการทำงานของคณะรัฐมนตรีไป ประเด็นเกี่ยวกับการทำงานต่าง ๆ ของรัฐบาลเราก็ยังจะต้องติดตามกันต่อ ซึ่งก็ขอโอกาสนี้เรียนท่านผู้ฟังทั้งหลายนะครับว่าเราก็ยังติดตามทำงานกันต่อไป
ในวันนี้ก็จะมีประเด็นที่เราจะต้องติดตามกันก็คือเรื่องที่รัฐบาลจะมีการจัดประชุมทูตานุทูตนะครับ และก็จะมีการแจกแจงเรื่องที่เรียกว่า เมกะโปรเจ็กต์ ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนระบบราง 10 สาย ของประเทศไทยนะครับ ก็ปรากฎเป็นข่าวว่าท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ก็จะมีการเชิญทูตานุทูตจากทั่วโลกนะครับมาประชุมกัน และก็แจกแจงว่าประเทศไทยจะมี เมกะโปรเจ็กต์ระบบขนส่งมวลชนระบบรางและจะเปิดโอกาสให้ต่างชาติที่ผ่านทางทูตานุทูตต่าง ๆ ที่สนใจ ก็สามารถที่จะเข้ามาเสนอเงื่อนไขว่าตนเองจะเข้ามาสร้างขนส่งมวลชนระบบรางทั้ง 10 สายของไทยนี้ได้นะครับ ซึ่งในเรื่องนี้ฝ่ายค้านเองก็ได้จับตาดูอยู่นะครับว่าเรื่องนี้ที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไร แต่ว่าในฝ่ายของเราเองก็ยังมีข้อวิตกกังวลอยู่เหมือนกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็นข้อวิตกกังวลว่าวิธีการอย่างนี้จะทำให้เราได้สิ่งที่ดีที่สุดหรือเปล่า ก็หมายความว่าต่างชาติเขาสนใจเข้ามาลงทุน เขาจะเป็นคนยื่นเงื่อนไขครับ ว่าเงื่อนไขที่จะเข้ามาสร้างนั้นเทคนิคจะเป็นอย่างไรนะครับ และวิธีการสร้างรวมถึงระบบบริหารจัดการต่าง ๆ จะเป็นอย่างไร ซึ่งก็จะแตกต่างจากทุกครั้งที่ฝ่ายของทางรัฐบาลเป็นคนกำหนดเงื่อนไข และฝ่ายเอกชนก็จะเข้ามาประมูลงานกันแล้วจะเลือกเงื่อนไขที่ดีที่สุด นอกจากนั้นในเรื่องที่ทำวิธีการทำงานแบบนี้ก็จะเป็นข้อครหาได้เหมือนกันนะครับว่าจะมีความโปร่งใสมากน้อยเพียงใด หรือมีความเหมาะสมหรือไม่ ก็เหมือนกับที่หลายฝ่ายวิจารณ์ว่าเหมือนเป็นการเปิดสัมปทานประเทศไทยและก็เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาถือสัมปทานประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อว่าเรื่องของเม็ดเงิน เรื่องของความโปร่งใส เรื่องของการคัดเลือกบริษัทที่ดีที่สุดต่าง ๆ นี้ที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไร แต่ว่าฝ่ายค้านเองก็ตั้งข้อสังเกตนะครับว่าเรื่องนี้รัฐบาลเองก็ปฏิบัติไม่เท่าเทียมกัน ในกรณีของกทม. กรุงเทพมหานครนี่ท่านผู้ว่าอภิรักษ์จะมีส่วนต่อจากทางฝั่งอ่อนนุช ไปยังฝั่งสำโรง ซึ่งก็เป็นขนส่งมวลชนระบบรางเหมือนกัน แต่ต้องใช้เงินลงทุนถึง 8,000 ล้าน ทางรัฐบาลก็ปฏิเสธนะครับ ให้ทางกทม. ไปหาเงินลงทุนเอง แต่ว่าเวลาเรื่องของเมกะโปรเจ็กต์แล้ว รัฐบาลกลับเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้นะครับ อันนี้ก็เป็นทั้งหมดที่อยู่ในระยะเวลาที่จำกัดที่เรียนกับท่านผู้ฟังทั้งหลายได้
ในช่วงนี้ผมก็จะเปิดสายให้ท่านผู้ฟังได้มีโอกาสโทรศัพท์เข้ามาในรายการเหมือนกับที่ท่านผู้นำฝ่ายค้านได้จัดอยู่นะครับ ซึ่งท่านสามารถโทรศัพท์เข้ามาได้ที่ 02-244-1482 หรือ 02-241-0055 ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ผมได้แจ้งไปตั้งแต่ต้น แต่ว่าอย่างไรก็ตามในช่วงที่ท่านผู้ฟังยังไม่ได้โทรเข้ามาผมขอถือโอกาสนี้เรียนให้ท่านทั้งหลายต่อไปนะครับว่านอกเหนือจากเรื่องของเมกะโปรเจ็กต์ขนส่งมวลชนระบบรางแล้ว เราก็ได้ติดตามเมกะโปรเจ็กต์ด้านอื่น ๆ อยู่นะครับ ไม่ว่าจะเป็นเมกะโปรเจ็กต์ด้านเกษตร เมกะโปรเจ็กต์ด้านที่จะมีการหยิบยกขึ้นมาคือเรื่องที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากก็ต้องถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของทางฝ่ายค้านนะครับ ที่เราจะต้องติดตามจับตาโดยละเอียดต่อไปนะครับ
แต่ว่าอย่างไรก็ตามในเรื่องการทำงานต่าง ๆ ของรัฐบาลนั้น ฝ่ายค้านเองก็มีความสนใจติดตามอย่างใกล้ชิดนะครับ ในช่วงวันสองวันก็มีการพูดถึงเรื่องของการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว 1,800 ล้านนะครับ ซึ่งก็มีรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตส.ส.จากจังหวัดมหาสารคามได้ออกมาเปิดประเด็นเอาไว้ก็คือคุณยุทธพงษ์ จรัสเสถียร นะครับที่ได้พูดถึงเรื่องของพิรุธที่พบในขั้นตอนการประมูลบริษัทผู้ตรวจสอบและรับผิดชอบชนิดและน้ำหนักข้าวสาร หรือที่เรียกว่า บริษัท Survey นะครับ ซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้มีการตั้งประเด็นเอาไว้และก็มีการออกมาแถลงข่าวติดต่อกัน 2 วันแล้ว พูดง่าย ๆ ก็คือว่า พบพิรุธว่าบริษัทที่ได้งานจากโครงการนี้ไปก็มีผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นทั้งฝ่ายการเมือง และก็เป็นทั้งฝ่ายข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพาณิชย์นะครับ และก็เป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนกันในระยะเวลาที่กระชั้นชิดมากก่อนที่โครงการนี้จะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ความจริงมีรายละเอียดมากนะครับและก็คิดว่าในโอกาสที่เหมาะสมทางคนที่ติดตามเรื่องนี้อยู่ก็คงจะได้มีโอกาสที่จะมาพบกับท่านผู้ฟังผ่านทางสื่อสารมวลชนต่าง ๆ นะครับ
อย่างไรก็ตามผมคิดว่าเรื่องทั้งหมดซึ่งฝ่ายค้านได้มีการติดตามดำเนินไป และก็ถือโอกาสนี้มากราบเรียนกับท่านทั้งหลาย คิดว่ายังมีอีกหลายประเด็นนะครับแต่วันนี้ผมก็หยิบยกเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการทำงานในสภา เรื่องของกฎหมาย เรื่องของประเด็นใหญ่ ๆ ที่สื่อสารมวลชนได้ติดตามอยู่มาบอกเล่าเก้าสิบให้ประชาชนได้รับฟังกันนะครับ ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่สั้นๆ ก่อนที่จะปิดท้ายรายการนี้นะครับ ผมก็ถือโอกาสนี้ในนามของท่านผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรนะครับ ก็ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนซึ่งติดตามการทำงานของฝ่ายค้านและมีการส่งความคิดความเห็นข้อมูลต่าง ๆ มายังพวกเราฝ่ายค้านซึ่งก็เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำงานของพวกเรา และก็ในช่วงระยะเวลาที่มีอยู่ต่อไปนี้นะครับ ฝ่ายค้านก็จะทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนอย่างเต็มที่ต่อไปนะครับ และเราก็คิดว่าเราทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย ซึ่งจะต้องยึดเอาประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นหลักนะครับ มากกว่าที่จะยึดเอาประโยชน์ของพรรคหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นหลักนะครับ ก็คิดว่ารายการผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ซึ่งผมได้มาทำหน้าที่แทนท่านผู้นำฝ่ายค้านซึ่งติดภาระกิจ ก็คิดว่าได้เดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของรายการนะครับ ก็ถือโอกาสนี้ขอบคุณท่านผู้ฟังที่ได้ติดตามฟังรายการนี้มาโดยตลอดนะครับ และก็ขอยุติรายการนี้แต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ธ.ค. 2548--จบ--