เกษตรกรเตรียมเฮ หลังผลการหารือจัดทำแผนนำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจได้รับความเห็นชอบ พร้อมตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด เพื่อเชื่อมโยงการทำงานแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเป็นสินค้าเกษตรหลายชนิด
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังรับรายงานจากสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ถึงผลการหารือจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการนำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจ ร่วมกับกรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานในระดับจังหวัด เพื่อดำเนินการยกร่างแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับดังกล่าวจัดทำแผนและงบประมาณ เสนอคณะอนุกรรมการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ พิจารณาต่อไป
สำหรับโครงการนำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจจัดทำขึ้นเพื่อสร้างรูปแบบตัวอย่างของเขตเกษตรเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม และให้เกษตรกรเห็นประโยชน์ของโครงการนี้ รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบบูรณาการ ซึ่งมีเป้าหมายในการดำเนินงานกับสินค้าเกษตร 7 ชนิด 9 พื้นที่ ประกอบด้วย มันสำปะหลัง ที่จังหวัดนครราชสีมา , สับปะรด ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , ยางพาราที่จังหวัดสงขลาและระยอง , ลำไย ที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน , ทุเรียน ที่จังหวัดจันทบุรี , ข้าว ที่จังหวัดลพบุรี และปาล์มน้ำมัน ที่จังหวัดกระบี่ ส่วนแนวทางการดำเนินงานจะเป็นลักษณะประสาน 4 ฝ่าย ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกร ภาคเอกชน และแหล่งทุน โดยใช้หลักการของการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่ เป็นแนวทางในการนำร่อง อีกทั้งมีการรวมกลุ่มและขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อบริหารจัดการผลผลิตและการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการควบคุมดูแลกระบวนการผลิตเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ใช้ระบบตลาดข้อตกลง เป็นกลไกขับเคลื่อนซึ่งประสานกับภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ มีการติดตามประเมินผล ที่จะได้รับและผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละภาคที่เกี่ยวข้อง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังรับรายงานจากสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ถึงผลการหารือจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการนำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจ ร่วมกับกรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานในระดับจังหวัด เพื่อดำเนินการยกร่างแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับดังกล่าวจัดทำแผนและงบประมาณ เสนอคณะอนุกรรมการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ พิจารณาต่อไป
สำหรับโครงการนำร่องเขตเกษตรเศรษฐกิจจัดทำขึ้นเพื่อสร้างรูปแบบตัวอย่างของเขตเกษตรเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม และให้เกษตรกรเห็นประโยชน์ของโครงการนี้ รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบบูรณาการ ซึ่งมีเป้าหมายในการดำเนินงานกับสินค้าเกษตร 7 ชนิด 9 พื้นที่ ประกอบด้วย มันสำปะหลัง ที่จังหวัดนครราชสีมา , สับปะรด ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , ยางพาราที่จังหวัดสงขลาและระยอง , ลำไย ที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน , ทุเรียน ที่จังหวัดจันทบุรี , ข้าว ที่จังหวัดลพบุรี และปาล์มน้ำมัน ที่จังหวัดกระบี่ ส่วนแนวทางการดำเนินงานจะเป็นลักษณะประสาน 4 ฝ่าย ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกร ภาคเอกชน และแหล่งทุน โดยใช้หลักการของการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่ เป็นแนวทางในการนำร่อง อีกทั้งมีการรวมกลุ่มและขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อบริหารจัดการผลผลิตและการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการควบคุมดูแลกระบวนการผลิตเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ใช้ระบบตลาดข้อตกลง เป็นกลไกขับเคลื่อนซึ่งประสานกับภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ มีการติดตามประเมินผล ที่จะได้รับและผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละภาคที่เกี่ยวข้อง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-